Worry Time – เครียดน้อยลงด้วยการกำหนดเวลาเครียด!

Worry Time – เครียดน้อยลงด้วยการกำหนดเวลาเครียด!

เราทุกคนรู้ดีว่า “ความเครียด” เป็นตัวร้ายชั้นดีที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของเรา มันตามหลอกหลอนเราไปทุกที่และทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องงาน / ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว / คุณภาพการนอน / อรรถรสการกิน / อภิรมย์การเที่ยว…ทุกเรื่องในขีวิตจริงๆ

Dr. Sabrina Romanoff นักจิตวิทยาคลินิกจาก Yeshiva University แห่งนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เห็นถึงผลกระทบเรื่องนี้เป็นพิเศษ จึงได้ออกแบบเทคนิค “Worry Time” ขึ้นมาซึ่งมีข้อสนับสนุนด้านจิตวิทยาด้วย

แทนที่จะเครียดมาก-เครียดน้อยตลอดทั้งวัน แต่ Worry Time จะเป็นการ อุทิศเวลาช่วงหนึ่งเพื่อ “เครียดให้ถึงที่สุด” เอาให้มันรู้กันไปข้างเลย 

A person sitting at a table with a computer

Description automatically generated with medium confidence

ปกติแล้วการกำหนด “ตารางเวลา” (Schedule) แทบทุกประเภมมักเกิดขึ้นกับการเพิ่มประสิทธิภาพการงานหรือเรื่องอื่นๆ ด้านบวก จึงมีการคิด “มุมกลับ” ว่าแล้วทำไมเราไม่ลองใช้กับความเครียดดูบ้างล่ะ?

โดยจากการทดลองพบว่า Worry Time การกำหนดเวลาเครียดลักษณะนี้ กลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการ “เครียดตลอดทั้งวัน” ซะอีก!

ทำไม Worry Time ถึงเวิร์คกว่าที่คิด?

เรื่องนี้ฟังดูย้อนแย้งและขัดกับสัญชาตญาณ ความเครียดไม่ดีต่อร่างกาย ไม่ดีต่อการงาน และอะไรหลายๆ อย่าง เราควรจะหลีกเลี่ยงมันทุกวิถีทาง…ไม่ใช่มอบพื้นที่ให้มันไม่ใช่เหรอ?

แต่ความจริงแล้ว ความเครียดเป็นสิ่งที่มนุษย์ “ควบคุม” ได้ยากมากๆ มันเป็นความรู้สึกที่บางครั้งจู่ๆ ก็พลั่งพลูขึ้นมา แถมอยู่กับพันธุกรรมและฮอร์โมนแต่ละคนที่เครียดกว่าคนทั่วไป 

แทนที่จะวิ่งหนี…ก็วิ่งเข้าหามันซะเลย!

แบะกลายเป็นว่า เมื่อเรา “เตรียมตัวเตรียมใจ” ว่ามันต้องเครียดแน่เลย ผลปรากฎว่า เมื่อเกิดขึ้นจริงแล้วอาจไม่เครียดเหมือนที่คิดไว้ คำอธิบายคือ เพราะจิตและร่างกายเราได้สั่งการคิดไปล่วงหน้าแล้ว ร่างกายจึงเกิดการเตรียมตัว ฮอร์โมนบางชนิดที่กระตุ้นให้เราตื่นตัวและบรรเทาความเครียดจะทำงานโดยที่เราไม่รู้ตัว

A couple of women looking at a computer

Description automatically generated with low confidence

ราวกับว่าเมื่อเผชิญหน้าวิ่งเข้าหาความเครียด…มันกลับวิ่งหนีเรา!

เริ่มต้นทำ Worry Time ยังไงดี?

อันดับแรก ให้กำหนด “บล็อคเวลาสั้นๆ” (Time blocking) ราว “15-30 นาที” ในแต่ละช่วงของวัน สาเหตุที่สั้นๆ เพราะเป็นความเครียดที่กำลังพอดี ไม่เครียดมากหรือน้อยจนเกินไป และน่าจะมีโอกาสทำได้จริงในทางปฏิบัติ (หลายคนงานยุ่ง ตารางแน่นทั้งวัน)

A person sitting at a table with the hands on the head looking at a computer

Description automatically generated with low confidence

ถ้าทดลองทำจริง จะพบว่า Total Stress Time ระยะเวลาที่เราเครียดทั้งหมดมัก ” น้อยกว่า” การเครียดแบบดั้งเดิมที่เราเครียดตลอดทั้งวัน

