📰 บทความทั้งหมด

Don’t Do List: การเลือกไม่ทำบางอย่าง สำคัญไม่แพ้การลงมือทำ

Don’t Do List: การเลือกไม่ทำบางอย่าง สำคัญไม่แพ้การลงมือทำ

เพราะการจะไปถึงเป้าหมาย ไม่ได้ประกอบด้วยการลงมือทำอะไรบ้างเท่านั้น…แต่ย่อมรวมถึงการ “ไม่ทำ” ด้วยเช่นกัน  ท่ามกลางเส้นทางอันซับซ้อน บางทีการเลือกจะไม่ทำอะไรบางอย่าง อาจเป็นทางลัดนำพาเราให้ถึงฝั่งฝันได้เร็วกว่าเดิมด้วยซ้ำ เหรียญอีกด้านของ To-Do List แม้แต่ Adam Grant ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการในองค์กร ยังเตือนเลยว่า ความนิยมของ “To-Do List” ที่อยู่ในกระแสหลัก ว่าคุณควรต้องทำอะไรบ้าง 1-2-3-4 ในแต่ละวัน…บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำได้สม่ำเสมอ เพราะ To-Do List ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ทุกวัน ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าบางทีเรา “ควบคุมไม่ได้” เพราะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดงานแทรกอะไรต่อมิอะไรขึ้นตลอด นอกจากนี้ การจดจ่อกับ To-Do List มักหมายถึงการ “กอง” งานที่สามารถทำให้เสร็จได้ โดยไม่ได้แยกแยะ (Categorize) ว่ามันสำคัญ/เร่งด่วน จริงๆ หรือไม่? ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่ควร เรื่องนี้ยังสอดคล้องกับองค์ความรู้ กล่าวคือ Negative knowledge (สิ่งที่ไม่ควรทำ) สำคัญไม่แพ้ Positive knowledge (สิ่งที่ควรทำ)  ตัวอย่างแสนเรียบง่าย เช่น […]

Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO

Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO

ใส่เสื้อทรงเดิมสีเดิมซ้ำๆ กันทุกวัน กินมื้อเช้าเมนูเดิมๆ ทุกวัน นอนเป็นเวลาทุกคืน ตื่นเช้ามาสดใสทุกวัน ตัดสินใจแค่งานหลัก ส่วนงานรองส่งต่อให้ลูกทีม นี่คือตัวอย่าง “Fatigue Relief” ที่ช่วยตีกรอบให้ผู้บริหารโฟกัสแต่เรื่องสำคัญจริงๆ เท่านั้น Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO CEO ทั่วไปในแต่ละวันมีเรื่องต้องคิดเพียบ หนึ่งในปัญหาที่มักเจอคือ “Decision Fatigue” เหนื่อยล้าจากการใช้หัวคิดการงานจนเกินไป  นอกจากนั้นไม่พอ ยังต้องเผชิญกับโจทย์ประจำวันอย่าง วันนี้แต่งตัวยังไงดี? พักเที่ยงกินข้าวร้านไหนดี?  ช่วงบ่ายกินน้ำอะไรดี? ผลวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์สมองเผยว่า เฉลี่ยแล้วมนุษย์คิดมากถึง 6,200 เรื่อง/วัน หรือเฉลี่ยนาทีละ 4 เรื่องเลยทีเดียว ซึ่งเป็นความคิดที่นึกคิดวิเคราะห์เองและทั้งเกิดนอกจิตสำนึก(แว่บเข้ามาเอง) แต่ CEO ระดับโลก หลีกเลี่ยงเรื่องนี้ด้วย “Fatigue Relief” ตัด-ลด การตัดสินใจให้เหลือเฉพาะที่ “สำคัญ” แล้วพวกเค้าทำอย่างไรบ้าง? ตามไปดูกัน Mark Zuckerberg  ตัดศิลปะการ “แต่งตัว” ในชีวิตทำงานประจำวันออกไป โดยใส่เสื้อคอกลม ทรงเดิม สีเดิม […]

25-5 Rule: เทคนิคลำดับความสำคัญสไตล์ Warren Buffett

25-5 Rule: เทคนิคลำดับความสำคัญสไตล์ Warren Buffett

“25-5 Rule” เป็นเทคนิคการจัดเรียงลำดับความสำคัญที่ขึ้นชื่อลือชาว่ามีต้นกำเนิดมาจาก “Warren Buffett” นักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และเป็นปรมาจารย์ด้านการคิด-การลงทุน-การทำงาน ที่มีผู้คนนับถือทั่วโลก ในแต่ละวัน Warren Buffett ต้องปะทะกับงานมหาศาลและสเกลเม็ดเงินที่ใหญ่โต การคิดผิด ตัดสินใจผิด ลำดับความสำคัญผิด ย่อมเกิดหายนะที่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้เลย  25-5 Rule จึงเป็นเทคนิคที่ไว้ขัดเกลาตัวเองให้ “โฟกัส” กับเรื่องที่สำคัญที่สุดเสมอ คำถามคือ…แล้ว 25-5 Rule มีวิธีการอย่างไรบ้าง? 3 ขั้นตอนการทำ 25-5 Rule 1. เขียนลิสท์ 25 เป้าหมายในอาชีพ (Top 25 career goals) ของคุณออกมา ไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องทำทีเดียวจบ แต่ค่อยๆ ให้เวลาตัวเองในการขบคิด 2. วงกลม 5 เป้าหมายที่สำคัญที่สุด มีความหมายกับคุณที่สุด เร่งด่วนที่สุด ที่สะท้อนคุณค่าตัวตนของคุณจริงๆ (Urgent goals & Highest priorities) เช่นเคย…ไม่ต้องรีบ […]

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

งานยังไม่เสร็จ เก็บเอาไปคิดตอนเที่ยวต่างประเทศ พรุ่งนี้พรีเซนท์ใหญ่ วันนี้เลยไม่มีกะจิตกะใจทำอย่างอื่น โฆษณาที่โชว์โลโก้แบรนด์ขาดๆ เกินๆ ให้คนไปคิดต่อ นี่คือจิตวิทยาที่เรียกว่า “Zeigarnik Effect” Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ Zeigarnik Effect มาจากชื่อของคุณ Bluma Zeigarnik นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ค่ำคืนหนึ่ง เธอไปรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ร้านอาหาร รายการอาหารที่สั่งค่อนข้างเยอะแถมมีการขอรีเควสพิเศษ  ที่น่าสนใจคือ พนักงานรับออเดอร์ไม่มีการ “จดออเดอร์” ลงกระดาษใดๆ ทั้งสิ้น Zeigarnik คาดการณ์ว่าต้องมีผิดพลาดบ้างแน่นอน แต่สิ่งที่เหลือเชื่อคือ เมนูที่เสิร์ฟกลับถูกต้องทุกจาน!!  หลังทานเสร็จและออกร้าน เธอนึกขึ้นได้ว่าลืมผ้าเช็ดหน้าไว้ที่โต๊ะจึงกลับเข้าร้านไปเอา และพบกับพนักงานรับออเดอร์คนเดิม ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่าคือ…พนักงานคนนี้จำเธอไม่ได้เลยแม้แต่น้อย!! เธอถามกลับไปว่า: “เป็นไปได้อย่างไร เมื่อกี้คุณยังจำเมนูทุกอย่างได้อย่างแม่นยำเป๊ะๆ อยู่เลย?” พนักงานตอบกลับว่า: “ผมจำเมนูที่ลูกค้าสั่งได้เป๊ะก็จริง แต่เมื่อพวกเค้าชำระเงินเสร็จ ผมก็ลืมหมดแล้ว” จากการศึกษาในเวลาต่อมา เธอค้นพบว่าสมองของมนุษย์พวกเราก็ทำงานไม่ต่างจากพนักงานคนนั้น จนกลายมาเป็น Zeigarnik Effect ในที่สุด Zeigarnik Effect คืออะไรกันแน่? […]

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่ 100 ปี เพิ่ม Productivity

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่ 100 ปี เพิ่ม Productivity

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่อายุ 100 ปี เพิ่ม Productivity ย้อนกลับไปเมื่อปี 1918 คุณ Ivy Lee ที่ปรึกษาเฉพาะทางด้านการเพิ่ม Productivity ถูกว่าจ้างจากบริษัท Bethlehem Steel Corporation บริษัทต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น ให้ไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร Image Cr. bit.ly/3EDehLH เขาไม่ได้ทำอะไรซับซ้อน เพียงแค่ใช้เทคนิคที่สร้างขึ้นมาอย่าง “Ivy Lee Method” ใช้เวลาคุยกับผู้บริหารอื่นๆ เพียงคนละไม่เกิน 15 นาที แต่กลับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรอย่างสิ้นเชิงเพียงเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้น  เจ้าของบริษัทถึงกับเต็มใจให้ค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินถึง $25,000 หรือเทียบเท่ากับ 12 ล้านบาทในค่าเงินปัจจุบัน (และทำให้เขาไม่จำเป็นต้องทำงานอีกเลยตลอดชีวิตก็ยังได้) แต่คุณ Ivy Lee ก็ยังเดินสายเผยแพร่เทคนิคอันเรียบง่ายแต่ทรงประสิทธิภาพสุดๆ ต่อไป คำถามคือ แล้ว Ivy Lee Method ที่ว่า มีขั้นตอนอะไรบ้าง? ขั้นตอนการทำ […]

Multi-Motivations: ทำไมบางคนแรงจูงใจในการทำงานไม่เคยตกเลย

Multi-Motivations: ทำไมบางคนแรงจูงใจในการทำงานไม่เคยตกเลย

วิธีการหาเงินที่ดี? ให้มีหลายช่องทางทำเงิน วิธีทำการตลาดที่ดี? ลงโฆษณาหลายแพลตฟอร์ม วิธีแก้ปัญหาที่รัดกุม? คิดเผื่อทางออกหลายแผน ในเมื่อวิธีการทำงานยังมี > 1 ได้เลย แล้วทำไม “Motivation ในการทำงาน” จะมี > 1 ไม่ได้? Multi-Motivation ทำไมบางคนแรงจูงใจในการทำงานไม่เคยตก Multi-Motivation คือ การทำงานเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางด้วยการมี “แรงจูงใจ > 1” เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนเราให้แรงไม่ตกและไปถึงหมุดหมายได้ในที่สุด เป็นเคล็ดลับที่เรียบง่าย(แต่หลายคนมองข้าม) ในการหลงใหลไปกับการ “ทำงานอย่างมีความสุข” พร้อมที่จะคิดหาไอเดียใหม่ๆ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคง่ายๆ  BJ Fogg นักสังคมศาสตร์และผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง Tiny Habits กล่าวว่า Motivation “ไว้ใจไม่ได้” มันเป็นเหมือนเพื่อนกินคนแรกที่เราโทรชวนไปปาร์ตี้ แต่ไม่ใช่เพื่อนคนแรกที่เราโทรหาเวลาทุกข์ยากลำบาก  โดยทั่วไปแล้ว ไม่ช้าก็เร็ว Motivation อย่างใดอย่างหนึ่งของคุณมักจะเปลี่ยนแปลง…จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงควรมี Multi-Motivation ในการทำงานนั่นเอง ซึ่ง Multi-Motivation เปิดอิสระมาก เช่น ต้องการขึ้นเป็นผู้บริหารโดยมีแรงจูงใจหลักด้าน “ตำแหน่ง” ที่สามารถสั่งการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในเชิงโครงสร้าง (Power […]

McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก

McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก

McKinsey คือบริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก รายได้กว่า 300,000 ล้านบาท พนักงานกว่า 30,000 คน ให้คำปรึกษาบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 90 จาก 100 บริษัท ในแทบทุกการตัดสินใจเชิงโครงสร้างของบริษัทชั้นนำของโลก…จะต้องมีชื่อ McKinsey เป็นที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลัง  น่าสนใจไม่น้อยว่า McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? ถึงมีอิทธิพลและได้รับความไว้วางใจมากขนาดนี้ จุดเริ่มต้นจากความไร้ประสิทธิภาพ McKinsey & Company ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1926 โดยศาสตราจารย์ James O. McKinsey จากอดีตที่เคยปรึกษากลยุทธ์ทางธุรกิจให้แก่องค์กร รัฐบาล และสถาบันชั้นนำต่างๆ ได้ผันตัวมาเปิดบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง เขาได้แรงบันดาลใจจากก่อตั้งบริษัทมาจากการเห็น ความไร้ซึ่งประสิทธิภาพ (Inefficiencies) ในการบริหารงานองค์กรมากมาย…แม้แต่องค์กรใหญ่ก็ตาม ด้วยสเกลที่ใหญ่ ความไร้ประสิทธิภาพจึงมีผลกระทบแง่ลบมากตามไปด้วย เขาจึงตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือตรงนี้ แรกเริ่มให้คำปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจโดยอิงจาก “หลักการทางบัญชี” (ผู้ก่อตั้งมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรง) มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาวิธีพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร ก่อนจะขยายครอบคลุมไปอุตสาหกรรมอื่นๆ พร้อมกับการพัฒนาองค์ความรู้เชิงลึกเฉพาะทาง  จนก้าวขึ้นสู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลกในไม่กี่ทศวรรษต่อมา Only Top Talents […]

Deep-Rooted Memory: เทคนิคการ “จำ” ให้ฝังแน่นในหัว

Deep-Rooted Memory: เทคนิคการ “จำ” ให้ฝังแน่นในหัว

ตัวเลข GDP ต่อหัว / ค่าแรงขั้นต่ำ / หนี้สินครัวเรือน Tax haven คืออะไร? มีกฎเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไร? คำศัพท์ mischievous / ostentatious / surreptitious ประวัติศาสตร์ / ข้อกฎหมาย / กฎเกณฑ์ใหม่ๆ มีข้อมูลเกิดใหม่ในโลกธุรกิจแทบจะรายชั่วโมง(หรือนาที) ของเก่ายังไม่ทันรวบรวมได้หมด ของใหม่ก็เข้ามารอแล้ว นอกจากต้องทำความเข้าใจแล้ว ความสามารถด้านการ “จำ” ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นอีกทักษะที่ต้องมีไปแล้วในยุคนี้ จำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำได้ยืนยาว…และจำได้เร็ว! ขอแนะนำให้รู้จักเคล็ดลับการจำแบบ “Deep-Rooted Memory” ฝังแน่นในสมองที่น่าสนใจไม่น้อยและปฏิบัติกันในโลกธุรกิจ 1. ปล่อย มากกว่า รับ (Output > Input) มายาคติที่หลายคนเข้าใจผิดคือ อยากจำได้ฝังหัวต้องตั้งหน้าตั้งตาจำแต่สิ่งที่รับ (Input) เข้ามา แต่วิธีที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าเวิร์คกว่าคือ รับมาเท่าไรต้องปล่อย (Output) ออกไปมากขึ้นเท่านั้น 50% ของข้อมูลใหม่ที่รับเข้ามาจะถูกลืมใน 1 ชม. […]

Healthier Work: ปลดล็อคการทำงานด้วยเคล็ดลับสุขภาพ

Healthier Work: ปลดล็อคการทำงานด้วยเคล็ดลับสุขภาพ

หายใจทางจมูกเท่านั้น ยืนทำงานแทนการนั่ง นอนกลางคืน-งีบกลางวัน กะพริบตาบ่อยๆ หลับตาเป็นช่วงๆ พบกับ Healthier Work ปลดล็อคศักยภาพการทำงานของคุณด้วยเคล็ดลับสุขภาพดีๆ เรารีบไปทำความรู้จัก “ข้อมูลเชิงลึก” เหล่านี้กันเถอะ  “ยืน” ทำงาน  มีแนวคิดการทำงานใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้พนักงาน “ยืนทำงาน” มากขึ้นแล้ว  Dr. Lopez Jimmenez นักวิจัยด้านโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเผยว่า การยืนทำงานช่วย “เผาผลาญแคลอรี่” ได้มากกว่าการนั่งทำงานถึง 0.15 แคลอรี่/นาที การยืนทำงานควรมาพร้อมโต๊ะยืนแบบปรับได้ (Flexible Standing Desk) และ “ตำแหน่ง” ก็สำคัญไม่น้อย ให้รักษาระยะห่างจากจอคอมราว 0.5 เมตร รวมถึงความสูงของจอคอม ต้องต่ำกว่าระดับสายตาราว 4-5 นิ้ว จะเป็นตำแหน่งที่ถนอมสายตาและไม่ทำให้ปวดเมื่อยหลัง-ไหล่ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ การรักษา “ความสมดุล” (Balance) ไม่ยืนทำงานนานเกินไป ไม่นั่งทำงานนานเกินไป แต่เปลี่ยนอิริยาบถการทำงานทุก ๆ 20-30 นาที ซึ่งจะรักษาสุขภาพได้ดีที่สุด (แถมไม่จำเป็นต้องลงทุนกับ […]

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

ท่ามกลางกระแสแง่ลบที่เริ่มมีต่อการ Work From Home แต่การทำงานที่บ้าน (หรือที่ไหนๆ ก็ตาม) ยังคงมีแง่ดีที่ยากจะปฏิเสธ เราลองมาสำรวจมายาคติ (Myth) ทั้ง 7 ของการ Work From Home กัน…บางที มันอาจไม่ได้แย่อย่างที่หลายคนคิด 1. WFH ไม่ Productive เท่ามาทำที่ออฟฟิศ  Myth สุดคลาสสิกที่หลายคนยังเชื่อฝังใจ มักเกิดจากความคิดที่ว่า ถ้าหัวหน้าไม่คอยสอดส่อง ลูกน้องก็มักขี้เกียจอู้งาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงในที่สุด Mercer บริษัทที่ปรึกษาด้าน HR ทำการสำรวจบริษัทมากถึง 800 แห่งที่ให้พนักงาน WFH พบว่า “กว่า 94% การ WFH ไม่มีผลต่อความ Productive ในการทำงานอย่างมีนัยยะสำคัญเลย” อันที่จริง อาจเกิดขึ้นแค่ช่วงแรกๆ ที่พนักงานยังต้องปรับตัว แต่เมื่อทุกอย่างลงตัว พนักงานน้อมรับรูปแบบการทำงานใหม่ได้แล้ว (ซึ่งใช้เวลาไม่นาน) ประสิทธิภาพก็กลับมาเหมือนเดิม และมากกว่าเดิมด้วยซ้ำในบางช่วง การ WFH ไม่ได้แค่ประหยัด […]

Law of Jante: เคล็ดลับการทำงาน & ใช้ชีวิต ของชาวสแกนดิเนเวียน

Law of Jante: เคล็ดลับการทำงาน & ใช้ชีวิต ของชาวสแกนดิเนเวียน

ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ล้วนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น มี GDP/หัว สูงที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก ติด Top5 ประเทศที่ผู้คนมีความสุขที่สุดในโลก ทั้งด้านความสุข ความเจริญของประเทศ หรืออุปนิสัยการทำงาน ทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้ปรัชญาที่ชาวสแกนดิเนเวียนแชร์ร่วมกันหมดนั่นคือ “Law of Jante”  (ปล. ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย หลักๆ มีอยู่ 3 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สวีเดน / นอร์เวย์ / เดนมาร์ก ) Law of Jante คืออะไร?  “กฎของยานเต้” เป็น Mindset ปรัชญาการดำเนินชีวิต & การทำงานที่ชาวสแกนดิเนเวียนยึดถือปฏิบัติมาช้านานแล้ว มีใจความสรุปได้ว่า…”คุณอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าผู้อื่น” ซึ่งเป็นรากฐานความคิดที่ส่งเสริมความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความซื่อสัตย์สุจริต และถ่อมตนอย่างพินอบพิเทา…ซึ่งจะว่าไป ก็เป็นคาแรคเตอร์ของชาวสแกนดิเนเวียนเลยทีเดียว Image Cr. https://bit.ly/3f1VkYc โดยถ้าว่าตามหลักการแล้ว กฎของยานเต้มีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน อย่าคิดว่าตัวเอง…พิเศษเลิศเลอ อย่าคิดว่าตัวเอง…เป็นคนดีศรีประเสริฐ […]

Omotenashi: จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น

Omotenashi: จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น

กระเป๋าถูกจัดให้ “หยิบง่าย” ที่สายพานสนามบิน พนักงานยืนเรียง “โค้ง” ต้อนรับเวลาห้างเปิด ถ้วยโยเกิร์ตที่เปิดแล้วโยเกิร์ต “ไม่ติดฝา” งานบริการที่ญี่ปุ่นไม่รับ “ทิป” ความละเมียดละไมของงานบริการญี่ปุ่นแบบนี้ มีหัวใจหลักเบื้องหลังที่เรียกว่า Omotenashi (โอโมเตะนาชิ) Omotenashi คืออะไร?  Omotenashi 【おもてなし】 เป็นคำที่นิยามออกมาเป็นคำพูดสั้นๆ ได้ค่อนข้างยาก เพราะมีความเป็นนามธรรมสูง แต่โดยทั่วไป เราทำความเข้าใจ Omotenashi ได้ว่าเป็นจิตวิญญาณการให้บริการของคนญี่ปุ่น (Japanese Hospitality) เป็นการ “บริการด้วยใจ” ซึ่งมีจริตการบริการระดับที่ “ให้…โดยไม่หวังผลตอบแทน”  ผมบริการคุณดี ไม่ใช่เพราะ…คุณจะได้ “ซื้อ” สินค้าผม ผมบริการคุณดี ไม่ใช่เพราะ…ผมหวัง “ทิป” จากคุณ แต่ผมบริการคุณดี เพราะมันออกมาจากใจ…และคุณในฐานะลูกค้าสมควรได้รับการบริการที่ดี งานบริการหลายอย่างในญี่ปุ่นมี Omotenashi เป็นหัวใจหลัก และ “Omotenashi” คำนี้ยังถูกใช้เป็นคำโปรโมทหลักตอนญี่ปุ่นแข่งขันชิงการเป็น “เจ้าภาพโอลิมปิกปี 2020” จนชนะในที่สุด!! Omotenashi อยู่เบื้องหลังหลายกิจกรรมการบริการที่ไม่มุ่งหวังมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) และอาจไม่ได้เพิ่มผลผลิต […]