Pfizer ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่วัคซีน Covid-19 ความหวังของคนทั้งโลก

Pfizer ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่วัคซีน Covid-19 ความหวังของคนทั้งโลก
  • Pfizer เป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก
  • ปี 2020 รายได้ 1.26 ล้านล้านบาท มูลค่าบริษัท 6 ล้านล้านบาท
  • และล่าสุดผลิตวัคซีน Covid-19 ที่เป็นความหวังของคนทั้งโลก

Pfizer มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่?

จุดเริ่มต้นอันเก่าแก่

Pfizer เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1849 โดยเภสัชกรชาวเยอรมัน นามว่า Charles Pfizer และญาติของเขา Charles F. Erhart ที่เป็นนักธุรกิจ 

เดิมที เป็นเพียง “ร้านขายยาเล็กๆ” แห่งหนึ่งใน New York ด้วยความที่ผู้ก่อตั้ง เป็นเภสัชกรและมีความรอบรู้ด้านเคมีศาสตร์ ภายหลังได้คิดค้น “ยาถ่ายพยาธิ” (Antiparasitics) ได้สำเร็จเป็นยาแรกของบริษัท

ซึ่งเป็นจังหวะที่ลงตัวมากๆ เพราะตอนนั้น โรคพยาธิลำไส้ (Intestinal Parasites) กำลังระบาดหนักตามเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ผู้คนเข้ามายังเมืองมากขึ้น (แต่น้ำประปายังไม่สะอาด / อาหารการกินไม่มีอนามัย / และระบบสาธารณสุขยังไม่มีประสิทธิภาพ) ทำให้ชื่อของ Pfizer เริ่มเป็นที่รู้จักระดับหนึ่ง

A group of people in a room

Description automatically generated with low confidence

นอกจากนี้ Pfizer ยังมีการปรับแต่ง “รสชาติ” ยาให้มีความหวาน (เดิมทีขมกินยาก)โดยยังคงสรรพคุณเหมือนเดิมทั้งหมด เป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะเมื่อทานง่ายขึ้น ก็ขยายตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้าเด็กได้อย่างกว้างขวาง ทำให้กิจการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ความสำเร็จในช่วงแรกนี้ บริษัทเริ่มนำเงินทุนไปสร้างโรงงานและห้องแลปในพื้นที่ใกล้เคียง

จุดเปลี่ยนช่วงสงครามโลก

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อปี 1914 ตอนแรกมันคือหายนะของบริษัท เพราะกระทบต่อการนำเข้าวัตถุดิบหลักชนิดหนึ่งจากอิตาลี (พื้นที่สงคราม) 

Pfizer จำใจหันไปใช้วิธีอื่นไปก่อนอย่าง การหมัก (Fermentation) เพื่อสร้างวัตถุดิบชนิดนั้น แต่สงครามที่กินเวลานานหลายปี ทำให้บริษัทเกิดเชี่ยวชาญเรื่องการหมักขึ้นมา ซึ่งภายหลังได้ต่อยอดไปสู่การคิดค้น “ยาเพนนิซิลิน” (Penicillin) ได้สำเร็จ ซึ่งใช้รักษาอาการ “ติดเชื้อ” ต่างๆ และใช้รักษาทหารและประชาชน

A picture containing text, bottle, different, beverage

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3z4v1Yl

และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นอีกครั้ง จำนวนประชากรบาดเจ็บและมีบาดแผลก็เพิ่มขึ้นมหาศาล ยาเพนนิซิลินจาก Pfizer ทำหน้าที่บรรเทาความเจ็บปวดได้

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลก Pfizer ได้ผงาดเป็นหนึ่งในบริษัทยาชั้นนำระดับโลกนับแต่นั้นมา มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือในหมู่วงการแพทย์ ทหาร ภาครัฐ ประชาชนทั่วไปด้วยอานิสงส์จากที่เคยใช้รักษายามสงคราม

Acquisition 

หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของ Pfizer คือการเข้าซื้อบริษัทยาและเทคโนโลยีการแพทย์มากมายตลอดช่วงการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น

  • ปี 2000 เข้าซื้อบริษัท Werner-Lambert มูลค่าดีล 3.4 ล้านล้านบาท
  • ปี 2009 เข้าซื้อบริษัท Wyeth มูลค่าดีล 2 ล้านล้านบาท
  • ปี 2011 เข้าซื้อบริษัท King Pharmaceuticals มูลค่าดีล 1.08 แสนล้านบาท
  • ปี 2014 เข้าซื้อบริษัท Innopharma มูลค่าดีล 6,750 ล้านบาท
  • ปี 2015 เข้าซื้อบริษัท Hospira มูลค่าดีล 5.1 แสนล้านบาท
  • ปี 2016 เข้าซื้อบริษัท Anacor Pharmaceuticals มูลค่าดีล 1.56 แสนล้านบาท
  • ปี 2019 เข้าซื้อบริษัท Therachon มูลค่าดีล 2.4 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้บริษัทยังมีการควบคุมคุณภาพและกระจายสินค้าผ่าน Pfizer Global Manufacturing (PGM) มีโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน “Pfizer Standard” อยู่กว่า 70 แห่งทั่วโลก โรงงานเหล่านี้มีทั้งที่ไปลงทุนเองโดยตรง / Outsource เจ้าอื่น / ซื้อกิจการท้องถิ่นแล้วทำเอง

A picture containing close

Description automatically generated

PGM ช่วยประสิทธิภาพในการกระจายยาได้รวดเร็วขึ้น / ลดความสูญเสียได้มากขึ้น / ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง

ตัวแปร R&D

อุตสาหกรรมยาชนะกันที่นวัตกรรมยาที่คิดค้นได้ แล้วการจะคิดค้นยาใหม่ๆ ได้ ต้องมาจากงานวิจัย และ Pfizer เข้าใจคาแรคเตอร์ของอุตสาหกรรมยาที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์สูงมากว่า ไม่ใช่ Marketing / Branding / Sales / Logistics ที่สำคัญที่สุด…แต่คือ “นวัตกรรมตัวยา” ต่างหาก ถ้าคิดค้นยาได้สำเร็จและใช้รักษาผู้ป่วยได้จริง ที่เหลือจะตามมาเอง

Pfizer จึงได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลมายังแผนก ”R&D” โดยปี 2020 งบ R&D สูงถึง 280,000 ล้านบาท คิดเป็นถึง 22% ของรายได้ทั้งหมด

โดยทำการเฟ้นหาตัวนักวิจัยและบุคลากรชั้นนำจากที่ต่างๆ / ซื้อตัวจากสถาบันอื่น / ร่วมวิจัยกับสถาบันต่างๆ / ทาบทามนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ / ลงทุนสร้างห้องแลปไฮเทค 

A person in a lab coat

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bit.ly/2YDSe72

การวิจัยเป็นงานที่ใช้ทั้งแรงกาย-แรงใจ / เวลา / ทรัพยากรบุคคล / พันธมิตรคู่ค้า / และเงินลงทุน กว่าจะออกดอกออกผล จึงต้องมีสิทธิบัตรคุ้มครอง (Patent protection) บริษัทยาที่คิดค้นได้สำเร็จ เพื่อสามารถทำกำไรได้

และแม้จะหมดระยะเวลาคุ้มครองไปแล้ว แต่ “แบรนด์ผู้คิดค้นเป็นเจ้าแรก” อย่าง Pfizer หรือใครก็ตาม ย่อมมี “ความน่าเชื่อถือ” มากกว่าแบรนด์เกิดใหม่ทั่วไป ดังที่เราจะเห็นกันจากนี้

สินค้าคุณภาพ

ผลลัพธ์จาก R&D มหาศาล นำไปสู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ และทำยอดขายมหาศาลให้กับบริษัท เช่น 

  • Lipitor ยาลดระดับไขมันในเลือด หนึ่งในสินค้าขายดีที่สุดของบริษัท ปี 2011 ยอดขายผลิตภัณฑ์นี้ตัวเดียวสูงถึง 287,000 ล้านบาท และแม้จะหมดการคุ้มครองสิทธิบัตรไปแล้วในปีเดียวกัน แต่ปี 2019 ก็ยังมียอดขายสูงถึง 59,000 ล้านบาท และในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา Lipitor มียอดขายสะสมสูงถึง 4.8 ล้านล้านบาท
  • Viagra ยาเพิ่มสมรรถนะทางเพศและการสูบฉีดของเลือดลม ปี 2012 ยอดขายผลิตภัณฑ์นี้ตัวเดียวสูงถึง 61,000 ล้านบาท และแม้จะหมดการคุ้มครองสิทธิบัตรไปแล้วในปีเดียวกัน แต่ปี 2019 ก็ยังมียอดขายสูงถึง 15,000 ล้านบาท
A picture containing indoor

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3z4v1Yl

  • Oxytetracycline ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อระะบบทางเดินหายใจ และระบบสืบพันธุ์
  • Piroxicam ยาบรรเทาอาการปวดจากโรคข้ออันเนื่องมาจากการอักเสบ

ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมบรรดา “ยาสามัญประจำบ้าน” อีกมากมายนับไม่ถ้วน

Covid-19

วิกฤติโควิด-19 คือขาลงของหลายธุรกิจ แต่ขณะเดียวกัน กลับเป็นขาขึ้นของ Pfizer

พฤศจิกายน ปี 2020 Pfizer ได้จุดประกายความหวังคนทั่วโลกขึ้นมาอีกครั้งท่ามกลางความมืดมิดของสถานการณ์โควิด-19 เพราะประกาศว่าได้คิดค้นวัคซีนโควิด-19 สำเร็จแล้ว

หนึ่งในสาเหตุที่คิดค้นได้เร็วเพราะ บริษัทยกให้เป็น Top Priority โดยสร้างความยืดหยุ่นขึ้นในกระบวนการทำงาน ตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นทิ้งไป และเพราะองค์ความรู้ที่นำไปสู่การผลิตวัคซีน มีการเก็บสะสมรวบรวมมาก่อนหน้าหลายปีแล้ว จึงไม่ใช่การเริ่มต้นจากศูนย์ซะทีเดียว 

วัคซีนป้องกันวิดที่คิดค้นยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า “mRNA” เป็นการกระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาสู้กับโรคเอง เป็นการร่วมวิจัยกับบริษัท BioNTech ซึ่งได้เซ็นสัญญาจับมือกันร่วมวิจัยตั้งแต่ปี 2018 เกี่ยวกับเทคโนโลยี mRNA 

A picture containing indoor, bottle

Description automatically generated

จากผลลัพธ์เมื่อเดืนธันวาคม ปี 2020 วัคซีนป้องกันโควิดของ Pfizer มีประสิทธิภาพวัคซีนอยู่ที่ราว 95% ถือว่าสูงที่สุดในโลก ณ ตอนนั้น

เมื่อถึงกลางปี 2021 Pfizer ผลิตวัคซีนไปแล้วกว่า 430 ล้านโดส และส่งมอบไปแล้วกว่า 91 ประเทศ ทั้งนี้ยอดสั่งซื้อล่าสุดทั้งหมดอยู่ที่กว่า 1,220 ล้านโดสเลยทีเดียว และแนวโน้มมีแต่เพิ่มขึ้นเพราะสถานการณ์ในหลายประเทศยังไม่คลี่คลาย

.

อาจไม่เกินจริงนักถ้าจะกล่าวว่า การที่มนุษย์มีอายุขัยยืนขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสารพัดยารักษาโรค / วัคซีน / ยาปฏิชีวนะที่ Pfizer เป็นผู้คิดค้น…รวมถึงวิกฤติล่าสุดอย่างโควิด-19 เช่นกัน

ถ้าเราบอกว่า “ปัจจัย 4” ของมนุษย์คือ อาหาร / เครื่องนุ่งห่ม / ที่อยู่อาศัย / และยารักษาโรค…ก็ดูเหมือนว่า Pfizer จะเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ไปอีกนาน

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/2WFa9ZS

อ้างอิง