แล้วเวลาไหนที่ควรกำหนด Worry Time? คำตอบคือ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว เพราะขึ้นอยู่กับบริบทเงื่อนไขเวลาของแต่ละคน แต่มี “กฎเหล็ก” ที่ต้องจำคือ อย่าตั้ง Worry Time ใน 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ตอนเช้าหลังตื่นนอน และ ตอนกลางคืนก่อนเข้านอน 

เพราะตอนเช้าสมองเราแล่นที่สุด ควรจะใช้กับงานที่สร้างสรรค์ และตอนกลางคืนถ้าเราเครียด ผลกระทบอาจตกค้างไปถึงคุณภาพการนอนที่ย่ำแย่ลงนั่นเอง

ไม่ต่างจากคุณภาพการนอนดีที่สุดเริ่มต้นด้วยการ “เข้านอนเป็นเวลา” ประจำทุกวัน (เช่น 4 ทุ่มทุกวัน) การกำหนดความเครียดจะดีที่สุดก็เริ่มต้นด้วยการตั้งเวลาเครียดเป็น “ช่วงเวลาเดิมๆ” ทุกวัน เพื่อความต่อเนื่องและมีวินัยในตัวเอง (Consistency) แถมยังสัมพันธ์กับการเสริมสร้างนิสัยกิจวัตรประจำวันด้วย (Habit) อีกอย่าง ในแง่การทำงานของสมอง เมื่อเราระบุเวลาตายตัวทุกวัน สมองจะ “โฟกัส” เรื่องนั้นได้ดีกว่าเดิม

Dr. Sabrina Romanoff เสริมว่า เพื่อเอาให้สุดทางไปเลย คุณควรจะเอาตัวเองไปอยู่ใน “สภาพแวดล้อม” แย่ๆ ที่ส่งเสริมให้เครียดยิ่งขึ้นไปอีก!

  • ห้องคับแคบ สกปรก ไร้ศิลปะการตกแต่งภายใน
  • เก้าอี้แข็งๆ นั่งแล้วเมื่อย
A pile of paper money

Description automatically generated with low confidence

ข้อควรระวังคือ อย่านำ Worry Time มาเกี่ยวพันกับพื้นที่ที่คุณชื่นชอบ เช่น เตียงนอนในบ้าน เพราะสมองจะทำการเชื่อมโยง (Association) โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว กลายเป็นว่าเวลาเข้านอนกลับกระตุ้นจุดติดความเครียดเข้าให้แทน

แบรนด์ประยุกต์ใช้ได้อย่างไร?

เริ่มแรก องค์กรต้องปรับทัศนคติใหม่ว่า Worry Time ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทคนิคการเสริมสร้าง “Productivity & Well-Being” ของพนักงานทุกคน (ในรูปแบบคิดกลับด้าน) จึงต้องให้ความสำคัญไม่แพ้เทคนิคอื่นๆ

ยุคนี้หลายองค์กรทำ Work From Anywhere พูดคุยติดตามงานผ่านประชุมออนไลน์จนเป็นเรื่องปกติ ก็สามารถจัด (Online) Stress Meeting หรือ “ประชุมเครียด” ซัก 15-30 นาที ให้ทุกคนมาระบายความเครียด-ความอัดอั้นในใจ พนักงานที่เข้าร่วมจะต้องไม่รู้สึก Toxic เกิดขึ้น เพราะตกลงกันแล้วว่าประชุมนี้ “เครียดแน่นอน” 

A person using a computer

Description automatically generated with medium confidence

สำหรับองค์กรที่มีทรัพยากรมากพอ อาจต้องเริ่มจริงจังในการเฟ้นหา Corporate Psychologist มาประจำองค์กรอย่างจริงจัง ซึ่งมีบทบาทในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและดูแลพนักงานในระดับนโยบายภาพรวมได้เลยทีเดียว

Two people sitting in chairs in a room

Description automatically generated with medium confidence

เราทุกคนทราบดีว่ายุคนี้การทำงานช่างเหน็ดเหนื่อยและยากลำบากจริงๆ ความเครียดเป็นเรื่องยากที่จะหนีพ้น เชื่อเลยว่าอนาคตอันใกล้ Worry Time จะเป็นเทคนิคที่หลายองค์กรนำไปใช้เพื่อบริหารจัดการความเครียดแก่พนักงานทุกคน

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง