Fiji Water ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์น้ำแร่หรูหรามีรสนิยม

Fiji Water ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์น้ำแร่หรูหรามีรสนิยม

Fiji Water คือแบรนด์น้ำแร่หรูแถวหน้าของโลก เป็นที่นิยมในหมู่ดาราไฮโซคนมีชื่อเสียง วางขายใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก

จากจุดเริ่มต้นในเวลาไม่กี่ทศวรรษ Fiji Water ได้ขึ้นสู่แถวหน้าของแบรนด์น้ำแร่หรู เป็นภาพลักษณ์ที่ใครหลายคนอยากดื่ม…หรือแค่ถือเท่ๆ ไว้ข้างกาย

Fiji Water มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่?

จุดเริ่มต้นจากประเทศฟิจิ

Fiji Water ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 โดยนักธุรกิจชาวแคนาดาคุณ David Gilmour เป็นแบรนด์น้ำแร่หรูที่มีแหล่งกำเนิดมาจากใต้บาดาล (Artesian aquifer) แหล่งน้ำในหมู่เกาะวิติเลวู (Viti Levu) ประเทศฟิจิ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุจากธรรมชาติ

A picture containing blue

Description automatically generated

วัตถุดิบชั้นดีนี้จะถูก “ถ่ายทอด” ออกไปสื่อเพื่อครองใจผู้คนด้วยวิธีการต่างๆ จนวางขายอยู่กว่า 90 ประเทศทั่วโลก และเป็นตัวเลือกน้ำแร่หรูอันดับต้นๆ แทบทุกสถานที่

Storytelling

ฟิจิเป็นประเทศที่มีเกาะเล็กเกาะน้อยกว่า 300 เกาะ สภาพแวดล้อมยังมีความอุดมสมบูรณ์ ยังไม่ถูกแตะต้องจากอารยธรรมมนุษย์มากนัก และอยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ประเทศออสเตรเลียที่อยู่ใกล้ยังห่างออกไปเกือบ 3,000 กม. ด้วยแหล่งที่มาเริ่มต้นเช่นนี้ (Country of origin) ทำให้ดูน่าค้นหาและมีความ Exotic ในตัวมันเองในมุมมองของผู้บริโภคส่วนใหญ่ 

Fiji Water จึงใช้ข้อได้เปรียบตรงนี้มาสร้างความแตกต่างในใจลูกค้า (Perceptual differentiation) ออกสโลแกนบริษัท “Earth’s Finest Water” น้ำแร่ที่ดีที่สุดในโลกจากประเทศฟิจิ อุดมด้วยแร่ธาตุมากมาย เช่น ซิลิกา / แคลเซียม / แมกนีเซียม  

A picture containing text, sign, drinking water

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3kJlwcT

และมีกรรมวิธีในการนำน้ำดื่มตั้งแต่ต้นทางจนออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ตรงหน้า ไม่ผ่านมือมนุษย์เลย (Unmanned & Untouched)

Hi-end Pricing

ด้วยคุณภาพที่สูงลิบ และเจาะกลุ่มลูกค้ากระเป๋าหนักที่พร้อมจ่ายเพื่อภาพลักษณ์และไลฟ์สไตล์ Fiji Water จึงสามารถตั้งราคาที่สูงได้

ถ้าวัด “ปริมาณต่อราคา” แล้ว Fiji Water แพงกว่าน้ำดื่มส่วนใหญ่ในท้องตลาด แพงกว่าเบียร์ และอาจแพงกว่าไวน์ซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยซ้ำ กระนั้นเชียว ก็ยังมีลูกค้าผู้จงรักภักดีซื้อหาเป็นประจำ แล้วลูกค้าเหล่านั้นคือใคร?

ดังในหมู่ดารา

แต่ Fiji Water ก็รู้ดีว่าการโฟกัสที่คุณภาพอย่างเดียวคงไม่พอ โดยเฉพาะในตลาดน้ำดื่มที่แม้แต่ผู้บริโภคเองก็แยกแยะได้ยาก 

จึงหันไปโฟกัสที่การสร้าง “ภาพลักษณ์” โดย “ผูก” ผลิตภัณฑ์ตัวเองเข้ากับ ดาราและคนมีชื่อเสียงแถวหน้าในสังคม (โดยเฉพาะสายแฟชั่น/ไฮโซ) เพราะดาราคนไหนดื่ม Fiji Water…เราก็อยากลองซื้อหามาดื่มบ้าง

A collage of a person and person

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3iaqPAw

  • แทรกชื่อ Fiji Water ลงในสคริปต์บทพูดในหนัง 
  • วาง Product Placement ในหนังอย่างแนบเนียน 
  • สปอนเซอร์งานกีฬา เช่น กอล์ฟ-พายเรือ 
  • สนับสนุนเทศกาลดนตรีและแฟชั่นต่างๆ เช่น New York Fashion Week
A group of people sitting around a table

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/39DS0z9

มีการทำ “Precision Marketing” ที่ลงลึกทุกรายละเอียด เช่น ใส่ “ความเยอะ” ที่เสริมภาพลักษณ์ให้ยิ่งแกร่ง โดยนำ Fiji Water จำนวน 10 ขวดเล็ก มาประจำอยู่ ณ ห้องแต่งตัวของดาราหญิง โดยทุกขวดต้องจัดเรียงอย่างสวยงาม ปราศจากหลอดเพื่อรักษ์โลก และรักษาให้อยู่ในอุณหภูมิห้องเสมอ (Room temperature)

ทั้งหมดนี้เพื่อเสริมภาพลักษณ์ความเป็น “Iconic Premium Water Status”

เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์

Fiji Water ยังจับมือเป็นพันธมิตรกับระบบนิเวศน์ใน “วงการหรู” ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งโรงแรมหรู / รีสอร์ทหรู / ภัตตาคารหรู / สปาหรู / ชอปแฟชั่นหรู เพื่อที่จะนำ Fiji Water ไปวางและเสิร์ฟแก่ลูกค้าในทุกโอกาส (ในบางแห่ง สามารถโค่นเจ้าตลาดอย่าง Evian ได้ด้วยซ้ำ)

A picture containing person, indoor, preparing, meal

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/2ZuDh7D

ในบางสถานที่มีการกำชับถึงความพิธีรีตองในการเสิร์ฟ Fiji Water

  • ใส่ถุงมือสีขาวหยิบเครื่องดื่มมาเสิร์ฟ
  • โชว์ฉลากให้ลูกค้าเห็นก่อน
  • รินอย่างประณีต ใส่แก้วที่สวยงามหรูหรา

เรื่องนี้ยังตรงกับการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2026 กว่า 35% ของมูลค่าการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวด (Bottled water segment) จะเกิดขึ้นที่นอกบ้าน (Out-of-home consumption) เช่นที่ บาร์และร้านอาหาร

Free Media

เมื่อ “สถานที่ x ผู้คน” มาบรรจบกัน ยิ่งกลายเป็นแรงผลักดัน (Leverage) ให้แบรนด์ได้พื้นที่สื่อเข้าไปอีก เช่น ดาราไฮโซเข้าพักโรงแรม 5 ดาวและนั่งรับประทานในห้องอาหารหรู 

พฤติกรรมคนกลุ่มนี้ก็มักจะถ่ายรูปอัพเดทลงโซเชียลของตัวเองที่มีผู้ติดตามนับล้านคน โดยที่บนโต๊ะอาหาร…มีตราสัญลักษณ์น้ำดื่ม Fiji Water โชว์หราอยู่ (แม้จะไม่ตั้งใจโชว์ก็ตาม)

Packaging

Fiji Water ออกแบบขวดน้ำให้ดูสวยงามโดดเด่น (Aesthetically pleasing packaging) ด้วยสีประจำแบรนด์คือสีน้ำเงินเด่นหรามาแต่ไกล

นอกจากมีให้เลือก 5 ขนาดด้วยกันก็จริง แต่จากภาพลักษณ์ที่ปรากฎในสื่อบ่อยที่สุด คือ “ขนาดเล็ก 330 ml” พอดีมือ ซึ่งมักตั้งอยู่ข้างๆ มื้ออาหารที่ถูกตกแต่งจัดวางอย่างสวยงาม มีอิทธิพลให้ผู้บริโภคเกิดการ “เลียนแบบ” 

แม้การซื้อขนาดใหญ่จะถือว่า “คุ้ม” กว่าในแง่ปริมาณ แต่ผู้บริโภคบางกลุ่มก็ยังเลือกที่จะซื้อขนาดเล็กเพื่อภาพลักษณ์…และในแง่ของบริษัท น้ำขวดเล็กมีกำไรสูงสุดต่อหน่วยเช่นกัน

A person holding a bottle

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3lVkcDe

Fiji Water ยังคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค เช่น แบบเปิดจุกที่เหมาะกับการออกกำลังกาย (Ready for the gym)

นอกจากนี้ ยังใช้ขวดประเภท PET (Polyethylene Terephthalate) เกรดคุณภาพสูง มีความแข็งแรงทนทาน ทนต่อความเป็นกรดและป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ นอกจากจะรีไซเคิลได้ 100% แล้ว ยังช่วยรักษาคุณภาพน้ำแร่ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดได้เสมอ

.

การมี “คุณภาพสินค้า” ที่ดีจริงเป็นทุนเดิม ผสานกับการตลาดที่ถูกกลุ่มเป้าหมายและถูกจริตในการนำเสนอ ทำให้แบรนด์เล็กๆ แบรนด์หนึ่ง ก้าวกระโดดจนขึ้นมาเป็นตัวเลือกหลัก แถมมีสไตล์-มีรสนิยมทุกครั้งที่หยิบขึ้นมาดื่ม

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/2Xtzpmn

อ้างอิง