ZARA ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์แฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ZARA ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์แฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ZARA คือแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
  • ปี 2019 มีมูลค่าแบรนด์กว่า 552,000 ล้านบาท
  • กว่า 2,300 สาขา ใน 96 ประเทศ พนักงาน 152,000 คน

จากร้านเสื้อผ้าเล็กๆ เริ่มต้นมาจากธุรกิจครอบครัว สู่ผู้บุกเบิก Fast Fashion ที่ประสบความสำเร็จระดับโลกเป็นเจ้าแรก

ZARA มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร?

คาแรคเตอร์เดิมที่อยู่มาถึงปัจจุบัน

ZARA ก่อตั้งขึ้นในปี 1975 โดยคุณ Amancio Ortega เปิดสาขาแรกที่เมือง A Coruña ประเทศสเปน

เริ่มแรก ZARA เป็นร้านเสื้อผ้าที่พยายามเลียนแบบเสื้อผ้า Hi-end จากแบรนด์แฟชั่นหรูชั้นนำที่กำลังได้รับความนิยมในท้องตลาด…แต่มาในวัสดุที่เรียบง่ายกว่า คุณภาพพอใช้ได้ และที่สำคัญ…ราคาถูกกว่ามาก!! จนคนทั่วไปสามารถหาซื้อเข้าถึงง่าย และทำให้ ZARA เริ่มมีชื่อเสียง

A person walking in front of a store

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bloom.bg/2UOCBIp

เราจะเห็นว่า ZARA มีกลิ่นอาย “พรีเมียม & ทันกระแส” อยู่ใน DNA มาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ซึ่งเป็นรากฐานการดำเนินธุรกิจมาถึงปัจจุบัน

A group of women posing for a picture

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3BbNaEU

โกอินเตอร์

ด้วยความนิยมล้นหลามในสเปน ทำให้ ZARA เริ่มคิดการใหญ่ขยายสาขาไปทั่วโลก (Global expansion) ในปี 1985 ได้ตั้งบริษัทแม่ Inditex Group ขึ้นมาและวางผังโครงสร้างองค์กรใหม่ เตรียมระบบขนส่งสินค้า รวมถึงวัฒนธรรมองค์กร 

(ปัจจุบัน แบรนด์ ZARA เป็นส่วนหนึ่งของเครือบริษัท Inditex Group แต่เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุด มีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 70%)

Text, whiteboard

Description automatically generated

และในปี 1988 เริ่มต้นขยายสาขาต่างประเทศแห่งแรกที่โปรตุเกส ก่อนจะเร่งขยายอย่างรวดเร็วเปิดตลาดใหม่แทบทุกปี เช่น

  • ปี 1989 เปิดสาขาแรกที่ สหรัฐอเมริกา
  • ปี 1992 เปิดสาขาแรกที่ เม็กซิโก
  • ปี 1993 เปิดสาขาแรกที่ สวีเดน
  • ปี 2000 เปิดสาขาแรกที่ บราซิล
  • ปี 2002 เปิดสาขาแรกที่ ญี่ปุ่น
  • ปี 2004 เปิดสาขาแรกที่ จีน
  • ปี 2006 เปิดสาขาแรกที่ ไทย
  • ปี 2008 เปิดสาขาแรกที่ เกาหลีใต้

ปัจจุบัน ZARA คือแบรนด์แฟชั่นเบอร์ 1 ของโลก โกยยอดขายทั่วโลกไปกว่า 744,000 ล้านบาทในปี 2020

(Ultra) Fast Fashion

รู้หรือไม่? ในแต่ละปี ZARA จะออกคอลเลคชั่นใหม่กว่า 20 คอลเลคชั่น เรียกว่าออกใหม่ทุกๆ 3 อาทิตย์เลยก็ว่าได้

เดิมทีคุณ Amancio Ortega ค้นพบ Pain Point หนึ่งของลูกค้าตั้งแต่หลายทศวรรษที่แล้ว นั่นคือ “กว่าเสื้อผ้าจะผลิตวางขาย…เทรนด์แฟชั่นก็เริ่มไปแล้ว” เขาจึงออกแบบโมเดลธุรกิจที่ต่อมาเรียกกันว่า “Fast Fashion”

Fast Fashion ฟังดูเป็นเรื่องปกติในยุคนี้ไปแล้ว แต่เมื่อย้อนกลับไปหลายทศวรรษที่แล้ว ZARA เป็นเจ้าแรกที่ประสบความสำเร็จในสเกลระดับโลก คุณ Amancio Ortega ยังได้วางรากฐานแนวคิดอันเรียบง่ายขององค์กรที่มีต่อลูกค้าคือ

  1. ให้สิ่งที่ลูกค้าต้องการ
  2. ให้เร็วกว่าคู่แข่ง

การจะทำ Fast Fashion ได้สำเร็จ “ความเร็ว” คือหัวใจสำคัญ

จากไอเดียในหัวจนออกมาเป็นเสื้อผ้าบนราวแขวนในร้าน ZARA ใช้เวลาทั้งขั้นตอน ”ไม่เกิน 1 เดือน” (เมื่อดีไซเนอร์ร่างแบบเสื้อผ้าเสร็จสรรพ ขั้นตอนผลิตที่เหลือใช้เวลาเพียง 10 วันจนวางอยู่ในร้าน)

อีกเรื่องคือ “ดีไซน์” โดยเสื้อผ้าของ ZARA จะมีลวดลายที่หวือหวากว่า สีสันกว่า มีความ “แฟชั่น” กว่ามาก (และมีแนวโน้มตกรุ่นเร็วกว่า) ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น Uniqlo ที่ดีไซน์จะมีความเรียบง่ายไม่หวือหวา

A couple of men walking

Description automatically generated with low confidence

ความเร็วนี้ลงลึกถึงระดับตัวร้าน ในปี 2014 ZARA นำ “เทคโนโลยี RFID” มาใช้ โดยติดตั้งไว้ที่ไม้แขวนเสื้อ เมื่อลูกค้าชำระเงิน และพนักงานดึงออก ตัวสัญญาณ RFID จะส่งตรงไปยังห้องเก็บของ(และโกดัง) ทันทีแบบ Real-time เพื่อให้พนักงานนำเสื้อใหม่มาแขวน และวางแผนสต็อคสินค้าได้ต่อไป

Image Cr. bit.ly/3sWp4v2

อีกเทคนิคที่ ZARA ใช้กระตุ้นการกลับมาซื้อซ้ำของลูกค้า คือ จำกัดอายุเสื้อผ้าให้วางอยู่ในร้านไม่เกิน 1 เดือนและผลิตในจำนวนจำกัด (หรือ Scarcity Marketing) 

จากการสำรวจของ ZARA พบว่า ลูกค้าเฉลี่ยมาเยือนร้านถี่มากถึง 17 ครั้ง/คน/ปี เลยทีเดียว (ขณะที่ค่าเฉลี่ยในตลาดอยู่ที่ 3 ครั้ง/คน/ปี)

ZARA ยังมีโรงงานมากถึง 7,000 แห่งในกว่า 50 ประเทศ มีกำลังการผลิตเสื้อผ้ากว่า 450 ล้านตัว/ปี

A person in a factory

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bit.ly/2UMQu9S

และ ZARA ยังมี “ทีมสำรวจ” ที่ประจำอยู่เมืองแฟชั่นสำคัญๆ ของโลก เช่น นิวยอร์ค / โตเกียว / เซี่ยงไฮ้ / มิลาน ทีมเหล่านี้จะตระเวนไปตามย่านแฟชั่น /
บาร์เปิดใหม่ของเมือง / พิพิธภัณฑ์ศิลปะ / ร้านอาหารหรู…เพื่ออัพเดทเทรนด์ล่าสุดหน้างานของจริง ก่อนจะส่งข้อมูลกลับมาที่สำนักงาน

บรรยากาศร้านพรีเมียม

แม้จะอยู่ในธุรกิจ Fast Fashion เช่นเดียวกับคู่แข่งอย่าง Uniqlo / H&M / Gap แต่เรื่องหนึ่งที่ผู้บริโภคสัมผัสถึงความแตกต่างได้คือ ZARA มีการลงทุนตกแต่งร้านตัวเองให้มีกลิ่นอาย “หรูหราพรีเมียม” แตกต่างจากคู่แข่งชัดเจน

A picture containing text, indoor, ceiling, floor

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/2UNyqwj

  • เวลาเดินเข้าร้าน เหมือนเดินเข้าห้องลองเสื้อ
  • สาขาในทำเลชั้นนำ ตกแต่งเหมือนแบรนด์แฟชั่น Hi-end
  • จนไปถึงเลือกทำเลใกล้หรือติดกับ แบรนด์ Hi-end
A picture containing building, wooden

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/2WrLDM3

สิ่งนี้สร้าง Brand Perception ในใจลูกค้าและช่วยให้ ZARA ตั้งราคาสินค้าได้สูงกว่าคู่แข่ง

ปราศจากโฆษณา

ZARA มีนโยบายที่ยึดถือมานาน นั่นคือ “Zero Advertising” พยายามไม่ทำโฆษณาแต่อย่างใด แต่เอาเม็ดเงินตรงนั้นไปขยายหน้าร้านสาขาใหม่แทน เพราะเชื่อว่า 

  • หน้าร้านที่สวยงาม…ทำหน้าที่โฆษณาในตัวมันเอง 
  • สินค้าที่ตอบโจทย์…ลูกค้าจะอยากซื้อซ้ำและบอกต่อเอง

ขณะที่แบรนด์เสื้อผ้าอื่นในวงการ ใช้งบโฆษณาคิดเป็น 3.5-5% ของรายได้ทั้งหมด แต่ ZARA ใช้งบไม่ถึง 0.3-0.5%

ผู้นำแสนอบอุ่น

เป็นที่ทราบกันดีในองค์กรว่า ผู้ก่อตั้ง ZARA อย่างคุณ Amancio Ortega มีลักษณะการทำงานที่เงียบสงบ กล่าวคือ เป็น “นักฟังมากกว่าพูด” รับฟังทุกปัญหาน้อยใหญ่ของลูกน้อง พูดเมื่อจำเป็นเท่านั้น ถามเฉพาะคำถามสำคัญ

  • ชอบยืนพูดคุยร่วมกับพนักงานคนอื่นๆ โดยไม่แบ่งแยก
  • นั่งทานมื้อเที่ยงร่วมกับพนักงานที่โรงอาหารบริษัททุกวัน
  • ไม่มีโต๊ะทำงานส่วนตัวอันใหญ่โตโอ่อ่า

เรื่องนี้ช่วยลดความตึงเครียดโดยตรงของพนักงานและผู้บริหารที่ทำงานใกล้ชิดกับเขา คุณ Ortega ยังกระตุ้นให้ทุกคนลองเสนอไอเดียความคิดสร้างสรรค์ดู เวิร์คหรือไม่เวิร์คค่อยว่ากันอีกที

A person laughing with a group of people in the background

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bit.ly/38iJHIh

นอกจากนี้ ด้านประวัติส่วนตัว ครอบครัวเขายากจน พ่อเป็นคนงานรถไฟ ตัวเขาต้องลาออกจากโรงเรียนตอนอายุ 14 เพื่อรับจ้างขายเสื้อผ้าหาเงินช่วยจุนเจือครอบครัว 

เรื่องนี้ทำให้คุณ Ortega มีประสบการณ์ด้านธุรกิจสิ่งทอมาตั้งแต่เด็ก และ เข้าใจจริตความรู้สึกดีของคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่ได้ร่ำรวย…แต่แค่อยากสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูดีหรูหรา และเสริมความมั่นใจให้กับตัวเองเป็นอย่างดี 

ซึ่ง ZARA ก็สะท้อนคาแรคเตอร์นี้มาตั้งแต่ยุคบุกเบิกเมื่อปี 1975 ในแง่มุมตลาดและสเกลธุรกิจ กลุ่มชนชั้นกลางมีขนาดใหญ่กว่าคนรวยเพียบหยิบมือมาก เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ ZARA แจ้งเกิดจากนั้นเป็นต้นมา

เข้าสู่โลกออนไลน์

ZARA เปิดตัวขายผ่านออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2010 แล้ว โดยเริ่มต้นที่ยุโรป ก่อนขยายไปอเมริกา และอื่นๆ ที่เหลือตามมา

ยอดขายเติบโตอย่างน่าประทับใจ

  • ปี 2015 ZARA มียอดขายออนไลน์อยู่ที่ 27,870 ล้านบาท
  • ปี 2018 ZARA มียอดขายออนไลน์อยู่ที่ 73,020 ล้านบาท
  • ปี 2020 ZARA มียอดขายออนไลน์อยู่ที่ 114,900 ล้านบาท

การเข้าสู่โลกออนไลน์มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ทำให้มาช่วยพยุงธุรกิจที่ได้รับกระทบหนักจากโควิด-19 ซึ่งหน้าร้านหลายแห่งทั่วโลกถูกสั่งปิด โดยปี 2020 ยอดขายออนไลน์เติบโตก้าวกระโดดถึง 73%

.

แม้ ZARA จ่ะก่อตั้งมาหลายทศวรรษแล้ว แต่ธุรกิจยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยคอนเซปท์ Fast Fashion นำมาสู่ Fast Growth อย่างต่อเนื่อง

ปี 2016-2019 มูลค่าแบรนด์ก็เติบโตขึ้น จาก 300,000 ล้านบาทเป็น 552,000 ล้านบาท 

ด้วยเสื้อผ้าที่มีความแฟชั่นสูง หรูหราพรีเมียมในราคาจับต้องได้ แถมมีของใหม่มาเสนอชนิดเก็บเงินซื้อแทบไม่ทัน ไลฟ์สไตล์การช็อปปิ้งของผู้คน คงจะมี ZARA เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ไปอีกนาน

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3zixNd2

อ้างอิง