📰 บทความทั้งหมด

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เราน่าจะเคยเห็นแบรนด์ที่ “สำเร็จชั่วข้ามคืน” สร้างความน่าอิจฉาและภาวนาให้เกิดกับแบรนด์ตัวเอง แต่ขณะเดียวกัน หลังจากที่ปลุกปั้นมานาน ก็มีบางแบรนด์ที่ “พังในชั่วข้ามคืน” เอาดื้อๆ ได้เหมือนกัน  จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้แบรนด์ที่ทำพัง น่าจะมีประโยชน์และน่าเรียนรู้กว่าศึกษาแบรนด์ที่สำเร็จ เพราะปัจจัยที่ทำให้สำเร็จมักมี “มากกว่า” ปัจจัยที่ทำให้ล้มเหลว หรือก็คือ แบรนด์มีวิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จแตกต่างกัน แต่มักมีวิธีที่ทำให้ล้มเหลวคล้ายกัน ถ้าทำตามแบรนด์ที่สำเร็จ…อาจไม่ได้สำเร็จตามเสมอไป แต่ถ้าทำตามแบรนด์ที่ล้มเหลว…การันตีได้เลยว่าล้มเหลวแน่ Warren Buffett ยังเคยกล่าวว่า “ชื่อเสียงใช้เวลาสร้าง 20 ปี แต่ถูกทำลายลงได้ในง่ายๆ ภายใน 5 นาที” แล้วมีอะไรบ้างที่ทำให้แบรนด์ล้มเหลว…จนถึงขั้นอาจพังทั้งแบรนด์ได้ในชั่วข้ามคืน? อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ไม่ได้เป็น อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ “ไม่ใช่” มักเกิดกับแบรนด์ที่สำเร็จระดับนึงแล้ว ความสำเร็จอยู่ตัวแล้ว มี Best practice หรือแพทเทิร์นที่การันตีความสำเร็จแล้ว ลูกค้ารู้จักและเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่องแล้ว  แล้วมักอยาก “ลองของ” อะไรใหม่ๆ (อาจเกิดจากพนักงานหน้าใหม่-ความคิดใหม่) ซึ่งการลองอะไรใหม่ๆ เป็นเรื่องดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ “ใช่” ของแบรนด์ด้วย ไม่อย่างนั้น อาจเกิด Backlash ลูกค้าไม่ยอมรับ เมินหน้าหนี […]

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

Brand Consistency – เสมอต้นเสมอปลาย ก่อน-หลังเลือกตั้ง Brand Transparency – โชว์ความสุจริตโปร่งใสผ่าน FB LIVE Brand Citizenship – พูดคุยกับคนทุกอาชีพอย่างเป็นกันเอง จากกิจกรรมตลอดการหาเสียงและการทำงานในทุกวันเมื่อเป็นผู้ว่ากทม. มาวันนี้ “อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ได้กลายมาเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในมุมการตลาดและในฐานะผู้นำองค์กรที่เราควรเรียนรู้ไว้ อ.ชัชชาติมาเกี่ยวข้องยังไงกับการบริหารองค์กร? แม้การเป็นผู้ว่ากทม.จะแตกต่างจาก CEO บริษัท เพราะประชาชนไม่ใช่พนักงาน เพราะเงินเดือน CEO ไม่ได้มาจากภาษีพนักงาน และเพราะเราไม่ได้วัดคุณค่าของคนจาก Performance ที่ทำได้เสมอไป แต่ผู้ว่ากทม.ภายใต้การนำของ อ.ชัชชาติ กลับสะท้อนภาพภาวะ “ความเป็นผู้นำ” ที่น่าประทับใจ (จนแม้แต่ในแวดวงนักธุรกิจยังให้การชื่นชม) ถ้าอย่างนั้น เราลองมาวิเคราะห์ อ.ชัชชาติ ในมุมการตลาดและแกะรอยภาวะความเป็นผู้นำของเค้าดูกัน บอกเลยว่าน่าสนใจจนใช้เป็น Role Model ได้เลย!  Brand Consistency อ.ชัชชาติยังคง “เสมอต้นเสมอปลาย” ตื่นมาทำงานแต่เช้าตรู่ เลิกดึกดื่น แถมทำงานโดยที่ไม่มีวันหยุด 7 วัน/สัปดาห์ และบุคลิกความ […]

McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก

McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก

McKinsey คือบริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก รายได้กว่า 300,000 ล้านบาท พนักงานกว่า 30,000 คน ให้คำปรึกษาบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 90 จาก 100 บริษัท ในแทบทุกการตัดสินใจเชิงโครงสร้างของบริษัทชั้นนำของโลก…จะต้องมีชื่อ McKinsey เป็นที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลัง  น่าสนใจไม่น้อยว่า McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? ถึงมีอิทธิพลและได้รับความไว้วางใจมากขนาดนี้ จุดเริ่มต้นจากความไร้ประสิทธิภาพ McKinsey & Company ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1926 โดยศาสตราจารย์ James O. McKinsey จากอดีตที่เคยปรึกษากลยุทธ์ทางธุรกิจให้แก่องค์กร รัฐบาล และสถาบันชั้นนำต่างๆ ได้ผันตัวมาเปิดบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง เขาได้แรงบันดาลใจจากก่อตั้งบริษัทมาจากการเห็น ความไร้ซึ่งประสิทธิภาพ (Inefficiencies) ในการบริหารงานองค์กรมากมาย…แม้แต่องค์กรใหญ่ก็ตาม ด้วยสเกลที่ใหญ่ ความไร้ประสิทธิภาพจึงมีผลกระทบแง่ลบมากตามไปด้วย เขาจึงตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือตรงนี้ แรกเริ่มให้คำปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจโดยอิงจาก “หลักการทางบัญชี” (ผู้ก่อตั้งมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรง) มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาวิธีพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร ก่อนจะขยายครอบคลุมไปอุตสาหกรรมอื่นๆ พร้อมกับการพัฒนาองค์ความรู้เชิงลึกเฉพาะทาง  จนก้าวขึ้นสู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลกในไม่กี่ทศวรรษต่อมา Only Top Talents […]

กรณีศึกษา Business Transformation ล้มเพื่อลุกขึ้นบิน

กรณีศึกษา Business Transformation ล้มเพื่อลุกขึ้นบิน

ขอต้อนรับสู่กรณีศึกษา Business Transformation หรือ “การปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่” จาก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ในหลายวงการธุรกิจ เพราะการจะคาดเดาอนาคตได้ การเรียนรู้จากอดีต น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด… Fujifilm ก่อตั้งเมื่อปี 1934 Fujifilm เริ่มมาจากการเป็นผู้ผลิตกล้องฟิล์มชั้นนำซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเคียงคู่กับ Kodak แบรนด์ผู้ผลิตกล้องฟิล์มสัญชาติอเมริกัน ทั้งคู่คือผู้นำตลาดที่ครองบัลลังก์มาเนิ่นนาน แต่แล้วในปี 2000 อินเตอร์เน็ตและการเติบโตอย่างรวดเร็วของกล้องดิจิตอลเริ่มสั่นสะเทือนธุรกิจหลักของ Fujifilm และแล้วก็มาถึงปี 2007 ปีเปิดตัว iPhone นวัตกรรมที่ต่อมาจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนทั้งโลก รวมถึงธุรกิจหลักของบริษัท Fujifilm  เพราะมีไอโฟนก็เหมือนมีกล้องไปในตัว แถมภาพดิจิตอลชัดกว่ากล้องฟิล์มมาก ยอดขายกล้องฟิล์มถดถอยลงเรื่อยๆ ร้านล้างฟิล์มปิดตัวลงนับไม่ถ้วนทั่วโลก แต่ Fujifilm โอบกอดการเปลี่ยนแปลง เริ่มหันมาโฟกัสที่กล้องดิจิตอล ขณะเดียวกัน ทุ่มงบ R&D เพื่อดูว่าทรัพยากรที่มีอยู่มหาศาลจะต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไร ปี 2007 เดียวกันนี้ ได้กระโดดเข้าสู่ธุรกิจเครื่องสำอาง ออกแบรนด์ Astalift ครีมชะลอการเหี่ยวย่นของผิวที่ต่อยอดมาจากคอลลาเจนที่ใช้รักษาสภาพฟิล์ม ปี 2008 รุกตลาดเวชภัณฑ์และการวินิจฉัยโรคด้วยการ X-Ray ซึ่งเป็นสิ่งที่ […]

ลดคน VS. ลดเงิน แบบไหนคือทางที่ใช่?

ลดคน VS. ลดเงิน แบบไหนคือทางที่ใช่?

ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ หลายบริษัทถูกบังคับให้ต้องตัดสินใจระหว่าง “ลดคน หรือ ลดเงิน” 2 ทางเลือกนี้ให้ผลลัพธ์หนึ่งที่เหมือนกัน คือ “ลดต้นทุน” บริษัทได้จริง แต่ผลกระทบด้านอื่นที่ตามมากลับแตกต่างกันไปคนละทาง และบริบทสถานการณ์รอบด้าน (Context) ก็สำคัญไม่น้อย บริษัท A ปลดคนออก เพราะเหมาะสมต่อสถานะทางการเงินของบริษัทที่สุด ขณะที่บริษัท B ลดเงินเดือน เพราะก็เหมาะสมต่อสถานการณ์บริษัทที่สุดเช่นกัน ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก…เราควรตัดสินใจเลือกแบบไหนดี? ลดคน Ben Horowitz ผู้ก่อตั้ง Opsware และผู้เขียนหนังสือแนวพัฒนาองค์กรที่สมจริงที่สุดแห่งยุคอย่าง The Hard Thing About Hard Things กล่าวจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า  หลายครั้ง สภาวะเศรษฐกิจภายนอกมีอำนาจเหนือกว่าองค์กรของคุณมาก…คุณต้องเล่นตามเกม! ดังนั้น มันขึ้นอยู่กับว่าบริษัทคุณอยู่ในช่วงเวลา ‘Wartime’ (วิกฤติเศรษฐกิจ, บ้านกำลังไฟไหม้) หรือ ‘Peacetime’ (โตระเบิด, บ้านกำลังต่อเติมใหม่) Peacetime ไม่ใช่ปัญหาเลย ธุรกิจคุณอาจโตระเบิดท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำด้วยซ้ำ แต่ Wartime ต่างหากที่ยากลำบากที่สุด บริษัทเขาเคยยืนอยู่ขอบเหวว่าจะไปรอดหรือไม่รอด […]