📰 บทความทั้งหมด
Nostalgia Marketing: ขอพื้นที่เล็กๆ ให้ยังเป็นเด็กอยู่ได้ไหม
การกลับมาของไอศครีม Wall’s Viennetta / ป๊อกกี้ ที่ทำแพกเกจจิ้งย้อนยุค / Fujifilm ที่กลับมาขายฟิล์มขาวดำ / หรือการนำนักแสดงรุ่นเดอะกลับมาเล่นใหม่ กลยุทธ์เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือทำเพราะใจอยากของผู้บริหาร แต่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ใช้อารมณ์อย่าง “Nostalgia Marketing” Nostalgia Marketing: ขอพื้นที่เล็กๆ ให้ยังเป็นเด็กอยู่ได้ไหม Nostalgia Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดที่ชวนให้หวนรำลึกถึง “ความทรงจำดีๆ ในอดีต” คิดถึงทีไร…รู้สึกดีทุกครั้ง แก่นของกลยุทธ์นี้ คือต้องการ “จุดติด” ความรู้สึกในแง่…คิดถึง / รำลึกถึง / คิดถึงบ้าน / โหยหา / ถวิลหา ซึ่งล้วนเป็นแรงผลักมหาศาลของมนุษย์ ที่พร้อมทำทุกสิ่งทุกอย่าง (และ “ซื้อ” ในที่สุด) โดยแบรนด์จะไม่ได้มองหา Pain point แต่เป็น “Past point” จุดเชื่อมโยงในอดีตที่แบรนด์ได้ประทับตราความทรงจำดีๆ แก่ลูกค้าไปแล้ว และนำกลับมาใช้ใหม่ ผลวิจัยเผยว่า ความรู้สึก Nostalgia […]
Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู?
ห้อง VVIP Lounge แยกต่างหาก จำกัดคนเข้าและให้ยืนรอหน้าร้าน ตกแต่งภายในให้หรูหราจนต้องมนตร์สะกด เหล่านี้ล้วนคือเทคนิคของการทำ “Luxury Retailing” Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู? นี่คือเทคนิคที่บรรดา “ชอปแบรนด์หรู” ใช้เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาเยือนถึง “หน้าร้าน” จึงไม่แปลกที่ว่า ทำไมท่ามกลางการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ E-commerce ช็อปปิ้งออนไลน์ แต่เรายังเห็นผู้คนมายืนรอคิวเข้าชอปแบรนด์หรูอยู่ด้วยความเต็มใจ Luxury Retailing ล้วนมีเทคนิคเบื้องหลังที่แนบเนียน เช่น การจำกัดคนเข้า และ ให้ลูกค้าต่อคิวหน้าร้าน ปกติเวลาเราเข้าร้านเสื้อผ้าทั่วไป จะไม่มีพนักงานมาคอยเดินตามให้คำแนะนำ ลูกค้าต้องเป็นฝ่ายเข้าหาเอง แต่ร้านหรู จะมีพนักงานที่เรียกว่า “Fashion Advisor” (FA) ที่จะคอยเทคแคร์ลูกค้าทุกอย่าง ซึ่ง Fashion Advisor จะมีความเป็น Specialist & Stylist เข้าใจผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ให้คำแนะนำเชิงลึกได้ ทั้งดีไซน์เสื้อผ้าที่เหมาะกับบุคลิกลูกค้า / วัตถุดิบแหล่งที่มาของเนื้อผ้า / เทรนด์ที่กำลังฮิต / ราคาขายต่อด้านการลงทุน / จนไปถึงบริการเสิร์ฟน้ำ-เสิร์ฟขนม […]
Picture-Superiority Effect: เพราะเรียบง่าย จึงจำง่าย
ตัวอักษรชื่อแบรนด์ GUCCI / Rolex / Cartier ซีเรียบผสมนมของ Kellogg’s ภาพ Infographic สวยๆ ของเพจต่างๆ ดูเผินๆ ทุกอย่างช่างแตกต่างกันเหลือเกิน ไม่น่ามีอะไรเกี่ยวข้อง…แต่เปล่าเลย สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันคือ “Picture-Superiority Effect” Picture-Superiority Effect: เพราะเรียบง่าย จึงจำง่าย Picture-Superiority Effect คือภาวะที่ว่า “รูปภาพ” จะถูกจดจำขึ้นใจและเข้าใจง่ายกว่าตัวอักษร เพราะรูปภาพมีความ “เรียบง่าย” และเป็นสากลในการสื่อสารโดยธรรมชาติ และมาจากการที่มนุษย์รับข้อมูลผ่านสายตาเป็นลำดับแรก โดยเราจะเห็นแพทเทิร์นโดยรวมทั้งรูปทรง / มิติลึกหนา / สีสัน / อารมณ์ที่ถ่ายทอด…ทั้งหมดเกิดขึ้นในระดับเสี้ยววินาที ผลวิจัยเผยว่า มนุษย์จดจำเนื้อหาตัวอักษรสิ่งที่อ่านได้ไม่เกิน 10% หลังผ่านไป 3 วัน แต่ถ้าเพิ่มรูปภาพเข้าไป ประสิทธิภาพการจำจะพุ่งเป็น 65% หลังผ่านไป 3 วัน ผลวิจัยยังเสริมว่า คนเราจะยิ่งจำได้แม่นและจำได้นาน เมื่อใส่ “บริบท” (Context) […]
