The Curse of knowledge: ยิ่งรู้มาก ยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง!

The Curse of knowledge: ยิ่งรู้มาก ยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง!
  • พูดอะไรไม่เห็นรู้เรื่องเลย มีแต่ศัพท์ยากๆ
  • เรื่องแค่นี้ทำไมไม่รู้!! VS. เกิดมาก็พึ่งรู้นี่แหล่ะ!!
  • นี่เขาอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจจริงๆ หรือให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจกันแน่เนี่ย

นี่คือสถานการณ์อันน่าเป็นห่วงของ “Curse of Knowledge” ยิ่งรู้มาก…กลับกลายเป็นยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง!!

Curse of Knowledge เรื่องแค่นี้ทำไมไม่รู้?!!

Curse of Knowledge คือ ภาวะที่ผู้เชี่ยวชาญมี “ความรู้ท่วมหัว” จนทุกอย่างดูเหมือนง่ายไปหมด รู้มากเสียจนรู้สึกว่า เรื่องยากกลายเป็นง่าย…ขณะที่คนทั่วไปยังมองว่ายากอยู่!! 

นำไปสู่ความล้มเหลวในการอธิบาย “สื่อสาร” กับคนทั่วไป (Laypeople) ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะทึกทักไปว่าเขาต้อง 

  • ทำได้…อย่างที่เราทำ 
  • เป็น…อย่างที่เราเป็น 
  • คิด…แบบที่เราคิด
  • เข้าใจ…แบบที่เราเข้าใจ

“เรามองว่าง่าย…คนอื่นก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ เช่นกัน” ทั้งที่ความจริงแล้ว คนทั่วไปมองว่า “โห…ยากจัง ไม่เห็นรู้เรื่องเลย”

Curse of Knowledge เกิดขึ้นได้อย่างไร?

คนเรากว่าจะเข้าใจถ่องแท้เรื่องหนึ่งย่อมใช้เวลา / ความพยายาม / ทรัพยากร /  ประสบการณ์ เราต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม / ลงเรียนหลายคอร์ส / พูดคุยกับคนหลายคน / ประสบการณ์ทำงานหลายแห่ง

เหล่านี้ “หล่อหลอม” ให้องค์ความรู้ของคุณไต่ระดับไปอีกขั้นจน “เหนือกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป” และที่สำคัญ คุณรู้สึกเป็นธรรมชาติมากๆ กับเรื่องยากที่รู้

Curse of Knowledge ไม่ใช่สิ่งที่เราคิดไปเอง มีการทดลองหนึ่งในปี 1990 โดย Elizabeth Newton ที่สะท้อนเรื่องนี้ได้ชัดเจนมาก 

เธอให้ผู้ทดลองใช้ “มือเคาะ” บนโต๊ะให้เป็น “จังหวะดนตรี” ยอดฮิตของยุคนั้น ผู้ทดลองแต่ละคนทายว่า คนฟังกว่า 50% จะต้องรับรู้แน่ๆ ว่าตนกำลังเคาะเป็นจังหวะเพลงฮิตอะไรอยู่ แต่ผลปรากฎว่า…คนฟังที่รับรู้จริงๆ มีอยู่แค่ 2.5% เท่านั้น!!

  • ผู้เคาะ ได้ยินเป็นเสียง “จังหวะดนตรี” อันไพเราะ 
  • ผู้ฟัง ได้ยินเป็นเสียง “ก๊อกแก๊กๆ” หนวกหู

Curse of Knowledge ในธุรกิจ

“ผลิตภัณฑ์นี้นี้ใช้งานง่ายมากๆ ลูกค้าต้องชอบแน่”

คุณในฐานะคนคิด คนออกแบบ คนแก้ปัญหา ลองผิด-ลองถูกอยู่ 100 รอบ ย่อมต้องรู้สึกแบบนี้ในท้ายที่สุดอยู่แล้ว…แต่บรรดาลูกค้าที่พึ่งได้ลองใช้ “ครั้งแรก” ไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลย อาจไม่ได้คิดเหมือนคุณ สรุปคือ ลูกค้า “ไม่ซื้อ” เพราะมองว่าใช้งานยาก

.

Curse of Knowledge ยังนำไปสู่ความไม่ลงรอยกันของการสื่อสาร วิศวกรพรีเซนท์กลไกการทำงานของเครื่องยนต์ต่อหน้า CEO มักคิดว่าสิ่งที่อธิบายเป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ แต่ฝั่ง CEO กลับมองว่าเป็นศัพท์เทคนิคยากๆ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

ยิ่งรู้เยอะ…ยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง

ป้องกัน Curse of Knowledge ได้อย่างไร?

“เอาใจเขามาใส่ใจเรา” น่าจะเป็นด่านแรกที่ดีที่สุด คิดซะว่าต้องการผลลัพธ์คือการสื่อสารที่ “เข้าใจตรงกัน” (ไม่ใช่การมาอวดภูมิความรู้)

  • เลิกมองในมุมผู้สอน…ให้มองในมุมผู้เรียน
  • เลิกมองในมุมผู้สร้าง…ให้มองในมุมผู้ใช้งาน

.

ศึกษาประวัติผู้ฟังก่อนว่ามี “แบคกราวน์” ด้านไหน เช่น ถ้าจบเกียรตินิยมด้านการเงิน ก็สามารถใช้คำย่อหรือศัพท์เทคนิคด้านการเงินได้โดยตรง เช่น Derivatives / EBITDA / QE / Treasury Yield

.

อีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้ได้ดีคือการ “เปรียบเปรย” (Metaphor) 

History: ประวัติศาสตร์เหมือนแม่น้ำลำธาร ไหลไปข้างหน้าอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย 

Philosophy: โลกก็เหมือนเวที โดยมีคนอย่างพวกเราเป็นนักแสดง

Health: รถเสียหาอะไหล่ใหม่แทนได้ แต่ร่างกายคนพังแล้วพังเลย

Transport: รถไฟฟ้าเหมือนเส้นเลือดใหญ่ รถเมล์เหมือนเส้นเลือดฝอย

สำหรับวงการโฆษณาหรือใครที่ต้องติดต่อลูกค้าโดยตรง วิธีที่ดีที่สุดคือการ “ไปพบลูกค้า” และคุยอย่างเปิดอกเพื่อเรียนรู้และฟังว่า ลูกค้าคิดอย่างไร / มีวัฒนธรรมอย่างไร / ใช้ภาษาอย่างไร

  • คุณใช้คำว่า “เรียกร้องความสนใจ” VS. ลูกค้าใช้คำว่า “หิวแสง”
  • คุณใช้คำว่า “โอ บง แปง” VS. ลูกค้าใช้คำว่า “อุบลพรรณ”
  • คุณใช้คำว่า “ชูครีม” VS. ลูกค้าใช้คำว่า “เอแคลร์”

เพียงเท่านี้ ก็สามารถหลีกเลี่ยง Curse of Knowledge ได้มากแล้ว พร้อมใช้ภูมิปัญญาที่มี ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างผลประโยชน์ให้แก่บริษัท!!

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง