Mind-Healing เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น

Mind-Healing เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น
  • เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็นั่งสมาธิ 
  • แอปเพลงช่วยกล่อมนอนโตระเบิด
  • และสปาที่เต็มทุกที่หลังเปิดโควิด

ชัดขนาดนี้ ไม่ต้องสงสัยแล้วว่าเรากำลังอยู่ในยุคของ “Mind-Healing” เมื่อผู้คนเยียวยาจิตใจตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ไปแล้ว!

Mind-Healing: เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น

Mind-Healing ไม่ใช่แค่เทรนด์ในเมืองไทยหรือระดับภูมิภาค แต่เป็นเทรนด์ระดับทั่วโลก (Global trend) และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

ส่วนนึงเพราะ ผู้คนเหนื่อยล้าและเจ็บปวด(ทางกาย-ใจ) มาเยอะแล้วจากยุคโควิด-19 เมื่อได้สัมผัส Mind-Healing ซึ่งเป็นการเยียวยาใจที่ดีเลิศและผ่อนคลายสุดๆ ย่อมรู้สึก “ติดใจ”

นอกจากนี้ Mind-Healing ไม่ใช่การบริโภคครั้งเดียวแล้วหมดไปเหมือนการไปกินบุฟเฟ่ต์ แต่เป็นการ “เดินทางระยะยาว” ภายในจิตใจตัวเอง บางคนใช้เวลาหลายเดือน บางคนใช้เวลาหลายปี และบางคนอาจใช้เวลาหลายทศวรรษเลยทีเดียว

กิจกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจที่วนรอบ Mind-Healing จึงมี “มูลค่าสูง” และเกิดการ “บริโภคซ้ำ” เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง (เช่น เข้าสปาทุกอาทิตย์) และถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย

A picture containing person, indoor, bed

Description automatically generated

โดยมูลค่าอุตสหากรรมทั่วโลกที่เกี่ยวกับ Mind Healing ทั้งหมด เช่น สปา / การทำสมาธิ / การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นถึง 2 เท่าจากนี้

  • ปี 2019 มีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านเหรียญ
  • ปี 2027 คาดว่ามูลค่าจะโตไปถึง 9,000 ล้านเหรียญ

Mind-Healing เยียวยาใจเพื่อการงาน สังคม และจิตวิญญาณที่เติมเต็ม

Mind-Healing ย่อมมาคู่กับ Mindfulness โดยปัจจุบันมี “แอป” มากมายที่ช่วยสอนการนั่งสมาธิอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (เช่น Calm) มีจังหวะเสียงให้เราหายใจเข้าออก วิธีนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด โฟกัสกับปัจจุบัน จนไปถึงกระตุ้นความครีเอทีฟในหัว

A group of people sitting on the floor

Description automatically generated with medium confidence

Time Warner และ Sony เป็นอีกบริษัทระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานโดยเฉพาะกลุ่มผู้บริหารระดับสูง มีโปรแกรมดูแลด้าน “Executive Coaching” ให้กับผู้บริหารในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะ เพราะคนกลุ่มนี้ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดของงานที่ต้องรับผิดชอบ / การบริหารสมาชิกทีมที่มีความหลากหลายสูง / หรือความแตกต่างด้านวัฒนธรรมในทุกๆ เรื่อง

การเดินทางท่องเที่ยว “พักผ่อน” ในหลายรูปแบบก็เป็น Mind-Healing ตัวมันเอง ทั้ง Staycation ในเมืองที่ตัวเองอยู่ หรือไปพักผ่อนต่างจังหวัดในที่ที่ยังไม่เคยไป โดยเฉพาะอย่างหลังอาจกลายเป็น “Self-Discovery” การได้รู้จักตัวเองในอีกตัวตนนึง คุณอาจพึ่งรู้ว่าคุณชอบไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ แบบนี้ ชอบกินอะไรแปลกใหม่แบบนี้ ชอบไปสถานที่ใหม่ๆ แนวนี้

A picture containing tree, outdoor, mountain, plant

Description automatically generated

อีกเกร็ดความรู้คือ เมื่อพูดถึง Mind-Healing เราจะพูดถึง “Sleep economy” หรือ เศรษฐกิจของการนอนไม่ได้

เพราะการนอนหลับ คือการเยียวยากายใจทาง “ธรรมชาติ” ที่ดีที่สุด การนอนหลับอย่างมีคุณภาพช่วย “ปรับอารมณ์” ให้สดชื่นขึ้น ลดความเครียด มีกำลังใจขึ้น มองโลกในแง่ดีขึ้น

A person lying on her back

Description automatically generated with low confidence

และถ้าเรานอนไม่พอจะส่งผลเสีย “มหาศาล” ผลวิจัยใน 4 ยักษ์ใหญ่บริษัทสัญชาติอเมริกันพบว่า การนอนไม่เพียงพอส่งผลให้พนักงานเกิด Lost Productivity สูงถึงคนละ $3,500/ปี 

หากมองในสเกลใหญ่ขึ้น RAND Corporation สถาบันด้านการวิจัยชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานว่า การนอนหลับไม่เพียงพอ สร้างความเสียหายมหาศาลแก่เศรษฐกิจทั้งประเทศโดยรวม 

  • อเมริกา 411,000 ล้านดอลล่าร์ 
  • ญี่ปุ่น 138,000 ล้านดอลล่าร์
  • เยอรมนี 60,000 ล้านดอลล่าร์
  • อังกฤษ 40,000 ล้านดอลล่าร์

สุดท้ายแล้วมนุษย์เป็น “สัตว์สังคม”

ในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ที่ประชาชนมีสวัสดิการที่เลิศและมากพอจนสามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ถึงกับมีการออกมารณรงค์ให้คนแก่อย่าแยกไปอยู่คนเดียวตามบ้านพักคนชราเลย (ซึ่งมักแยกขาดจากสังคมภายนอก) แต่ให้มาใช้ชีวิตอาศัยในเมือง ได้พบปะเจอผู้คนที่หลากหลายทั้งเพศ / อายุ / เชื้อชาติ / ความคิด / ฐานะ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่หลากหลายในทุกๆ วันก็มอบ “ความสุข” อันเรียบง่ายให้คนเราได้แล้ว

A person sitting on a bench

Description automatically generated with medium confidence

ตัวอย่างง่ายๆ ของสัตว์สังคม สมมติว่าเราต้องนัดปาร์ตี้กับเพื่อนผ่านโลก Metaverse อันไฮเทค VS. นัดเจอเพื่อนกินอิซากายะ เชื่อว่าอย่างหลังจะมอบ “ประสบการณ์” ที่สุขสมกว่ามากชนิดที่แบบแรกเทียบไม่ติด

แบรนด์ประยุกต์ใช้ยังไงได้บ้าง? 

องค์กรอาจต้องเริ่มมองหา “Corporate Psychologist” นักจิตวิทยาประจำองค์กร ซึ่งใช้หลักการทางจิตวิทยามาผสมผสานเข้ากับกลยุทธ์การทำงานได้ทุกเรื่องในบริษัท 

โดยหน้าที่หลักที่เกี่ยวข้องกับ Mind-Healing จะครอบคลุมถึงการร่วมออกแบบสภาพแวดล้อมภายในออฟฟิศ / ทำงานกับ HR เพื่อหาพนักงานที่เข้าได้กับคนอื่นๆ ไม่เกิด Toxic / หรือทำงานกับ HR เพื่อออกแบบนโยบายด้าน Mental Well-Being ให้พนักงาน

Mind-Healing มักเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากการทำงานที่หนักเกินไป องค์กรต้องคิดหาทางทำยังไงก็ได้ให้พนักงาน “ทำน้อยแต่ได้มาก” เช่น

  • ถ้าเป็นงาน Productive ให้ทำที่บ้าน
  • ถ้าเป็นงาน Creative ถึงค่อยเข้าออฟฟิศมาระดมสมอง

แม้แต่ “เวลาเข้างาน” ก็ตาม เป็นไปได้ไหมที่จะให้พนักงานบางคนที่เป็น “นกฮูก” นอนดึกตื่นสาย มีสมาธิทำงานสูงสุดตอนกลางคืน ให้เข้างานสายกว่าคนอื่น

นอกจากนี้ องค์กรอาจต้องออกแบบนโยบาย “Mind Sharing” ที่ไม่ใช่แค่แลกเปลี่ยนไอเดียความคิดเห็น แต่เป็นการแลกเปลี่ยน “ความในใจ” แก่กัน นอกจากลดความเครียด ได้ระบายความอัดอั้นใจกันแล้ว ยังสร้างความ “ไว้เนื้อเชื่อใจ” (Trust) ให้เกิดขึ้นภายในทีมด้วย

A group of people sitting in a room

Description automatically generated

เพราะสุดท้ายแล้ว ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่ใครก็ตาม ลึกๆ ก็ต้องการ Mind-Healing ทางใดทางหนึ่งเพื่อเยียวยาใจตัวเอง

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง