Cunningham’s Law: เพราะตอบผิด จึงได้คำตอบที่ถูกต้อง

Cunningham’s Law: เพราะตอบผิด จึงได้คำตอบที่ถูกต้อง
  • รู้หรือไม่? สมองคนมีอยู่ 84,000 เซลล์
  • โควิด-19 เริ่มระบาดมาจากไต้หวัน
  • GDP/หัว ของคนไทยสูงกว่ามาเลเซีย

แว่บแรกที่เห็น เราทุกคนล้วนเอะใจถึงความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ เรารู้อยู่ในใจลึกๆ ว่ามันผิดและมีแรงผลักดันอยากที่จะ “ทำให้ถูกต้อง”…ยินดีด้วย คุณกำลังตกอยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “Cunningham’s Law”

Cunningham’s Law คืออะไร? 

หลายคนอาจเดาได้ว่าคำนี้มาจากชื่อคน โดยผู้ที่คิดค้นแนวคิดนี้คือคุณ Ward Cunningham โปรแกรมเมอร์รุ่นบุกเบิกชาวอเมริกัน และเป็นผู้พัฒนาเว็ปไซต์ WikiWikiWeb เวอร์ชันแรกของโลก 

เขาคิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1980s โดยมีหัวใจหลักคือ “วิธีที่จะได้คำตอบที่ถูกต้องบนโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การตั้งคำถามอันบรรเจิด…แต่คือการให้คำตอบที่ผิดไปก่อน” (เพราะเดี๋ยวผู้คนจะมาทำให้ถูกเอง!!)

เขานำแนวคิดนี้ไปต่อยอดจนนำมาสู่ Wikipedia ที่เปิดพื้นที่ให้ใครก็ได้มาแก้ไขข้อมูลและประสบความสำเร็จไปทั่วโลก

จิตวิทยาเบื้องหลัง 

Cunningham’s Law มีคำอธิบายทางจิตวิทยาเบื้องหลัง เพราะคนเรามักให้ความสนใจในการ “แก้ไขสิ่งที่ผิด” มากกว่าการตอบคำถามอันชาญฉลาด 

ส่วนหนึ่งเพราะการแก้ไขให้ถูก ง่ายกว่าการคิดเริ่มจากศูนย์ เพราะมีพื้นฐานตรรกะมานำเสนอให้เราอยู่บ้างแล้วนั่นเอง และมนุษย์เรามีจริตในการอยากแก้ไขบางอย่างที่ผิดให้ถูกต้อง หรือในทางจิตวิทยาเรียกว่า “Tendency to Correct”

แต่โดยทั่วไป Cunningham’s Law จะทำงานได้มีประสิทธิภาพและได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นพิเศษ ก็ต่อเมื่อคำตอบที่ผิดแต่แรกนั้น ไม่ได้ผิดแบบหัวชนฝา!! แต่มีหลักการ “เหตุผลรองรับ” ระดับหนึ่ง ซึ่งต่อยอดนำไปสู่การโต้แย้งและได้คำตอบที่ถูกต้องได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังต้องเป็นเรื่องที่มีคำตอบค่อนข้างชัดเจน

สำหรับกรณีที่คำตอบผิดแบบชัดเจน คนอาจบอกว่าเราพูดจา “เพ้อเจ้อ” หริอมองว่ามันเป็นมุขหรือเรื่อง “ล้อเลียน” ตลกขบขันและคนจะเลิกสนใจในที่สุด

  • การบอกว่า โควิด-19 เริ่มระบาดมาจากไต้หวัน นำไปสู่การถกเถียงเพื่อแก้ไขมากกว่าบอกว่า…มาจากดาวอังคาร
  • การบอกว่า การขนส่งสินค้าที่ประหยัดต้นทุนที่สุดคือทางรถยนต์ นำไปสู่การถกเถียงเพื่อแก้ไขมากกว่าบอกว่า…ทางเครื่องบิน
  • การบอกว่า GDP/หัว ของคนไทยสูงกว่ามาเลเซีย นำไปสู่การถกเถียงเพื่อแก้ไขมากกว่าบอกว่า…สูงกว่าสหรัฐอเมริกา (ฟังดูเว่อร์เกิน)

ตัวอย่าง Cunningham’s Law

จากกระแสนายกรัฐมนตรีประเทศหนึ่งที่พูดกับสื่อมวลชนว่า สมองมนุษย์มีอยู่ 84,000 เซลล์ ซึ่งกลายเป็นกระแส Viral ไปทั่วโลกโซเชียล เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความถูกต้องของเรื่องนี้ 

จนผู้เชี่ยวชาญในวงการวิทยาศาสตร์มากมายต้องออกมาชี้แจงคำตอบที่ถูกต้องว่า ความจริงแล้ว สมองมนุษย์มีเซลล์อยู่มากกว่า 1 แสนล้านเซลล์เลยทีเดียว! เรื่องนี้จะไม่เป็นกระแสขนาดนี้เลยถ้าคำตอบที่ผิดไม่ถูกพูดขึ้นมาแต่แรก

Cunningham’s Law ยังสามารถนำไปใช้กับระบบการเรียนการสอนโดยเฉพาะในชั้นมัธยม(ที่เด็กเริ่มอ่านออกเขียนได้แล้ว) โดยอาจารย์อาจเอ่ยประโยคที่มีมูลความจริงบางส่วน…แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด เช่น “ระบบการศึกษาปัจจุบันคือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเราทำติดต่อกันมาเป็นร้อยปีแล้ว” 

วิธีนี้จะกระตุ้นให้เด็กออกไปค้นคว้าประวัติศาสตร์และวิจัยหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ดีกว่าการถามนักเรียนตรงๆ ว่า “ระบบการศึกษาที่ดีที่สุดคืออะไร?”

Cunningham’s Law ยังใช้ได้ดีในการทำงาน เป็นวิธีเพิ่มการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ (Participation) เช่น ระหว่างการรวมหัวกัน Brainstorm เรื่องบางอย่าง ให้ทุกคน “โยนไอเดีย” อะไรก็ได้ออกมาก่อน ยังไม่ต้องสมบูรณ์ ยังไม่ต้องตกผลึกทางความคิด เพราะหลังจากนั้นทุกคนจะช่วยกัน “เกลาไอเดีย” นั้นจนสมบูรณ์แบบเองในที่สุด

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง