📰 บทความทั้งหมด

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: “ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ!” รู้จักกับ Armchair Quarterback ในที่ทำงาน หัวหน้าที่ดีแต่พูด สั่งงานเก่ง แต่ไม่เคยทำงานจริงๆ หัวหน้าที่เสนอไอเดียบรรเจิด โดยไม่รู้บริบทเลยว่าทำจริงไม่ได้ หัวหน้าที่ด่าลูกน้องเก่งเมื่อทำงานพลาด แต่ไม่เคยลงมือช่วยหาต้นตอปัญหาเลย เชื่อว่าพวกเราก็ต้องเคยเจอเหตุการณ์ชวนหงุดหงิดแบบนี้ในออฟฟิศมาบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Armchair Quarterback” ที่ต้องรีบสังเกตและดับไฟให้ทัน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป Armchair Quarterback – ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เรียกพนักงานที่มีลักษณะ “แค่พูด…แต่ไม่ได้ลงมือ” คนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้มีความรอบรู้ในเรื่องนั้น คนที่ชอบตัดสินใจคนอื่นและมีความคิดเห็นแบบสุดโต่ง คนที่ชอบสั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ (และถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด) เดิมที Armchair Quarterback ศัพท์คำนี้มีที่มาจากวงการ “อเมริกันฟุตบอล” ที่เหล่าแฟนๆ จะเชียร์อย่างออกหน้าออกตา วิพากษ์วิจารณ์ผู้เล่นราวกับตัวเองอยู่ในสนาม ด่าว่ารุนแรงราวกับตัวเองเสียผลประโยชน์ วิเคราะห์ทุกอย่างราวกับตัวเองเป็นมืออาชีพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน…โซฟาภายในบ้านหน้าจอทีวีขณะกำลังนั่งเอนหลังชมการแข่งขัน (+ป๊อปคอร์นในมือ) ต่อมา Armchair Quarterback ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ต้องการจะสื่อถึงหัวหน้าที่วันๆ เอาแต่นั่งอยู่ในโต๊ะอันแสนนุ่มสบายในออฟฟิศ ไม่เคยออกไปพบลูกค้า ไม่เคยลงมาดูว่า “มดงาน” เค้าทำอะไรกันจริงๆ แต่กลับสั่งการต่างๆ […]

อัพเกรดนิสัยการทำงานที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้!!

อัพเกรดนิสัยการทำงานที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้!!

เคยไหม? นึกย้อนกลับไปสมัยทำงานใหม่ๆ ที่แรก…แล้วก็เสียดาย เพราะทำงานไม่เป็น ไม่รู้วิธีบริหารจัดการ เรียงลำดับความสำคัญของงานไม่ได้ โดนความขี้เกียจครอบงำจนหัวหน้าด่า พลอยทำให้เหนื่อยล้าทางกายและจิตใจ  จนนำไปสู่ความคิด “น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนเริ่มทำงาน(ที่แรก)” เพราะความจริงแล้วมันมี “เทคนิคอัพเกรดการทำงาน” ที่ช่วยเรื่องพวกนี้ได้โดยตรง มาเริ่มเอาตอนนี้อาจจะสายไปหน่อย…แต่ก็ไม่สายเกินไป พื้นฐาน Mindset ที่ควรต้องมี ก่อนไปอัพเกรดผลลัพธ์การทำงานภายนอก เราต้องวางรากฐาน Mindset ภายในให้ดีก่อนด้วย  เคล็ดลับที่จะพูดถึงจากนี้ มักฟังเป็นเรื่องเล็กๆ Minor ซะเหลือเกิน (บางคนมองว่าไร้สาระด้วยซ้ำ) แต่เพราะการ “เปลี่ยนแปลงเล็กๆ แต่ต่อเนื่อง” (Small but consistent) นี่เอง คือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในปลายทาง  ในอีกมุมหนึ่ง เพราะพวกเราคนส่วนใหญ่ไม่ใช่ Elon Musk หรืออัจฉริยะเพียง 0.0001% ของโลก วิธีที่เราพอจะ “ทำได้” ในทางปฏิบัติทุกวี่ทุกวันก็คือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้นี่เอง เคล็ดลับอัพเกรดการทำงานเห่ล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากองค์ความรู้ด้าน พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science) ซึ่งสอดคล้องกับลักจิตวิทยาและการทำงานของสมองมนุษย์ แถมยังประยุกต์ใช้ได้ทั่วไปด้วย แล้วเทคนิคอัพเกรดการทำงานมีอะไรบ้าง? อ่ย่ารอช้า ตามไปดูกัน! […]

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

หลงตัวเอง คิดว่าตนพิเศษและเหนือกว่า พร้อมๆ กับดูถูกคนอื่น ประกาศความสำเร็จของตัวเองอย่างโจ่งแจ้งเกินเบอร์ โหยหาอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ชนิดไม่อายใคร นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Entitled Narcissism” ที่บางคนอาจเผลอพลั้งทำไปโดยไม่รู้ตัวเพราะสภาพแวดล้อมเป็นใจ Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ Entitled Narcissism คือพฤติกรรมที่ผู้นำเริ่มเกิดอาการหลงระเริงตัวเอง-หยิ่งยะโส ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางให้โลกทั้งใบต้องหมุนตาม มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับความสำเร็จแรกแล้ว (Initial success) และใช้ผลงานนั้นปูทางสู่การเกทับผู้อื่นพร้อมๆ กับไต่ระดับขึ้นไป ซึ่งผู้นำบางคนอาจทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ย่อมสร้างความรู้สึกแง่ลบแก่ทีมและองค์กรในระยะยาวแน่นอน แล้ว Entitled Narcissism มีคาแรคเตอร์เป็นอย่างไร? หยิ่งผยองในความเก่งของตัวเอง  ให้ความสำคัญกับตัวเองมาเป็นอันดับ 1  โหยหาอำนาจและเกียรติยศแบบออกนอกหน้า มั่นใจในตัวเองเกินหน้าเกินตา  ต้องคอยรักษาภาพลักษณ์ตัวเองให้ดีอยู่เสมอ  ถ้าเอาเปรียบผู้อื่นแต่ตัวเองได้ผลประโยชน์…ก็จะทำ ไร้ซึ่งความ Empathy เรื่องนี้รายแรงเป็นพิเศษโดยเฉพาะวัฒนธรรมการทำงานบางประเทศที่เป็นแบบ Collectivism ให้ความสำคัญกับทีมมากกว่าตัวบุคคล ผู้นำคนที่โอ้อวดตัวเองจนเกินพอดี(แม้จะมีผลงานก็จริง) ลึกๆ พนักงานมักไม่ค่อยชอบ สุดท้ายจะนำไปสู่การขัดแย้งภายใน ทำไมผู้นำบางคนถึงมีอาการ Entitled Narcissism? คำอธิบายด้านวิวัฒนาการคืออันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจ มันเป็นสัญชาตญาณที่ฝังลึกอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน (โดยเฉพาะเพศผู้) ในการโอ้อวดศักยภาพตัวเองว่าเก่งกว่า มีความสามารถพิเศษบางอย่าง […]

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

ทำงานหนักแค่ไหน ก็ไม่มีปัญญาซื้อบ้านซักหลัง สู้เต็มที่แล้ว แต่โลกเปลี่ยนเร็วเกินจนตามไม่ทัน วิกฤติซ้ำซาก ทั้งเศรษฐกิจ-สังคม-โควิด ไม่ไหวแล้วนะ นี่คือสิ่งที่ กลุ่มคนรุ่นใหม่-แรงงานที่พึ่งเข้าสู่ระบบ กำลังเผชิญหน้ากันอยู่ เกิดเป็นภาวะ “Early-Life Crisis” Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว เราพูดได้เต็มปากว่า “Early-Life Crisis” คือปรากฎการณ์ใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในรอบทศวรรษนี้  มันคือภาวะ “วิตกกังวล” ถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนและช่างมืดมัวเหลือเกินของ กลุ่มคนที่พึ่งเข้าสู่โลกการทำงานในช่วงอายุ 20 ต้นๆ และขยายวงกว้างไปถึงช่วงอายุ 30-35 (ก่อนถึง Mid-life) พวกเค้ากำลัง วิตกจริต / เหน็ดเหนื่อย / ท้อแท้ / เครียด / เศร้า / เหงา / เดียวดาย / ไร้ความฝัน…ล้วนเป็นขั้วอารมณ์ที่บั่นทอนศักยภาพแรงงานหนุ่มสาว และชี้ชะตาอนาคตของประเทศได้เลย ที่ญี่ปุ่น หนุ่มสาวกลุ่มนี้เบื่อหน่ายชีวิตการทำงานที่หนักหนาและเคร่งเครียดของสังคมญี่ปุ่น ท้อแท้ถึงขั้น “เลิกทำงาน” ปล่อยวางทุกสิ่ง กลายเป็นกลุ่มคนที่สังคมเรียกว่า “NEET” (Not […]

เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

คนเราเวลาทำงานอะไรไปก็มัก “เคยชิน” กับเรื่องเดิมๆ นานวันเข้า กลายเป็นการจมปลักอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาตัวเอง ไม่ได้เฟ้น “ศักยภาพ” ที่มีออกมาใช้ จะดีกว่าไหม? ถ้ามีเทคนิคช่วยกระตุ้นให้เราทำงานด้วยวิธีใหม่ๆ-แนวคิดใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองไปดูกัน… 1. ตั้ง (Almost) Impossible Deadline  ความขี้เกียจเป็นธรรมชาติของคนเราอยู่แล้ว ยิ่งมีเวลามากในการทำอะไร เรามักปล่อยปละละเลยแล้วมาทำตอนใกล้หมดเวลา เมื่อเป็นแบบนี้ ทางออกคือ ลดเวลาให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการตั้ง “(Almost) Impossible Deadline” ซึ่งเราจะมี “เวลา” น้อยลง จึงเป็นการบีบบังคับให้ต้อง “เรียงลำดับความสำคัญ” (Setting priority) ไปโดยปริยาย เราจะโฟกัสเฉพาะงานที่สำคัญที่สุด และตัดที่ไม่สำคัญทิ้งไป กระบวนนี้ยังทำให้เราตระหนักด้วยว่า อะไรสำคัญ-ไม่สำคัญ นักวิจัยยังเผยว่า ความเครียด(ในแบบพอดี) เป็นตัวกระตุ้น “ความคิดสร้างสรรค์” ให้เกิดได้อย่างน่าอัศจรรย์ นี่ยังเป็นวิธีที่ Steve Jobs ใช้ประจำสมัยยังบริหารอยู่ที่ Apple โดยเขาจะตั้ง “Impossible Deadline” เดตไลน์การทำงานที่(ดูเหมือน)ไม่น่าเป็นไปได้แก่ทีม เรื่องเซอไพรส์คือ บ่อยครั้งที่ลูกทีมค้นพบ […]

Inspiration Boost: บอกลาปัญหาเบื่องาน ให้ไฟกลับมาลุกโชนอีกครั้ง

Inspiration Boost: บอกลาปัญหาเบื่องาน ให้ไฟกลับมาลุกโชนอีกครั้ง

การเบื่องาน รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก ไร้ซึ่งแรงบันดาลใจ คือศัตรูตัวฉกาจของความคิดสร้างสรรค์และการเติบโตในหน้าที่การงาน  บางคนบอกว่าเมื่อรู้สึกเช่นนี้ ทางออกง่ายๆ ก็แค่ลาออกมันซะเลยสิ? เรื่องนี้พูดง่ายแต่ทำยาก  บางคนมีความรับผิดชอบที่ต้องผูกติดกับงานที่ทำอยู่  บางคนแค่รู้สึกเบื่องานท้อแท้ใจ แต่ไม่ถึงขั้นอยากลาออก  บางคนลาออกไป ก็หางานใหม่ไม่ได้อีก จะทำอย่างไรให้ยังทำงานเดิม-ที่เดิมอยู่ โดยจุดถ่านไฟเก่าให้ลุกโชนเหมือนเมื่อวันวาน? เราไปสำรวจ “Inspiration Boost” เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจให้ไฟในตัวคุณกลับมาฮึกเหิมอีกครั้งกัน  เบื่อมันให้เต็มที่ Eckhart Tolle ปรมาจารย์ด้านจิตวิญญาณเผยว่า อันดับแรก เมื่อรู้สึกแง่ลบร่อยหรอแรงจูงใจในการทำงาน แนะนำว่าอย่าไปฝืน เพราะ “แรงต้าน” โมเม้นต์นี้มหาศาลมาก เอาอะไรไปงัดก็ไม่อยู่ ซ้ำร้ายมีแต่จะแย่กว่าเดิม วิธีที่ดีที่สุดคือ ปล่อยตัว-ปล่อยกาย-ปล่อยใจ และ “เบิ่อให้เต็มที่” อย่าปฏิเสธความเบื่อหน่ายท้อแท้ ยอมรับว่ามันคือธรรมชาติอย่างหนึ่ง  แต่ขณะเดียวกัน…ก็อย่าพึ่งตัดสินใจอะไรช่วงนี้เพราะมักผิดพลาด ระลึกไว้เสมอว่า เมื่อคุณดำดิ่งถึงใต้ก้นเบื้องแล้ว หลังจากนั้นจะเป็นขาขึ้น ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่านี้แล้ว นี่เป็นวิธีการ “ปลดปล่อย” ที่ดีและทำได้ทุกคน ไม่ต่างจากเวลาคนเสียใจแล้วเข้าไปอยู่ในห้องเงียบๆ คนเดียวก่อนจะแหกปาก  ตะโกนกรี๊ดลั่นระบายออกมา เอาสถิติตัวเลขมาย้ำเตือน “ตัวเลขไม่เคยโกหกใคร” สถิติตัวเลขเปลี่ยนจากเรื่องนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเป็นเครื่องมือชั้นดีที่ทำให้เรา “ฉุกคิด” ถึงสถานะการงานตัวเอง และทำให้กลับมามีแรงใจใหม่ […]

“ชนะใจเพื่อนร่วมงาน” ได้ง่ายๆ เพียงแค่ทำตามนี้

“ชนะใจเพื่อนร่วมงาน” ได้ง่ายๆ เพียงแค่ทำตามนี้

เพราะโลกการทำงาน เราไม่ได้ทำงานตัวคนเดียว แต่ย่อมมีปฏิสัมพันธ์กับ “เพื่อนร่วมงาน” ไม่ว่าจะในตำแหน่งไหน-ระดับไหน-บริบทไหนก็ตาม และเป็นที่ทราบกันดีว่า “เรื่องคน สำคัญไม่แพ้ เรื่องงาน” (สำคัญกว่าด้วยซ้ำในบางครั้ง) จะดีกว่าไหม? ถ้าพอจะมีเทคนิค สร้างความประทับใจ / สร้างการจดจำ / ซื้อใจเพื่อนร่วมงาน จนนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี การงานราบรื่น ทำงานทุกวันอย่างมึความหมายและมีความสุข “ชนะใจเพื่อนร่วมงาน” ได้ง่ายๆ เพียงแค่ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้ The 30-Second Rule นี่คือเทคนิคประจำตัวของ John Maxwell นักเขียนและนักพูดสร้างแรงบันดาลใจแถวหน้าของอเมริกา วิธีการคือให้ “พูดชมอีกฝ่ายภายใน 30 วินาทีแรกของทุกๆ การเริ่มต้นบทสนทนา” ปกติแล้วเวลาพบหน้าผู้คนใหม่ๆ มนุษย์มีแนวโน้ม “ทำให้ตัวเองดูดี” เป็นสัญชาตญาณติดตัวเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและให้อีกฝ่ายยอมรับ แต่ก็ประยุกต์ใช้กับการเจอหน้ากันครั้งแรกในแต่ละวันกับเพื่อนร่วมงานได้เช่นกัน The 30-Second Rule จึงเป็นเทคนิคเรียบง่ายที่สอดคล้องกับสัญชาตญาณนี้ “คุณสุชาติ…สูทพี่เท่มาก ตัวใหม่หรือครับเนี่ย” “คุณหมวย…ส้นสูงคู่นี้เข้ากับชุดคุณมาก” “น้องๆ มาก่อนเวลานัดตั้ง 30 นาที ต้องขอขอบคุณจริงๆ นะครับ” การพูดชมคนอื่นอย่างจริงใจ ยังเป็นสัญญาณบอกว่าคุณเป็น […]

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง ในการทำงาน ไม่มีใครเห็นด้วยกับเราไปซะทุกเรื่องหรอก ไม่ช้าก็เร็ว ความเห็นขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการ “โต้เถียง” (Argument) ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นสัจจะธรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน-หัวหน้า-ลูกน้อง-ลูกค้า ถ้าคุณมั่นใจว่ามีเหตุผลมากพอ ประเด็นจึงเป็นการโต้เถียงอย่างมี “ชั้นเชิง” ที่ไม่ก่อให้เกิดความบาดหมาง แต่ก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน (Mutual understanding) และร่วมทำงานกันต่ออย่างสันติ แล้วเราพอมีวิธีโต้เถียงอย่างมีชั้นเชิงอย่างไรบ้าง? 1. เถียงกันที่ “ไอเดีย” การเถียงที่ใช้อารมณ์ เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมีจุดจบกลายเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างบุคคล (Personal issue)  เรื่องนี้อาศัย “วาทศิลป์” ชั้นเชิงในการพูดเช่นกัน เทคนิคคือ อย่าโจมตีที่ตัวบุคคล แต่ให้โจมตีที่ “ไอเดีย” ความคิดนั้นๆ หลีกเลี่ยงการเรียก “สรรพนาม” ที่สื่อถึงอีกฝ่าย “จากข้อมูลยืนยัน ผมคิดว่าไอเดียนี้ยังไม่ค่อยเวิร์ค” “งานภาพรวมจะออกมาดี ถ้าทุกฝ่ายส่งงานตรงเวลา” “แผนนี้ที่พวกเราคุยกัน อาจต้องหาข้อมูลซัพพอร์ตมากกว่านี้” เมื่อใครก็ตามที่เผลอข้ามเขตแดนจากไอเดียไปสู่ตัวบุคคล เรื่องมักไม่จบง่ายๆ แน่นอน เพราะไม่รู้แหล่ะว่าตัวเองผิดหรือถูก แต่มนุษย์มีกลไกตอบโต้อัตโนมัติอยู่ในตัว (Automatic defense mechanism) ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและอาจยับยั้งใจไม่ได้ (หรือไม่ทัน) […]

Healthier Work: ปลดล็อคการทำงานด้วยเคล็ดลับสุขภาพ

Healthier Work: ปลดล็อคการทำงานด้วยเคล็ดลับสุขภาพ

หายใจทางจมูกเท่านั้น ยืนทำงานแทนการนั่ง นอนกลางคืน-งีบกลางวัน กะพริบตาบ่อยๆ หลับตาเป็นช่วงๆ พบกับ Healthier Work ปลดล็อคศักยภาพการทำงานของคุณด้วยเคล็ดลับสุขภาพดีๆ เรารีบไปทำความรู้จัก “ข้อมูลเชิงลึก” เหล่านี้กันเถอะ  “ยืน” ทำงาน  มีแนวคิดการทำงานใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้พนักงาน “ยืนทำงาน” มากขึ้นแล้ว  Dr. Lopez Jimmenez นักวิจัยด้านโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเผยว่า การยืนทำงานช่วย “เผาผลาญแคลอรี่” ได้มากกว่าการนั่งทำงานถึง 0.15 แคลอรี่/นาที การยืนทำงานควรมาพร้อมโต๊ะยืนแบบปรับได้ (Flexible Standing Desk) และ “ตำแหน่ง” ก็สำคัญไม่น้อย ให้รักษาระยะห่างจากจอคอมราว 0.5 เมตร รวมถึงความสูงของจอคอม ต้องต่ำกว่าระดับสายตาราว 4-5 นิ้ว จะเป็นตำแหน่งที่ถนอมสายตาและไม่ทำให้ปวดเมื่อยหลัง-ไหล่ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ การรักษา “ความสมดุล” (Balance) ไม่ยืนทำงานนานเกินไป ไม่นั่งทำงานนานเกินไป แต่เปลี่ยนอิริยาบถการทำงานทุก ๆ 20-30 นาที ซึ่งจะรักษาสุขภาพได้ดีที่สุด (แถมไม่จำเป็นต้องลงทุนกับ […]

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

ท่ามกลางกระแสแง่ลบที่เริ่มมีต่อการ Work From Home แต่การทำงานที่บ้าน (หรือที่ไหนๆ ก็ตาม) ยังคงมีแง่ดีที่ยากจะปฏิเสธ เราลองมาสำรวจมายาคติ (Myth) ทั้ง 7 ของการ Work From Home กัน…บางที มันอาจไม่ได้แย่อย่างที่หลายคนคิด 1. WFH ไม่ Productive เท่ามาทำที่ออฟฟิศ  Myth สุดคลาสสิกที่หลายคนยังเชื่อฝังใจ มักเกิดจากความคิดที่ว่า ถ้าหัวหน้าไม่คอยสอดส่อง ลูกน้องก็มักขี้เกียจอู้งาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงในที่สุด Mercer บริษัทที่ปรึกษาด้าน HR ทำการสำรวจบริษัทมากถึง 800 แห่งที่ให้พนักงาน WFH พบว่า “กว่า 94% การ WFH ไม่มีผลต่อความ Productive ในการทำงานอย่างมีนัยยะสำคัญเลย” อันที่จริง อาจเกิดขึ้นแค่ช่วงแรกๆ ที่พนักงานยังต้องปรับตัว แต่เมื่อทุกอย่างลงตัว พนักงานน้อมรับรูปแบบการทำงานใหม่ได้แล้ว (ซึ่งใช้เวลาไม่นาน) ประสิทธิภาพก็กลับมาเหมือนเดิม และมากกว่าเดิมด้วยซ้ำในบางช่วง การ WFH ไม่ได้แค่ประหยัด […]

เมื่อ “น้ำเสีย-ไล่น้ำดี” องค์กรควรรับมืออย่างไร?

เมื่อ “น้ำเสีย-ไล่น้ำดี” องค์กรควรรับมืออย่างไร?

พนักงานแย่ เป็น “ลูกรัก” ของนาย วันๆ เอาแต่นินทา บ่น ด่า จนบรรยากาศที่ทำงานเสีย น้ำเสียไม่ยอมออก สุดท้าย น้ำดีทยอยออกแทน น้ำเน่าเพียงหยดเดียว เมื่อเจือปนในน้ำดี ก็ทำให้น้ำทั้งหมดเน่าเสียได้…แม้จะปนเปื้อนเล็กน้อยแค่ไหน แต่น้ำทั้งหมดที่อยู่ในนั้นก็ไม่อาจเรียกตัวเองว่าเป็น “น้ำบริสุทธิ์” น้ำดี น้ำที่มีคุณภาพได้อีกต่อไป… บริษัทเองก็เช่นกัน “พนักงานแย่ๆ” เพียงคนเดียว (หรือหยิบมือ) อาจฉุดรั้งให้ทั้งบริษัทต้องเดินถอยหลัง เพราะแท้จริงแล้ว องค์กรก็คือ “คน” นี่เอง…ถ้ามีคนดี-คนเก่ง องค์กรก็เจริญรุ่งเรือง ผลวิจัยจาก Gallup เผยว่ากว่า 17% ของพนักงานชาวอเมริกันเข้าข่ายเป็นพวกน้ำเสีย โดยมีลักษณะไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีส่วนร่วม และมีแนวโน้มจุดประเด็นความแตกแยกภายในองค์กร…นี่เป็นประเด็นที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย พฤติกรรมของพนักงานแย่? “แย่” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Performance แย่เท่านั้น แต่หมายถึง “พฤติกรรมโดยรวม” ที่ทำลายบรรยากาศในที่ทำงาน / บั่นทอดความคิดสร้างสรรค์ / ลด Productivity เพื่อนในทีม โดยอุปนิสัยของพนักงานแย่มีได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น นินทา – […]