ปัญหาแก้ยาก-แก้ไม่ได้ หรือเพราะคุณไม่ Creative มากพอ?

ปัญหาแก้ยาก-แก้ไม่ได้ หรือเพราะคุณไม่ Creative มากพอ?

แม้เหล่านักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับโลกจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน ใช้ทักษะต่างกัน แต่มีอยู่ชุดความคิดหนึ่งที่พวกเค้าลงความเห็นตรงกัน นั่นคือ 

ทุกวิกฤติมีโอกาสซ่อนอยู่ถ้าคุณมองให้เห็น ทุกปัญหาที่เจอทางตันล้วนแก้ได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ “Super Creativity” ที่มีกึ๋นมากพอ

แก่นของความ Creative?

ความคิดสร้างสรรค์คือการ Connecting the Dots เชื่อมโยงองค์ความรู้จุดต่างๆ เข้าหากัน จากเดิม 2 จุดที่ไม่เหมือนกัน เมื่อมาบรรจบกันแล้ว อาจเกิดเป็นสิ่งใหม่

  • 1+1 จึงไม่ได้เท่ากับ 2 อีกต่อไป แต่เท่ากับ 3 (หรือมากกว่า)

การเชื่อมโยงจุดเข้าด้วยกันนี้เอง ทำให้ความ Creative มักเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ไม่มีอยู่ในแคตาล็อคมาตรฐานให้ “หยิบเลือก” หากแต่ต้องขบคิด “สร้าง” มันขึ้นมาเอง

Background pattern

Description automatically generated

Paul Arden อดีต Creative Director เอเจนซี่โฆษณาเจ้าใหญ่ Saatchi and Saatchi เผยว่า พวกเราหลายคนมักเติบโตมาในสังคมและระบบที่ถูก “ตีกรอบ” จึงทำให้ความคิดแรกที่แว่บขึ้นมาในหัวคนส่วนใหญ่ มักเป็นความคิดตรรกะเหตุผลทั่วไป…แต่ยังไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า Creativity

เทคนิคคืออย่าพึ่งเชื่อ-อย่าพึ่งยอมรับ แต่ให้ลองคิดขั้วที่อยู่ “ตรงข้าม” ดูก่อน (Think the opposite) และวิธีสังเกตง่ายๆ ว่ามันเริ่มมีกลิ่นอาย Creative แล้วหรือยัง คือสีหน้าท่าทางที่ผู้คนได้ยิน

  • “โห…คิดได้ยังไงเนี่ย?!!”
  • “เฮ้ยยยยยย…เจ๋งมาก ไม่เคยคิดมุมนี้มาก่อนเลย”

เราลองมาสำรวจปมปัญหาที่ดูเหมือนแก้ยาก แต่กลับถูกแก้ปมออกง่ายๆ อย่างเหลือเชื่อด้วยความ Creative

จาก Waste Time สู่ Wish Time

บริษัท Myers Group กำลังเจอปัญหาคลาสสิก นั่นคือ ลูกค้าโทรมา Call Center เยอะมากจนรอสายนาน จากสถิติที่บริษัทสำรวจพบว่า มีคนโทรหากว่า 600,000 สาย และ 40% จากทั้งหมดนี้ “วางสายทิ้ง” ซึ่งคาดเดาได้ว่าสร้างความหงุดหงิดไม่พอใจแน่นอน

A person sitting at a desk

Description automatically generated with low confidence

แต่แทนที่ Myers Group จะแก้ปัญหาด้วยวิธีมาตรฐาน เช่น “จ้างพนักงาน Call Center เพิ่ม” บริษัทเปลี่ยนเป็นการเล่นที่แรงจูงใจแทน

วิธีคือ เมื่อลูกค้าเข้าสู่การรอสาย เสียงภายในจะพูดทำนองว่า “รู้หรือไม่ว่า…ความรุนแรงภายในบ้านสร้างปัญหากว่าที่คิด คือบ่อเกิดของปัญหาสังคมทั้งปวง บริษัทเราตระหนักเรื่องนี้ดี ดังนั้น…ทุกวินาทีที่คุณรอสาย เราจะบริจาคมากขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้”

นั่นหมายความว่า “ยิ่งลูกค้ารอนานเท่าไร บริษัทยิ่งบริจาคมากขึ้นเท่านั้น” ยิ่งลูกค้ารอนาน ยิ่งรู้สึกดี เหมือนได้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหา

  • เปลี่ยนจาก Waste Time เวลาที่สูญเปล่าไปกับการรอ
  • เป็น Wish Time ภาวนาให้ปัญหานี้บรรเทาลง
  • จากการรอที่แสนเบื่อหน่าย เป็นการรอที่มีความหมาย

ผลปรากฎว่า จำนวนคนวางสายลดลงจาก 40% เหลือแค่ 5%

ช่วยเหลือ Community ตัวเองยังไงได้บ้าง?

เจ้าของอู่ซ่อมรถเล็กๆ ในชุมชนแห่งหนึ่งที่ประเทศอังกฤษ ถูกโน้มน้าวดึงดันจากภรรยาให้ไปลองตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก (ซึ่งทำได้ง่ายๆ สะดวก แทบไม่มีค่าใช้จ่าย เพราะมีระบบสวัสดิการจากภาครัฐ)

แม้เขารู้สึกว่าสุขภาพร่างกายปกติทุกอย่าง แต่ผลตรวจกลับพบว่า ตัวเองดันเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างไรก็ตาม เขารักษาหายขาดได้ทันเวลา

เหตุการณ์นี้ทำให้เขาตระหนักว่า มะเร็งต่อมลูกหมาก “ใกล้ตัว” กว่าที่คิด เกิดขึ้นได้กับผู้ชายแม้ไม่มีอาการ เขาหาข้อมูลต่อจนพบว่า 

  • มีผู้ชาย 47,500 คน/ปี เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในอังกฤษ
  • มีคนตายด้วยโรคนี้ทุกๆ 45 นาที หรือ 11,500 คน/ปี

เขาเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่น่าสะพรึงกลัว และคิดว่าตัวเอง (ในฐานะคนที่โชคดี) จะมีส่วนช่วยเรื่องนี้ยังไงได้บ้าง…อย่างน้อยในชุมชนของตัวเองก็ยังดี?

แต่แทนที่เขาจะเผยแพร่ข้อเท็จจริงนี้ด้านวิทยาศาสตร์หรือเชิงตัวเลขสถิติแบบทั่วไป

เขากลับเสนอโปรโมชั่นสุดพิสดารที่อู่ซ่อมรถร้านตัวเอง นั่นคือ มอบส่วนลด 20% แก่ลูกค้าที่เอารถมาเช็คสภาพ โดยมีเงื่อนไข ลูกค้าต้องไปเข้ารับการ “ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก” เสียก่อน 

A picture containing indoor, old, equipment, furniture

Description automatically generated

เจ้าของอู่ทราบดีว่า ความย้อนแย้งหนึ่งของผู้ชาย คือ ถ้ารู้สึกว่าร่างกายยังโอเค จะหลีกเลี่ยงทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้ไปพบหมอ แต่จะทำทุกวิถีทางเพื่อเอารถยนต์เข้าอู่ แม้ยังไม่มีอาการเสียใดๆ 

  • ผู้ชายบางคนรักรถยนต์ มากกว่า รักร่างกายตัวเองซะอีก

จากเทคนิคสุดครีเอทีฟนี้ ผลปรากฎว่า ลูกค้า 36 คนที่รับข้อเสนอโปรโมชั่น ไปตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และ “รักษาหาย 34 คน”

นั่นหมายความว่า เขาได้ช่วยชีวิตผู้คนชุมชนละแวกบ้านได้ถึง 34 คน คุ้มค่าเหลือเกินกับส่วนลด 20%

คิดกลับด้าน เปลี่ยนไปโฟกัสตัวแปรอื่น?

ณ ถนนชุมชนแห่งหนึ่งในสวีเดน กำลังเผชิญปัญหาคนขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด (Over speeding) แต่แทนที่ทางการจะแก้ปัญหาโดยติดตั้งกล้องตรวจจับความเร็ว / เพิ่มตำรวจลาดตระเวน / ออกแบบกายภาพถนนใหม่…ซึ่งล้วนใช้งบประมาณมหาศาล

A white car driving on a road

Description automatically generated with medium confidence

ทางการคิดมุมกลับ โดย “ให้เงินรางวัล” แก่ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎจราจรไม่ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด โดยจะ “สุ่ม” เป็นลอตเตอรี่ ทั้งนี้ แทบไม่มีการใช้เงินลงทุนเพิ่มเลย ใช้กล้องตรวจจับความเร็วตัวเดิม แค่ตรวจเพิ่มคนขับไม่เกิน Speed Limit

แล้วเงินรางวัลมาจากไหน? เงินรางวัลก็มาจาก “คนทำผิดกฎจราจร” กลายเป็นว่า

  • คนทำผิดถูกลงโทษ คนทำถูกได้รับรางวัล
A camera on a tripod

Description automatically generated with medium confidence

ผลปรากฎว่า ความเร็วลดลง 22% ภายในเวลาไม่กี่วัน จาก 32 กม./ชม. เหลือแค่ 25 กม./ชม. เหนือสิ่งอื่นใด สร้างความรู้สึกปลอดภัยทั้งแก่ผู้ใช้ท้องถิ่นและประชาชนโดยรอบ

จะเห็นว่า ทั้งปัญหาเรื่องธุรกิจ / สุขภาพ / ปัญหาสังคม / ชีวิตส่วนตัว…ทุกเรื่องในชีวิตของเราก็ว่าได้ ถูกแก้ไขได้ ถ้ามีกึ๋นความคิดสร้างสรรค์ที่มากพอ

ครั้งหน้า ถ้าคุณมีปัญหายากๆ ที่ยังหาทางแก้ไม่ได้ ให้ลองถามตัวเองดูก่อนว่า…หรือเพราะฉันยังไม่ Creative มากพอ?

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3w30H0a

อ้างอิง