LEGO ปั้นองค์กรอย่างไร? ของเล่นเด็กที่อยู่รอดท่ามกลางโลกไฮเทค

LEGO ปั้นองค์กรอย่างไร? ของเล่นเด็กที่อยู่รอดท่ามกลางโลกไฮเทค
  • LEGO เป็นผู้ผลิตของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ปี 2020 รายได้ 225,000 ล้านบาท กำไร 50,660 ล้านบาท
  • ส่งมอบจินตนาการในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก

เป็นของเล่นที่ประทับใจอยู่ในความทรงจำวัยเด็กของพวกเรา และยังอยู่รอดท่ามกลางเกมออนไลน์ของโลกยุคใหม่ได้อย่างสง่างาม

LEGO มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่?

จุดเริ่มต้นแสนเรียบง่าย

ปี 1932 ณ ประเทศเดนมาร์ก คุณ Ole Kirk Christiansen เป็นช่างไม้ที่ใช้เวลาว่างนำเศษไม้เหลือมาประดิษฐ์ประดอยเป็นสิ่งของต่างๆ นี่คือทักษะพื้นฐานสำคัญที่ในปีเดียวกันนั้น เขาได้ก่อตั้งโรงงานผลิตของเล่นตัวต่อที่ชื่อว่า “LEGO” ขึ้นมา โดยโฟกัสที่ตึกอาคารและเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน

A sign on a building

Description automatically generated with medium confidence

ต่อมา โรงงานผลิตตัวต่อที่ทำด้วยไม้เกิด “ไฟไหม้ใหญ่” จนวอดวาย นี่คือจุดพลิกผันที่ต่อมาเขาเปลี่ยนจากเลโก้ที่ทำด้วยไม้ ค่อยๆ ทยอยเปลี่ยนเป็นพลาสติกทั้งหมด ซึ่งมีข้อดีในระยะยาวกว่าแบบไม้ เช่น

  • เหมาะกับการผลิตปริมาณมากๆ เชิงอุตสาหกรรม
  • ออกแบบให้มีสีสันได้หลากหลายกว่า
  • อายุคงทน ยืนยาวกว่า ปลอดภัยกว่า
  • น้ำหนักเบากว่า บรรจุและขนส่งง่ายกว่า
A picture containing indoor, stuffed, toy, cluttered

Description automatically generated

เมื่อตัวต่อมีความยืดหยุ่นในการออกแบบขึ้น เขาได้สร้างเลโก้รูปคนที่ต่อมาเรียกว่า “Minifigure” ในรูปลักษณ์หน้าตา ยูนิฟอร์ม และอาชีพอันหลากหลาย เช่น หมอ / ตำรวจ / วิศวกร / นักธุรกิจ / โจรผู้ร้าย / อัศวิน / คาวบอย…ทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา มีคาแรคเตอร์ มีเรื่องราวเกิดขึ้น พร้อมๆ กับออกแบบ “กลไก” ที่ทำให้ต่อได้หลากหลายแบบ (ไม่ง่ายเกิน แต่ก็ไม่ยากเกิน)

A picture containing toy, bunch, indoor, group

Description automatically generated

Image Cr. https://bit.ly/3gUSpRH

เมื่อกลไกมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง มาผสานกับเรื่องราวจินตนาการไม่รู้จบ LEGO จึงเข้าไปอยู่ในใจเด็กน้อยผู้เปี่ยมไปด้วยจินตนาการและความอยากรู้อยากเห็นได้ไม่ยาก

A picture containing text, person, indoor

Description automatically generated

นี่คือพื้นฐานที่แข็งแกร่งของ LEGO ที่ต่อมาประสบความสำเร็จจนเติบโตขยายไปทั่วโลก ขึ้นแท่นแบรนด์ผู้ผลิตของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้รับความนิยมถึงขนาดที่ว่า “เลโก้” กลายเป็นคำเรียก “ตัวต่อ” ไปแล้ว

ผลิตภัณฑ์เพื่อครอบครัว

วิสัยทัศน์ผู้ก่อตั้งได้คิดสโลแกนว่า “Only the best is good enough.” เพื่อยึดมั่นในการส่งมอบคุณภาพที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า และเป็นอิทธิพลจากอาชีพช่างฝีมือ (ช่างไม้) ที่จะต้องมีความพิถีพิถันละเมียดละไมในทุกรายละเอียด

A picture containing building

Description automatically generated

นอกจากนี้ยังมีการออกแบบ “Family Experience” วางจุดยืนและออกแบบสินค้าให้เหมาะกับการเป็น “กิจกรรมสำหรับครอบครัว” ที่สะท้อนไปยังเรื่อง

  • องค์ประกอบเลโก้ที่หลากหลาย (ช่วยกันต่อ)
  • ความซับซ้อนที่มากขึ้น (พ่อแม่ได้สอนลูกต่อ)
A group of people playing a board game

Description automatically generated with medium confidence

เพราะในยุคแรก เด็กอาจคือผู้ต้องการเลโก้ แต่เป็นพ่อแม่ที่ออกเงิน เมื่อพ่อแม่เห็นความสำคัญของเลโก้และตัวเองสามารถมีส่วนร่วมใช้เวลากับลูกๆ ได้ (แถมสินค้าคุณภาพดี เล่นแล้วปลอดภัย) ยิ่งน่าดึงดูดให้ซื้อเข้าไปใหญ่

Partnership

อีกก้าวกระโดดสำคัญของ LEGO คือการจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่มีตัวละครโด่งดังระดับโลก เช่น Star Wars / Marvel / Jurassic Park และอื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากเรื่องจินตนาการที่นำฮีโร่ในใจออกมาสู่นอกจอแบบ “จับต้องได้” แล้ว ยังเป็นการขยายฐานลูกค้าให้ใหญ่ขึ้นมหาศาล (แค่แฟนๆ ผู้คลั่งไคล้ Star Wars ก็มีอยู่ทั่วโลกแล้ว) โดยธีม Star Wars ติดอันดับขายดีที่สุดตลอดกาลของ LEGO

A group of toy figures

Description automatically generated with low confidence

จากเดิม ความต้องการเกิดจากเด็กเรียกร้องให้พ่อแม่ซื้อ แต่ตอนนี้ กลายเป็นผู้ใหญ่ซื้อมาต่อเอง หรือ ซื้อมาแล้วโน้มน้าว-แนะนำให้ลูกๆ รู้จักแทน (พ่อชอบ Star Wars ก็มักอยากให้ลูกชอบ Star Wars ด้วย)

พร้อมแตกแขนงรูปแบบตัวต่อเพื่อสร้างยอดขายเพิ่ม อย่างการทำ Minifigure ของตัวละครดังๆ แยกออกมาต่างหาก เช่น เซ็ท Captain America / Ironman / Superman / Hulk / Mario / Jack Sparrow

นอกจากนี้ยังได้จับมือกับสถาบันต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วย เช่น จับมือกับ NASA 

ชุดตัวต่อเลโก้ NASA จะให้ความรู้พื้นฐานด้านจักรวาล / ดาราศาสตร์ / กระสวยอวกาศ / สถานีอวกาศ / ดาวเทียม ฯลฯ ซึ่งจะกระตุ้นความสนใจของเด็กๆ ให้อยากศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อไป

ยอมรับความผิดพลาด

จากความสำเร็จของตัวต่อเลโก้ และจากโมเดลความสำเร็จของ Disneyland (จากในจอ สู่นอกจอสร้างสวนสนุก)

บริษัทได้ต่อยอดสู่จินตนาการที่ไม่ใช่แค่จับต้องได้ แต่ราวกับมีอยู่จริงรอบตัว ณ สวนสนุก “Legoland” ซึ่งสร้างกระแสตอบรับที่ดีมากในช่วงทศวรรษแรก แต่ในเวลาต่อมา ระยะยาวความนิยมลดน้อยลงต่อเนื่อง รายได้ไม่เพียงพอต่อต้นทุนการดำเนินงาน ทำให้ตัวเลขขาดทุนต่อเนื่อง

A picture containing text, sky

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3kG2a7m

สุดท้าย บริษัทยอมรับความผิดพลาด ปิด Legoland สาขาที่ไม่ทำกำไร ยุติการขยายสาขา หรือปรับปรุงแผนเดิมที่จะเปิดเพิ่มโดยลดสเกลขนาดสวนลงมา ในภาพรวม LEGO กลับไปโฟกัสธุรกิจส่วนที่ตัวเองถนัดนั่นก็คือตัวต่อเลโก้ดั้งเดิม

User-Generated Imagination

เมื่อก่อน นักออกแบบของบริษัทจะเป็นคนคิดค้นและนำเสนอให้ลูกค้า แต่ในยุคที่ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย LEGO จึงได้สร้าง “แพลตฟอร์ม” ของตัวเองขึ้นมาและให้ลูกค้าเข้ามาเสนอแชร์ไอเดียเลโก้ใหม่ๆ มีการโหวตให้คะแนนความนิยม ไอเดียนั้นชนะจะนำไปผลิตจริง (และมีดีมานต์จริงรองรับอยู่)

LEGO ยังได้ลงทุนในโซเชียลมีเดีย แอปที่เชื่อมโยงโลกออนไลน์-ออฟไลน์ เว็ปไซต์ของตัวเอง ระบบออนไลน์อื่นๆ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ทุกช่องทาง

พร้อมๆ กับการทยอยปรับปรุง LEGO Store ที่มีอยู่กว่า 680 สาขาทั่วโลก ให้มีดีไซน์ทันสมัยขึ้น ลูกค้าเข้ามาแล้วสัมผัสได้ถึง “ประสบการณ์” ภายในร้าน

The LEGO Movie

ปี 2014 LEGO ได้กระโดดเข้าสู่วัฒนธรรม Pop Culture ที่เข้าถึงคนหมู่มากและหลากหลายกลุ่มมากขึ้น โดยออกฉายหนังแอนิเมชั่น “The LEGO Movie” ที่บอกเล่าเรื่องราวการผจญภัย มิตรภาพ และมุขตลกขำขัน

องค์ประกอบฉากในหนังส่วนใหญ่ถอดแบบมาจากเลโก้ที่มีอยู่จริงทั้งหมด และนำเสนอ “ตัวละคร” ที่ทาง LEGO ไปจับมือเป็นพันธมิตร เช่น Batman / Superman / นินจาเต่า / และอีกมากมาย

แน่นอนว่า เด็กๆ จะได้เพลิดเพลินไปกับเลโก้ที่ตนรักโลดแล่นบนจอ

และผู้ใหญ่ก็ดูดี…สร้างความคิดถึงวัยเยาว์ ปลุกความเป็นเด็กที่หลับใหลอยู่ในตัวผู้ใหญ่ทุกคน

คุณค่าโลกสมัยใหม่

LEGO ถือเป็นบริษัทเก่าแก่อายุเกือบ 100 ปี เริ่มในต้นศตวรรษที่ 20 จนมาสู่ศตวรรษที่ 21 เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน คุณค่าใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นตามมา และ LEGO ไม่ลืมที่จะนำเสนอคุณค่าดีๆ เหล่านั้น ในฐานะที่เป็นบริษัทใหญ่มี “อิทธิพล” ต่อความคิดเด็กและผู้คนทั่วโลก เช่น

Diversity – เมื่อก่อนตัวต่อเลโก้ที่เป็นคน มักถอดแบบรูปลักษณ์มาจากฝรั่งผิวขาวเกือบทั้งหมด แต่เดี๋ยวนี้มีแทบทุกเชื้อชาติแล้ว และมาในเครื่องแบบอาชีพที่หลากหลาย (ผู้หญิงก็เป็นวิศวกรได้)

Inclusivity – มีการแสดงออกที่ยอมรับในความหลากหลายทางกายภาพ เช่น มีเลโก้ที่เป็นผู้พิการนั่งวีลแชร์ ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น มาพร้อมโลโก้ที่จอดรถผู้พิการ (Priority parking)

A toy figurine of a person driving a toy car

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bit.ly/3mXchaK

Sustainability – ทุ่มงบกว่า 13,000 ล้านบาททยอยเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่ยั่งยืนทั้งหมดภายในปี 2030 เช่น ใช้พลาสติกชีวภาพจากต้นอ้อยมาผลิตเลโก้ หรือ เปลี่ยนแพกเกจจิ้งจากถุงพลาสติกเป็นถุงกระดาษ

และยังมี “ตัวต่อรักษ์โลก” ที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลซึ่งจะออกวางจำหน่ายภายในปี 2022 

ทั้งหมดนี้ LEGO จึงไม่ใช่แค่บริษัทขายของเล่นตัวต่ออีกต่อไป แต่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ฝึกทักษะ พื้นที่ให้จินตนาการได้โลดแล่น กิจกรรมในการสร้างความสัมพันธ์ พร้อมๆ กับโปรโมทคุณค่าที่ดีงามของโลกยุคใหม่ 

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง