Toxic Masculinity ในที่ทำงาน: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ที่พาบริษัทล่ม

Toxic Masculinity ในที่ทำงาน: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ที่พาบริษัทล่ม
  • เรื่องสำคัญถูกตัดสินโดยกลุ่มผู้บริหารชายล้วนเท่านั้น
  • การทำงาน ชายต้องเป็นพระเอก หญิงคือพระรอง
  • ชายต้องมาคนแรก ทำงานหนัก และไปดื่มต่อหลังเลิก
  • จากบอร์ดห้องประชุมกลายเป็นคลับสนทนาเรือนร่างหน้าตาของหญิงสาวจบใหม่ในออฟฟิศ

นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Toxic Masculinity” ที่ถ้าปล่อยปละละเลยจนบานปลาย ก็อาจพาทั้งองค์กรล่มจมได้ 

Toxic Masculinity: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ในที่ทำงานจนพาบริษัทล่ม

Toxic Masculinity ในที่ทำงาน คือองค์กรที่เชิดชูสรรเสริญให้ “ชายเป็นใหญ่” (Patriarchy) และมีคาแรคเตอร์ที่สะท้อน “อุปนิสัย” ความเป็นเพศชาย เช่น

  • ชายต้องแข็งแกร่งเข้าไว้ ห้ามขอโทษ ถ้าผิดจริงก็ให้พูดอ้อมๆ
  • กระหายอำนาจ ชอบแข่งขัน ขึ้นเป็นผู้นำ
  • ชายแท้ต้องพึ่งพาตัวเอง ไม่ขอความช่วยเหลือใคร
  • ต้องการออกคำสั่งให้อีกฝ่ายยอมทำตามแต่โดยดี (Comply)
A picture containing person, outdoor

Description automatically generated
  • พร้อมท้าชนปะทะทุกเมื่อ ปฏิเสธการประนีประนอม ใช้ความก้าวร้าวเป็นอาวุธในการข่มเหงผู้อื่น และแสดงตนว่าเป็นผู้เหนือกว่า
  • ต้องมาออฟฟิศคนแรก ทำงานหนักสุด ดื่มหนักยิ่งกว่าหลังเลิกงาน(และห้ามปฏิเสธเมื่อได้รับการชักชวน) 

Toxic Masculinity มักมีทัศนคติความเชื่อ (Normative belief) ที่ไปตัดสินเหมารวมคนบางกลุ่ม เช่น ให้ผู้ชายเป็นคนนำ-ผู้หญิงเป็นคนตาม โดยไม่พิจารณาถึงทักษะความสามารถที่เหมาะสม เช่น ผู้ชายคนนั้นอาจเก่งเบื้องหลัง ขณะที่ผู้หญิงคนนั้นเก่งเบื้องหน้าก็ได้

  • ผู้ชายที่พูดจาฉะฉาน คือ คนที่กล้าแสดงออก
  • ผู้หญิงที่พูดจาฉะฉาน กลายเป็น คนก้าวร้าว

เมื่อชายเป็นใหญ่เกินไป จนกดขี่-กดทับผู้หญิงในที่ทำงานแทน นำไปสู่โอกาสเกิดการคุกคามทางเพศ (Sexual harassment) ทั้งทางตรง-อ้อม ซึ่งมักเกิดกับ หัวหน้าชาย-ลูกน้องหญิง

ทั้งนี้ต้องกล่าวว่า คาแรคเตอร์ความเป็นชาย…ไม่มีอะไรผิดในตัวมันเอง เพียงแต่ถ้ามันมากเกินไป ย่อมส่งผลร้ายกลับมาในที่สุด ซึ่งสังคมการทำงานในปัจจุบัน ยังมี Toxic Masculinity บางอย่างที่แข็งแกร่งอยู่

ตัวอย่างเสียๆ หายๆ ของ Toxic Masculinity

การตัดสินใจใหญ่ๆ สำคัญๆ ในองค์กรแบบ Toxic Masculinity มักถูกสำรองไว้สำหรับผู้ชายเท่านั้น ซึ่งทำให้ผลลัพธ์คับแคบและเป็นที่คาดการณ์จากคู่แข่งได้

ผลวิจัยเผยว่า องค์กรที่ให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใหญ่ มักให้มุมมอง “ทางเลือกใหม่ๆ” (Alternative path) ในแบบที่ผู้ชายมักนึกไม่คิด

A picture containing text, person, person, window

Description automatically generated

การบริหารความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputational risk) คืออีกปัจจัยที่องค์กรพยายามสร้างภาพและปกป้องสุดหัวใจเพราะมันกระทบความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีให้ แต่ประเด็นนี้ก็สามารถ “แตกหักจากข้างใน” จากเรื่องราว Sexual harassment ที่เกิดขึ้น ดังกระแส #MeToo มากมายที่ออกมาจากปากผู้หญิงในองค์กรเอง 

และล่าสุดกรณี Uber ที่ต้องจ่ายค่าปรับสูงถึงกว่า 130 ล้านบาทจากเหตุการณ์ Sexual Harassment ที่เกิดขึ้นในองค์กรจนมีคนได้รับความเสียหายต่อการทำงานและสิทธิมนุษยชน

Two people looking at a computer screen

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3o4SEMe

Toxic Masculinity ยังทำร้าย “ผู้ชายด้วยกันเอง” 

  • ไม่ใช่ผู้ชายทุกคนที่พูดเก่ง บางคนมีอุปนิสัยนิ่งเงียบ ฟังมากกว่าพูด
  • ไม่ใช่ผู้ชายทุกคนที่เก่งหน้างานเป็นช้างเท้านำ บางคนถนัดงานเบื้องหลังมากกว่า

ทั้งหมดนี้สร้างความเครียดในที่ทำงาน เพราะถูกคาดหวังให้ต้องและประพฤติไปในทิศทางที่กำหนด

A person wearing a suit and tie

Description automatically generated

นอกจากนี้ยังมีกฎที่ไม่ได้ถูกเขียนระบุ…แต่เป็นอันรู้กัน (Unwritten Rules) อย่างสิทธิลาคลอดเพื่อเลี้ยงดูลูก (Paternity leave) เช่น ผู้ชายก็มีสิทธิ์ใช้วันลาได้ 2 เดือนเต็ม แต่ก็ถูกคาดหวังให้ “ใช้จริง” แค่ 1 เดือน ก่อนกลับมารับผิดชอบงานใหม่

ปี 1998 จากการสำรวจครั้งใหญ่ในหมู่เลขานุการ (Secretary) ที่ประเทศอังกฤษกว่า 716,148 คน พบว่า 99.1% เป็นผู้หญิง ขณะที่เหลือเป็นผู้ชายเพียง 5,913 คนเท่านั้น 

เลขาฯ หญิงเหล่านี้ ถูกส่งตัวไปทำงานกับหัวหน้า-ผู้บริหารที่เป็นผู้ชายซะส่วนใหญ่ นัยหนึ่ง ก็สะท้อนตำแหน่งนี้ที่ผู้หญิงอาจทำได้ดีกว่า…แต่อีกนัยหนึ่ง ก็ชวนตั้งคำถามว่าทำไมผู้หญิงต้องเป็นช้างเท้าหลัง รอรับคำสั่งจากหัวหน้าชาย?

Two people looking at a computer

Description automatically generated with medium confidence

โดยภาพรวม Toxic Masculinity ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรกับการทำงานทั้งสิ้น (Hostile work environment) และลดทอนคุณค่าของบางกลุ่ม ไม่ส่งเสริมความหลากหลาย (Diversity) ซึ่งเป็นประเด็นที่องค์กรยุคใหม่ให้ความสำคัญ

วิธีป้องกัน Toxic Masculinity ในองค์กร

จากการสำรวจของ The Society for Human Resource Management (SHRM) พบว่า 98% ของบริษัทที่สำรวจ มีการทำคอร์สอบรมด้านเพศและความหลากหลาย (Race & Diversity Training) แต่กระนั้นเชียว มีเพียงกลุ่มคนเพียง 25% เท่านั้นที่รู้สึกว่าตัวเองได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ หรือการอบรมนำไปสู่ “การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น” จริงในทางปฏิบัติ

เรื่องนี้สะท้อนว่า องค์กรยังต้องลงทุนให้มากขึ้นกับเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ปริมาณ…แต่ต้องโฟกัสที่คุณภาพให้เห็นผลนำไปใช้ได้จริง 

.

“มีอะไรให้รีบบอก” จากผลสำรวจของ SHRM ยังพบว่า กว่า 54.5% ของคนเข้าทำงานใหม่ สามารถสัมผัสได้ถึง Toxic Masculinity ในบริบทต่างๆ ตั้งแต่ 3 อาทิตย์แรกของการทำงานแล้ว ซึ่งรับรู้ได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานและวัฒนธรรมองค์กร…การรีบบอกหรือ Call out ปัญหาแต่เนิ่นๆ ก็เพื่อไม่ให้ปัญหานั้นหยั่งรากลึก

แต่ทั้งนี้ HR ต้องกระตือรือร้นเป็นฝ่ายเข้าหาสอบถามพนักงาน เพราะหลายคนถูกกระทำจาก Toxic Masculinity แต่ไม่สามารถพูดออกมาได้ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น จัดชั่วโมงให้คำปรึกษาเป็นรายเดือนคุยทีละคน

Two people looking at a computer

Description automatically generated with low confidence

ในระดับปัจเจก ให้ทำการลิสท์คาแรคเตอร์ของ Toxic Masculinity ที่พบเจอ ก่อนจะ “ปฏิเสธ” แนวคิดนั้น แล้วลองทำตรงข้าม

  • ชายแท้ไม่ต้องเก็บกดอารมณ์อีกต่อไป มีปัญหาการทำงานอะไรก็ไปร้องไห้ปรึกษาเพื่อนร่วมงานได้
  • ชายแท้ไม่ต้องพูดจาโจ่งแจ้งเสมอไป หัดประนีประนอม รักษาหน้าอีกฝ่ายบ้างก็ได้
  • ชายแท้ไม่ต้องดื่มหนักหลังเลิกงานเสมอไป หมดเวลากลับบ้านไปหาครอบครัวเป็น Family Man ก็ได้

Toxic Masculinity ถือเป็นแนวคิดล้าหลังในองค์กรแห่งศตวรรษที่ 21 แล้ว ซึ่งถ้าองค์กรยังไม่ปรับเปลี่ยน ก็กลายเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมอันเป็นพิษนี้จากรุ่นสู่รุ่น และมีแต่ทำให้องค์กรด้อยคุณภาพ จนไม่มีคนเก่งไหนอยากมาทำด้วยในที่สุด

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง