Samsung ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่นวัตกรรมสากกะเบือยันเรือรบ

Samsung ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่นวัตกรรมสากกะเบือยันเรือรบ
  • Samsung เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้
  • มีมูลค่าบริษัท 15 ล้านล้านบาท รายได้ 6.8 ล้านล้านบาท
  • เป็นผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ผู้คนทั่วโลกใช้กัน
  • และมีส่วนแบ่งตลาด Smartphone ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จากบริษัทที่ส่งออกปลาแห้ง สู่นวัตกรรมสากกะเบือยันเรือรบ…Samsung มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่?

กว่าจะมาเป็น Samsung

Samsung ก่อตั้งเมื่อปี 1938 โดยคุณ Lee Byung-chul เริ่มแรกเป็นบริษัทส่งออกปลาแห้งและทำธุรกิจซื้อมาขายไปขนาดย่อมเยา ก่อนจะขยายไปสู่ธุรกิจสิ่งทอ / อาหาร / ค้าปลีก / ธุรกิจประกัน 

และเข้าสู่อุตสาหกรรมหนักขนาดใหญ่อย่าง การต่อเรือ / การก่อสร้าง / อาวุธทางการทหาร / และสุดท้ายประเภทธุรกิจที่ทำให้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกอย่างธุรกิจ “อิเล็กทรอนิคส์” ในปี 1969 จนหลายทศวรรษต่อมาได้ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้และเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ทั่วโลกยอมรับ

Samsung มีถึงกว่า 80 ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ทั่วโลก

A picture containing sky, outdoor, city, tall

Description automatically generated

เฉพาะ Samsung Electronics (แขนงบริษัทที่ใหญ่ที่สุด) แบ่งเป็น 4 Divisions ได้แก่

  • Digital media
  • Semiconductor
  • Telecommunication network
  • LCD digital appliances

ธุรกิจที่ถูกรัฐบาลเลือก

เรื่องราวที่อยู่นอกสื่อกระแสหลักคือ หลังแยกประเทศ เกาหลีใต้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ “Protectionism” ภาครัฐมีการ “ปกป้อง” อุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างชัดเจน กีดกันการค้าจากบริษัทใหญ่ข้ามชาติ เพื่อให้หลายบริษัทเกาหลีใต้ที่พึ่งตั้งไข่ มีเวลาในการสะสมองค์ความรู้พัฒนาตัวเอง ก่อนออกไปสู้ในระดับโลก

Protectionism ไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศที่พัฒนาแล้วในโลก (และมีการค้าแบบเสรีในปัจจุบัน) ล้วนเคยผ่านช่วงเวลานี้มาแล้วทั้งสิ้น

  • เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ช่วงทศวรรษที่ 1950s
  • เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 – ต้นศตวรรษที่ 20
  • เกิดขึ้นในอังกฤษ ช่วงต้น-กลางศตวรรษที่ 19

และ Samsung ไม่เพียงเป็นธุรกิจที่ถูกปกป้องเท่านั้น แต่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ภาครัฐ “หยิบเลือก” ให้เป็นหัวหอกในการนำพาไปสู่ประเทศชั้นนำ ซึ่งต่อมา…กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ที่ถูกภาครัฐอุ้มชูนี้เรียกว่ากลุ่ม “แชโบล” (Chaebol)

10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มแชโบล มีมูลค่าถึง 50% ของตลาดหุ้นในเกาหลีใต้ และในจำนวนนี้ Samsung เพียงบริษัทเดียวมีมูลค่าคิดเป็นถึง 1/3 

จึงอาจกล่าวได้ว่า ช่วงทศวรรษ 1960s การเติบโตของ Samsung และสภาพการแข่งขันในตลาดไม่ได้เป็นไปแบบธรรมชาติ (Organic) แต่มีบทบาทของภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้วย

R&D เบื้องหลังนวัตกรรม Samsung

ในยุคแรก Samsung เริ่มต้นด้วยการยอมรับในความด้อยกว่าของตัวเอง ก่อนจะเลือกคู่แข่งซึ่งเป็นผู้นำในวงการขณะนั้นอย่าง Sony เป็นต้นแบบ และพยายามลอกเลียนแบบให้เหนือกว่า (Emulation) 

Samsung รู้ดีว่าผู้คนมีภาพจำที่ดีต่อ Sony ผ่านนวัตกรรมชั้นนำอย่าง Sony Walkman และ PlayStation

“คุณภาพสินค้า ต้องมาก่อน ภาพลักษณ์องค์กร”

ถ้า Samsung ทำได้สำเร็จ ก็น่าจะช่วยให้ภาพลักษณ์องค์กรดีขึ้น และง่ายต่อการสร้างแบรนด์และเพิ่มมูลค่า

แต่การจะมีนวัตกรรมในวงการนี้ได้ เบื้องหลังต้องมาพร้อมงบ “R&D” มหาศาล Samsung จึงได้ให้ความสำคัญสูงสุดกับการค้นคว้าวิจัยตั้งแต่นั้นมา

เมื่อถึงปี 2020 สิทธิบัตร (Patent) ที่จดทะเบียนเฉพาะในสหรัฐอเมริกากว่า 6,000 สิทธิบัตร (มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในอเมริกา รองจาก IBM)

  • ปี 2014 Samsung ใช้งบ R&D กว่า 420,000 ล้านบาท 
  • ปี 2020 Samsung ใช้งบ R&D กว่า 607,000 ล้านบาท 
Graphical user interface

Description automatically generated

จากพนักงาน Samsung ทั่วโลกกว่า 320,000 คน ในจำนวนนี้ พนักงานที่ทำเฉพาะด้าน R&D มีมากถึง 50,000 คน ในกว่า 42 ศูนย์วิจัยไฮเทคทั่วโลก

บริษัทได้ประกาศว่า จะตั้งใจแบ่งงบ R&D โดยคิดเป็น 9% ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละปี

ผลลัพธ์ของ R&D ค่อยๆ สร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับ Samsung

  • ปี 1993 ผลิตชิปหน่วยความจำ (Memory Chips) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ปี 2006 ผลิต TV ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ปี 2010 เปิดตัวโทรทัศน์ 3 มิติรุ่นแรกของโลก 
  • ปี 2011 ขึ้นแท่นบริษัทผลิตสมาร์ตโฟนที่มีรายได้มากที่สุดในโลก
  • ปี 2013 เปิดตัวโทรทัศน์ จอโค้งรุ่นแรกของโลก
  • ปี 2018 เปิดตัวโทรทัศน์ ความชัดระดับ 8K
A picture containing text, electronics, display, computer

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3iObHJQ

และจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัทในแง่ผลตอบรับผลิตภัณฑ์ คือการเปิดตัว

  • Samsung Galaxy S ในปี 2010
  • Samsung Galaxy Note ในปี 2011

ซึ่งสร้างยอดขายเติบโตแบบก้าวกระโดด และสร้างจุดยืนภาพลักษณ์ใหม่ว่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกได้สำเร็จ!!

A person holding a phone

Description automatically generated with medium confidence

R&D ของ Samsung ยังรวมไปถึงชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ในเครื่อง แม้แต่ iPhone หลายรุ่นในปัจจุบัน ก็ใช้หน้าจอ OLED ที่สั่งมาจาก Samsung 

ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค

R&D ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ แต่รวมถึงพฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคด้วย

Samsung มีฐานข้อมูลลูกค้าในระบบมหาศาล และผลวิจัยจากหลากหลายประเทศทั่วโลก…รู้ว่า Pain Point และ ความต้องการลึกๆ ของผู้คนคืออะไร? ก่อนจะคิดย้อนกลับเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ให้แก้ปัญหาลูกค้าได้

เราเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ Samsung ที่หลากหลายเหลือเกิน ครอบคลุมแทบทุกความต้องการ