4 กลุ่มลูกค้าทรงอิทธิพลขึ้นผงาดหลังยุคโควิด
นี่คือข้อมูลแบบ 1st party data ที่ทาง Microsoft เก็บรวบรวมไว้ติดต่อกัน 18 เดือน ก่อนนำมารวบรวมและสรุปออกมาได้เป็น 4 กลุ่มด้วยกัน มีอะไรบ้าง? ตามไปดูกัน 1. Empowered Activists กลุ่มลูกค้าที่มีจริตเป็นนักกิจกรรมตัวยง มักให้ความสำคัญด้าน สิ่งแวดล้อม / ความหลากหลายทางเพศ / ความเป็นธรรมในการค้าขาย / หรือการสนับสนุนธุรกิจรายย่อย เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่มองแบรนด์แค่ “เปลือก” แต่ลงลึกไปถึงเบื้องหลังกว่าจะออกมาเป็นสินค้าบริการที่ตนบริโภค กล่าวได้ว่า แม้สินค้าจะมีคุณภาพดี-ราคาดี แต่ (เช่น) มีข่าวว่ากดขี่พนักงาน หรือ นำเข้าแหล่งวัตถุดิบอย่างไม่เป็นธรรม Empowered Activists ก็พร้อมแบน และหันไปสนับสนุนแบรนด์อื่นที่ตอบสนองคุณค่าที่ยึดถือ (แม้คุณภาพ-ราคาจะด้อยกว่าก็ตาม) เช่น Laughing Man Coffee แบรนด์กาแฟจากดาราชั้นนำ Hugh Jackman ที่สั่งซื้อกาแฟโดยตรงจากชาวไร่กาแฟในเอธิโอเปีย โดย “กำไรทั้งหมด” นำกลับไปบริจาคคืนแก่มูลนิธิต่างๆ Image Cr. bit.ly/3lEM6UF […]
Corporate Psychologist: อีกตำแหน่งงานใหม่ในอนาคต
ปกติแล้ว คนที่เรียนมาด้านจิตวิทยาโดยตรง เมื่อเรียนจบแล้ว มักเข้าทำงานในสถาบันวิจัยหรือสถานศึกษาชั้นนำต่อ แต่ในอนาคต คนกลุ่มนี้จะเริ่มถ่ายเทมาสู่องค์กรธุรกิจภาคเอกชนมากขึ้น เกิดเป็น “Corporate Psychologist” ในสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งอาชีพนี้กำลังเป็นที่ต้องการ และมีอัตรารายได้เติบโตถึง 10% ต่อปีเลยทีเดียว (ในเมืองไทย สัญญาณอาชีพนี้หรือที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยามีให้เห็นแล้ว เช่น 4-5 ปีที่ผ่านมา Content ด้านจิตวิทยาได้รับความนิยมมาโดยตลอด) ทำไมต้องมีตำแหน่ง Corporate Psychologist นี้ในอนาคต? โดยประวัติ ตำแหน่งนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่ เพียงแต่จำกัดอยู่ในขอบเขตไม่กี่อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อการมาถึงของโควิด-19 ปีที่ผ่านๆ มา ส่งผลให้คนทำงานทั่วโลกเจอกับภาวะเครียดฉับพลัน กระทบชีวิตด้านอื่น ลามไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังในหลากหลายมิติ พนักงานถูกปฏิบัติอย่างไร้ Empathy เพื่อให้องค์กรอยู่รอด ต้องทำงานหนักขึ้น แต่เงินเท่าเดิมหรือน้อยลง เรื่องนี้เกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกการทำงานที่ยิ่งซับซ้อน หนักและเหนื่อย มีอะไรใหม่ๆ มาไม่หยุด เช่น เดี๋ยวอนาคต(อันใกล้) Metaverse ก็จะมาแล้ว บัดนี้ทุกคนรู้สึกแล้วว่า สุขภาพจิตส่งผลต่อสุขภาพกายและประสิทธิภาพการทำงานแบบ “แยกกันไม่ขาด” พนักงานและองค์กรต่างๆ จึงเริ่มมองหา “Corporate Psychologist” […]
Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ
หลงตัวเอง คิดว่าตนพิเศษและเหนือกว่า พร้อมๆ กับดูถูกคนอื่น ประกาศความสำเร็จของตัวเองอย่างโจ่งแจ้งเกินเบอร์ โหยหาอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ชนิดไม่อายใคร นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Entitled Narcissism” ที่บางคนอาจเผลอพลั้งทำไปโดยไม่รู้ตัวเพราะสภาพแวดล้อมเป็นใจ Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ Entitled Narcissism คือพฤติกรรมที่ผู้นำเริ่มเกิดอาการหลงระเริงตัวเอง-หยิ่งยะโส ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางให้โลกทั้งใบต้องหมุนตาม มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับความสำเร็จแรกแล้ว (Initial success) และใช้ผลงานนั้นปูทางสู่การเกทับผู้อื่นพร้อมๆ กับไต่ระดับขึ้นไป ซึ่งผู้นำบางคนอาจทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ย่อมสร้างความรู้สึกแง่ลบแก่ทีมและองค์กรในระยะยาวแน่นอน แล้ว Entitled Narcissism มีคาแรคเตอร์เป็นอย่างไร? หยิ่งผยองในความเก่งของตัวเอง ให้ความสำคัญกับตัวเองมาเป็นอันดับ 1 โหยหาอำนาจและเกียรติยศแบบออกนอกหน้า มั่นใจในตัวเองเกินหน้าเกินตา ต้องคอยรักษาภาพลักษณ์ตัวเองให้ดีอยู่เสมอ ถ้าเอาเปรียบผู้อื่นแต่ตัวเองได้ผลประโยชน์…ก็จะทำ ไร้ซึ่งความ Empathy เรื่องนี้รายแรงเป็นพิเศษโดยเฉพาะวัฒนธรรมการทำงานบางประเทศที่เป็นแบบ Collectivism ให้ความสำคัญกับทีมมากกว่าตัวบุคคล ผู้นำคนที่โอ้อวดตัวเองจนเกินพอดี(แม้จะมีผลงานก็จริง) ลึกๆ พนักงานมักไม่ค่อยชอบ สุดท้ายจะนำไปสู่การขัดแย้งภายใน ทำไมผู้นำบางคนถึงมีอาการ Entitled Narcissism? คำอธิบายด้านวิวัฒนาการคืออันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจ มันเป็นสัญชาตญาณที่ฝังลึกอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน (โดยเฉพาะเพศผู้) ในการโอ้อวดศักยภาพตัวเองว่าเก่งกว่า มีความสามารถพิเศษบางอย่าง […]
Old, but not Obsolete: แบรนด์รุ่นเก๋าที่อยู่รอดมาถึงทุกวันนี้
Fortnum & Mason ก่อตั้งเมื่อปี 1707 Brooks Brother ก่อตั้งเมื่อปี 1818 Hermès ก่อตั้งเมื่อปี 1837 นี่คือแบรนด์ที่ล้วนมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ก่อตั้งมาช้านานหลายร้อยปี แต่ทำไมเวลาพูดถึงแบรนด์เหล่านี้ เรากลับไม่รู้สึกว่ามัน “เก่า” นี่คือ “Old, but not Obsolete.” เก่าแต่ไม่แก่ เราไปสำรวจพร้อมกันว่า แบรนด์เหล่านี้มีวิธีบริหารอย่างไรถึงอยู่รอดผ่านทุกวิกฤติมาได้ถึงทุกวันนี้ Fortnum & Mason (1707) หนึ่งในห้างที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ประจำย่าน Piccadilly ใจกลางกรุงลอนดอน ปกติแล้ว แบรนด์เก่าแก่มักลุ่มหลงไปกับความสำเร็จในอดีตจนละเลยปัจจุบัน นานวันเข้ารู้ตัวอีกทีก็ยืนอยู่หน้าเหวแล้ว แต่ห้างนี้เน้นย้ำตัวเองว่าต้อง “Staying relevant” ทำยังไงก็ได้ให้ห้างจากศตวรรษที่ 18 อยู่รอดต่อไปในศตวรรษที่ 21 Image Cr. bit.ly/3H3VOsR Fortnum & Mason จึงไม่เคยหลงระเริงกับกลิ่นอายประวัติศาสตร์เก่าแก่ของตัวเอง แต่ปรับตัวให้ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีให้ตอบโจทย์คนยุคใหม่ มีการ “บาลานซ์” ได้อย่างลงตัว บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์อันเก่าแก่…แต่ต้อง […]
Thought Experiment: ตัวช่วยให้ผู้นำเห็นภาพใหญ่
การมาของ Metaverse ธุรกิจไหนจะถูก Disrupt ก่อน? ถ้าคนอายุยืนขึ้น วัยเกษียณต้องเปลี่ยนไป? คู่แข่งต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้แตกต่างจากแบรนด์คุณ? นี่คือตัวอย่างการคิดเชิงสมมติฐานที่เรียกว่า “Thought Experiment” “Thought Experiment: ตัวช่วยให้ผู้นำเห็นภาพใหญ่ Thought Experiment คือการออกสำรวจจินตนาการความคิดด้วยการสร้าง “โจทย์” ขึ้นมา ในรูปแบบสมมติฐาน / ตั้งคำถาม / เงื่อนไข (What if…) เพื่อเปรียบเทียบ / แยกแยะ / ตกผลึกทางความคิด / จนเข้าใจปัญหาสถานการณ์แบบทะลุปรุโปร่ง นำไปสู่ทิศทางการเดินหน้าบริษัทที่ถูกต้องในอนาคต นี่เป็นเทคนิคที่เหล่าผู้บริหาร-ผู้นำองค์กร ต้องทำเป็นประจำ เพื่อรีวิวสถานการณ์บริษัทให้ยืนอยู่ในการแข่งขันได้ และเป็นอีกวิธีนำพาคุณออกจาก Comfort Zone ชั้นดี อันที่จริงแล้ว Thought Experiment ประยุกต์ใช้ได้กับ “ทุกเรื่อง” ไม่ใช่แค่ธุรกิจ…แต่รวมถึง วิทยาศาสตร์ / สังคม / ปรัชญา / แฟชั่น / […]
The Plimsoll Line: เดินหน้าสร้างฝันให้เป็นจริงจนทุกคนยอมรับ
อังกฤษในศตวรรษที่ 19 นักลงทุนทำรายได้มหาศาลจากการเดินเรือสมุทร ยิ่งเรือบรรทุกสินค้ามากเท่าไร ยิ่งทำเงินได้มากเท่านั้น ทั้งจาก สินค้าที่บรรทุกไปขายโดยตรง (Cargo) หรือ ค่าประกันที่ได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือล่ม (Insurance) ดูเหมือนว่าเหล่านักลงทุนและเจ้าของเรือมีแต่ได้ แต่คนที่เสียอย่างแท้จริงคือบรรดา “ลูกเรือ” ที่ต้องเสี่ยงชีวิตออกไป (โดยไม่มีทางเลือกอื่นในชีวิตนัก) เพราะเจ้าของเรือมักบรรทุกสินค้าให้เยอะที่สุด โดยไม่แคร์ความปลอดภัย นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ปี 1871 ปีเดียว เรือกว่า 856 ลำ ล่มกลางมหาสมุทรจากสินค้าที่บรรทุกหนักเกินไป ส่งผลให้ลูกเรือกว่า 2,000 คนเสียชีวิต (จากสถิติ 1 ใน 5 ของคนที่ออกเดินเรือยุคนั้นจะไม่มีวันกลับมา) แต่เหล่าผู้มีอำนาจก็ไม่มีใครแคร์ซักคน เพราะยังไงก็ทำเงินได้อยู่ดี (อย่างน้อยก็ได้เงินค่าประกัน) ยกเว้นชายคนหนึ่งนามว่า “Samuel Plimsoll” นักการเมืองและนักปฏิรูปชาวอังกฤษที่ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในสภา ถือเป็นการกระทำที่กล้าหาญ เพราะเขาเป็นชายเพียงคนเดียวที่กล้าลุกขึ้นเป็นปรปักษ์ ท่ามกลางรัฐมนตรีคนอื่นในสภาที่ก็เป็น “เจ้าของเรือ” (ได้ผลประโยชน์) และไหนจะความเสี่ยงจากการ “ถูกอุ้ม” จากผู้มีอิทธิพล เส้นทางการต่อสู้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เขาถูกปฏิเสธตีตกหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็พยายามต่อเนื่องเป็นยาวนานกว่า “20 ปี” จนสำเร็จในที่สุด […]
Prolonged Workforce: เมื่อการทำงานเปลี่ยนไปเพราะอายุยืนขึ้น
เกษียณตอนอายุ 60 หรือต่อจนถึง 65 บริหารคนแค่ 2-3 เจเนอเรชั่นในองค์กร 30 คือคนรุ่นใหม่ 50 คือคนรุ่นเก๋า ค่านิยม ทัศนคติ และบริบทการทำงานแบบดั้งเดิมเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีการแพทย์และพันธุศาสตร์ที่ทำให้คนเราอายุยืนขึ้น นำไปสู่ “Prolonged Workforce” ที่จะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคตอันใกล้!! Prolonged Workforce: การทำงานเปลี่ยนไปเพราะอายุยืนขึ้น Dr. David Sinclair นักชีววิทยาแถวหน้าของโลกประจำ Harvard Medical School และผู้เขียนหนังสือขายดีปฏิวัติวงการแพทย์อย่าง Lifespan: Why We Age―and Why We Don’t Have To ประกาศด้วยความยินดีว่า ค้นพบหนทางการทำให้มนุษย์ “อายุยืน” (Prolonged Longevity) ขึ้นได้แล้ว แต่ก่อนจะไปพูดถึง อายุยืนที่เกี่ยวข้องกับโลกการทำงาน…เราไปทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ล่าสุดของความแก่เสียก่อน วิทยาศาสตร์ของความแก่ Dr. David Sinclair ขอให้เราจำประโยคนี้ให้ขึ้นใจ “ความแก่เป็นโรคชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นโรค…จึงรักษาหายได้” (Aging […]
Emerging Industries ไม่ได้อยากเปลี่ยนแต่ต้องเปลี่ยนเพราะโลกบังคับ
Plant-Based Food อาหารที่ทำจากพืช รถยนต์ไฟฟ้า EV Metaverse โลกเสมือนจริงยิ่งกว่าจินตนาการ นี่คือ “Emerging Industries” และเป็นตัวอย่างเพียงหยิบมือความเป็นไปได้ใหม่ๆ นานัปการแห่งศตวรรษที่ 21 Emerging Industries: ไม่ได้อยากเปลี่ยนแต่ต้องเปลี่ยนเพราะโลกบังคับ ทุกยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนตาม มาพร้อมการ Disruption ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดแค่ผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ๆ แต่ถึงขนาดก่อให้เกิด “อุตสาหกรรมใหม่” ได้เลยทีเดียว เราลองไปสำรวจทำความรู้จักพร้อมๆ กัน Plant-Based Food สาธารณชนทั่วไปอาจยังไม่ทราบว่า “เนื้อสัตว์” หลายชนิดที่เราบริโภคกันในชีวิตประจำวัน ให้โทษต่อโลก สุขภาพร่างกาย และล้วนไม่ยั่งยืนแทบทุกประการ กรณีเด่นชัดที่สุดคือ “อุตสาหกรรมเนื้อวัว” โดย UN Food and Agriculture Organization เผยว่า อุตสาหกรรมเนื้อวัวอุตสาหกรรมเดียวปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emission) มากกว่า การขนส่งยานพาหนะทุกประเภท “รวมกัน” “ก๊าซมีเทน” ที่ปล่อยออกมาจากการใช้ชีวิตธรรมชาติของวัว มีโทษรุนแรงกว่า ก๊าซ […]
Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์
Lacoste ใช้ “จระเข้” เป็นโลโก้แบรนด์ รถสปอร์ต Jaguar มีแรงบันดาลใจจาก “เสือจากัวร์” Red Bull มี “กระทิง” 2 ตัวหันหน้าชนกัน Ralph Lauren มาพร้อมภาพจำคือคนกำลังขี่ “ม้า” นี่คือแบรนด์ระดับโลกที่ใช้กลยุทธ์ “Animal Marketing” เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ไปแล้ว Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์ Animal Marketing คือกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์เลือกใช้ “สัตว์” เข้ามาเป็นอัตลักษณ์ส่วนหนึ่งของแบรนด์อย่างจริงจัง ช่วยในการสื่อสารสร้างภาพจำ หรือโปรโมทค่านิยมบางอย่างเป็นพิเศษ ซึ่งการเลือกใช้ มีได้หลายรูปแบบมากๆ เช่น โลโก้แบรนด์ มาสคอต งานโฆษณา ทำไม Animal Marketing น่าดึงดูดใจ? คำอธิบายในแง่วิวัฒนาการ (Evolution) ให้คำตอบเราได้ถึงแก่นที่สุด เพราะมนุษย์สามารถ “จดจำและแยกแยะ” สัตว์ต่างๆ ได้ดีกว่าที่(คนในยุคปัจจุบัน) คิด เรากรอกสายตาแล้วรับรู้ได้ทันที (Instant recognition) […]