📰 บทความทั้งหมด
Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”
สร้าง “เรื่องราว” แทนที่จะเป็น…ข้อมูลตัวเลข ให้ “ความหมาย” แทนที่จะเป็น…คำอธิบาย เร่งเร้า “อารมณ์” แทนที่จะเป็น…ตรรกะเหตุผล ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนคือคาแรคเตอร์ของกับดักจิตวิทยาอันทรงเสน่ห์ที่เรียกว่า “Narrative Bias” Narrative Bias: ถูกล่อลวงใจง่ายๆ ด้วย “เรื่องเล่า” Narrative Bias คือกับดักจิตวิทยาที่มนุษย์ชอบทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ในรูปแบบ “เรื่องเล่า-เรื่องราว” พยายามหาความหมาย-ความเชื่อมโยงที่กระตุ้น “อารมณ์” แต่เวลาสิ่งใดก็ตามถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวอันน่าติดตาม มันมัก “กลบ” ตัวแปรข้อเท็จจริงมากมายระหว่างทาง ซึ่งบ่อยครั้ง เป็นการบิดเบือนความจริง และนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ทำไมเรามักติดกับดัก Narrative Bias ได้ง่าย? Yuval Noah Harari เผยว่า ทักษะหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารคือ ความสามารถในการ “ร่วมมือกัน” (Cooperation) แต่การจะไว้เนื้อเชื่อใจและร่วมมือกันได้นั้น ทุกฝ่ายต้องจับมือเห็นพ้องตรงกันเสียก่อน และวิธีที่มีประสิทธิภาพมาโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลก็คือ การสร้างเรื่องเล่า-เรื่องราว (Narrative Bias เกิดขึ้นมานานแล้ว) ตำนานเรื่องราวต่างๆ (Mythology) เกิดขึ้นก่อนปรัชญาหรือศาสนาด้วยซ้ำ ก่อนที่คนจะเริ่มคิดอะไรแบบวิทยาศาสตร์ (Think […]
Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอก
ไม่ต้องรีบก็ได้ค่ะ…แค่มีลูกค้าอีก 5 ท่านต่อคิวมาดูห้องคอนโดนี้อยู่ ของมีจำกัด หมดแล้วหมดเลย!! ชอปแบรนด์เนมที่ดิสเพลย์สินค้าแค่ไม่กี่ชิ้น เหล่านี้คือเทคนิคทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Scarcity Error” Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอกง่าย Scarcity Error คือภาวะหลงกลทางจิตวิทยาที่คนเรามักให้คุณค่า(มากเกินไป) กับอะไรก็ตามที่ขาดแคลนมีปริมาณน้อย (Scarcity) มองข้ามราคาและคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพียงเพราะมันเหลือน้อย ศาสตราจารย์ Stephen Worchel จาก University of Hawaii ทำการทดลองโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และแจกคุกกี้ชนิดเดียวกัน กลุ่มแรก – ได้รับคุกกี้เต็มโถ กลุ่มที่สอง – ได้รับคุกกี้เพียง 2 ชิ้นจากทั้งโถ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง “ประเมินคุณภาพโดยสายตา” (Visual quality assessment) ก่อนจะพบว่า กลุ่มที่สองให้ “คะแนนสูงกว่า” กลุ่มแรกมาก!! ซึ่งมันย้อนแย้งกับความเป็นจริง คุกกี้ทั้งสองเป็นชนิดเดียวกันเป๊ะ และกลุ่มแรกได้คุกกี้เต็มโถซึ่งมีความ “อุดมสมบูรณ์” น่าจะให้คุณค่า-คุณภาพมากกว่า…แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม การทดลองลักษณะนี้ยังถูก […]
Appearance Illusion: เครื่องสำอางอาจไม่ได้ทำให้นางแบบดูดี
นางแบบใช้เครื่องสำอางจนสวย นักบาสเหาะไปดั๊งค์ได้เพราะฝึกซ้อมหนัก เก่ง ฉลาด มากความสามารถ เพราะจบจาก Harvard เหตุผลเหล่านี้เป็นที่ยอมรับกันในโลกกระแสหลัก แต่ก็ระวังให้ดี เพราะมันไม่จริงเสมอไป บางครั้งมันนำไปสู่ความเข้าใจผิดที่เรียกว่า “Appearance Illusion” Appearance Illusion นางแบบอาจไม่ได้สวยเพราะเครื่องสำอาง Appearance Illusion คือ ความเข้าใจผิดที่มองว่า “คุณสมบัติ คือ ผลลัพธ์” เป็นความสับสนว่า…อะไรคือสาเหตุของผลลัพธ์ที่เห็นกันแน่? (สับสนว่า “ตัวแปร A” ทำให้เกิด “ผลลัพธ์ B”…ทั้งที่อาจไม่จริง) เช่น นางแบบใช้เครื่องสำอางจนสวยเจิดจรัส นี่คืออีกหนึ่ง “อคติปราบเซียน” ที่อยู่รอบตัวเรา เพราะมันมักจะดู “สมเหตุสมผล” จากเปลือกนอก แต่พอวิเคราะห์ดูดีๆ อาจไม่ใช่อย่างนั้น Appearance Illusion ในวงการถ่ายแบบ ในวงการนางแบบมืออาชีพ สิ่งที่เป็นภาพจำมาคู่กันเลยคือ การใช้เครื่องสำอางและแบรนด์แฟชั่นต่างๆ เพื่อให้ตัวเองดูสวย นางแบบคนนั้นใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้…จึงดูดี นางแบบคนโน้นใส่เสื้อผ้าแบรนด์โน้น…จึงดูดี ใช่…ทั้งเครื่องสำอาง / เสื้อผ้า / การดูแลตัวเอง ล้วนทำให้คนๆ […]
Chauffeur Knowledge: ความรู้ผิวเผินที่ถูกส่งต่อกันมา
ไลฟ์โค้ชหยิบคำคมเท่ๆ จากหนังสือมาบอกต่อ คนที่ไม่เคยทำธุรกิจ แต่ขายคอร์สสอนทำธุรกิจ เซลส์ที่อธิบายสินค้าราวกับเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นใครพยายามทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วยวาทศิลป์และลีลาการพูดอย่างมีเสน่ห์…ระวังไว้ให้ดี คุณอาจเจอกับ “Chauffeur Knowledge” เข้าให้แล้ว!! Chauffeur Knowledge: ความรู้ผิวเผินที่ถูกส่งต่อกันมา Chauffeur Knowledge สื่อถึงกลุ่มคนที่รู้อะไรแบบ “ผิวเผิน” แล้วส่งต่อความรู้นั้นไปให้คนอื่น (บางคนถึงขั้น “สั่งสอน”) ราวกับโชเฟอร์คนขับรถที่แอบฟังเนื้อหาต่างๆ จากบุคคลสำคัญที่นั่งเบาะหลัง จนสามารถ “จำ” ประเด็นสำคัญๆ / หัวข้อใหญ่ๆ / คำพูดเท่ๆ ได้ทั้งหมด (แต่จะอธิบายรายละเอียดไม่ได้) “จำเก่ง” แต่ไม่ได้ “เก่งจริง” ความรู้มี 2 ประเภท Charlie Munger ผู้เปรียบดั่ง “มือขวา” ของ Warren Buffett เผยว่า ความรู้แบ่งได้หลักๆ 2 ประเภท Real knowledge: ความรู้เชิงลึกที่จะได้จาก “ประสบการณ์จริง” Chauffeur knowledge: ความรู้แบบ […]
Forer Effect: ทำนายแบบนี้…ใครๆ ก็ว่าแม่น
“คุณโอบกอดการเปลี่ยนแปลง และพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ” “ลึกๆ แล้วคุณอยากเป็นที่ยอมรับในสังคม” “คุณภูมิใจที่มีความคิดอิสระเป็นของตัวเอง” “ช่วงนี้ตลาดผันผวน เราแนะนำให้คุณระวังการลงทุน” ช่างเป็นคำพูดที่คมคาย แต่เมื่อพิจารณาดีๆ…มันก็เข้าข่ายทุกคนไม่ใช่เหรอ? ถูกต้องแล้ว นี่คือกับดักสุดแนบเนียนที่เรียกว่า “Forer Effect” Forer Effect: พูดแบบนี้ใครๆ ก็พูดได้ คิดค้นโดยคุณ Bertram Forer (1914-2000) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เขาค้นพบว่าจะมีบางชุดความคิด-ประโยค-คำพูด ที่ “เป็นกลาง…ใครๆ ก็เข้าข่าย” เหมือนกันหมด (Universal description) พูดไปแล้วถูกจริตกับทุกคน…ใช้ได้กับทุกคน!! เขานิยามมันว่า “Forer Effect” ตามชื่อตัวเอง เรื่องนี้เขาไม่ได้คิดทึกทักขึ้นเอง แต่พิสูจน์แล้วจากการทดลอง ปี 1948 Bertram Forer ทำการทดลองโดยเขียนคำบรรยายที่ “สะท้อนตัวตน” เหล่านักศึกษาของเขา และให้แต่ละคนมอบคะแนนลงไประหว่าง 1-5 (5 = ใกล้เคียงที่สุด) เช่น มีแรงขับภายในอันแรงกล้าที่อยากเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับจากผู้อื่น รู้ตัวว่ามีข้อเสียบางอย่าง และยังใช้ศักยภาพที่มีอยู่ไม่เต็มที่ แม้ภายนอกจะดูแข็งแกร่ง แต่บางครั้งภายในช่างบอบบาง บ่อยครั้ง […]
False Causality: สิ่งที่เกิดก่อนไม่ใช่ “สาเหตุ” เสมอไป
ยิ่งจ้างพนักงานดับเพลิงมากเท่าไร…ไฟไหม้ยิ่งเกิดบ่อยเท่านั้น ยิ่งทาครีมกันแดดบ่อยๆ ยิ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ท้องเสียหลังกินกาแฟเสร็จ กาแฟต้องเป็นสาเหตุแน่ๆ ถ้าดูเผินๆ ก็ฟังดูมีเหตุผล แต่เดี๋ยวนะ…มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เหรอ? หรือว่าคุณกำลังตกหลุมพราง “False Causality” อยู่กันแน่?!! False Causality สิ่งที่เกิดก่อน ไม่ใช่สาเหตุเสมอไป False Causality คือกับดักทางความคิดที่เราด่วนสรุปไปเองว่า “A ทำให้เกิด B” (A เป็นสาเหตุของ B) ทั้งที่ความจริงแล้ว… อาจเป็น B ต่างหากที่ทำให้เกิด A หรือ C ต่างหากที่ทำให้เกิด B หรือแม้แต่…ทั้งคู่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่แรกอยู่แล้ว!! เช่น ลม VS. กังหันลม…เมื่อเห็นกังหันลม (Windmill) หมุนๆๆ เราอาจเผลอคิดไปว่า “กังหันลมทำให้เกิด 🡺 ลม” แต่คำตอบทางวิทยาศาสตร์คือ ลมเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศสองแห่งที่มี อุณหภูมิต่างกัน…การเกิดลมจึงไม่จำเป็นต้องมีกังหันลม แต่กังหันลมจะหมุนได้จำเป็นต้องมีลมมาผลิตพลังงานให้หมุน เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า False Causality เป็นเรื่องอันตรายมาก เมื่อคิดผิด […]
Salience Bias: จุดเด่นเพียงเรื่องเดียว พาให้ตัดสินใจพลาด
ผู้หญิงถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO ในบริษัทวิศวกรรม นักลงทุนตกใจกับข่าว CEO ถูกพักงาน รถสวยมาก จนมองข้ามฟังก์ชั่นการใช้งานอื่น ซื้อผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่นเพราะแพกเกจจิ้งสวยๆ ล้วนๆ เรื่องราวต่างกัน แต่มีจุดร่วมหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ Salience Bias การถูกหลอกล่อเพราะจุดเด่นเพียงเรื่องเดียว Salience Bias คืออะไร? เป็นภาวะที่ “จุดเด่นเพียง 1 เรื่อง” มีอิทธิพลอย่างมากในการ “ชี้นำ” ให้เราคิดหรือตัดสินใจบางอย่าง (ซึ่งมักเป็นการตัดสินใจที่ผิด) คือสิ่งที่โดดเด่นในการรับรู้ เห็นง่าย เข้าใจง่าย ดู ‘เผินๆ’ เหมือนเป็นเหตุและผลของกันและกัน (แต่ความจริงแล้วไม่ใช่!) หลอกล่อให้เราคิด / เชื่อ / ตัดสินใจบางอย่าง…เนื่องจากคนเรามักมองข้ามสิ่งที่ไม่เด่นชัด-ที่เห็นได้ยาก หรือต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ Salience Bias เป็นกลไกลการทำงานของสมอง(และสายตา) ที่อยู่คู่กับมนุษย์เรามาช้านาน เพราะช่วยให้เรา “โฟกัส” สิ่งที่สำคัญที่สุด โดดเด่นที่สุด ต่างจากพวกที่สุด เช่น ลายสิงโตท่ามกลางทุ่งหญ้า / หลังจระเข้ในบ่อน้ำ / งูพิษบนต้นไม้…เป็นกลไกที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิตนั่นเอง คุณอาจปะทะกับจุดเด่นอย่าง […]
Fear of Regret: กลัวเสียใจภายหลังจากสิ่งที่ได้ทำลงไป
ถือหุ้นต่อไม่ยอมขาย…แม้จะขาดทุนเพิ่มขึ้นๆ ดื้อรั้นทำธุรกิจต่อ…แม้สถานการณ์ดูไม่มีอนาคตแล้ว ไม่ยอมบอกเลิก…ทั้งๆ ที่หมดรักเขาแล้ว นี่คือตัวอย่างของการกลัวความเสียใจ (Fear of Regret) ที่แทบทุกคนในแทบทุกวงการต้องเคยสัมผัสมาไม่มากก็น้อย Fear of Regret คืออะไร? การกลัวเสียใจภายหลัง (Fear of Regret) เป็นความรู้สึกด้านลบที่นำไปสู่การรักษาสถานะปัจจุบันที่เป็นอยู่ (Status quo) ซึ่งหากวิเคราะห์ในเชิงตรรกะแล้ว อาจพบว่าไม่มีเหตุผลเท่าที่ควรเลย เป็นความรู้สึกที่ชวนให้เราจินตนาการถึง “ค่าเสียโอกาส” (Opportunity cost) เช่น ถ้าเลือกหุ้นตัวอื่นป่านนี้รวยไปแล้ว หรือ ถ้าเลือกคุยกับคนอื่นที่จริงจังกว่านี้ ป่านนี้อาจแต่งงานลูกสองไปแล้วก็ได้ จากตัวอย่างการถือหุ้นในมือที่เกริ่นไป เพราะการขายขาดทุน คือการยอมรับว่าตัวเอง “คิดผิดแต่แรก” ความกลัวนี้เองทำให้นักลงทุนดื้อรั้นถือต่อไป และหวังลมๆแล้งๆ ให้หุ้นขึ้น…ซึ่งเรื่องอื่นๆ ก็ล้วนมีแพทเทิร์นนี้เหมือนกันหมด Fear of Regret รอบตัวเรา ไม่มีอะไรจะทรงประสิทธิภาพมากไปกว่า “Last chance” โอกาสสุดท้ายอีกแล้ว เช่น “วันสุดท้ายแล้วที่สินค้านี้ลดราคา 80% พลาดแล้วพลาดเลย” ซึ่งกระตุ้นความไม่ make sense ของพฤติกรรมคนเราบางอย่าง […]
The Curse of knowledge: ยิ่งรู้มาก ยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง!
พูดอะไรไม่เห็นรู้เรื่องเลย มีแต่ศัพท์ยากๆ เรื่องแค่นี้ทำไมไม่รู้!! VS. เกิดมาก็พึ่งรู้นี่แหล่ะ!! นี่เขาอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจจริงๆ หรือให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจกันแน่เนี่ย นี่คือสถานการณ์อันน่าเป็นห่วงของ “Curse of Knowledge” ยิ่งรู้มาก…กลับกลายเป็นยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง!! Curse of Knowledge เรื่องแค่นี้ทำไมไม่รู้?!! Curse of Knowledge คือ ภาวะที่ผู้เชี่ยวชาญมี “ความรู้ท่วมหัว” จนทุกอย่างดูเหมือนง่ายไปหมด รู้มากเสียจนรู้สึกว่า เรื่องยากกลายเป็นง่าย…ขณะที่คนทั่วไปยังมองว่ายากอยู่!! นำไปสู่ความล้มเหลวในการอธิบาย “สื่อสาร” กับคนทั่วไป (Laypeople) ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะทึกทักไปว่าเขาต้อง ทำได้…อย่างที่เราทำ เป็น…อย่างที่เราเป็น คิด…แบบที่เราคิด เข้าใจ…แบบที่เราเข้าใจ “เรามองว่าง่าย…คนอื่นก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ เช่นกัน” ทั้งที่ความจริงแล้ว คนทั่วไปมองว่า “โห…ยากจัง ไม่เห็นรู้เรื่องเลย” Curse of Knowledge เกิดขึ้นได้อย่างไร? คนเรากว่าจะเข้าใจถ่องแท้เรื่องหนึ่งย่อมใช้เวลา / ความพยายาม / ทรัพยากร / ประสบการณ์ เราต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม / ลงเรียนหลายคอร์ส […]