  • Galaxy A Series ราคาย่อมเยา เน้นฟังก์ชั่นใช้งาน
  • Galaxy S เน้นถ่ายภาพ ดีไซน์โดดเด่น ทันสมัย 
  • Galaxy Note ที่เหมาะกับคนทำงาน เน้นประสิทธิภาพในการทำงานเหมือนเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อม
  • Knox เน้นความปลอดภัยสูงสุด ยากต่อการโจรกรรมข้อมูล
  • Samsung The Wall Luxury เจาะกลุ่มมหาเศรษฐี (ราคา 13.9 ล้านบาท)

ผู้นำที่มองการณ์ไกล

Lee Kun-Hee ผู้นำในช่วงเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ระดับโลกในช่วงทศวรรษ 1990s ได้วางรากฐานสำคัญในปี 1993 โดยเน้นย้ำถึง

A person in a suit and tie

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bit.ly/3iQjWoz

  • นวัตกรรม
  • เทคโนโลยีอันล้ำหน้า
  • งานดีไซน์ระดับโลก
  • การเป็นแหล่งรวมหัวกะทิ
  • แบรนด์ดิ้งภายในองค์กร

นี่คือการปักหมุดไปที่ “ระดับโลก” พร้อมแคมเปญระดับโลกตัวแรกชื่อว่า “Challenge the Limits”

รวมถึงยังมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง “วัฒนธรรมในองค์กร” มากมาย เช่น เปลี่ยนจากการจ้างงานตลอดชีพในแบบดั้งเดิม มาเป็นมุ่งเน้นที่ผลงานแทน (Result-based) ดึงดูดคนเก่งๆ รุ่นใหม่ให้มาร่วมสร้างฝัน 

Design

ไม่ใช่แค่ฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่ทุกวันนี้ผู้บริโภคหลายคนน่าจะยอมรับมากขึ้นแล้วว่างาน “ดีไซน์” ของ Samsung เทียบชั้นกับคู่แข่งสำคัญระดับโลกได้แบบไม่อายใคร

ปี 1993 Samsung ได้จัดตั้ง Innovative Design Lab (IDL) เป็นหน่วยงานภายในองค์กรเอง โดยมีประธาน Lee Kun-Hee เป็นผู้สนับสนุนโดยตรง (และรายงานโดยตรง)

แลปนี้คือเบื้องหลังความสำเร็จด้านงานออกแบบของ Samsung ก็ว่าได้ ซึ่งจะศึกษาเชิงลึกในหลากหลายศาสตร์เพื่อผนวกเข้ามากับการสร้างผลิตภัณฑ์จริง

  • งานออกแบบที่คำนึงถึงสรีระร่างกาย (Ergonomics)
  • วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical engineering)
  • ปรัชญาของงานประติมากรรม (Philosophy of sculpture)
  • ศิลปะและวัฒนธรรมของผู้คน (Arts & Culture)
  • การใช้วัสดุรีไซเคิล (Recycled materials)
A close-up of a cell phone

Description automatically generated with low confidence

ถึงปัจจุบัน Samsung ยังคงเป็นผู้นำสินค้าไฮเทค ดูตัวอย่างได้จากการเปิดตัวสินค้าใหม่คุณภาพล้ำหน้าอย่างต่อเนื่อง

  • Samsung QLED 8K
  • Samsung BESPOKE Refrigerators ตู้เย็นอัจฉริยะ
  • Samsung AI EcoBubbles เครื่องซักผ้า AI

ปี 2019 ยอดขาย Smartphone ทั่วโลกอยู่ที่ราว 1,370 ล้านเครื่อง โดยมี Samsung เป็นเบอร์ 1 ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดที่ 296 ล้านเครื่อง (ราว 21.6%)

Samsung คือตัวอย่างเรื่องราวที่น่าสนใจของบทบาทภาครัฐที่มีส่วนช่วยพยุงบริษัทในประเทศ และจากจุดเริ่มต้นที่ดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจปัจจุบัน แต่เมื่อตั้งตัวได้และสร้าง “วิสัยทัศน์” อันกว้างไกล ก็สามารถขึ้นเป็นผู้นำด้านบริษัทไฮเทคชั้นนำของโลกได้สำเร็จ

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3j7Q8nD

อ้างอิง