Code Red และตัวเลข 2°C : สิ่งที่จะอยู่คู่กับโลกของเราตลอดศตวรรษที่ 21

Code Red และตัวเลข 2°C : สิ่งที่จะอยู่คู่กับโลกของเราตลอดศตวรรษที่ 21

รู้หรือไม่? โลกของพวกเรากำลังเดินทางเข้าสู่ ยุคแห่งการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 (The 6th Mass Extinction Event) และเป็นเหตุการณ์แรกในประวัติศาสตร์ดาวดวงนี้ที่เกิดจากน้ำมือ “มนุษย์”

อัตราการสูญพันธุ์ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ รวดเร็วกว่า ยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม (Pre-Industrial Revolution) ถึง 1,000 เท่า!!

ล่าสุด หน่วยงานของ UN อย่างคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC

A picture containing sky, grass, outdoor, lined

Description automatically generated

ได้เผยรายงานชวนตกตะลึงที่ส่งสัญญาณเตือน “CODE RED” โลกเข้าขั้นวิกฤติแล้วจากภาวะโลกร้อน

CODE RED และ เนื้อหารายงานบอกอะไรบ้าง?

รายงานนี้ของ IPCC มีเนื้อหากว่า 1,000 หน้า เกิดจากการวิเคราะห์งานวิจัยทางวิชาการมากถึง 14,000 ฉบับ!! ถือเป็นรายงานด้านภาวะโลกร้อนที่น่าเชื่อถือและครอบคลุมมากที่สุด ณ ตอนนี้ก็ว่าได้ 

เนื้อหาเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงที่เราต้องยอมรับนั่นคือ ภาวะโลกร้อนที่ประสบอยู่นี้ มีสาเหตุหลักที่สุดมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ “มนุษย์” 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก / ตัดไม้ทำลายป่า / การเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง ได้ส่งผลย้อนกลับมาสู่ผู้คนนับพันล้านทั่วโลกครอบคลุมทุกทวีป และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบางอย่างไม่สามารถหวนกลับคืนมาได้ (Irreversible)

A picture containing sky, outdoor, smoke, steam

Description automatically generated

อุณหภูมิผิวโลกปี 2011-2020 (10 ปี) เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 1850-1950 (100 ปี) เฉลี่ย 1.09 องศาเซลเซียส เรียกได้ว่า…อัตราเพิ่มสูงกว่าเดิมนับ 10 เท่า!! (และอัตราเร่งมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่านี้อีก)

ด้วยอัตราภาวะโลกร้อนที่รุนแรงต่อเนื่อง ทำให้มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ตกลงกันที่ Paris Agreement เมื่อปี 2015 เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 2°C เมื่อถึงปี 2050 จะล้มเหลวแน่นอน (ปัจจุบันคาดการณ์ว่า แค่ถึงปี 2034 อุณหภูมิจะพุ่งสูงขึ้น 1.5°C แล้ว)

ระบบนิเวศน์แปรปรวนรุนแรง อธิบายอย่างกระชับ เช่น

  • ภาวะโลกร้อน ทำให้ทะเลน้ำแข็งที่อาร์กติกลดลงรุนแรง
  • น้ำแข็งกลายเป็นน้ำ ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมโหฬาร
  • นำไปสู่น้ำท่วมและเมืองใหญ่สำคัญทั่วโลกที่จะจมใต้บาดาล
  • คลื่นความร้อน (Heatwave) บางเหตุการณ์ที่ปกติจะเกิดขึ้นทุกๆ 50 ปี…จะเกิดทุกๆ 10 ปี และมีแต่จะรุนแรงขึ้น 
  • นอกจาก Heatwave จะส่งผลกระทบต่อการอาศัยอยู่ในเมืองโดยตรงของเราแล้ว ยังเป็นตัวการเกิดไฟป่ารุนแรงทั่วโลก
  • เมื่อเกิดไฟป่า สัตว์มากมายล้มตาย ห่วงโซ่อาหารบิดเบี้ยว ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity loss) ก็พังพินาศ

เราจะเห็นว่ามันค่อยๆ ส่งผลกระทบจาก A 🡺 B 🡺 C 🡺… 🡺 Z 

ไม่ช้าก็เร็ว จากพื้นที่ที่เรารู้สึกว่าห่างไกลอย่างทะเลอาร์กติก มันจะคืบคลานมาสู่ตัวเมืองและสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เรารู้จักแน่นอน

A picture containing outdoor, nature

Description automatically generated

เรื่องนี้จริงมากโดยเฉพาะประเทศในซีกโลกใต้ (Global South countries) 

  • ปี 2010 เจอความเสียหายทางเศรษฐกิจจากภาวะโลกร้อน ถึง 82% จากทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 17.1 ล้านล้านบาท
  • ปี 2030 คาดว่าจะขึ้นไปถึง 92% คิดเป็นมูลค่า 28.6 ล้านล้านบาท พร้อมคาดการณ์ผู้เสียชีวิตแตะ 530,000 คน/ปี

CODE RED ออกมาเตือนทุกคนว่า ถึงเวลาต้อง “เปลี่ยน” อย่างจริงจัง สิ่งที่ทำอยู่ อาจไม่ถูกต้องหรือยังไม่พอ…หรือทั้งสองอย่าง

ความเคลื่อนไหวหลังจากนี้?

บัดนี้ CODE RED ได้เข้าอยู่ในถกเถียงเชิงนโยบายของผู้นำสำคัญแล้ว

Boris Johnson นายกฯ อังกฤษกล่าวว่านี่คือ “Wake-up call” ที่เราจะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว เหล่าผู้นำต้องมาร่วมมือกัน เราต้องรีบเปลี่ยนไปพึ่งพาพลังงานสะอาดโดยเร็วที่สุด

สหภาพยุโรป (EU) กำลังพิจารณา “Carbon Law” กฎหมายใหม่ที่ระบุมาตรฐานการปล่อยคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ซึ่งน่าจะมีผลภายใน 2-3 ปีจากนี้

เช่น ต่อไปนี้บริษัทที่ส่งออกไปยัง EU อาจต้องเสียภาษีสูงเป็นพิเศษ ถ้าสินค้าที่ผลิตไม่ผ่านมาตรฐาน Net Zero Emission ซึ่งจะเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจทั้ง Supply Chain ให้รักษ์โลกมากขึ้น

A blue and white flag

Description automatically generated with medium confidence

การประชุม COP26 Climate Change Conference จะถูกจัดขึ้นที่เมือง Glasgow ประเทศอังกฤษ ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 ซึ่งจะมีเหล่าผู้นำโลกเข้าร่วม เป็นการประชุมใหญ่ที่สุดด้านภาวะโลกร้อน นับตั้งแต่ Paris Submit ปี 2015

เรายังจะได้เห็น “Efficiency improvement” หรือ การพัฒนาครั้งมโหฬารด้านประสิทธิภาพ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า / รีไซเคิล / โซล่าร์เซลล์ / พลังงานสะอาดทั้งหมด

A car parked next to a parking meter

Description automatically generated with medium confidence

โดยเฉพาะประเทศร่ำรวย (กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว) ที่เร่งเดินหน้าก่อนใครเพื่อน ส่วนหนึ่งเพราะ จากหลักฐานงานวิจัยมากมายระบุแล้วว่า ประเทศร่ำรวยเป็นตัวการสำคัญในการก่อภาวะโลกร้อนจาก “กิจกรรมทางเศรษฐกิจ” ที่ผ่านมา

อัตราเฉลี่ยของประชาชนที่ใช้ทรัพยากร (Material)

  • ประเทศรายได้น้อย 2 ตัน/คน/ปี
  • ประเทศรายได้ปานกลางระดับต่ำ 4 ตัน/คน/ปี
  • ประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง 12 ตัน/คน/ปี
  • ประเทศรายได้สูง 28 ตัน/คน/ปี (อเมริกา 35 ตัน/คน/ปี)

ผู้คนมีอิสรภาพในการเลือกบริโภค แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกการบริโภคย่อมต้องใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Biden เผยถึงประเด็นนี้ว่า เขามองเห็นโอกาสการ “จ้างงาน” มหาศาล เพราะ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานสะอาด อาจมีมูลค่าสูงถึง 120 ล้านล้านบาท นอกจากการจ้างงานแล้ว ยังทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ และพฤติกรรมผู้บริโภคที่รักษ์โลกมากขึ้น…ได้ทั้งเศรษฐกิจ-ได้ทั้งโลก

A person working on a machine

Description automatically generated with low confidence

เราพอจะทำอะไรได้บ้าง?

ภาครัฐ-ภาคธุรกิจ คือตัวแปรสำคัญที่สามารถเปลี่ยนแปลงระดับ “โครงสร้าง” ได้ เราต้องมองหาแนวคิดใหม่-แนวทางทำธุรกิจใหม่ ที่ปูทางไปสู่ยุคใหม่ที่เป็นมิตรต่อโลกมากกว่านี้

ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐแต่ละประเทศต้องเลือกอุตสาหกรรมสะอาดแห่งอนาคตมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ “ลดบทบาท” ยกเลิกให้การสนับสนุนบางอุตสาหกรรมลง เช่น 

  • ลดการสนับนุน อุตสาหกรรมถ่านหิน ที่เป็นตัวการโลกร้อน
  • เปลี่ยนมาลงทุนด้านขนส่งมวลชนแทนถนนหนทาง
  • สร้างกลไกภาษีและ Incentives ที่เอื้อต่อธุรกิจรักษ์โลก
A picture containing solar cell, outdoor object, outdoor, blue

Description automatically generated

ในระดับปัจเจกชน เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเท่าที่จะทำได้ 

ลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง / เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม / หันมาสนับสนุนธุรกิจ SMEs ด้าน “Zero Waste Community” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เช่น ร้านขายของชำที่ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างในร้านเป็นแบบ “Refill” ลูกค้าต้องนำบรรจุภัณฑ์มาเติมเอง เพื่อลดขยะบรรจุภัณฑ์ให้มากที่สุด

เราสามารถโอบกอด Mentality ที่ว่าเราอยู่ใน “โลกใบเดียวกัน” ทุกคนเชื่อมโยงถึงกัน ต่อให้คนรวยอยู่ในคฤหาสน์ สุดท้ายก็เจอผลกระทบอยู่ดีไม่ทางใดทางหนึ่ง

สุดท้าย เราต้องนึกถึงผลกระทบ (Consequences) จากการกระทำให้มากขึ้น คำถามหนึ่งที่ช่วยลับคมความคิดได้คือ “คุณอยากส่งต่อโลกแบบไหนให้กับลูกหลานของคุณ?”

สายเกินไปแล้ว คนยุคนี้จะได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยแน่นอน แต่เราสามารถเปลี่ยนมันได้ (หรือลดความรุนแรง) ให้แก่รุ่น “ลูกหลาน” ในอนาคต

CODE RED และภาวะโลกร้อนเป็นความจริงอันโหดร้าย การที่เราปฏิเสธความจริงแล้วทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น…ไม่ได้ทำให้ความจริงนี้หายไปไหน

แต่ถ้าเราลงมือทำและช่วยกันเปลี่ยนตั้งแต่วันนี้ เราอาจเปลี่ยนอนาคตให้สดใสขึ้นกว่านี้ อย่างน้อย…ก็เพื่อลูกหลานของเรา

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง