- เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็นั่งสมาธิ
- แอปเพลงช่วยกล่อมนอนโตระเบิด
- และสปาที่เต็มทุกที่หลังเปิดโควิด
ชัดขนาดนี้ ไม่ต้องสงสัยแล้วว่าเรากำลังอยู่ในยุคของ “Mind-Healing” เมื่อผู้คนเยียวยาจิตใจตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ไปแล้ว!
Mind-Healing: เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น
Mind-Healing ไม่ใช่แค่เทรนด์ในเมืองไทยหรือระดับภูมิภาค แต่เป็นเทรนด์ระดับทั่วโลก (Global trend) และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ส่วนนึงเพราะ ผู้คนเหนื่อยล้าและเจ็บปวด(ทางกาย-ใจ) มาเยอะแล้วจากยุคโควิด-19 เมื่อได้สัมผัส Mind-Healing ซึ่งเป็นการเยียวยาใจที่ดีเลิศและผ่อนคลายสุดๆ ย่อมรู้สึก “ติดใจ”
นอกจากนี้ Mind-Healing ไม่ใช่การบริโภคครั้งเดียวแล้วหมดไปเหมือนการไปกินบุฟเฟ่ต์ แต่เป็นการ “เดินทางระยะยาว” ภายในจิตใจตัวเอง บางคนใช้เวลาหลายเดือน บางคนใช้เวลาหลายปี และบางคนอาจใช้เวลาหลายทศวรรษเลยทีเดียว
กิจกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจที่วนรอบ Mind-Healing จึงมี “มูลค่าสูง” และเกิดการ “บริโภคซ้ำ” เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง (เช่น เข้าสปาทุกอาทิตย์) และถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย
โดยมูลค่าอุตสหากรรมทั่วโลกที่เกี่ยวกับ Mind Healing ทั้งหมด เช่น สปา / การทำสมาธิ / การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นถึง 2 เท่าจากนี้
- ปี 2019 มีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านเหรียญ
- ปี 2027 คาดว่ามูลค่าจะโตไปถึง 9,000 ล้านเหรียญ
Mind-Healing เยียวยาใจเพื่อการงาน สังคม และจิตวิญญาณที่เติมเต็ม
Mind-Healing ย่อมมาคู่กับ Mindfulness โดยปัจจุบันมี “แอป” มากมายที่ช่วยสอนการนั่งสมาธิอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (เช่น Calm) มีจังหวะเสียงให้เราหายใจเข้าออก วิธีนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด โฟกัสกับปัจจุบัน จนไปถึงกระตุ้นความครีเอทีฟในหัว
Time Warner และ Sony เป็นอีกบริษัทระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานโดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารระดับสูง มีโปรแกรมดูแลด้าน “Executive Coaching” ให้กับผู้บริหารในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะ เพราะคนกลุ่มนี้ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดของงานที่ต้องรับผิดชอบ / การบริหารสมาชิกทีมที่มีความหลากหลายสูง / หรือความแตกต่างด้านวัฒนธรรมในทุกๆ เรื่อง
การเดินทางท่องเที่ยว “พักผ่อน” ในหลายรูปแบบก็เป็น Mind-Healing ตัวมันเอง ทั้ง Staycation ในเมืองที่ตัวเองอยู่ หรือไปพักผ่อนต่างจังหวัดในที่ที่ยังไม่เคยไป โดยเฉพาะอย่างหลังอาจกลายเป็น “Self-Discovery” การได้รู้จักตัวเองในอีกตัวตนนึง คุณอาจพึ่งรู้ว่าคุณชอบไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ แบบนี้ ชอบกินอะไรแปลกใหม่แบบนี้ ชอบไปสถานที่ใหม่ๆ แนวนี้
อีกเกร็ดความรู้คือ เมื่อพูดถึง Mind-Healing เราจะพูดถึง “Sleep economy” หรือ เศรษฐกิจของการนอนไม่ได้
เพราะการนอนหลับ คือการเยียวยากายใจทาง “ธรรมชาติ” ที่ดีที่สุด การนอนหลับอย่างมีคุณภาพช่วย “ปรับอารมณ์” ให้สดชื่นขึ้น ลดความเครียด มีกำลังใจขึ้น มองโลกในแง่ดีขึ้น
และถ้าเรานอนไม่พอจะส่งผลเสีย “มหาศาล” ผลวิจัยใน 4 ยักษ์ใหญ่บริษัทสัญชาติอเมริกันพบว่า การนอนไม่เพียงพอส่งผลให้พนักงานเกิด Lost Productivity สูงถึงคนละ $3,500/ปี
หากมองในสเกลใหญ่ขึ้น RAND Corporation สถาบันด้านการวิจัยชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานว่า การนอนหลับไม่เพียงพอ สร้างความเสียหายมหาศาลแก่เศรษฐกิจทั้งประเทศโดยรวม
- อเมริกา 411,000 ล้านดอลล่าร์
- ญี่ปุ่น 138,000 ล้านดอลล่าร์
- เยอรมนี 60,000 ล้านดอลล่าร์
- อังกฤษ 40,000 ล้านดอลล่าร์
สุดท้ายแล้วมนุษย์เป็น “สัตว์สังคม”
ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ที่ประชาชนมีสวัสดิการที่เลิศและมากพอจนสามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ถึงกับมีการออกมารณรงค์ให้คนแก่อย่าแยกไปอยู่คนเดียวตามบ้านพักคนชราเลย (ซึ่งมักแยกขาดจากสังคมภายนอก) แต่ให้มาใช้ชีวิตอาศัยในเมือง ได้พบปะเจอผู้คนที่หลากหลายทั้งเพศ / อายุ / เชื้อชาติ / ความคิด / ฐานะ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่หลากหลายในทุกๆ วันก็มอบ “ความสุข” อันเรียบง่ายให้คนเราได้แล้ว
ตัวอย่างง่ายๆ ของสัตว์สังคม สมมติว่าเราต้องนัดปาร์ตี้กับเพื่อนผ่านโลก Metaverse อันไฮเทค VS. นัดเจอเพื่อนกินอิซากายะ เชื่อว่าอย่างหลังจะมอบ “ประสบการณ์” ที่สุขสมกว่ามากชนิดที่แบบแรกเทียบไม่ติด
แบรนด์ประยุกต์ใช้ยังไงได้บ้าง?
องค์กรอาจต้องเริ่มมองหา “Corporate Psychologist” นักจิตวิทยาประจำองค์กร ซึ่งใช้หลักการทางจิตวิทยามาผสมผสานเข้ากับกลยุทธ์การทำงานได้ทุกเรื่องในบริษัท
โดยหน้าที่หลักที่เกี่ยวข้องกับ Mind-Healing จะครอบคลุมถึงการร่วมออกแบบสภาพแวดล้อมภายในออฟฟิศ / ทำงานกับ HR เพื่อหาพนักงานที่เข้าได้กับคนอื่นๆ ไม่เกิด Toxic / หรือทำงานกับ HR เพื่อออกแบบนโยบายด้าน Mental Well-Being ให้พนักงาน
Mind-Healing มักเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากการทำงานที่หนักเกินไป องค์กรต้องคิดหาทางทำยังไงก็ได้ให้พนักงาน “ทำน้อยแต่ได้มาก” เช่น
- ถ้าเป็นงาน Productive ให้ทำที่บ้าน
- ถ้าเป็นงาน Creative ถึงค่อยเข้าออฟฟิศมาระดมสมอง
แม้แต่ “เวลาเข้างาน” ก็ตาม เป็นไปได้ไหมที่จะให้พนักงานบางคนที่เป็น “นกฮูก” นอนดึกตื่นสาย มีสมาธิทำงานสูงสุดตอนกลางคืน ให้เข้างานสายกว่าคนอื่น
นอกจากนี้ องค์กรอาจต้องออกแบบนโยบาย “Mind Sharing” ที่ไม่ใช่แค่แลกเปลี่ยนไอเดียความคิดเห็น แต่เป็นการแลกเปลี่ยน “ความในใจ” แก่กัน นอกจากลดความเครียด ได้ระบายความอัดอั้นใจกันแล้ว ยังสร้างความ “ไว้เนื้อเชื่อใจ” (Trust) ให้เกิดขึ้นภายในทีมด้วย
เพราะสุดท้ายแล้ว ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่ใครก็ตาม ลึกๆ ก็ต้องการ Mind-Healing ทางใดทางหนึ่งเพื่อเยียวยาใจตัวเอง
.
ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com
ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/
อ้างอิง
- https://www.forbes.com/sites/jonisweet/2021/12/28/10-wellness-trends-you-have-to-try-in-2021/?sh=6fa0f9aced8a
- https://www.aptusfinancial.com/aptitudes-and-attitudes/2019/01/15/2019-4-1-the-self-healing-global-economy
- https://www.rand.org/randeurope/research/projects/the-value-of-the-sleep-economy.html
- https://www.scientificamerican.com/article/the-science-of-healing-thoughts/