Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

ในการทำงาน ไม่มีใครเห็นด้วยกับเราไปซะทุกเรื่องหรอก ไม่ช้าก็เร็ว ความเห็นขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการ “โต้เถียง” (Argument) ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นสัจจะธรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน-หัวหน้า-ลูกน้อง-ลูกค้า

ถ้าคุณมั่นใจว่ามีเหตุผลมากพอ ประเด็นจึงเป็นการโต้เถียงอย่างมี “ชั้นเชิง” ที่ไม่ก่อให้เกิดความบาดหมาง แต่ก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน (Mutual understanding) และร่วมทำงานกันต่ออย่างสันติ

แล้วเราพอมีวิธีโต้เถียงอย่างมีชั้นเชิงอย่างไรบ้าง?

1. เถียงกันที่ “ไอเดีย”

การเถียงที่ใช้อารมณ์ เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมีจุดจบกลายเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างบุคคล (Personal issue) 

เรื่องนี้อาศัย “วาทศิลป์” ชั้นเชิงในการพูดเช่นกัน เทคนิคคือ อย่าโจมตีที่ตัวบุคคล แต่ให้โจมตีที่ “ไอเดีย” ความคิดนั้นๆ หลีกเลี่ยงการเรียก “สรรพนาม” ที่สื่อถึงอีกฝ่าย

  • “จากข้อมูลยืนยัน ผมคิดว่าไอเดียนี้ยังไม่ค่อยเวิร์ค”
  • “งานภาพรวมจะออกมาดี ถ้าทุกฝ่ายส่งงานตรงเวลา”
  • “แผนนี้ที่พวกเราคุยกัน อาจต้องหาข้อมูลซัพพอร์ตมากกว่านี้”
Two people looking at a whiteboard

Description automatically generated with medium confidence

เมื่อใครก็ตามที่เผลอข้ามเขตแดนจากไอเดียไปสู่ตัวบุคคล เรื่องมักไม่จบง่ายๆ แน่นอน เพราะไม่รู้แหล่ะว่าตัวเองผิดหรือถูก แต่มนุษย์มีกลไกตอบโต้อัตโนมัติอยู่ในตัว (Automatic defense mechanism) ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและอาจยับยั้งใจไม่ได้ (หรือไม่ทัน) และทำให้การโต้เถียงบานปลายในที่สุด

2. สร้างความเป็น “พวกเดียวกัน” ก่อน

สิ่งแรกที่หลายคนมักพลาดท่าคือ การมองหาแต่จุดโต้แย้ง

จะดีกว่ามากถ้าลองหา “จุดร่วมที่คุณเห็นด้วยจริงๆ” (Mutual agreement) และเริ่มจากการหยิบประเด็นนั้นขึ้นมาพูดว่าคุณเองก็เห็นด้วย / เราอยู่ฝ่ายเดียวกัน / ขอบคุณที่มองเห็นประเด็นนี้

  • “ผมเห็นด้วยกับคุณที่ว่าเราไม่ควรปลดพนักงานช่วงโควิด-19”
  • “ความคิดเราเหมือนกันตรงที่ อยากให้ภาพลักษณ์ดูทันสมัย เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่”
A picture containing wall, indoor, person

Description automatically generated

ความเป็นพวกเดียวกันยังลงลึกรายละเอียดถึง “บุคลิกภาพ” และกิริยาท่าทางตรงหน้า

Olivia Fox Cabane ศาสตราจารย์ด้านภาวะผู้นำจาก Harvard, Yale, และ MIT กล่าวว่า การ “เลียนแบบพฤติกรรม” เป็นเทคนิคสร้างการยอมรับสุดแนบเนียนที่ได้ผลมากๆ

  • ถ้าอีกฝ่ายเป็น Extrovert พูดแล้วไม่ค่อย “สบตา” คุณก็พยายามอย่าไปสบตาเค้าบ่อยนัก
  • ถ้าอีกฝ่ายพูด “ไทยคำ-อังกฤษคำ” ก็ให้คุณพูดไทยคำอังกฤษด้วย และควรออกสำเนียงแบบเจ้าของภาษา
  • ถ้าอีกฝ่ายมีบุคลิก “เอามือแตะคิ้วเวลาครุ่นคิด” ให้คุณลองทำตามบ้าง

3. “ค่อยๆ” ท้าทายชุดความคิดอีกฝ่าย

คนเราเมื่อยอมรับชุดความคิดอะไรบางอย่างเข้าตัวแล้ว ย่อมมีแนวโน้มเกิด Confirmation Bias หรือการมองหาแต่ข้อมูลที่สนับสนุนความคิดตัวเอง พร้อมๆ กับผลักไสความคิดขั้วตรงข้ามออกไป

A group of men sitting on a couch looking at a computer

Description automatically generated with medium confidence

การบอกปัดแบบ “ขวานผ่าซาก” เกือบ 100% ไม่มีใครโอเคกับเราหรอก ดังนั้น เราจึงควรค่อยๆ ท้าทายความคิดเดิมๆ ของอีกฝ่ายอย่างพินอบพิเทา

  • ผมทราบดีว่าท่านอยากให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิม แต่…ถ้าเกิดว่าพนักงานชอบการ Work From Home มากกว่าล่ะครับ? และจากผลลัพธ์ที่ผ่านมาก็ไม่ได้กระทบ Performance การทำงาน บางทียุคสมัยเปลี่ยนไป องค์กรก็ต้องปรับตัวเปลี่ยนตาม…หรือว่า เราเดินสายกลางลองเปลี่ยนมาใช้วิธี Hybrid ดีไหมครับ?

4. ใช้ “ตัวช่วย”

มีเครื่องมือ (Tools) มากมายที่ช่วยคุณในการโน้มน้าวอีกฝ่ายได้ เช่น “กราฟ” (ประเภทใดก็ได้) โชว์ตัวเลขให้ดู ให้เห็นทิศทางแนวโน้มของราคาสินค้าว่าขึ้นมาตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

Graphical user interface, chart

Description automatically generated

Aner Tal และ Brian Wansink ผู้เขียนหนังสือ Blinded with Science และนักวิจัยจาก Cornell University เผยว่า เครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ อย่างกราฟ ก็สามารถให้ภาพลักษณ์ที่ดูเป็น “วิทยาศาสตร์” ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในตัวมันเอง และผู้คนก็พร้อมจะเปิดใจรับฟังมากขึ้นได้แล้ว

5. เล่าเรื่อง

กรณีที่ข้อมูลตัวเลข-ข้อเท็จจริงไม่ใช่ประเด็น แต่อยู่ที่กระตุ้นด้าน “อารมณ์” วิธีที่สะดวกที่สุดคือการ “เล่าเรื่องราว” (Storytelling) แทนการอธิบายเชิงตรรกะเหตุผล

A person talking to another person

Description automatically generated with low confidence

คุณ Yuval Noah Harari ผู้เขียนหนังสือชุด Sapiens อันโด่งดัง กล่าวว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์เป็นนักเล่าเรื่องตัวพ่อ Storytelling เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่คู่กับอารยธรรมของเรามาช้านานนับหมื่นนับแสนปี “สมอง” ของเราจึงถูกปรับให้เข้าใจ (และถูกจริต) เรื่องราวได้ดีกว่าตัวเลข 

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าผลการโต้เถียงจะเป็นอย่างไร ในฐานะที่เราทำงานร่วมกัน ก็ควรมี Respect ให้เกียรติต่อกัน และเคารพการตัดสินใจของอีกฝ่าย น่าจะเป็นการทำงานอย่างมีความสุขในระยะยาว

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง