Xiaomi ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่นวัตกรรมสุดล้ำในราคาเป็นมิตร

Xiaomi ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่นวัตกรรมสุดล้ำในราคาเป็นมิตร
  • Xiaomi ผงาดเป็นผู้นำตลาดในเวลาแค่ 10 ปี
  • รายได้ 1.3 ล้านล้านบาท กำไร 192,000 ล้านบาท
  • ในชีวิตประจำวันของเรา เริ่มมีสินค้า Xiaomi เข้ามาแล้ว

Xiaomi มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร? สู่นวัตกรรมไฮเทคในราคาแสนเป็นมิตร

กรุงปักกิ่ง 2010

Xiaomi ก่อตั้งขึ้นในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี 2010 นี้เอง โดยคุณ Lei Jun และเพื่อนระดับหัวกะทิอีก 6 คน 

โดยผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Lei Jun มีความฝันที่เปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เค้ามี Steve Jobs เป็นไอดอล ประทับใจความเก่งที่สร้าง “สมาร์ตโฟน” จนพลิกวงการเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว

เขาจึงมีความฝันมาตั้งแต่นั้นว่า อยากสร้างสมาร์ตโฟนที่ดีติดท็อปโลก…เพียงแต่มาในราคาที่ผู้คนส่วนใหญ่ “เข้าถึงได้” (Financially accessible)

A cell phone and a pen on a table

Description automatically generated with low confidence

Lei Jun จึงทาบทามเพื่อน 6 คนที่ทำงานอยู่บริษัทเทคโนโลนีชั้นนำของอเมริกา เช่น Google ให้มาร่วมทีม เรียกได้ว่า กลุ่มคนที่มาปั้นตั้งแต่จุดเริ่มต้นคือ Tech Elites ตัวท็อปของเมืองจีนทั้งสิ้น

  • ปี 2011 เปิดตัวสมาร์ตโฟนแรก “Xiaomi Mi1”
  • ปี 2014 มีสัดส่วนยอดขายสมาร์ตโฟนสูงที่สุดในจีน และคิดเป็น 94% ของรายได้ทั้งหมดบริษัท
  • ปี 2015 เริ่มต้นแตกไลน์สินค้าเครื่องใช้ภายในบ้าน
A picture containing indoor, kitchen appliance

Description automatically generated

เมื่อถึงปี 2020 ภายใน 1 ทศวรรษ Xiaomi กลายเป็นแบรนด์ระดับโลก พร้อมพนักงานทั่วโลกกว่า 22,000 คน

  • ปี 2017 รายได้ 517,000 ล้านบาท
  • ปี 2018 รายได้ 790,000 ล้านบาท 
  • ปี 2019 รายได้ 920,000 ล้านบาท
  • ปี 2020 รายได้ 1,300,000 ล้านบาท

จำนวนสมาร์ทโฟนที่ขายได้

  • ปี 2017 : 91 ล้านเครื่อง
  • ปี 2018 : 118 ล้านเครื่อง
  • ปี 2019 : 124 ล้านเครื่อง
  • ปี 2020 : 146 ล้านเครื่อง

ระบบ MIUI ในเครือตัวเอง มีผู้ใช้งานกว่า 450 ล้านคน/เดือน

Branding

Xiaomi เปิดตัวอัตลักษณ์แบรนด์อย่าง “Mi” สีส้มสดใส เรียบง่ายโมเดิร์น ย่อมาจาก “Mobile internet” และอีกนัยคือ “Mission Impossible”

A picture containing text, indoor, black

Description automatically generated

สีประจำแบรนด์คือ “สีส้ม” สะท้อนความรู้สึกใหม่ / ความคิดสร้างสรรค์ / กระปรี้กระเปร่า / เป็นกันเองเข้าถึงได้ ซึ่งตรงตามจริงกับสิ่งที่ผู้บริโภคสัมผัสได้จากสินค้าและบริการ

Xiaomi ยังได้สร้างฐานแฟนลูกค้าผู้จงรักภักดี อย่างเช่น “Mi Fan Festival” ที่เปิดตัวสินค้าใหม่ โปรโมชั่นพิเศษก่อนใคร และใช้เป็นพื้นที่รับสมัครงานเช่นกัน

นอกจากนี้หน้าร้านตัวเองอย่าง “Mi Store” ยังถูกออกแบบให้ดูโมเดิร์น สว่าง เรียบง่าย (นักวิเคราะห์บอกมีกลิ่นอายของ “Apple Store”)

สากกะเบือยันเรือรบ

Xiaomi สร้างความสำเร็จและโตมาจากสมาร์ตโฟนก็จริง แต่ต่อมาบริษัทสร้าง “นวัตกรรม” ด้านเทคโนโลยีชนิดที่เรียกว่าสากกะเบือยันเรือรบอย่างแท้จริง

ไม้จิ้มฟัน / นาฬิกาไฮเทค / กระเป๋าเดินทาง / รองเท้าวิ่ง / หูฟัง / ทีวี / ตู้เย็น / พัดลม / กาต้มน้ำ / เครื่องชงกาแฟ / เครื่องวัดความดัน / เครื่องดูดฝุ่น / เครื่องปรับอากาศ / เครื่องซักผ้า / เครื่องนวดหน้า / บริการสินเชื่อ / ปริ้นเตอร์ / สกู๊ตเตอร์ / รถยนต์ / รถเข็นเด็ก / โดรน…และอีกมากมาย ฯลฯ

A picture containing person, indoor

Description automatically generated

เพราะ Xiaomi มองตัวเองเป็นบริษัทเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสามารถนำไปผนวกเข้ากับ “อะไรก็ได้” ตามแต่จินตนาการและเท่าที่เทคโนโลยีไปถึง เราจึงเห็นนวัตกรรมที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันจาก Xiaomi

และเบื้องหลังที่ทำให้ Xiaomi มีผลิตภัณฑ์มากมายขนาดนี้ได้ ก็มาจากบริษัทที่ Xiaomi ไปเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับบริษัทต่างๆ

บริษัทเหล่านั้นไม่ได้แค่รับจ้างผลิต (OEM) และแปะแบรนด์ แต่ Xiaomi จะเข้าไปถือหุ้นด้วยเสมอ เกิดการสื่อสารภายในองค์กรและเกิด “Xiaomi Model” เป็นไปในทำนองเดียวกัน แถมอนาคตยังจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วย เช่น

  • Roborock – บริษัทผลิตหุ่นยนต์ทำความสะอาด
  • Yunmai – บริษัทเชี่ยวชาญเซนเซอร์ที่ใช้ในบ้านอัจฉริยะ
  • Huami – บริษัทผู้พัฒนานาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ
  • Yueli – บริษัทผลิตแปรงหวีผมไฮเทค
  • QiCYCLE – บริษัทผลิตจักรยานพกพาดีไซน์เก๋
  • Fiu – บริษัทผลิตถ้วยที่เข้ากับสรีระมนุษย์ (Ergonomic cup)
A picture containing person, outdoor

Description automatically generated

บริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่บริษัทเล็กๆ โนเนมเสมอไป บางบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq ของอเมริกาเลยทีเดียว

โดย Xiaomi ได้ร่วมพาร์ทเนอร์กับบริษัทเหล่านี้มากกว่า 100 บริษัทเข้าไปแล้ว ไม่แปลกเลยทำไมถึงมีผลิตภัณฑ์มากมายภายใต้แบรนด์เยอะขนาดนี้

ที่สำคัญ ทั้งหมดมาในคุณภาพดี /  ดีไซน์สวยโมเดิร์น / และราคาที่ชวนควักกระเป๋าตังค์จ่าย

ราคาเป็นมิตร

สินค้าส่วนใหญ่ของ Xiaomi “ถูกกว่าท้องตลาด” อย่างชัดเจน เช่น

  • เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi ราคาราว 7,000 บาท VS. เครื่องฟอกอากาศ Sharp ราคาราว 9,500 บาทหูฟัง Xiaomi ราคาราว 2,600 บาท VS. หูฟังไร้สาย Apple ราคาราว 9,500 บาท
  • สายรัดข้อมือ Xiaomi ราคาราว 1,300 บาท VS. สายรัดข้อมือ Garmin ราคาราว 5,600 บาท
Graphical user interface

Description automatically generated

เรื่องนี้มาจากปรัชญาการดำเนินธุรกิจตั้งแต่แรกว่า ทุกสินค้าของ Xiaomi ผู้คนต้องเข้าถึงได้ พอมีกำลังซื้อไหว รู้สึก “คุ้มค่า” ต่อเม็ดเงินที่เสียไป

Xiaomi อาศัยประโยชน์การผลิตจากในประเทศจีนเองที่ต้นทุนถูก และเป็นคำมั่นของ CEO ที่บอกต่อนักลงทุนว่า จะรักษาอัตรากำไรสุทธิบริษัทไม่ให้เกิน 5% เพราะต้องการชนะใจลูกค้า (ขณะที่ Apple อยู่ที่ราว 22%)

Xiaomi พิสูจน์แล้วว่า “ถูกและดี” มีอยู่จริง จนเกิดปรากฏการณ์ที่เริ่มเห็นแล้ว เช่น

  • ลูกค้าบางคน เริ่มใช้สมาร์ตโฟน Xiaomi แทน Apple
  • ลูกค้าบางคน เริ่มใช้เครื่องซักผ้า Xiaomi แทน Samsung
  • ลูกค้าบางคน เริ่มใช้ทีวี Xiaomi แทน Sony
  • ลูกค้าบางคน เริ่มใช้เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi แทน Sharp
  • ลูกค้าบางคน เริ่มใช้ที่หนีบผม Xiaomi แทน Dyson

ถึงวันนี้ Xiaomi ไม่ใช่แบรนด์กิ๊กก๊อกอีกต่อไป แต่ขึ้นแท่นแบรนด์ “ระดับโลก” ที่สื่อถึงคุณภาพและราคาที่คุ้มค่า

A picture containing text, electronics, black

Description automatically generated

และดูเหมือนว่า Xiaomi พร้อมแล้วที่จะก้าวสู่อนาคตต่อไป อย่างเช่นต้นปี 2021 บริษัทประกาศจะลงทุนกว่า 30,000 ล้านบาทในรถยนต์ไฟฟ้า และกลางปี 2021 ได้เข้าซื้อ Deepmotion บริษัทพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ

ในทุกยุคสมัย ย่อมมีบริษัทเกิดใหม่ที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ ดูเหมือนว่าในยุคนี้บริษัทนั้นจะชื่อว่า Xiaomi

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง