Rearview Mirror Syndrome: มัวแต่มองหลัง แล้วจะเดินหน้าได้ยังไง

Rearview Mirror Syndrome: มัวแต่มองหลัง แล้วจะเดินหน้าได้ยังไง
  • น่าจะรู้อย่างงี้ตั้งแต่(ก่อน)อายุ 20
  • ถ้าทำได้ ก็อยากกลับไปเลือกบริษัทอื่นที่ไม่ใช่ที่นี่
  • ถ้าเป็นไปได้ อยากกลับไปเลือกเรียนคณะอื่น
  • ถ้าย้อนเวลาได้ อยากจะวิ่งเข้าไปบอกรักเค้า…
  • กลยุทธ์นี้เคยเวิร์คกับแบรนด์เราในอดีตมาแล้ว ตอนนี้ก็น่าจะเวิร์คอยู่

ถ้าเรามีอาการความรู้สึกแบบนี้ผุดขึ้นในใจทุกวี่ทุกวัน ระวังให้ดี คุณกำลังเจอกับ “Rearview Mirror Syndrome” แล้ว!

Rearview Mirror Syndrome: มัวแต่มองหลัง แล้วจะเดินหน้าได้ยังไง

Rearview Mirror Syndrome เปรียบเสมือนเป็นอาการที่เราขับรถแล้วมัวแต่พะวงมอง “กระจกหลัง” (อดีต) บ่อยเกินไป จนไม่ได้มองทางข้างหน้า (ปัจจุบัน) ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง…และมักนำไปสู่ “อุบัติเหตุ” (ล้มเหลว) ทางท้องถนนในที่สุด

สุดท้าย ทำให้ชีวิตหรือแบรนด์ “ไปไม่ถึงไหน” หรือก้าวหน้าได้ไม่เท่าที่ควรจะเป็น (ศักยภาพ 100 แต่ไปได้แค่ 20)

A picture containing mirror, car mirror, reflection, car

Description automatically generated

ผลวิจัยเผยว่า เฉลี่ยแล้วสมองคนเราคิดฟุ้งซ่านในหัว 50,000-60,000 เรื่อง/วัน แต่ประเด็นคือกว่า 95% ของสิ่งที่คิดมักเป็น “เรื่องเดิมๆ” ที่เคยคิดมาแล้วเมื่อวาน เมื่อวันก่อน เมื่อเดือนก่อน เมื่อปีก่อน (ลองนึกถึงการพูดคุย “ความหลัง” กับเพื่อนสมัยมัธยม)

Rearview Mirror Syndrome เกิดขึ้นได้ทั้ง “2 มุม” ทั้งอดีตด้านบวก และ อดีตด้าน

สำหรับอดีตด้านบวก มักเป็นการที่แบรนด์ยึด “ความสำเร็จในอดีต” เป็นที่ตั้ง มี Best practice ที่ยอดเยี่ยม ทำซ้ำความสำเร็จเดิมได้ เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิด เพียงแต่ว่าถ้าแบรนด์อยากเติบโตก้าวกระโดดหรือถึงขั้นที่จะ Disrupt อุตสาหกรรม วิธีเดิมๆ จะไม่สามารถพาแบรนด์ไปถึงจุดนั้นได้

สำหรับอดีตด้านลบ ส่วนใหญ่มักคือ “ปมในอดีต” แผลเป็นในใจที่ล้างไม่ออก หรือในอีกมุมนึง เป็นความรู้สึกที่อยากให้ตัวตนแบรนด์ในตอนนี้ปัจจุบัน (ยังคง)เหมือนในอดีตที่ผ่านมา 

A picture containing mirror, car mirror, image

Description automatically generated

กล่าวคือใช้ประสบการณ์ในอดีตมาเป็นข้อจำกัดในการตัดสินเส้นทางเดินในปัจจุบัน พอมีโอกาสใหม่เข้ามาก็อาจไม่กล้าฉวยมันไว้ เช่น ไม่กล้าจับมือกับพันธมิตรหน้าใหม่ในธุรกิจเดียวกัน เพราะในอดีตเคยถูกพันธมิตรในธุรกิจเดียวกันโกงและหักหลังมาแล้ว

Rearview Mirror Syndrome ในเรื่องต่างๆ

ในด้านธุรกิจ Nokia vs. Apple คือตัวอย่างสุดคลาสสิค โนเกียเป็นเจ้าตลาดในยุคนั้น มีรายได้มหาศาล กำไรงาม ลูกค้าเหนียวแน่น และมี Best practice ที่ทำตามๆ กันมาตลอดและก็สำเร็จได้ดี

แต่ Nokia ไม่ได้มองไปข้างหน้าว่า “จุดเปลี่ยนเทคโนโลยี” ใกล้มาถึงแล้ว แต่ตัวเองยังลงทุนกับเทคโนโลยีเดิมๆ (มือถือมีปุ่ม) จนเมื่อ Apple เปิดตัว iPhone1 ที่ปฏิวัติวงการ Nokia ก็ถูกแทนที่มาจนถึงทุกวันนี้

A person holds a cell phone

Description automatically generated with medium confidence

ในด้านชีวิตส่วนตัว คุณอาจเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ใช้ชีวิตตลอดวัยเด็กแบบ “ขัดสน” ต้องนับเงินทุกบาททุกสตางค์ 

แต่พอโตขึ้นทำธุรกิจและเกิดประสบความสำเร็จล้นหลาม แต่คุณยังคงใช้ชีวิตที่ค่อนข้างขัดสนอยู่ ไม่ยอม “ซื้อคุณภาพชีวิต” ดีๆ ให้ตัวเองแม้จะไม่เดือดร้อนเรื่องเงินเลยก็ตาม

A picture containing building, sky, outdoor, house

Description automatically generated

ป้องกัน Rearview Mirror Syndrome

อันดับแรกอยู่ที่ทัศนคติและหลักคิดของผู้บริหาร ควรใช้กระจกหลังเป็นเพียงเครื่องมือเสริมเพื่อดูความปลอดภัยหรือสถานการณ์รอบด้านเท่านั้น กระจกหลังทำหน้าที่ดีที่สุดเป็นเพียง “บทเรียน” (ที่ผ่านไปแล้วและกลับไปแก้ไม่ได้) เราควรนำมาใช้ในปัจจุบันเพื่อมูฟออนไปข้างหน้า

A person driving a car

Description automatically generated

จริงอยู่ที่ว่า การมองกระจกหลังระหว่างขับรถไปด้วยเป็นสิ่งสำคัญทั้งตอนขับตรงหรือเวลาจะเปลี่ยนเลน แต่สุดท้ายแล้วสิ่งสำคัญกว่าคือ รถหรือแบรนด์มุ่งไปข้างหน้าต่างหาก! เราต้องระวังว่าจะขับเร็วจนไปชนคันหน้าไหม? หรือมีสิ่งกีดขวางไหม? เกิดอุบัติเหตุติดหนักจนเราต้องเปลี่ยนเส้นทางไหม? จนไปถึงสุนทรียะในการขับรถระหว่างทาง

Tina Seelig ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมและผู้ประกอบการจาก Stanford University เผยว่า ความสำเร็จปัจจุบันมาจากความล้มเหลวในอดีต เธอไม่เคยเห็นผู้ประกอบการคนไหนสำเร็จโดยไม่เคยล้มเหลวมาก่อน อย่ามองความล้มเหลวในอดีตมาฉุดรั้งศักยภาพตัวเอง แต่ให้ใช้มันมาเป็นบทเรียนและเตือนสติตัวเราไม่ให้พลาดซ้ำสอง

A person smoking a cigarette

Description automatically generated with low confidence

แต่ขณะเดียวกัน ถ้าคุณประสบความสำเร็จสม่ำเสมอและทำตาม Best practice ในอดีตที่ผ่านมาตลอด ก็สามารถเป็น “Reverse” Rearview Mirror Syndrome ในอีกมุมหนึ่งได้ เพราะความสำเร็จระดับที่จะมา Disrupt วงการได้ มักจะเป็นสิ่งที่ใหม่เอี่ยมไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราไม่สามารถทำเรื่องซ้ำๆ เดิมๆ แล้วคาดหวังผลลัพธ์ใหม่ที่สุดยอดได้

เพราะสุดท้ายแล้ว แบรนด์ก็เหมือนชีวิต ที่มีแต่เดินไปข้างหน้าและแก่ขึ้นทุกวัน ถ้าตื่นเช้ามาทุกวันแล้วมัวแต่มองหลัง…แล้วจะเดินไปข้างหน้าได้ยังไง?

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง