📰 บทความทั้งหมด

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: “ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ!” รู้จักกับ Armchair Quarterback ในที่ทำงาน หัวหน้าที่ดีแต่พูด สั่งงานเก่ง แต่ไม่เคยทำงานจริงๆ หัวหน้าที่เสนอไอเดียบรรเจิด โดยไม่รู้บริบทเลยว่าทำจริงไม่ได้ หัวหน้าที่ด่าลูกน้องเก่งเมื่อทำงานพลาด แต่ไม่เคยลงมือช่วยหาต้นตอปัญหาเลย เชื่อว่าพวกเราก็ต้องเคยเจอเหตุการณ์ชวนหงุดหงิดแบบนี้ในออฟฟิศมาบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Armchair Quarterback” ที่ต้องรีบสังเกตและดับไฟให้ทัน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป Armchair Quarterback – ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เรียกพนักงานที่มีลักษณะ “แค่พูด…แต่ไม่ได้ลงมือ” คนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้มีความรอบรู้ในเรื่องนั้น คนที่ชอบตัดสินใจคนอื่นและมีความคิดเห็นแบบสุดโต่ง คนที่ชอบสั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ (และถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด) เดิมที Armchair Quarterback ศัพท์คำนี้มีที่มาจากวงการ “อเมริกันฟุตบอล” ที่เหล่าแฟนๆ จะเชียร์อย่างออกหน้าออกตา วิพากษ์วิจารณ์ผู้เล่นราวกับตัวเองอยู่ในสนาม ด่าว่ารุนแรงราวกับตัวเองเสียผลประโยชน์ วิเคราะห์ทุกอย่างราวกับตัวเองเป็นมืออาชีพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน…โซฟาภายในบ้านหน้าจอทีวีขณะกำลังนั่งเอนหลังชมการแข่งขัน (+ป๊อปคอร์นในมือ) ต่อมา Armchair Quarterback ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ต้องการจะสื่อถึงหัวหน้าที่วันๆ เอาแต่นั่งอยู่ในโต๊ะอันแสนนุ่มสบายในออฟฟิศ ไม่เคยออกไปพบลูกค้า ไม่เคยลงมาดูว่า “มดงาน” เค้าทำอะไรกันจริงๆ แต่กลับสั่งการต่างๆ […]

ทำไมคนแต่ละชาติมีสไตล์ทำงานต่างกัน แต่สำเร็จในแบบตัวเองได้?

ทำไมคนแต่ละชาติมีสไตล์ทำงานต่างกัน แต่สำเร็จในแบบตัวเองได้?

อเมริกา – วิจารณ์ตรงไปตรงมา เน้นความคิดสร้างสรรค์ ญี่ปุ่น – พิธีรีตอง พิถีพิถัน เน้นทีมเวิร์ค เยอรมัน – มาตรฐานสูง เป็นตัวของตัวเอง เน้นประสิทธิภาพ แต่ละชาติล้วนมี “สไตล์การทำงาน” แตกต่างกันแทบจะอยู่คนละขั้ว แต่ทำไมกลับประสบความสำเร็จในแบบตัวเองได้? ความคิดสร้างสรรค์ เน้นนวัตกรรมแบบฉบับ “อเมริกัน” ชาวอเมริกันมีพื้นฐานสูงลิบด้านสิทธิ “เสรีภาพ” (Liberty) การเปิดโอกาสให้ผู้คนได้คิดในสิ่งที่แตกต่าง ท้าทายชุดความคิดเดิมๆ ลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน ชื่นชอบการแข่งขัน ชาวอเมริกันจึงมีความ Individualism สูงในการทำงาน เป็นตัวของตัวเอง กล้าวิพากษ์วิจารณ์แบบเปิดเผย สหรัฐอเมริกายังเป็นชาติที่โปรโมทความเป็นตลาดเสรีเต็มตัว (Free-Market Economy) ไปยังชาติต่างๆ ให้เปิดประเทศเพื่อการค้าขาย นี่คือพื้นฐานความคิดในวงการ “Coaching” ที่สร้างอิทธิพลไปทั่วโลกในวงการธุรกิจ (เช่น ผ่านหนังสือแปล)  อุปนิสัยเหล่านี้ สอดคล้องอย่างยิ่งในแวดวง “เทคโนโลยี” ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และ “นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด” ซึ่งอเมริกาก็เป็นเจ้าโลกในเรื่องนี้มาช้านาน ใส่ใจรายละเอียด มีความพิธีรีตอง และเน้นทีมเวิร์คในแบบ “ญี่ปุ่น” พื้นเพคนญี่ปุ่นชื่นชอบใน […]

Toxic Masculinity ในที่ทำงาน: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ที่พาบริษัทล่ม

Toxic Masculinity ในที่ทำงาน: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ที่พาบริษัทล่ม

เรื่องสำคัญถูกตัดสินโดยกลุ่มผู้บริหารชายล้วนเท่านั้น การทำงาน ชายต้องเป็นพระเอก หญิงคือพระรอง ชายต้องมาคนแรก ทำงานหนัก และไปดื่มต่อหลังเลิก จากบอร์ดห้องประชุมกลายเป็นคลับสนทนาเรือนร่างหน้าตาของหญิงสาวจบใหม่ในออฟฟิศ นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Toxic Masculinity” ที่ถ้าปล่อยปละละเลยจนบานปลาย ก็อาจพาทั้งองค์กรล่มจมได้  Toxic Masculinity: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ในที่ทำงานจนพาบริษัทล่ม Toxic Masculinity ในที่ทำงาน คือองค์กรที่เชิดชูสรรเสริญให้ “ชายเป็นใหญ่” (Patriarchy) และมีคาแรคเตอร์ที่สะท้อน “อุปนิสัย” ความเป็นเพศชาย เช่น ชายต้องแข็งแกร่งเข้าไว้ ห้ามขอโทษ ถ้าผิดจริงก็ให้พูดอ้อมๆ กระหายอำนาจ ชอบแข่งขัน ขึ้นเป็นผู้นำ ชายแท้ต้องพึ่งพาตัวเอง ไม่ขอความช่วยเหลือใคร ต้องการออกคำสั่งให้อีกฝ่ายยอมทำตามแต่โดยดี (Comply) พร้อมท้าชนปะทะทุกเมื่อ ปฏิเสธการประนีประนอม ใช้ความก้าวร้าวเป็นอาวุธในการข่มเหงผู้อื่น และแสดงตนว่าเป็นผู้เหนือกว่า ต้องมาออฟฟิศคนแรก ทำงานหนักสุด ดื่มหนักยิ่งกว่าหลังเลิกงาน(และห้ามปฏิเสธเมื่อได้รับการชักชวน)  Toxic Masculinity มักมีทัศนคติความเชื่อ (Normative belief) ที่ไปตัดสินเหมารวมคนบางกลุ่ม เช่น ให้ผู้ชายเป็นคนนำ-ผู้หญิงเป็นคนตาม โดยไม่พิจารณาถึงทักษะความสามารถที่เหมาะสม เช่น ผู้ชายคนนั้นอาจเก่งเบื้องหลัง ขณะที่ผู้หญิงคนนั้นเก่งเบื้องหน้าก็ได้ […]

ปั้นองค์กรสไตล์ Netflix ฟาดทุกกูรู ฉีกทุกตำรา

ปั้นองค์กรสไตล์ Netflix ฟาดทุกกูรู ฉีกทุกตำรา

บริษัททั่วไป: กดเงินเดือนพนักงานให้ต่ำที่สุด Netflix: จ่ายเงินเดือนพนักงานแพงที่สุด บริษัททั่วไป: พนักงานคือครอบครัว Netflix: พนักงานคือทีมฟุตบอล บริษัททั่วไป: รักษาพนักงานให้มากที่สุด Netflix: ไล่ออกให้หมด เก็บไว้แต่หัวกะทิ แนวคิดการพัฒนาองค์กรสไตล์ Netflix (ผ่านหนังสือ “No Rules Rules” เมื่อปี 2020) ได้ออกมาเขย่าวงการ HR และฟาดทุกทัศนคติของ CEO ที่มีต่อการบริหารคนของตัวเอง 1. Talent Density Netflix เชื่อว่า คนเก่งดึงดูดคนเก่ง  คนเก่งจริง ‘ยอมรับ’ คนที่เก่งกว่าได้  เมื่อคนเก่งระดับท็อป 1% มารวมกันได้มากที่สุด เมื่อนั้นองค์กรจะยิ่งสตรอง จะดึงคนเก่งให้มาทำงาน เงินเดือนต้องสูงลิ่วตาม บริษัทถึงขนาดให้พนักงานลองออกไปสมัครงานกับบริษัทคู่แข่งเพื่อ “เช็คเงินเดือน” (Salary Benchmarking) … บริษัทคู่แข่งให้เท่าไร Netflix ให้มากกว่า! ปี 1999 Netflix เจอวิกฤติครั้งใหญ่ บริษัททั่วไปพยายามรักษาพนักงาน ไม่ก็ไล่ให้ไป […]