บอกลา Quiet Desperation เป็นเลิศได้…แม้ไม่ได้รักงานที่ทำ

บอกลา Quiet Desperation เป็นเลิศได้…แม้ไม่ได้รักงานที่ทำ

องค์กรวิจัยไม่แสวงผลกำไรอย่าง The Conference Board เปิดเผยผลสำรวจว่า คนทำงานชาวอเมริกันกว่า 50% ไม่พึงพอใจกับชีวิตการทำงานตรงหน้าของตัวเอง…แต่ไม่สามารถเปิดเผยออกมาได้ ซึ่งคาแรคเตอร์นี้ยังเกิดขึ้นในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ที่มีการแข่งขันสูงด้วย 

นี่คือภาวะแสนอึดอัดที่เรียกว่า “Quiet Desperation” หรือการใช้ชีวิต “สิ้นหวังจนตรอก” แบบ “เงียบๆ” โดยไม่บอกใคร (หรือบอกไม่ได้)

A picture containing building, outdoor, street, sidewalk

Description automatically generated

อะไรทำให้เกิด Quiet Desperation?

นัยหนึ่ง มาจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการเลือก “เส้นทางชีวิต” ในอดีตของคุณ (เช่น สาขาที่เรียน / งานแรกที่ทำ) ซึ่งส่งผลมาถึงปัจจุบัน ทำให้คุณ “ติดกับดัก” ออกไปไหนไม่ได้ เช่น ชีวิตปูทางมาด้านบริหารธุรกิจ ภายหลังพบว่าตัวเองอยากเป็น “แพทย์” แต่ชีวิตไม่สามารถกลับไปตั้งต้นใหม่ได้แล้ว

ทั้งนี้ ยังมาจากการตั้ง “ความคาดหวังที่สูงลิบ” (Colossal expectation) ต่อหน้าที่การงานของคุณเอง

  • ตั้งเป้า เพิ่มยอดขาย 150% แต่ทำได้จริง 50%
  • ตั้งเป้าอายุ 30 ต้องมีโน่นนี่นั่น แต่ถึงเวลาจริงมีไม่ครบ
A dart board with darts

Description automatically generated with medium confidence

Allan Pease และ Barbara Pease สองสามีภรรยาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษากาย และนักเขียนหนังสือขายดีกว่า 10 เล่ม เช่น Why Men Don’t Listen and Women Can’t Read Maps เผยว่า “ผู้ชาย” มีโอกาสเกิด Quiet Desperation สูงกว่าผู้หญิงอย่างมีนัยยะสำคัญ

ซึ่งมีคำอธิบายจากกระบวนการวิวัฒนาการที่หล่อหลอมให้ผู้ชายมีแรงผลักดันในการขึ้นเป็น “ผู้นำจ่าฝูง” 

รวมถึงในแง่วัฒนธรรมที่สังคมคาดหวังให้ผู้ชายเป็นคน “หาเงิน” เข้าบ้าน ต้องประสบความสำเร็จ หรือต้องมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงกว่าฝ่ายหญิง สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ชายทำทุกวิถีทางเพื่อให้มีเงินเยอะๆ ประสบความสำเร็จเร็วๆ แม้งานที่ทำจะไม่ได้หลงรักก็ตาม

A picture containing person

Description automatically generated

Quiet Desperation ยังถูกกระตุ้นให้เลวร้ายลงไปอีก(ทั่วโลก) เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19

  • Layoff ครั้งใหญ่ ตกงาน-หางานใหม่ไม่ได้ 
  • หรืองานที่ได้ไม่ตอบโจทย์ แต่ต้องทำๆ ไปก่อน
  • ปรับลดเงินเดือน แต่ งานหนักขึ้น
  • WFH แต่ปรับตัวไม่ได้ ชีวิตทำงาน-ส่วนตัวมั่วไปหมด
A picture containing qr code

Description automatically generated

ต้องไม่ลืมว่า Quiet Desperation ยังเกิดขึ้นได้กับกลุ่ม “คนเก่งชั้นนำ” (Top talents) ที่หน้าที่การงานดีอยู่แล้วได้เช่นกัน พวกเค้าอาจทำได้ดีเยี่ยมเป็นทุนเดิม แต่เบื่อหน่ายงานที่ทำ แต่ก็ไม่กล้าออกจาก Comfort Zone ไปหาสิ่งใหม่ๆ

บอกลา Quiet Desperation สำเร็จได้…แม้ไม่ได้รักงานที่ทำ

แม้ไม่ได้ชอบงานที่ทำอยู่ตอนนี้ แต่ก็ทำให้ผลงานออกมาดีได้ และไม่แน่…สุดท้ายคุณอาจเริ่มชอบงานที่ทำอยู่ก็ได้

คุณ Tina Seelig นักคิดสร้างนวัตกรรมจาก Stanford University และผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง What I Wish I Knew When I Was 20 เผยว่า ในทางอุดมคติ มีอยู่ “3 แก่น” ในการทำงานด้วยกันที่คุณต้องหาให้เจอ

  • คุณชอบอะไร?
  • คุณเก่งเชี่ยวชาญอะไร?
  • ตลาดต้องการอะไร?

ถ้าค้นพบทั้ง 3 อย่างด้วยกัน โชคดีด้วย…ทุกวันคุณจะแทบไม่รู้สึกว่าทำงานเลย

อย่างไรก็ตาม แม้คุณไม่ได้ชื่นชอบงานที่ทำอยู่ แต่ค้นพบว่าคุณกลับทำมันได้ดี และ ตลาดต้องการ มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่อง…อย่างน้อย คุณก็สามารถหาเลี้ยงชีพได้ เติบโตในหน้าที่การงาน ได้เรียนรู้พัฒนาตัวเองใหม่ๆ จึงไม่มีอะไรต้องเสียใจผิดหวังเลย

A person sitting in a chair with a computer

Description automatically generated with medium confidence

Dr. Robert Anthony ศาสตราจารย์ด้านบริหารธุรกิจจาก Harvard Business School และผู้เขียนหนังสือ The Ultimate secrets of Total Self-Confidence เผยว่า 

ไม่แปลกที่ความภาคภูมิใจของคนเราจะตกต่ำลง เพราะเรามัก “ผูก” คุณค่าตัวตน VS. อาชีพการงาน

  • ถ้าการงานไปได้ เราจะภาคภูมิใจ มีความสุข
  • ถ้าการงานไม่ดี เราจะท้อแท้สิ้นหวัง ไม่มีความสุข

ซึ่งอันที่จริงแล้ว 2 สิ่งนี้ควรจะเป็น “คนละเรื่อง” กัน แก่นสำคัญที่สุดคือ “ตัวตนของคุณเอง” คุณควรรู้สึกโชคดีและภาคภูมิใจในการดำเนินต่อสู้กับชีวิต แม้ว่าสถานะการงานจะย่ำแย่ก็ตาม มนุษย์เรามี Quality อีกหลายอย่างที่ควรให้คุณค่านอกเหนือจากแค่อาชีพการงาน

คุณลุง Yeong-su Oh  นักแสดงอาวุโสคนเดียวจากซีรี่ส์ Squid Game ที่สร้างกระแส Soft Culture ไปทั่วโลก เผยว่า สังคมที่แข่งขันสูงอย่างเกาหลีมักให้คุณค่าเฉพาะกับที่ 1 โดยเพิกเฉยต่อที่ 2-3-4 ราวกับว่าพวกเค้าไม่มีตัวตน

สุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะอยู่อันดับที่เท่าไรก็ตาม มันอาจไม่สำคัญด้วยซ้ำถ้าคุณได้ “สู้เต็มที่” แล้ว ความพยายามและเจตนาดีควรถูกบรรจุอยู่ในการพิจารณาด้วย…ไม่ใช่แค่ผลลัพธ์อย่างเดียว

Amy Wrzesniewski นักจิตวิทยาจาก Yale University แนะนำวิธี “Job Reframing” ตีกรอบทัศนคติที่มีต่ออาชีพของคุณใหม่ เพื่อหาความหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เช่น

  • เป็นแค่แม่บ้านทำความสะอาดห้องน้ำ 🡺 ทูตต้อนรับแขกนานาชาติจากทั่วโลก (ผ่านการสร้างความประทับใจด้วยห้องน้ำที่สะอาดเอี่ยม)

หรือแม้แต่ผู้บริหารในองค์กรใหญ่บางท่าน ก็ยอมรับว่าตัวเอง “ไม่ได้มี Passion” ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำอยู่ตอนนี้ตั้งแต่แรกหรอก คือจุดที่ยืนอยู่ ณ ปัจจุบันไม่ได้มาจากการวางแผนเป๊ะๆ บางทีก็จับพลัดจับผลูมาได้ โชคดีกว่าคนอื่นบ้าง จังหวะชีวิตเหมาะเจาะบ้าง 

แต่แม้จะไม่ได้มี Passion เต็มเปี่ยมชนิด “ฝันมาแต่เด็ก” แต่ในฐานะผู้นำและความรับผิดชอบที่มีอยู่ในมือ ก็ต้องแสดงความเป็น “มืออาชีพ” ทำงานให้ดีที่สุดพอ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 

A person carrying a brown purse

Description automatically generated with low confidence

ส่วนงานที่รัก-สิ่งที่ชอบจริงๆ ก็ “ไปหาเอานอกงาน” แทน ซึ่งคุณก็ต้องรู้จักบริหารเวลาให้ดี บาลานซ์สิ่งต่างๆ ให้ลงตัว

แต่ทั้งนี้ ระหว่างเส้นทางมืออาชีพที่เดินไปสู่เป้าหมาย ส่วนใหญ่มักหล่อหลอมให้คุณเริ่มที่จะ “หลงรัก” งานที่ทำอยู่ขึ้นมาเอง

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3ncMz0g

อ้างอิง