Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว
  • ทำงานหนักแค่ไหน ก็ไม่มีปัญญาซื้อบ้านซักหลัง
  • สู้เต็มที่แล้ว แต่โลกเปลี่ยนเร็วเกินจนตามไม่ทัน
  • วิกฤติซ้ำซาก ทั้งเศรษฐกิจ-สังคม-โควิด ไม่ไหวแล้วนะ

นี่คือสิ่งที่ กลุ่มคนรุ่นใหม่-แรงงานที่พึ่งเข้าสู่ระบบ กำลังเผชิญหน้ากันอยู่ เกิดเป็นภาวะ “Early-Life Crisis”

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

เราพูดได้เต็มปากว่า “Early-Life Crisis” คือปรากฎการณ์ใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในรอบทศวรรษนี้ 

มันคือภาวะ “วิตกกังวล” ถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนและช่างมืดมัวเหลือเกินของ กลุ่มคนที่พึ่งเข้าสู่โลกการทำงานในช่วงอายุ 20 ต้นๆ และขยายวงกว้างไปถึงช่วงอายุ 30-35 (ก่อนถึง Mid-life)

A picture containing indoor, wall, person, computer

Description automatically generated

พวกเค้ากำลัง วิตกจริต / เหน็ดเหนื่อย / ท้อแท้ / เครียด / เศร้า / เหงา / เดียวดาย / ไร้ความฝัน…ล้วนเป็นขั้วอารมณ์ที่บั่นทอนศักยภาพแรงงานหนุ่มสาว และชี้ชะตาอนาคตของประเทศได้เลย

ที่ญี่ปุ่น หนุ่มสาวกลุ่มนี้เบื่อหน่ายชีวิตการทำงานที่หนักหนาและเคร่งเครียดของสังคมญี่ปุ่น ท้อแท้ถึงขั้น “เลิกทำงาน” ปล่อยวางทุกสิ่ง กลายเป็นกลุ่มคนที่สังคมเรียกว่า “NEET” (Not in Education, Employment or Training) เกิดค่าเสียโอกาสมหาศาล เพราะญี่ปุ่นยิ่งเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มตัวแล้ว

นี่เป็นสถานการณ์ที่กลุ่ม Baby Boomers อาจไม่เข้าใจ เพราะดังที่เราจะได้ทราบ…มีปัจจัยมากมายที่คนยุคนี้ประสบพบเจอ ซึ่งแตกต่างและหาไม่ได้จากยุค Baby Boomers ชนิดอยู่กันคนละขั้ว

ทำไมถึงเกิด Early-Life Crisis ขึ้นได้?

Early-Life Crisis มีหลากหลายสาเหตุทั้งภายนอก-ภายใน ควบคุมได้-ควบคุมไม่ได้ ซึ่งจุดชนวนให้เกิดความรู้สึกแสนสิ้นหวังนี้ในเวลาก่อนอันควร

อย่างแรกเลย เพราะ “เทคโนโลยีหมุนเร็วเกินไป” ของเดิมยังไม่ทันเก่ง ของใหม่มาให้เรียนรู้เพิ่มแล้ว แม้จะพยายามเรียนรู้พัฒนาตัวเองแค่ไหนแล้ว…แต่ก็ตามไม่ทัน 

ยุคสมัยก่อน เวลาทำงานมาได้ซักพัก เช่น 5-10 ปี คุณจะสั่งสมองค์ความรู้จนเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นตามอายุงาน (Established knowledge) 

แต่ปัจจุบัน เรื่องนี้ไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น Online Marketing ที่ต้องแข่งขันกัน “เรียนรู้อยู่ตลอด” 

และบางคนที่ดัน “ตกขบวนรถ” ไปแล้ว จะเกิดช่องว่างด้านทักษะและความรู้ (Knowledge gap) ที่ถ่างออกไปจนเชื่อมไม่ติด และเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะ “ตามทัน” 

A person sitting at a table with a computer

Description automatically generated with low confidence

ที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือ “การตัดสินใจ” ของพวกเค้าเอง ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเริ่มต้นการทำงาน บางคนดัน “เลือกเดินเส้นทางที่ผิดพลาด” เพราะขาดประสบการณ์และการวางแผน ทำให้ Career Path เส้นทางอาขีพของตัวเองไม่ก้าวหน้าตามที่หวัง

ส่วนหนึ่งเพราะก่อนหน้านี้ ไม่มี “แบบประเมินอาชีพ” ที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้ทำแบบสอบถามอย่างเข้าอกเข้าใจ

รวมถึงบริบทแวดล้อมต่างๆ

  • ไหนจะอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย ที่ฉายภาพเพื่อนฝูงที่ประสบความสำเร็จจนตัวเองน้อยเนื้อต่ำใจ
  • ไหนจะอิทธิพลโลกการทำงานในกระแสหลักที่สร้างมาตรฐานไว้สูง เช่น “ก่อนอายุ 30 คุณต้องมี 1-2-3-4” พอทำไม่ได้ก็รู้สึกล้มเหลว
A person sitting at a desk with the hands on the face

Description automatically generated with medium confidence

ประเด็นนี้อยู่ที่ระบบทุนนิยมเช่นกัน ในช่วง 3-4 ทศวรรษให้หลัง “ความเหลื่อมล้ำ” (Inequality) ได้ถ่างออกขนานใหญ่และต่อเนื่อง นายทุนชนชั้นนำมีแต่รวยขึ้น ส่วนชนชั้นกลางต้องทำงานเหนื่อยมากขึ้น ขณะที่คนจนมีแต่จนลง

อย่างเช่น “ราคาที่อยู่อาศัย” ตัวอย่างสุดโต่งคือที่ “ฮ่องกง” เรียกได้ว่าหนุ่มสาวชาวฮ่องกง…แม้จะทำงานหนักแค่ไหน ก็ไม่มีปัญญา “ซื้อ” ที่อยู่อาศัยได้ซักหลัง แต่ต้อง “เช่า” อยู่ตลอดชีวิต เพราะราคาพุ่งสูงเกินกว่าที่รายได้คนธรรมดาจะเอื้อมถึง

เมื่อซูมออกมาดูที่ “ภาพใหญ่” ระดับโลก จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมถึงเหตุภาวะนี้

Gen-Y ที่เกิดในยุค 90s ซึ่งปัจจุบันเข้าสู่วัยทำงาน (และอาจกำลังเผชิญกับ Early-Life Crisis) ได้ผ่านพ้นวิกฤติที่ถือว่า “ถี่” ที่สุดช่วงหนึ่งของโลก

  • ปี 1997 – วิกฤติต้มยำกุ้ง
  • ปี 2001 – เหตุการณ์ 911 ตลาดหุ้นร่วง
  • ปี 2008 – วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
  • ปี 2019 – โรคระบาดโควิด-19

นี่ยังไม่รวมถึงปัจจัยทางการเมือง หรือ กฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ที่สร้างข้อจำกัดในการเติบโตของเส้นทางอาชีพ

Chart, line chart

Description automatically generated

คุณ Morgan Housel ผู้เขียนหนังสือขายดีระดับโลกอย่าง The Psychology of Money เผยว่า เราทุกคนมีมุมมองทัศนคติด้านการใช้ชีวิต-การใช้เงิน ที่แตกต่างกันโดยแทบจะไม่สามารถเข้าใจกันและกันได้เลย เพราะพวกเราดันเกิดมาในคนละยุคสมัย ครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ต่างกัน ระบบการปกครองของประเทศต่างกัน ตลาดแรงงานต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมต่างกัน

เรื่องนี้สะท้อนมายังสังคมไทยได้ 

ทศวรรษ 1980-1990 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในเมืองไทย ขึ้นไปถึง 10%++ คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเงิน-การลงทุนเลยก็ได้ ขอแค่มีนิสัย “ประหยัดอดออม” แค่ฝากเงินในธนาคาร ก็ให้ผลตอบแทนถึงปีละ 10%++ แล้ว

แต่ปัจจุบัน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแทบไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ การจะให้เงินทำงานแทนเรา คุณจำเป็นต้อง “รอบรู้” ด้านการเงิน-การลงทุน: หุ้น / ตราสารหนี้ / อสังหาริมทรัพย์ / ทองคำ / คริปโต เพื่อให้ได้ผลตอบแทนปีละ 10% 

เมื่อสภาพการณ์ของโลกเป็นเช่นนี้ Early-Life Crisis จึงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในเมืองไทย แต่เกิดขึ้นในอีกหลายแห่งทั่วโลก

แล้วจะทำอย่างไร?

เรื่องนี้ไม่มีทางออกที่ง่าย ทางเดียวที่ทำได้คือเผชิญหน้ากับปัญหาใน “มุมมองใหม่ๆ”

จากเดิมที่มองว่าการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเป็นความเครียดและกดดัน ลองเปลี่ยนเป็นความ “สนุก” ที่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เอนจอยไปกับมัน และไม่ลืมที่จะ “โฟกัส” เรื่องที่สร้างประโยชน์ให้กับตัวเองที่สุด

A person sitting at a table with a computer

Description automatically generated with low confidence

ส่วนการตัดสินใจที่ผิดพลาดในช่วงแรกของการทำงาน ต้องรู้จัก “ให้อภัย” ตัวเอง อดีตผ่านมาแล้วแก้ไขไม่ได้ เราทำได้ดีที่สุดแค่ปัจจุบันและอนาคต ก่อนจะเริ่มต้นใหม่ “วางแผนเส้นทางชีวิต” อย่างรัดกุมมากขึ้น

เรื่องความเหลื่อมล้ำและวิกฤติเศรษฐกิจเป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ 100% แต่เรา “ควบคุมตัวเอง” ได้ เช่น

  • จากเดิมแบ่งเงิน 10% ของรายได้เป็น “เงินเก็บยามเกษียณ” ก็ให้เพิ่มเป็น 20%
  • แม้รายได้เพิ่มขึ้น แต่ลองค้นหาไลฟ์สไตล์ที่ทำให้คุณมีความสุขโดยไม่เสียเงินเพิ่มขึ้น
  • เปิดใจรับเครื่องมือการลงทุนใหม่ๆ เช่น ลงทุนในคริปโต หรือ ที่ดินในโลกเสมือน Metaverse
A picture containing person, beverage

Description automatically generated

Early-Life Crisis ถือเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างใหม่และเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลก เรายังไม่ค่อยมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์นัก 

แต่ถ้าเราตระหนักถึงประเด็นนี้ และหาทางรับมือ ก็น่าจะช่วยให้เข้าใจคนกลุ่มนี้-เข้าใจตัวเองได้มากขึ้น

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3nu7I7q

อ้างอิง