📰 บทความทั้งหมด

Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”

Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”

สร้าง “เรื่องราว” แทนที่จะเป็น…ข้อมูลตัวเลข ให้ “ความหมาย” แทนที่จะเป็น…คำอธิบาย เร่งเร้า “อารมณ์” แทนที่จะเป็น…ตรรกะเหตุผล ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนคือคาแรคเตอร์ของกับดักจิตวิทยาอันทรงเสน่ห์ที่เรียกว่า “Narrative Bias” Narrative Bias: ถูกล่อลวงใจง่ายๆ ด้วย “เรื่องเล่า” Narrative Bias คือกับดักจิตวิทยาที่มนุษย์ชอบทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ในรูปแบบ “เรื่องเล่า-เรื่องราว” พยายามหาความหมาย-ความเชื่อมโยงที่กระตุ้น “อารมณ์”  แต่เวลาสิ่งใดก็ตามถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวอันน่าติดตาม มันมัก “กลบ” ตัวแปรข้อเท็จจริงมากมายระหว่างทาง ซึ่งบ่อยครั้ง เป็นการบิดเบือนความจริง และนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ทำไมเรามักติดกับดัก Narrative Bias ได้ง่าย? Yuval Noah Harari เผยว่า ทักษะหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารคือ ความสามารถในการ “ร่วมมือกัน” (Cooperation)  แต่การจะไว้เนื้อเชื่อใจและร่วมมือกันได้นั้น ทุกฝ่ายต้องจับมือเห็นพ้องตรงกันเสียก่อน และวิธีที่มีประสิทธิภาพมาโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลก็คือ การสร้างเรื่องเล่า-เรื่องราว (Narrative Bias เกิดขึ้นมานานแล้ว) ตำนานเรื่องราวต่างๆ (Mythology) เกิดขึ้นก่อนปรัชญาหรือศาสนาด้วยซ้ำ ก่อนที่คนจะเริ่มคิดอะไรแบบวิทยาศาสตร์ (Think […]

Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอก

Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอก

ไม่ต้องรีบก็ได้ค่ะ…แค่มีลูกค้าอีก 5 ท่านต่อคิวมาดูห้องคอนโดนี้อยู่ ของมีจำกัด หมดแล้วหมดเลย!! ชอปแบรนด์เนมที่ดิสเพลย์สินค้าแค่ไม่กี่ชิ้น เหล่านี้คือเทคนิคทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Scarcity Error” Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอกง่าย Scarcity Error คือภาวะหลงกลทางจิตวิทยาที่คนเรามักให้คุณค่า(มากเกินไป) กับอะไรก็ตามที่ขาดแคลนมีปริมาณน้อย (Scarcity) มองข้ามราคาและคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพียงเพราะมันเหลือน้อย ศาสตราจารย์ Stephen Worchel จาก University of Hawaii ทำการทดลองโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และแจกคุกกี้ชนิดเดียวกัน กลุ่มแรก – ได้รับคุกกี้เต็มโถ กลุ่มที่สอง – ได้รับคุกกี้เพียง 2 ชิ้นจากทั้งโถ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง “ประเมินคุณภาพโดยสายตา” (Visual quality assessment) ก่อนจะพบว่า กลุ่มที่สองให้ “คะแนนสูงกว่า” กลุ่มแรกมาก!!  ซึ่งมันย้อนแย้งกับความเป็นจริง คุกกี้ทั้งสองเป็นชนิดเดียวกันเป๊ะ และกลุ่มแรกได้คุกกี้เต็มโถซึ่งมีความ “อุดมสมบูรณ์” น่าจะให้คุณค่า-คุณภาพมากกว่า…แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม การทดลองลักษณะนี้ยังถูก […]

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

ทำงานหนักแค่ไหน ก็ไม่มีปัญญาซื้อบ้านซักหลัง สู้เต็มที่แล้ว แต่โลกเปลี่ยนเร็วเกินจนตามไม่ทัน วิกฤติซ้ำซาก ทั้งเศรษฐกิจ-สังคม-โควิด ไม่ไหวแล้วนะ นี่คือสิ่งที่ กลุ่มคนรุ่นใหม่-แรงงานที่พึ่งเข้าสู่ระบบ กำลังเผชิญหน้ากันอยู่ เกิดเป็นภาวะ “Early-Life Crisis” Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว เราพูดได้เต็มปากว่า “Early-Life Crisis” คือปรากฎการณ์ใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในรอบทศวรรษนี้  มันคือภาวะ “วิตกกังวล” ถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนและช่างมืดมัวเหลือเกินของ กลุ่มคนที่พึ่งเข้าสู่โลกการทำงานในช่วงอายุ 20 ต้นๆ และขยายวงกว้างไปถึงช่วงอายุ 30-35 (ก่อนถึง Mid-life) พวกเค้ากำลัง วิตกจริต / เหน็ดเหนื่อย / ท้อแท้ / เครียด / เศร้า / เหงา / เดียวดาย / ไร้ความฝัน…ล้วนเป็นขั้วอารมณ์ที่บั่นทอนศักยภาพแรงงานหนุ่มสาว และชี้ชะตาอนาคตของประเทศได้เลย ที่ญี่ปุ่น หนุ่มสาวกลุ่มนี้เบื่อหน่ายชีวิตการทำงานที่หนักหนาและเคร่งเครียดของสังคมญี่ปุ่น ท้อแท้ถึงขั้น “เลิกทำงาน” ปล่อยวางทุกสิ่ง กลายเป็นกลุ่มคนที่สังคมเรียกว่า “NEET” (Not […]

เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

คนเราเวลาทำงานอะไรไปก็มัก “เคยชิน” กับเรื่องเดิมๆ นานวันเข้า กลายเป็นการจมปลักอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาตัวเอง ไม่ได้เฟ้น “ศักยภาพ” ที่มีออกมาใช้ จะดีกว่าไหม? ถ้ามีเทคนิคช่วยกระตุ้นให้เราทำงานด้วยวิธีใหม่ๆ-แนวคิดใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองไปดูกัน… 1. ตั้ง (Almost) Impossible Deadline  ความขี้เกียจเป็นธรรมชาติของคนเราอยู่แล้ว ยิ่งมีเวลามากในการทำอะไร เรามักปล่อยปละละเลยแล้วมาทำตอนใกล้หมดเวลา เมื่อเป็นแบบนี้ ทางออกคือ ลดเวลาให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการตั้ง “(Almost) Impossible Deadline” ซึ่งเราจะมี “เวลา” น้อยลง จึงเป็นการบีบบังคับให้ต้อง “เรียงลำดับความสำคัญ” (Setting priority) ไปโดยปริยาย เราจะโฟกัสเฉพาะงานที่สำคัญที่สุด และตัดที่ไม่สำคัญทิ้งไป กระบวนนี้ยังทำให้เราตระหนักด้วยว่า อะไรสำคัญ-ไม่สำคัญ นักวิจัยยังเผยว่า ความเครียด(ในแบบพอดี) เป็นตัวกระตุ้น “ความคิดสร้างสรรค์” ให้เกิดได้อย่างน่าอัศจรรย์ นี่ยังเป็นวิธีที่ Steve Jobs ใช้ประจำสมัยยังบริหารอยู่ที่ Apple โดยเขาจะตั้ง “Impossible Deadline” เดตไลน์การทำงานที่(ดูเหมือน)ไม่น่าเป็นไปได้แก่ทีม เรื่องเซอไพรส์คือ บ่อยครั้งที่ลูกทีมค้นพบ […]

