Harrods ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ห้างหรูคลาสสิกขวัญใจมหาเศรษฐี

Harrods ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ห้างหรูคลาสสิกขวัญใจมหาเศรษฐี
  • Harrods คือห้างหรูที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลก
  • รายได้กว่า 35,000 ล้านบาท พนักงานกว่า 4,000 คน
  • กว่า 330 ร้านค้า ดึงดูดนักช็อปกว่า 15 ล้านคน/ปี

แม้อายุจะล่วงเลยมา 170 กว่าปีแล้ว แต่ Harrods ก็ยังตั้งตระหง่านอย่างสง่าผ่าเผยใจกลางกรุงลอนดอน เป็นหนึ่งในห้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและเป็นสถานที่โปรดของเหล่าช็อปปิ้งกระเป๋าหนัก

น่าสนใจไม่น้อยว่า Harrods มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่?

A Humble Beginning

Harrods ก่อตั้งขึ้นในปี 1849 โดยคุณ Charles Henry Harrod เริ่มมาจากการเป็นร้านขายของชำที่เชี่ยวชาญในเรื่อง “ชา” วัฒนธรรมใหม่ที่กำลังเริ่มเบ่งบานขณะนั้น 

ก่อนจะได้รับอานิสงส์จาก The Great Exhibition ปี 1851 ที่โชว์งานนิทรรศการความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิอังกฤษ โดย Harrods ได้เข้าร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์และเป็นจุดเริ่มต้นสร้างชื่อเสียง

A shelf with books on it

Description automatically generated with low confidence

จากร้านค้าเล็กๆ ที่มีพนักงานเพียง 3-4 คน ก็เริ่มขยับขยายสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น เมื่อถึงปี 1881 Harrods ก็มีพนักงานกว่า 100 ชีวิตคอยต้อนรับลูกค้าแล้ว

ปี 1883 คือบทพิสูจน์การ “สร้างใหม่ให้ดีกว่า” ของ Harrods เพราะเกิดเหตุไฟไหม้ตัวอาคารจนวอดวาย ทำให้บริษัทต้องทุบตึกทิ้งและสร้างใหม่ด้วยสถาปัตยกรรมอันโอ่อ่าและสวยงามไร้กาลเวลา (Timeless Design) ซึ่งก็เป็นตึกอาคารที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้

การสร้างใหม่นี้ ยังมาพร้อมขนาดสเกลที่ใหญ่กว่าเดิม เป็นตึกคอมเพลกซ์ที่แยกเป็นหลายโซนและรวบรวมสินค้านานาขนิดเข้าไว้ด้วยกัน นี่คือ “คอนเซปท์” ยุคบุกเบิกที่จะกลายมาเป็น “ต้นแบบห้างสรรพสินค้า” ที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน

Coveted Address

การสร้างใหม่ยังมาพร้อมการกำหนด “Positioning” ของห้างใหม่ เพราะช่วงเวลานั้น ทำเลที่ตั้งของห้างซึ่งก็คือย่าน Knightsbridge เริ่มดึงดูดกลุ่มคนรวย / ชนชั้นสูง / นายธนาคาร / นักลงทุน จากการขยายตัวของเมืองและเศรษฐกิจ

Harrods จึงเจาะกลุ่มคนรวยกลุ่มนี้อย่างชัดเจนตั้งแต่นั้นมา โฟกัสนำเสนอผลิตภัณฑ์พรีเมียมหรูหรา (Hi-end products) ถือเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญ เพราะอย่างไรก็ตาม ยุคนั้นคนรวยยังเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยมากๆ ในสังคม 

A picture containing text, road, outdoor, building

Description automatically generated

แต่การตัดสินใจนี้ถูกพิสูจน์ด้วยกาลเวลาแล้วว่ามาถูกทาง เพราะปัจจุบัน Knightsbridge คือหนึ่งในย่านที่คนรวย Top 1% กระจุกอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งใน London

  • ราคาบ้านเฉลี่ยในย่านนี้อยู่ที่ราว 130 ล้านบาท/หลัง 
  • One Hyde Park คอนโดที่แพงที่สุดในอังกฤษ ก็ตั้งอยู่ในย่านนี้ (ห่างจาก Harrods เพียง 300 ม.)

Harrods ได้ลูกค้ากระเป๋าหนักกลุ่มนี้เป็นลูกค้าประจำ และเป็นลูกค้าที่บริโภคสินค้าตัวท็อปที่ห้างนำเสนอ (เช่น แชมเปญขวดละหลายหมื่นบาท)

Exquisite Store

  • Harrods ดึงดูดนักช็อปทั่วโลกกว่า 15 ล้านคน/ปี
  • ห้างหรูที่มีเสน่ห์ แตกต่าง เลียนแบบยาก

ความประทับใจแรกมาจากสถาปัตยกรรมภายนอกแบบ “Edwardian style” ที่หรูหราคลาสสิกตลอดแนวถนน 

A picture containing building, outdoor

Description automatically generated

เมื่อเข้าไปภายในก็พบกับ Interior Décor ที่มีเสน่ห์และผสมผสานความเป็นนานาชาติ เช่น โซน Egyptian Interior Design

A picture containing text, indoor, ceiling, several

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3BRsmSR

ร้านค้ากว่า 330 ร้านมาพร้อมการตกแต่งที่หรูหรา และการออกแบบแต่ละโซนที่ชวนหลงใหล เช่น The Sushi Bar / The Coffee Bar / The Roastery & Bake

A person standing in front of a bar

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bit.ly/3GVpR5O

ช่วงก่อนโควิด-19 Harrods ต้อนรับลูกค้ากว่า 300,000 คน/วัน เลยทีเดียว เป็นห้างที่มีความอินเตอร์สูงที่สุดติดระดับโลก

  • มีจำนวนลูกค้าชาวต่างชาติมากที่สุดในลอนดอน
  • พนักงานกว่า 5,000 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลกทำงานอยู่ที่ Harrods
A picture containing text, indoor

Description automatically generated

และเป็นห้างที่ “มีทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณต้องการ” ก็ว่าได้ ตั้งแต่หรูหราขั้นสุดจนไปถึงแปลกตาพิสดาร…ล้วนถูกรวบรวมมานำเสนอที่ห้างแห่งนี้

A picture containing text, indoor, scene, counter

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3BKcvWh

Harrods จึงไม่ใช่แค่ห้าง…แต่เป็นแลนมาร์คของเมือง เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยวของเมือง

Iconic Image

Harrods เลือกที่จะใช้ “โลโก้” เป็นชื่อแบรนด์มาตั้งแต่ทศวรรษ 1850s ซึ่งดัดแปลงไปตาม Font แต่ละยุคสมัย…ส่วน Font แบบปัจจุบันใช้มาตั้งแต่ปี 1967 และมาพร้อม “สี” ประจำแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ เห็นปุ๊ป-รู้ปั๊ป ทั้งหมดนี้ทำให้ภาพลักษณ์แบรนด์ดูเรียบหรู โดดเด่น และจดจำง่าย

A picture containing building, outdoor, green, store

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3o3Hacx

ทั้งโลโก้และสีประจำแบรนด์ ถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าบริการในทุกรายละเอียดก็ว่าได้ เช่น ชุดยูนิฟอร์มพนักงานทุกระดับชั้น / กระเป๋าผ้า / กันสาดบังแดด / หรือแม้แต่บน…ลาเต้อาร์ต

A picture containing cake, food, plate, indoor

Description automatically generated

Harrods ยังมีสายสัมพันธ์กับสมาชิกราชวงศ์ / ดารา / บุคคลสำคัญจากหลายวงการ เช่น Queen Elizabeth เคยมาเยือนเพื่อซื้อของขวัญวันคริสต์มาสจนกลายเป็นข่าวใหญ่

ความหรูหรานี้นำไปสู่ทัศนคติ “To see…and be seen.” ทำให้ Harrods เป็นเหมือนสถานที่เดินเฉิดฉาย เดินเช็คแฟชั่นหรูล่าสุด สัมผัสบุคคลสำคัญ ฉากทัศน์ที่บุคคลสำคัญพร้อมบอดี้การ์ดเดินติดตามเป็นภาพที่พบเห็นได้ไม่ยากนักในห้าง Harrods 

(Among) The First

Harrods ยังเป็นห้างแรกๆ ที่นำเสนอนวัตกรรมและบริการใหม่ๆ มาโดยตลอด

  • ปี 1894 เปิดตัว “Dining Hall” โซนรับประทานอาหารภายในห้าง ที่ยังคงมีอยู่มาถึงปัจจุบัน
A picture containing indoor, ceiling, floor, hall

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3q9LaLg

  • ปี 1898 เปิดตัว “บันไดเลื่อน” แห่งแรกในอังกฤษ พร้อมแจกบรั่นดีแก่ลูกค้าที่กล้าขึ้นในขณะนั้น
  • ปี 1989 ระบุ “Dress Code” แก่ลูกค้าที่มาเยือน ใครไม่ให้เกียรติปฏิบัติตาม พนักงานมีสิทธิ์ตักเตือนได้ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ห้างหรูหรามีระดับ (ตัวอย่าง Dress Code ที่ห้ามเข้า เช่น เสื้อกล้าม / กางเกงวอร์มขาสั้น / รองเท้าแตะ)
  • ปี 2007 เปิดตัว “By Appointment” ทำหน้าที่เป็น Personal Shopping-Assistance คอยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า / อธิบายประวัติศาสตร์แต่ละจุดของห้าง / แนะนำสินค้าอย่างเชี่ยวชาญ

ปรับตัวตามกาลเวลา

เมื่อช็อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ Harrods ก็ไม่ปฏิเสธ แต่กระโดดเข้าร่วมด้วย ในปี 2019 จับมือกับ Farfetch แพลตฟอร์ม E-Commerce ที่เจาะกลุ่มสินค้าหรูโดยเฉพาะ

การขยายตัวของชนชั้นกลางชาว “จีน” ที่เดินทางมาท่องเที่ยวและช็อปปิ้งใน Harrods ทางห้างเองก็ปรับตัวตาม เช่น เปิดรับพนักงานที่พูดภาษาจีนได้ / อบรมพนักงานให้เข้าใจวัฒนธรรมจีน / นำระบบชำระเงิน Alipay มาใช้ / สื่อสารทางไกลผ่าน WeChat

รีโนเวตบางส่วนของห้างอย่างต่อเนื่อง ปรับตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น ปี 2019 ปรับปรุงโซนอาหาร และเพิ่ม “The Vegetable Butchery” ตอบโจทย์ Vegan และ Plant-Based Food

A person behind a counter with food

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3k7oDLd

ช่วงวิกฤติโควิด-19 เปิดตัว “Remote Clienteling” ให้บริการช็อปปิ้งออนไลน์แบบตัวต่อตัว โดยเฉพาะลูกค้ายอดซื้อสูง

การไม่ลุ่มหลงกับความสำเร็จในอดีต แต่ปรับตัวอย่างต่อเนื่องตามโลกที่เปลี่ยนไปเร็ว ขณะเดียวกัน ก็ไม่ละทิ้งกลิ่นอายความหรูหราของสถานที่ สินค้าสุดพรีเมียม บริการอันเป็นเลิศซึ่งเป็นจุดแข็งที่ยากจะเลียนแบบได้ คืออีกปัจจัยที่ทำให้ Harrods อยู่รอดอย่างมีศักดิ์ศรีและกำไรมาถึงทุกวันนี้

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง