5 Whys: แก้ปัญหาตรงจุด ขุดลึกด้วย 5 Whys

5 Whys: แก้ปัญหาตรงจุด ขุดลึกด้วย 5 Whys

1. Why กลับดึก? เพราะ งานไม่เสร็จ

2. Why งานไม่เสร็จ? เพราะ อยู่ให้คำปรึกษาเด็กใหม่ในทีม

3. Why ต้องอยู่ให้คำปรึกษา? เพราะ เด็กใหม่ยังไม่สามารถทำงานเองได้

4. Why เด็กใหม่ทำงานเองไม่ได้? เพราะ ไม่เคยได้รับการอบรม

5. Why ไม่เคยได้รับการอบรม? เพราะ ไม่มีการจัดหลักสูตรอบรมที่จำเป็นสำหรับพนักงานใหม่

นี่คือตัวอย่างของการถาม “Why 5 ครั้ง” เพื่อเจาะลึกถึงต้นตอของปัญหา

5 Whys คืออะไร?

5 Whys เป็นวิธีที่เดิมคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในโรงงานการผลิตรถยนต์ของ Toyota (คิดค้นโดยคุณ Sakichi Toyoda ผู้ก่อตั้งนั่นเอง) เพื่อสืบหา “ต้นตอของปัญหา” 

โดยเชื่อว่า การถามเพียงครั้งเดียวไม่พอ ต้องถามย้อนกลับไปทีละขั้นๆ นอกจากจะรู้และแก้ต้นตอปัญหาที่แท้จริงได้แล้ว เรายังจะได้เห็นภาพรวมกระบวนการขั้นตอนทั้งหมดด้วย!

5 Whys เริ่มถูกนำมาใช้ที่ Toyota อย่างแพร่หลายในยุค 1970s และปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในสากลแล้วว่าสามารถปรับใช้ได้กับทุกรูปแบบธุรกิจ

Image Cr. bit.ly/393b4H3

เท้าความเสริม ที่ Toyota วิธีคิดแบบ 5 Whys ถูกใช้ร่วมกับการปฏิบัติที่เรียกว่า เก็นจิ เก็นบุตซึ 【現地現物】หรือการ “ไปดูปัญหาให้เห็นถึงหน้างาน” ออกจากออฟฟิศอันโอ่อ่าแล้วเดินทางไปเยือนปัญหาที่โรงงานถึงที่ ซึ่งผู้บริหาร Toyota ทุกคนต้องทำแบบนี้หลังจากทำ 5 Whys ไปแล้วนั่นเอง

เพราะปัญหา…จะดีที่สุดต้องแก้ที่ต้นตอถอนรากถอนโคนให้จบสิ้น

เพื่อความมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การถามนั้นควรรวบรวมคนที่เกี่ยวข้องใน ‘หลากหลายแผนก’ มารวมกันก่อน เพราะการถาม Why ลงลึกไปเรื่อยๆ มักจะเชื่อมโยงไปสู่ ‘แขนงอื่น’ ในที่สุด เช่น ปัญหาเริ่มแรกด้าน Marketing เมื่อถามลึกลงไปอาจโยงไปถึงด้าน Logistics ของบริษัทก็ได้

ข้อควรระวัง

อันที่จริง เลข 5 เป็นแค่กรอบตัวเลขคร่าวๆ เราไม่ต้องยึด 5 ครั้งเป๊ะๆ ก็ได้

  • คุณอาจถาม Why แค่ 3 ครั้งก็พบต้นตอปัญหาแล้ว
  • คุณอาจถาม Why ถึง 7 ครั้งกว่าจะพบต้นตอปัญหาก็ได้ 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรควรหยุดถาม? (เจอต้นตอปัญหาแล้ว) คุณ Sakichi ได้ชี้แนะไว้ตั้งแต่แล้วว่า…ก็ต่อเมื่อถ้าถามไปแล้วไม่ช่วยอะไรขึ้นมาแล้วนั่นเอง

อีกจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ ในระหว่างทางที่ถามลงลึกทีละขั้นๆ ต้องตั้งคำถามให้ “ตรงประเด็น” มิเช่นนั้น เราจะหลงประเด็นลงลึกไปผิดทางจนได้คำตอบที่ผิด-นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล หรือต้องเสียเวลาปีนกลับขึ้นมาใหม่

ตัวอย่าง 5Whys ในธุรกิจ

ณ โรงงานการผลิตแห่งหนึ่ง

  1. Why สายพานหยุดเดิน? เพราะ ลูกรอกไม่ทำงาน
  2. Why ลูกรอกไม่ทำงาน? เพราะมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังไม่เพียงพอ
  3. Why มอเตอร์ไฟฟ้ากำลังไม่เพียงพอ? เพราะมอเตอร์หยุดทำงาน
  4. Why มอเตอร์หยุดทำงาน? เพราะ พัดลมเป่ามอเตอร์ทำงานจนร้อนเกิน
  5. Why พัดลมเป่ามอเตอร์ทำงานจนร้อนเกิน? เพราะมอเตอร์ทำงานหนักติดต่อกันนานเกินไป

ณ เว็ปไซด์แห่งหนึ่ง

  1. Why bounce rate ในเว็ปสูง? เพราะ คนใช้เวลาแค่ 10 วินาทีในเว็ป
  2. Why คนใช้เวลาแค่ 10 วินาทีในเว็ป? เพราะ คนมองว่า content ไม่น่าสนใจ
  3. Why content ไม่น่าสนใจ? เพราะ เนื้อหาเก่าตกยุคแล้ว
  4. Why เนื้อหาเก่าตกยุคแล้ว? เพราะ ไม่มีคนมาสร้าง content ใหม่ๆ
  5. Why ไม่มีคนมาสร้าง content ใหม่ๆ? เพราะทีม content มีกำลังคนไม่พอ แค่โฟกัสงานอื่นก็หมดเวลาแล้ว

เมื่อแขนกลของเครื่องจักรไม่ทำงาน

  1. Why แขนกลไม่ทำงาน? เพราะ วงจรไฟฟ้าทำงานหนักจนฟิวส์ขาด
  2. Why วงจรไฟฟ้าทำงานหนักเกิน? เพราะ น้ำมันหล่อลื่นตลับลูกปืนมีไม่พอ จนเกิดการติดล็อคในตลับ
  3. Why น้ำมันหล่อลื่นลูกปืนมีไม่พอ? เพราะ ปั๊มหัวฉีดจ่ายน้ำมันไปเลี้ยงไม่พอ
  4. Why ปั๊มหัวฉีดจ่ายน้ำมันไปเลี้ยงไม่พอ? เพราะ ภายในหัวปั๊มมีเศษเหล็กอุดตัน
  5. Why ภายในหัวปั๊มมีเศษเหล็กอุดตัน? เพราะ ภายในหัวปั๊มไม่มีไส้กรองเศษโลหะ

ณ บริษัทขายเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง

  1. Why สินค้าขายไม่ดี? เพราะ คนไม่รู้จัก
  2. Why คนไม่รู้จัก? เพราะ ไม่ค่อยทำแคมเปญ
  3. Why ไม่ทำแคมเปญ? เพราะ งบไม่พอ
  4. Why งบไม่พอ? เพราะ ใช้งบกับเรื่องอื่นแทน
  5. Why ใช้งบกับเรื่องอื่น? เพราะ วางแผนใช้งบไม่ดี เลยกระจายมาไม่ถึงสินค้าตัวนี้

ไม่ว่าเราจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหน ล้วนนำ 5 Whys มาประยุกต์ใช้ได้เสมอ

5 Whys สอนอะไรเราอีกบ้าง?

เราจะเห็นว่า 5 Whys อันที่จริงแล้วใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิต ไม่ว่าจะเรื่องงาน สินค้าบริการทุกรูปแบบ รวมถึงชีวิตส่วนตัว

ทำให้เราเป็นคนมีตรรกะเหตุผลขึ้น รู้จักเรียงลำดับความคิด รู้จักอดทนอดกลั้นที่ขุดลงลึกหาต้นตอปัญหา

ฝึกให้เราเป็นคน “ขี้สงสัย” ดังที่ Tim Cook บอกว่า นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ ก็เริ่มมาจากคุณขี้สงสัย ตั้งคำถามกับสิ่งเดิมๆ ที่เป็นอยู่ เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ที่ดีกว่า

บางครั้งเราต้องทำตัวเป็นเด็กขี้สงสัย อยากรู้อะไรเสียไปหมด สังเกตไหมว่าตอนเด็กๆ เรามักถาม “ทำไม” กับทุกเรื่อง ทำไมมันต้องเป็นแบบโน้น-ทำไมมันต้องเป็นแบบนี้ ทำไมท้องฟ้าสีน้ำเงินแต่พระอาทิตย์สีแดง / ทำไมพ่อแม่ต้องไปทำงาน / ทำไมหยุดแค่เสาร์อาทิตย์แต่ไม่ใช่อังคารพุธ

เมื่อรู้ต้นตอปัญหาที่แท้จริง ก็เป็นบทเรียนให้เราไม่ต้องก้าวพลาดซ้ำซากในอนาคต

ไม่แน่นะ ปัญหาที่คุณพบเจออยู่ในชีวิตตอนนี้…อาจแก้ได้ด้วยการเริ่มต้นถาม “Why”

.

.

“แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa ก็เป็นอีกหนึ่ง Solutions ที่ได้จากการถาม Why หลายครั้ง จนพบว่าสิ่งที่คนต้องการคืออาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ เพื่อที่จะมีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน…ทดลองทำได้ที่นี่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3lPA49N

อ้างอิง