7 Daily Hacks: อัพเกรดชีวิตด้วยขั้นตอนง่ายๆ

7 Daily Hacks: อัพเกรดชีวิตด้วยขั้นตอนง่ายๆ

ท่ามกลางชีวิตของพวกเราที่ยังคงถูกจำกัดจากวิกฤติโควิด-19 แล้วเราจะพัฒนาตัวเอง หามุมมองใหม่ๆ “อัพเกรดชีวิต” ด้วยเงื่อนไขอันแสนจำกัดเหล่านี้ได้อย่างไร? ขอแนะนำให้รู้จักกับ “7 Daily Hacks: อัพเกรดชีวิตด้วยขั้นตอนง่ายๆ”  เพียงรู้เทคนิคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม / ทัศนคติ / สภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ก็สามารถทำให้การงานรุ่ง ความสัมพันธ์เลิศ ร่างกายฟิตปั๋ง…และชีวิตแฮปปี้ได้อย่างเหลือเชื่อในแบบที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อน 1. Social Detox เรามักยึดติดว่าการอยากให้ชีวิตดีขึ้นในหลายๆ ด้าน เราต้อง “ทำ” อะไรบางอย่าง หารู้ไม่ว่าสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการ “ไม่ทำ” ด้วย โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือแม้แต่ความเพลิดเพลินแก่ตัวคุณ Rolf Dobelli ผู้เขียนหนังสือขายดีทั่วโลกอย่าง The Art of Thinking Clearly แนะนำว่า สิ่งแรกที่คุณทำได้เลยคือ “เลิกดูข่าว” ซะ เพราะการเสพข่าวมากเกินไปแบบที่คนส่วนใหญ่ทำทุกวันนี้ก่อให้เกิดภาวะ “News Illusion” คือเรามักคิดว่า “เนื้อหา” จากข่าวคือสิ่งที่มีสาระและสลักสำคัญเกินจริง ถ้าเสพติดเกินไปก่อให้เกิดความ Toxic  ถ้าอยากได้เนื้อหาเชิงลึก เอาเวลาไปอ่าน “หนังสือ” หรือวารสารทางวิชาการยังจะดีซะกว่า ให้คิดซะว่า…ข่าวที่สำคัญจริงๆ […]

Climate Risk ปัจจัยเสี่ยงของการทำธุรกิจยุคใหม่

Climate Risk ปัจจัยเสี่ยงของการทำธุรกิจยุคใหม่

กันยายน ปี 2021 เกิดฝนตกหนักฉับพลันที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกอย่าง New York ในเวลา 1 ชม. ปริมาณน้ำฝนเทกระหน่ำลงมาถึง 3.15 นิ้ว ทำลายสถิติสูงสุดในอดีตที่ 1.94 นิ้ว/ชม. ขาดลอย พร้อมผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน และอีกกว่า 7,000 คนไร้ไฟฟ้าใช้ ย้อนกลับไปหลายทศวรรษที่แล้ว ความผิดปกติทางธรรมชาติลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในประเทศซีกโลกใต้ (Global South Countries) แต่ปัจจุบัน มันได้ลุกลามมาถึงประเทศซีกโลกเหนือ (Global North Countries) ซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นที่ตั้งของเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหญ่ของโลก ไม่เกินจริงเลยหากจะบอกว่า ความรุนแรงจากธรรมชาติ บัดนี้…มันได้เกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว และเกิดในลักษณะที่ถี่ขึ้น-รุนแรงขึ้น “ทำลายสถิติเป็นว่าเล่น” จนเกิดปัจจัยความเสี่ยงใหม่ที่ต้องบรรจุอยู่ในทุกการตัดสินใจ นั่นคือ “Climate Risk” Climate Risk: ปัจจัยเสี่ยงในการทำธุรกิจยุคใหม่ ถ้าเรามองภาพใหญ่ในเชิง Historical Timeline  ศตวรรษที่ 20 คือยุคแห่งการ “เติบโต” ทางเศรษฐกิจขีดสุดของหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมาพร้อมกับการปล่อย […]

Advance Breathing: แค่หายใจให้เป็น ก็บอกลาความเครียดได้แล้ว

Advance Breathing: แค่หายใจให้เป็น ก็บอกลาความเครียดได้แล้ว

เฉลี่ยแล้ว คนเราหายใจเข้า-ออก มากถึง 25,000 ครั้ง/วัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการ “หายใจ” (Breathing) สำคัญต่อมนุษย์ทุกคนมาก แต่ขณะเดียวกัน กลับเป็นศาสตร์ที่ถูกประเมินค่าต่ำหรือแม้แต่ถูกเพิกเฉยจากแทบทุกวงการ ทั้งๆ ที่เราทำมันอยู่ทุกๆ วินาที(ตั้งแต่เกิดจนตาย) และประโยชน์ของมันถ้าหายใจถูกวิธี จะช่วยร่างกายและจิตใจในทุกเรื่อง หนึ่งในนั้นคือ การบรรเทา “ความเครียด” ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน คำถามคือ…แล้วเราควรหายใจอย่างไร? การหายใจ 101 ก่อนอื่น เราต้องปูพื้นฐานเล็กน้อยเรื่องการหายใจ เช่น การ “หายใจออก” สำคัญไม่แพ้หายใจเข้า “คาร์บอนไดออกไซด์” สำคัญไม่แพ้ ออกซิเจนในร่างกาย การหายใจทาง “จมูก” คือสิ่งที่ต้องทำในทุกกรณี ขณะที่การหายใจทางปากคือข้อห้ามทุกประการ เพราะการหายใจทางปากจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับหายใจทางจมูก และเราทราบดีว่าน้ำสำคัญต่อทุกระบบในร่างกาย ขาดน้ำ…เลี้ยงสมองไม่พอ ขาดน้ำ…เลี้ยงดวงตาไม่พอ ขาดน้ำ…สารเคมีในร่างกายจะผิดปกติ เครียดง่ายขึ้น เมื่อรู้แบบนี้แล้ว เราไปสำรวจ “Advance Breathing” เทคนิคการหายใจขั้นแอดวานซ์ ที่ประยุกต์ใช้กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้ทันทีกัน 4-7-8 นี่คือวิธีที่ใช้ฝึกกันในหน่วยซีลสหรัฐอเมริกา (U.S. Navy SEALs) […]

Executive Mannerism: ผู้นำที่ดีควร “วางตัว” อย่างไร?

Executive Mannerism: ผู้นำที่ดีควร “วางตัว” อย่างไร?

ลูกน้องจับกลุ่มคุยเล่น คุณแค่เดินผ่านไป ทุกคนวงแตก!! ลูกน้องมารายงานคุณด้วยสีหน้าประหม่า เกร็ง ลุกลี้ลุกลน ลูกน้องเป็น Yes Man ไม่เคยปฏิเสธความคิดเห็นคุณเลยซักครั้ง ถ้าคุณเป็นหัวหน้า และนี่คือประสบการณ์ที่ได้รับ…คุณอาจกำลังมีปัญหาเรื่องกิริยามารยาทและบุคลิกภาพในการ “วางตัว” กับลูกน้องในที่ทำงานแล้ว มนุษย์อยู่เป็นเผ่า สังคมมนุษย์อยู่กันแบบลำดับชั้น (Hierarchy) มีผู้นำเผ่าเบอร์ 1 ชัดเจน (อัลฟ่า) และผู้ปกครองในระดับย่อยลงมาเรื่อยๆ  ถ้าผู้นำดี ทำงานเก่ง มีความยุติธรรม ใส่ใจลูกน้อง…จะเป็นที่รักใคร่ของผู้คน ถ้าผู้นำไม่ดี ไร้ผลงาน เอาเปรียบ ไม่เห็นหัวลูกน้อง…จะถูกโค่นล้มบัลลังก์ เรื่องนี้ถูกกำหนดอยู่ในระดับพันธุกรรมของมนุษย์ และลักษณะสังคมนี้ยังพบได้ในญาติที่ใกล้เคียงกับเราที่สุดอย่าง ลิงชิมแปนซี ผู้นำองค์กรธุรกิจก็ไม่ต่างกัน สถานะตำแหน่งที่ครอบครองอยู่ ย่อมถูกจับตามองจากลูกน้อง การปฏิบัติตัวและวางตัวทุกการกระทำ…จึงสำคัญมากๆ แต่ก่อนที่จะไปรู้จักวิธีการวางตัว เราไปสำรวจกันก่อนว่าผู้นำมักวางตัวผิดพลาดอย่างไร? Us VS. Them คุณอาจเป็นหัวหน้าที่โปรไฟล์ดี การศึกษาสูง โตเมืองนอก แต่นั่นก็เป็น “ดาบสองคม” เวลาทำงานกับลูกค้าที่มาจากแบคกราวน์ที่หลากหลาย หัวหน้าที่ไม่พยายาม “ปรับตัว” ในเรื่องนี้ นำไปสู่สไตล์การทำงาน / การแต่งตัว / […]

Inspiration Boost: บอกลาปัญหาเบื่องาน ให้ไฟกลับมาลุกโชนอีกครั้ง

Inspiration Boost: บอกลาปัญหาเบื่องาน ให้ไฟกลับมาลุกโชนอีกครั้ง

การเบื่องาน รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก ไร้ซึ่งแรงบันดาลใจ คือศัตรูตัวฉกาจของความคิดสร้างสรรค์และการเติบโตในหน้าที่การงาน  บางคนบอกว่าเมื่อรู้สึกเช่นนี้ ทางออกง่ายๆ ก็แค่ลาออกมันซะเลยสิ? เรื่องนี้พูดง่ายแต่ทำยาก  บางคนมีความรับผิดชอบที่ต้องผูกติดกับงานที่ทำอยู่  บางคนแค่รู้สึกเบื่องานท้อแท้ใจ แต่ไม่ถึงขั้นอยากลาออก  บางคนลาออกไป ก็หางานใหม่ไม่ได้อีก จะทำอย่างไรให้ยังทำงานเดิม-ที่เดิมอยู่ โดยจุดถ่านไฟเก่าให้ลุกโชนเหมือนเมื่อวันวาน? เราไปสำรวจ “Inspiration Boost” เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจให้ไฟในตัวคุณกลับมาฮึกเหิมอีกครั้งกัน  เบื่อมันให้เต็มที่ Eckhart Tolle ปรมาจารย์ด้านจิตวิญญาณเผยว่า อันดับแรก เมื่อรู้สึกแง่ลบร่อยหรอแรงจูงใจในการทำงาน แนะนำว่าอย่าไปฝืน เพราะ “แรงต้าน” โมเม้นต์นี้มหาศาลมาก เอาอะไรไปงัดก็ไม่อยู่ ซ้ำร้ายมีแต่จะแย่กว่าเดิม วิธีที่ดีที่สุดคือ ปล่อยตัว-ปล่อยกาย-ปล่อยใจ และ “เบิ่อให้เต็มที่” อย่าปฏิเสธความเบื่อหน่ายท้อแท้ ยอมรับว่ามันคือธรรมชาติอย่างหนึ่ง  แต่ขณะเดียวกัน…ก็อย่าพึ่งตัดสินใจอะไรช่วงนี้เพราะมักผิดพลาด ระลึกไว้เสมอว่า เมื่อคุณดำดิ่งถึงใต้ก้นเบื้องแล้ว หลังจากนั้นจะเป็นขาขึ้น ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่านี้แล้ว นี่เป็นวิธีการ “ปลดปล่อย” ที่ดีและทำได้ทุกคน ไม่ต่างจากเวลาคนเสียใจแล้วเข้าไปอยู่ในห้องเงียบๆ คนเดียวก่อนจะแหกปาก  ตะโกนกรี๊ดลั่นระบายออกมา เอาสถิติตัวเลขมาย้ำเตือน “ตัวเลขไม่เคยโกหกใคร” สถิติตัวเลขเปลี่ยนจากเรื่องนามธรรมให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเป็นเครื่องมือชั้นดีที่ทำให้เรา “ฉุกคิด” ถึงสถานะการงานตัวเอง และทำให้กลับมามีแรงใจใหม่ […]

Meaningful Hobbies: งานอดิเรกดี ชีวิตเปลี่ยน

Meaningful Hobbies: งานอดิเรกดี ชีวิตเปลี่ยน

นอนดู Netflix ซีรีส์ที่สะท้อนด้านมืดของเทคโนโลยี ออกไปเดินป่า ได้ทั้งร่างกายและสัมผัสธรรมชาติ วิ่งรอบเมือง และ การเป็น DJ ในงานปาร์ตี้ นี่คือตัวอย่างของ “Meaningful Hobbies” งานอดิเรกที่เหล่า CEO ระดับโลกยึดถือปฏิบัติ ที่นอกจากจะตอบโจทย์ความสุขส่วนตัว ผ่อนคลาย สนุก แถมยังมีประโยชน์ต่อมุมมองการทำงานด้วย แล้ว CEO ระดับโลกมีงานอดิเรกแบบนั้นอะไรบ้าง? ตามไปดูกัน Elon Musk ชายผู้ยุ่งตลอดทั้งวันไปกับการทำความฝันอันยิ่งใหญ่ให้เป็นจริง แต่ Elon Musk เองก็ไม่วายแบ่งเวลามานั่งดู Netflix เหมือนคนทั่วไป เพียงแต่เขาเลือกรายการที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน เช่น ซีรีส์ Black Mirror เพื่อ “เตือนสติ” ให้เห็นถึง “ด้านมืด” ของเทคโนโลยี ถ้าเราออกแบบมันไม่รอบคอบ อาจเกิดภัยอันตรายย้อนกลับมาทำร้ายเราในที่สุด เค้ายังเป็นหนอนหนังสือมาตั้งแต่เด็ก แต่เรามักคิดว่า Elon Musk คงหมกมุ่นกับหนังสือแนววิทยาศาสตร์ / วิศวกรรม / เทคโนโลยี เพราะส่งผลโดยตรงกับงานที่เขาทำ […]

McLuhan’s Questions: ไอเดียเกิดเพราะ 4 คำถามเหล่านี้

McLuhan’s Questions: ไอเดียเกิดเพราะ 4 คำถามเหล่านี้

Marshall McLuhan เป็นนักปรัชญาจาก University of Toronto ผู้ทำนายว่าจะเกิด World Wide Web ขึ้นก่อนหน้าจริงถึง 30 ปี และเป็นผู้วางรากฐานแนวคิดการสื่อสารยุคใหม่ เขายังเคยที่ปรึกษาให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ เช่น IBM และ AT&T ปัจจุบัน หลายคนรู้จักเขาในฐานะ “McLuhan’s Questions” กระบวนการคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอนที่เขาใช้เป็นประจำในการทำงานด้านการสื่อสาร  แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กลับนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจอื่นได้แทบทุกเรื่อง และทำให้เราเข้าใจภาพรวมสถานการณ์ เห็นจุดอ่อนช่องโหว่ เปิดประตูสู่ไอเดียสร้างสรรค์ จนไปถึงคาดการณ์อนาคต โดยเฉพาะสิ่งที่เป็น “เทคโนโลยีใหม่ๆ” McLuhan’s Questions จะช่วยทำให้เราเข้าใจมันมากขึ้น “แพทเทิร์น” ของ McLuhan’s Questions มีอยู่ด้วยกัน 4 คำถาม วิธีแก้ปัญหานี้…ช่วยให้อะไรดีขึ้น? (Enhancement) วิธีแก้ปัญหานี้…ทำให้อะไรล้าหลังตกยุค? (Obsolescence) วิธีแก้ปัญหานี้…ฟื้นคืนชีพของเก่าเดิมๆ อะไรบ้าง? (Retrieval) วิธีแก้ปัญหานี้…จะนำไปสู่อะไรเมื่อถูกพัฒนาต่อยอดถึงขีดสุด? (Reversal) McLuhan’s Questions ในเรื่องต่างๆ  ตัวอย่างเรื่องของ […]

Employee Blaming: ข้อมูลชั้นเลิศที่ใช้ปรับปรุงองค์กร

Employee Blaming: ข้อมูลชั้นเลิศที่ใช้ปรับปรุงองค์กร

“WFH แต่ทำงานหนักกว่าเดิม 4 ทุ่มก็ทักมา” “เจอลูกค้ายิงคำถามโหดๆ หัวหน้าชอบโยนมาให้ตอบตลอด” “จ้าง 100 แต่ให้เล่น 1,000,000 แบบนี้ก็เกินไป!!!” จะว่าไปแล้ว “คำบ่น” ของเหล่าพนักงานไม่ใช่ Toxic เสมอไป ถ้าเปิดใจรับฟังก็มีประโยชน์แก่บริษัทและลูกค้าไม่น้อยเลย!! Employee Blaming: ข้อมูลชั้นเลิศที่ใช้ปรับปรุงองค์กร คำบ่นของพนักงานในองค์กร (Employee blaming) อาจเป็น “วัตถุดิบ” ชั้นดีสู่การปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ หรือแม้แต่นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์-นวัตกรรมใหม่ๆ เลยทีเดียว หลายคนเชื่อว่า Customer Feedback ที่มีต่อสินค้าบริการ คือพรที่ต้องรีบน้อมนำมาปรับปรุงแก้ไข แต่ในเมื่อพนักงานของบริษัทก็มีส่วนในการนำเสนอสินค้าบริการนั้น ถ้าเราใส่ใจรับฟังเสียงพนักงานของเราตั้งแต่ต้นทาง ก็น่าจะทำให้ปลายทางดีขึ้นได้? ผลวิจัยจาก Gallup เผยว่า บริษัทที่รับฟังเสียงของพนักงานตัวเองอย่างจริงจังและนำไปทดลองปฏิบัติ มักมีผลกำไรสูงกว่าคู่แข่งถึง 21% แต่ก่อนอื่น เราต้องทำลาย Old Myth ที่มักปักใจเชื่อว่าคำบ่นของพนักงาน… มองโลกในแง่ร้าย แทนที่จะเปลี่ยนให้เป็นโอกาส ไม่มีความอดทนในการทำงาน นิดๆ หน่อยๆ ก็บ่น!! แทนที่จะบ่น เอาเวลาไปคิดหาทางแก้ดีกว่าไหม? […]