ทำไมคนแต่ละชาติมีสไตล์ทำงานต่างกัน แต่สำเร็จในแบบตัวเองได้?

ทำไมคนแต่ละชาติมีสไตล์ทำงานต่างกัน แต่สำเร็จในแบบตัวเองได้?
  • อเมริกา – วิจารณ์ตรงไปตรงมา เน้นความคิดสร้างสรรค์
  • ญี่ปุ่น – พิธีรีตอง พิถีพิถัน เน้นทีมเวิร์ค
  • เยอรมัน – มาตรฐานสูง เป็นตัวของตัวเอง เน้นประสิทธิภาพ

แต่ละชาติล้วนมี “สไตล์การทำงาน” แตกต่างกันแทบจะอยู่คนละขั้ว แต่ทำไมกลับประสบความสำเร็จในแบบตัวเองได้?

ความคิดสร้างสรรค์ เน้นนวัตกรรมแบบฉบับ “อเมริกัน”

ชาวอเมริกันมีพื้นฐานสูงลิบด้านสิทธิ “เสรีภาพ” (Liberty) การเปิดโอกาสให้ผู้คนได้คิดในสิ่งที่แตกต่าง ท้าทายชุดความคิดเดิมๆ ลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน ชื่นชอบการแข่งขัน ชาวอเมริกันจึงมีความ Individualism สูงในการทำงาน เป็นตัวของตัวเอง กล้าวิพากษ์วิจารณ์แบบเปิดเผย

A group of people sitting at desks in a large room

Description automatically generated with low confidence

สหรัฐอเมริกายังเป็นชาติที่โปรโมทความเป็นตลาดเสรีเต็มตัว (Free-Market Economy) ไปยังชาติต่างๆ ให้เปิดประเทศเพื่อการค้าขาย

นี่คือพื้นฐานความคิดในวงการ “Coaching” ที่สร้างอิทธิพลไปทั่วโลกในวงการธุรกิจ (เช่น ผ่านหนังสือแปล) 

อุปนิสัยเหล่านี้ สอดคล้องอย่างยิ่งในแวดวง “เทคโนโลยี” ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และ “นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด” ซึ่งอเมริกาก็เป็นเจ้าโลกในเรื่องนี้มาช้านาน

A picture containing sky, grass, outdoor, mountain

Description automatically generated

ใส่ใจรายละเอียด มีความพิธีรีตอง และเน้นทีมเวิร์คในแบบ “ญี่ปุ่น”

พื้นเพคนญี่ปุ่นชื่นชอบใน “ระเบียบขั้นตอน” ที่มีความพิธีรีตองซึ่งเป็นผลมาจากการปกครองในอดีต สะท้อนมาสู่การทำงานปัจจุบันที่มัก “ทำตามคู่มือ” อย่างเคร่งครัด 1-2-3-4 

ตัวอย่างคือ พนักงานใหม่ Uniqlo ทั่วโลกจะได้รับ “คู่มือการทำงาน” ที่บอกรายละเอียดการทำงานในหน้าร้านทุกอย่าง เช่น วิธีพับเสื้อผ้า / วิธีทำความสะอาดชั้นวาง / วิธีรับของจากลูกค้า

A picture containing person, table, sitting, indoor

Description automatically generated

อุปนิสัยเหล่านี้ ยังเหมาะสมอย่างยิ่งโดยเฉพาะวงการ “อุตสาหกรรมรถยนต์” ที่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะแลกเปลี่ยนข้อมูลและลงทุนร่วมกัน เน้นประสานงานกัน (Coordination) อาศัยนวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาแซงหน้าอเมริกาในช่วงยุคทศวรรษ 1990s 

แม้แต่ตำราด้านบริหารธุรกิจในวงการรถยนต์นี้ ฝรั่งยังต้องศึกษาของญี่ปุ่น เช่น 

  • ระบบ Just-In-Time ในโรงงาน
  • การตั้งคำถาม 5 Whys เพื่อไปถึงต้นตอ
  • Genchi Genbutsu ไปดูปัญหาถึงหน้างานที่โรงงาน
A group of cars parked in a showroom

Description automatically generated with medium confidence

นอกจากนี้ ยังเป็นชนชาติที่มีชื่อเสียงเรื่องการ “ใส่ใจรายละเอียด” มองเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองข้าม เรื่องนี้ได้อิทธิพลจากปรัชญาแนวคิด “ความพิเศษในความเรียบง่าย” มาตั้งแต่อดีต 

เราจึงได้เห็นสิ่งละอันพันละน้อยจากสินค้า-บริการญี่ปุ่นที่สร้างความประทับใจ

  • ฝาถ้วยโยเกิร์ตที่เปิดแล้วเนื้อโยเกิร์ตไม่ติด
  • พนักงานบริการจะยืนส่งแขกจนลับสายตา ถ้าแขกหันกลับมามองจะยังเห็นพวกเค้ายืนส่งอยู่

ส่วนผสมของตะวันตก-ตะวันออก เติบโตก้าวกระโดดแบบ “เกาหลีใต้”

Ha-Joon Chang นักเศรษฐศาสตร์หัวก้าวหน้าจาก University of Cambridge ผู้คว่ำหวอดระบบทุนนิยมแบบเกาหลี เผยว่า เกาหลีเป็นชาติที่ถ้าคิดจะ “เลียนแบบ” ใครแล้ว มักจะ “สุดโต่ง” ไปไกลเกินเลยจากต้นตำรับ ดังที่เป็นมาตลอดประวัติศาสตร์

  • เลียนแบบญี่ปุ่น – ดำเนินนโยบายแบบ Protectionism กีดกันต่างชาติ และใช้รัฐเข้าแทรกแซงเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมบางประเภทเป็นพิเศษจนเกิดกลุ่ม “Chaebol” เช่น Samsung / LG / Hyundai ที่เป็นหัวหอกนำขับเคลื่อน GDP ของประเทศ
Graphical user interface

Description automatically generated with medium confidence
  • เลียนแบบอเมริกา – เมื่ออุตสาหกรรมภายในประเทศแข็งแกร่งพร้อมที่จะออกสู่ตลาดโลกแล้ว ก็เปิดประเทศแบบ “ตลาดเสรี” เต็มตัว นี่คือช่วงยุคปัจจุบันที่เราได้เห็น Samsung ผงาดขึ้นเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลก และได้เห็น K-Pop แผ่ขยายวัฒนธรรมไปทั่วโลกเช่นกัน

นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ชาติเกาหลีใต้ถูกกระทำแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจมาโดยตลอด ตั้งแต่จีน / ญี่ปุ่น / อเมริกา จึงเป็นแรงขับเคลื่อนให้ผู้คนมีความเป็น “ชาตินิยม” และอัตราการ “แข่งขัน” สูงมากเพื่อเอาชนะ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 

  • สิงคโปร์ใช้เวลา 38 ปี ขยับจากประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง
  • เกาหลีใต้ใช้เวลา 26 ปี ขยับจากประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง

เกาหลีใต้คือหนึ่งในประเทศที่ใช้เวลาสั้นที่สุดในโลก เพื่อเปลี่ยนสถานะสู่ชาติพัฒนาแล้ว

ไม่แปลกที่คนทำงานเกาหลีใต้จะมีความเครียดและการแข่งขันสูงลิบ (ในเวลาเพียง 40 ปี รายได้ต่อหัวของชาวเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นถึง 14 เท่า)

อยู่แบบสมดุล ระหว่างการทำงาน-ใช้ชีวิตสไตล์ “คอสตาริกา”

นี่คือประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์แห่งลาตินอเมริกา” ชาวคอสตาริกามีการแบ่ง Work-Life Balance ที่เข้มงวดและแทบจะเป็นอุปนิสัยประจำชาติไปแล้ว ใครที่บ้างานหนักเกิน กลับมีภาพลักษณ์แง่ลบ เพราะสถาบันครอบครัวที่นี่ยังแข็งแกร่ง อยู่กันแบบรวมญาติมิตร

A person using a computer

Description automatically generated with medium confidence

ชาวคอสตาริกายังมีอุปนิสัยเป็นมิตร เป็นกลางทางการทูต ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาได้ง่าย เรื่องนี้อาจสืบเนื่องมาจากประเทศดำเนินนโยบายแบบ “ไม่มีกองทัพ” (มีแค่ตำรวจ) และใช้การทูตเพื่อป้องกันประเทศแทน เช่น ใช้กลไกกฎหมายระหว่างประเทศ ร่วมเซ็นสัญญาลงนามสันติภาพกับชาติต่างๆ ใครที่คิดจะโจมตีคอสตาริกา ภาพพจน์เสียหายในเวทีโลกทันที (และเป็นการเปิดศึกกับชาติพันธมิตรไปในตัว…ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย)

ประเทศเล็กๆ นี้ยังโฟกัสที่การ “อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ” เกือบ 30% ของพื้นที่ประเทศเป็นเขตอนุรักษ์ และประเทศใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในการผลิตไฟฟ้า บ่งบอกถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและรักษาสิ่งแวดล้อม

ปี 2019 UN ได้ออกรายงาน World Happiness Report จัดอันดับประเทศทั่วโลกจาก “ความสุข” โดยคอสตาริกาอยู่อันดับที่ 12 เลยทีเดียว

A picture containing water, nature, wave

Description automatically generated

คอสตาริกาถือเป็นประเทศที่สงบสุข การเมืองมีเสถียรภาพ ประชาธิปไตยโปร่งใส ปัญหาคอร์รัปชันต่ำที่สุดในลาตินอเมริกา และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้คน “อายุยืน” มากที่สุดในโลก คือสูงถึง 80.3 ปีเลยทีเดียว

แต่ละชาติล้วนมีบรรยากาศ “สไตล์การทำงาน” ที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จในแบบตัวเองได้ เพราะถ้ามันสอดคล้องกับ “บริบท” ของประเทศนั้นๆ ทั้งระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ / นโยบายระดับชาติ / ประวัติศาสตร์ / หรือวัฒนธรรมของผู้คน

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3aWuEoP

อ้างอิง