Nestlé ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ผู้นำด้านโภชนาการของโลก

Nestlé ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ผู้นำด้านโภชนาการของโลก

เนสกาแฟ / เนสวีต้า / คอฟฟี่เมต / ไมโล / คิทแคท / โกโก้ครั้นช์ / นมตราหมี / คาร์เนชั่น / ซอสแม็กกี้ ฯลฯ…แบรนด์ทั้งหมดนี้ที่เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลก ล้วนอยู่ภายใต้ Nestlé (มีแบรนด์ย่อยในมือทั่วโลกกว่า 2,000 แบรนด์)

  • นี่คือบริษัท FMCG ที่มียอดขายมากที่สุดในโลก 
  • มูลค่าบริษัท 10.4 ล้านล้านบาท รายได้ 2.7 ล้านล้านบาท
  • ดำเนินธุรกิจกว่า 196 ประเทศ พนักงานกว่า 308,000 คน

น่าสนใจไม่น้อยว่า Nestlé…มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร?

ใส่ใจโภชนาการมาตั้งแต่ต้น

Nestlé ก่อตั้งเมื่อปี 1905 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เกิดจากการควบรวมกันของ 2 บริษัทอย่าง Anglo-Swiss Milk Company และ Farine Lactée Henri Nestlé (ซึ่งมีประวัติย้อนหลังไปได้ถึงปี 1860s)

ความสำเร็จแรกคือการคิดค้น Farine Lactée ผลิตภัณฑ์จากนมและซีเรียล เพื่อช่วยชีวิตเด็กในยุคนั้นที่ไม่สามารถดื่มนมแม่ได้ ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็น “นมผงเด็ก” ที่บริโภคกันทั่วโลก

Image Cr. bit.ly/2VtJeQo

จากนั้น สงครามโลกได้ปะทุขึ้น เกิดอาหารขาดแคลนโดยเฉพาะนมสด Nestlé จึงเข้ามามีบทบาทในการกว้านซื้อโรงงานและผลิตนมข้นจำหน่ายหลายภูมิภาค เป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญ ช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

เราจะเห็นว่า Nestlé มีความใส่ใจด้าน “โภชนาการ” มาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ซึ่งไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น แต่ได้พัฒนาเรื่อยมา

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการพัฒนาเองและเข้าซื้อกิจการอื่น

  • ปี 1934 เปิดตัว ไมโล
  • ปี 1938 เปิดตัว เนสกาแฟ
  • ปี 1947 เปิดตัว ซอสแม็กกี้
  • ปี 1985 เปิดตัว คอฟฟี่เมต
  • ปี 1986 เปิดตัว เนสเพรสโซ่
  • ปี 1988 เปิดตัว คิทแคท
  • ปี 1986 เปิดตัว เนสเพรสโซ่
  • ปี 1998 เปิดตัว น้ำดื่มเนสท์เล่ เพียวไลฟ์

ผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมในชีวิตประจำวัน ราคาเข้าถึงง่าย และตอบโจทย์รสนิยมผู้คนทำให้ Nestlé ขึ้นสู่ผู้นำด้านอาหารและโภชนาการของโลก โดยมีสินค้าถึง 7 ประเภทหลักด้วยกัน

  • Powdered & Liquid Beverages เช่น เนสกาแฟ / เนสเพรสโซ่ / ไมโล
  • PetCare เช่น Purina Friskies
  • Nutrition & Health Science เช่น Nestlé NAN
  • Prepared dishes & Cooking aids เช่น ซอสแม็กกี้
  • Milk products & Ice cream เช่น นมตรามหมี / คอฟฟี่เมต
  • Confectionery เช่น คิทแคท
  • Water เช่น เนสท์เล่ เพียวไลฟ์

ตัวอย่างยอดขายของ Nestlé แบ่งตามประเภทสินค้าในปี 2020

  • Powdered & Liquid Beverages กว่า 820,000 ล้านบาท
  • PetCare กว่า 509,000 ล้านบาท
  • Nutrition & Health Science กว่า 440,000 ล้านบาท
  • Water กว่า 232,000 ล้านบาท

Good Food. Good Life.

เมื่ออาหารที่รับประทานมีประโยชน์ ร่างกายย่อมแข็งแรง เมื่อแข็งแรงก็ออกไปสร้างประโยชน์ให้แก่โลกได้ต่อไป…สุขภาพจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและลงทุน

นี่เป็นตรรกะที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ซึ่ง Nestlé ยึดถือเป็นสโลแกนมากว่า 100 ปีแล้ว และการดำเนินธุรกิจทุกอย่างในเครือจึง “หมุนรอบ” แนวคิดนี้ทั้งสิ้น จนขึ้นมาเป็นบริษัทด้าน FMCG ที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

  • ยอดขายกว่า 2,790,000 ล้านบาท กำไรกว่า 440,000 ล้านบาท

Image Cr. bit.ly/3ikzwZC

ในปี 1981 บริษัทยังได้ตั้ง Nestlé Nutrition Institute ขึ้นมาเพื่อค้นคว้าวิจัยด้านโภชนาการโดยเฉพาะ

พันธกิจ 60/40+

60% ของกลุ่มเป้าหมายต้องมีความชื่นชอบในรสชาติ (Taste preference) ถ้ามีการสำรวจผู้บริโภค 6 ใน 10 ต้องพึงพอใจในสินค้าของ Nestlé เหนือกว่าคู่แข่งในระดับเดียวกัน

ส่วน 40+ คือ ในหมวดหมู่อาหารหนึ่ง โภชนาการพื้นฐานเป็นเท่าไร… Nestlé เพิ่มไปอีก 40%

นี่คือพื้นฐานพันธกิจบริษัทอันแข็งแกร่งที่ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2004 ฟังดูมีเหตุผล วัดเป็นตัวเลขได้ จึงมีความชัดเจนในแนวการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ในปี 2013 โดยเฉลี่ย Nestlé ก็ทำได้เกินเป้าหมายแล้ว ตัวเลขอยู่ที่ 76%

เฟ้นหาแต่ตัวท็อป

Nestlé รู้ดีว่าองค์กรจะเติบโตได้ก็ต้องอาศัยคนเก่ง “องค์กรที่ยิ่งใหญ่ ล้วนมาจาก คนที่เก่ง”

จึงได้ลงทุนสร้าง Employer Branding อย่างจริงจังในแทบทุกประเทศที่ทำตลาด คอยเฟ้นหากลุ่ม Top Talent ในแต่ละประเทศนั้นๆ มาร่วมทีม โดยเป็นการดำเนินงานจากทีม HR ภายในเอง (รวมถึงร่วมมือกับ Agency ในแต่ละประเทศ)

เช่นตลาด UK ออกสโลแกน “Nestlé & You” สร้าง Facebook Page ด้าน Career แยกต่างหากชัดเจน พร้อมอัพเดทงานอยู่ทุกอาทิตย์ (Job Of The Week) รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกด้าน Business Areas / Nestlé Culture / Diversity & Inclusion เพื่อให้แคนดิเดตรู้จักวัฒนธรรมองค์กรมากขึ้น

Nestlé ยังไปโผล่ในทุกช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น LinkedIn / Twitter / YouTube และรวมถึงช่องทางออฟไลน์อย่างออกงาน Job Fair ใหญ่ หรือ เฟ้นหา Intern จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ

Collaboration

Nestlé ไม่ได้มองแบรนด์อื่นเป็นคู่แข่งเสมอไป แต่จับมือช่วยกันได้ถ้า Win-Win ทั้งคู่ ดังที่เป็นข่าวใหญ่ทั่วโลก เมื่อ Collab กับ Starbucks ในปี 2018 

โดยซื้อสิทธิ์การขายกาแฟ Starbucks ในช่องทางค้าปลีกทั่วโลกด้วยมูลค่ากว่า 214,500 ล้านบาท

Image Cr. bit.ly/3ihfpLE

  • Starbucks ได้ประโยชน์ในแง่ ความเชี่ยวชาญและจำนวนช่องทางการจำหน่ายของ Nestlé ซึ่งมีอยู่กว้างใหญ่ไพศาลทั่วโลก
  • ส่วน Nestlé ได้ประโยชน์ในแง่ มีแบรนด์ Starbucks อันแข็งแกร่งในมือ มีฐานลูกค้าจงรักภักดีทั่วโลก ซึ่งเอาไปต่อยอดได้ไม่ยาก

Green(er) Company

ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรม Nestlé เดินหน้าบริษัทไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง (Sustainability) เช่น

  • แพกเกจจิ้งทุกชิ้นต้องรีไซเคิลได้ 100%
  • ลดการใช้พลาสติกผลิตใหม่ลง 30% ภายในปี 2025
  • วางแผนไปสู่ Net Zero Emission ภายในปี 2050

Nestlé มองว่าการที่บริษัทจะอยู่ยั่งยืนคงกระพันในศตวรรษนี้ได้ ไม่ใช่แค่กำไรบริษัทและลูกค้าเท่านั้น แต่ต้องทำควบคู่ไปกับ “สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ” เช่น 

  • เมื่อนำทรัพยากรมาใช้ก็ต้องสร้างทดแทนเสมอ (Regeneration)
  • เปลี่ยนจากหลอดพลาสติกเป็นหลอดกระดาษ
  • ทยอยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทุกโรงงาน
  • เดินหน้าสู่ตลาด Plant-Based Food (เปิดตัวแบรนด์ Harvest Gourmet)

Image Cr. bit.ly/3C83PdR

และยังเป็นการ “เปลี่ยนตัวเอง” ตามพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่เรียกร้องความรับผิดชอบเรื่องนี้จากบริษัทด้วย

Nestlé เลือกเส้นทางเดินทางด้านโภชนาการมาตั้งแต่ต้น ผ่านมา 100 กว่าปียังคงเดินในเส้นทางเดิมและมีแต่จะแข็งแกร่งขึ้น ถ้าวันนี้เราตื่นเช้าขึ้นมายังคงบริโภคและผูกพันกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Nestlé ในชีวิตประจำวันอยู่…ก็ดูเหมือนว่า Nestlé คงจะยังอยู่กับเราไปอีกนาน

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง