จิตวิทยาของการ “ไม่กล้าตัดสินใจ” จนปัญหาบานปลาย

จิตวิทยาของการ “ไม่กล้าตัดสินใจ” จนปัญหาบานปลาย
  • รู้แหล่ะ ว่าต้องทำแบบนี้…แต่ไม่กล้าออกคำสั่งซะที
  • มีข้อมูลตรงหน้าอยู่ครบ แต่ไม่กล้าตัดสินใจซะที
  • ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ จนโอกาสผ่านพ้นไปและไม่กลับมาอีกเลย

ทำไมการ “ตัดสินใจ” ช่างเป็นเรื่องยากเหลือเกิน พูดง่ายแต่ทำยาก และบ่อยครั้ง  การไม่ตัดสินใจนำไปสู่ปัญหาบานปลายโดยไม่จำเป็น

จิตวิทยาของการ “ไม่กล้าตัดสินใจ”

เพราะเราไม่มีทางรู้ “ข้อเสีย” ที่ตามมาอย่างแน่ชัดในทุกๆ เรื่อง ไม่รู้ว่ามันจะส่งผลร้ายในแบบที่คาดไม่ถึงรึเปล่า 

และผู้บริหารที่แคร์ผู้อื่นจะทราบดีว่า ทุกการตัดสินใจทำอะไร ย่อมมี “ราคาที่ต้องจ่าย” (ผลกระทบที่ตามมา) แต่เราไม่มีทางรู้ตัวเลขราคาที่แน่ชัดได้ และราคาเองก็อาจเปลี่ยนไป (แพงขึ้น-ถูกลง) ตามสถานการณ์

สุดท้าย เราเลยมักอยู่กับที่-อยู่กับ Comfort Zone ขณะนี้ที่เป็นอยู่ ซึ่งในบางธุรกิจ มันนำไปสู่การถูก Disrupt ได้ง่ายๆ

A person sitting in front of a computer

Description automatically generated with medium confidence

นอกจากนี้ เราอยู่ในยุคของข้อมูลข่าวสาร อยากรู้อะไรต้องได้รู้ เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและเร็ว กลายเป็นความเคยชินและมาตรฐานในการทำงานไปแล้วว่า ถ้าจะตัดสินใจอะไร ต้องเปรียบเทียบ “ข้อมูลทั้งหมด” ดูก่อน ถ้าคู่แข่งโดยตรงในตลาดมี 10 ราย ก็ต้องเอาข้อมูลทุกรายละเอียด 10 รายมาวางเรียงกัน

อันดับแรก มีโอกาสสูงมากในการเกิด “Decision Fatigue” ความเหนื่อยล้าในการตัดสินใจ เพราะตัวเลือกซับซ้อน ต้องใช้หัวคิดวิเคราะห์ยุ่งยากไปหมด

A person standing next to a wall with posters on it

Description automatically generated with low confidence

และเรามักคิดว่า ยิ่งมีข้อมูลหรือตัวเลือกมากเท่าไร…ยิ่งดีมากเท่านั้น แต่ถ้ามัน “มากเกินไป” (ซึ่งบ่อยครั้งเป็นเช่นนี้) จะนำไปสู่ Paradox of Choice 

A picture containing text, marketplace, can

Description automatically generated

อีกประเด็นคือภาวะซ่อนเร้นอย่าง “Fear of Better Option” (FOBO) กลัวเจอตัวเลือกที่ดีกว่าในอนาคต

Patrick McGinnis นักบริหารกองทุนใหญ่กล่าวว่า FOBO อันตรายไม่แพ้ FOMO (Fear of Missing Out) เลยทีเดียว เพราะถ้าเป็นแล้ว มันจะยับยั้งไม่ให้เรากล้าตัดสินใจ และคอยแต่พะวงกับอนาคตที่ไม่แน่นอน จนหลุดโฟกัสจากสิ่งจำเป็นที่ควรทำในปัจจุบัน

A picture containing text, indoor, shelf, bar

Description automatically generated

โดย FOBO เป็นอาการที่ผูกติดกับธรรมชาติของมนุษย์ที่มักมี “ความหวัง” ต่ออนาคตว่าสิ่งต่างๆ จะต้องดีขึ้น (จุนเจือให้มีชีวิตอยู่ต่อ)

เมื่ออนาคตดีขึ้น (Better future) ก็น่าจะมีตัวเลือกที่ดีขึ้นตามมา (Better option)

ทำยังไงถึงจะ “กล้าตัดสินใจ” ได้มากขึ้น?

แทนที่จะเริ่มต้นจาก ตัวเลือกทั้งหมดที่มี (Availability of choices) ให้เริ่มคิดจากศักยภาพและเป้าหมายของตัวเราเองแทน

ถ้าบริษัทกำลังขยายธุรกิจไปยังกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว แทนที่ CEO จะพิจารณาทุกประเทศที่พัฒนาแล้วบนโลก (ซึ่งมีอยู่กว่า 20 ประเทศ) ว่าที่ไหนน่าลงทุน อาจเริ่มคิดจาก

  • เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคตลาดไหนมากที่สุด?
  • สินค้าเราแก้ปัญหา-ตอบโจทย์มากน้อยแค่ไหน?
  • ทรัพยากรบุคคลในการไปบริหารเพียบพร้อมแค่ไหน?

ในแง่การทำงานในชีวิตประจำวัน ลองตั้งโจทย์ว่า 

  • อะไรที่… “ไม่ควรทำ”
  • สิ่งไหนที่… “ไม่ควรไล่ตาม”
  • ตัวเลือกไหนที่ควร… “ตัดทิ้ง” 

เป็นการสกรีนตัวเลือกที่ไม่สำคัญทิ้งไป ช่วยประหยัดเวลาได้มาก แถมเหนื่อยน้อยลง

นอกจากนี้ ทุกสิ่งมี Deadline ตัวเลือกต่างๆ ก็เช่นกัน ให้ “กำหนด Deadline” ลงไปยังตัวเลือกนั้นๆ และสัญญากับตัวเองว่าต้องตัดสินใจก่อน Deadline 

แน่นอนว่าเรื่องนี้สร้าง “ความเครียด” แต่ผลวิจัยเผยว่า ความเครียดในระดับกำลังดี (Optimal stress) กลับเป็นผลดีต่อเราในการคิดวิเคราะห์และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์…Deadline ที่ใส่ลงไปจึงต้องสมเหตุสมผลทำได้ทันเวลาเช่นกัน

Calendar

Description automatically generated

สำหรับตัวเลือกที่เป็นเชิง “นามธรรม” ที่ไม่มีถูกผิดเชิงตรรกะ อย่างเช่น การเลือกว่าจะใช้ “สี” ไหนเป็นสีเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในสื่อแคมเปญการตลาด เราอาจจะมีเหตุผลพื้นฐานรองรับ แต่สุดท้ายให้ลอง “ถามใจตัวเอง” ดูว่าลึกๆ แล้วเรียกร้องตัวเลือกไหนกันแน่

Suzy Welch นักเขียนด้านธุรกิจชาวอเมริกัน แนะนำเคล็ดลับ “10/10/10” ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกว่า

  • คุณจะรู้สึกอย่างไรกับมันในอีก 10 นาทีข้างหน้า
  • คุณจะรู้สึกอย่างไรกับมันในอีก 10 เดือนข้างหน้า
  • คุณจะรู้สึกอย่างไรกับมันในอีก 10 ปีข้างหน้า

ถ้าตัวเลือกนั้นทำให้รู้สึกดีในอีก 10 นาทีข้างหน้า แต่เริ่มชักไม่แน่ใจในอีก 10 เดือน…อาจเป็นสัญญาณให้คุณมองหาตัวเลือกใหม่

.

ประเด็นเรื่อง FOBO เราแก้ได้ด้วยการเขียน “โจทย์-เป้าหมาย” ขึ้นมาก่อน จากนั้น เขียน “ข้อดี-ข้อเสีย” ของแต่ละตัวเลือก สุดท้ายตัวที่ตัดสินใจเลือก ขอแค่ตอบโจทย์เป้าหมายที่วางไว้ได้ก็ถือว่าสำเร็จแล้ว

A person writing on a piece of paper

Description automatically generated with medium confidence

ต้องไม่ลืมว่า ถ้ามัวแต่ลังเลชักช้าไม่กล้าตัดสินใจซะที ตัวเลือกนั้น(ที่ดีเพียงพอ)อาจไม่มีอยู่ให้เลือกแล้ว โอกาสนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว

นอกจากนี้ เรายังแก้ได้ด้วยทัศนคติที่ว่า อนาคตย่อมดีกว่าปัจจุบันตามพัฒนาการของเทคโนโลยี แม้ตัวเลือกในวันนี้จะดีที่สุด…แต่ก็แค่ชั่วคราว เพราะอนาคตจะมีที่ดีกว่านี้ขึ้นไปอีก ทัศนคติทำนองนี้ยังช่วยให้เรา “ไม่ยึดติด” กับของเก่า และพร้อมเปิดรับของใหม่อยู่ตลอด

สุดท้ายแล้ว การตัดสินใจ คือจุดเริ่มต้นของการลงมือทำถัดไป

ยิ่งตัดสินใจได้เร็วเท่าไร ยิ่งเห็นผลลัพธ์เร็วขึ้นเท่านั้น

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง