Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”

Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”
  • สร้าง “เรื่องราว” แทนที่จะเป็น…ข้อมูลตัวเลข
  • ให้ “ความหมาย” แทนที่จะเป็น…คำอธิบาย
  • เร่งเร้า “อารมณ์” แทนที่จะเป็น…ตรรกะเหตุผล

ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนคือคาแรคเตอร์ของกับดักจิตวิทยาอันทรงเสน่ห์ที่เรียกว่า “Narrative Bias”

Narrative Bias: ถูกล่อลวงใจง่ายๆ ด้วย “เรื่องเล่า”

Narrative Bias คือกับดักจิตวิทยาที่มนุษย์ชอบทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ในรูปแบบ “เรื่องเล่า-เรื่องราว” พยายามหาความหมาย-ความเชื่อมโยงที่กระตุ้น “อารมณ์” 

A picture containing person, window, person

Description automatically generated

แต่เวลาสิ่งใดก็ตามถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวอันน่าติดตาม มันมัก “กลบ” ตัวแปรข้อเท็จจริงมากมายระหว่างทาง ซึ่งบ่อยครั้ง เป็นการบิดเบือนความจริง และนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด

ทำไมเรามักติดกับดัก Narrative Bias ได้ง่าย?

Yuval Noah Harari เผยว่า ทักษะหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารคือ ความสามารถในการ “ร่วมมือกัน” (Cooperation) 

แต่การจะไว้เนื้อเชื่อใจและร่วมมือกันได้นั้น ทุกฝ่ายต้องจับมือเห็นพ้องตรงกันเสียก่อน และวิธีที่มีประสิทธิภาพมาโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลก็คือ การสร้างเรื่องเล่า-เรื่องราว (Narrative Bias เกิดขึ้นมานานแล้ว)

A picture containing person, indoor

Description automatically generated

ตำนานเรื่องราวต่างๆ (Mythology) เกิดขึ้นก่อนปรัชญาหรือศาสนาด้วยซ้ำ ก่อนที่คนจะเริ่มคิดอะไรแบบวิทยาศาสตร์ (Think scientifically) พวกเขาเริ่มคิดแบบเรื่องเล่ามาก่อน เรื่องเล่าตำนานพื้นเพ เทพนิยายท้องถิ่น จึงล้วนเป็นสิ่งที่พบเจอใน “วัฒนธรรมทั่วโลก” มาตั้งแต่อดีตกาล 

Dan Ariely นักจิตวิทยาชั้นนำยังเผยว่า “สมอง” ของมนุษย์เราไม่ได้วิวัฒนาการ (Evolve) มาให้รับรู้เข้าใจตรรกะเหตุผล-ตัวเลข ได้ดีไปกว่า เรื่องเล่าที่อุดมไปด้วยอารมณ์แฝงและแรงผลักดันอันซับซ้อน 

เรื่องน่าทึ่งคือ ผลการสแกนสมองพบว่า สมองคนที่ได้รับรู้เรื่องเล่า…มีการทำงานแทบ “ไม่ต่าง” จากสมองคนที่ได้พบเจอประสบการณ์นั้นโดยตรงเลย!!

“มรดกตกทอด” นี้ยังอยู่อย่างแข็งแกร่งมาถึงปัจจุบัน ไม่แปลกที่ว่าทำไมบ่อยครั้งแล้ว การให้ข้อมูลความจริงใช่ว่าจะได้ผลเสมอไป หรือทำไมหนังสือ Fiction Book ถึงขายดีกว่าหนังสือ Non-Fiction Book เสมอมา ทั้งปริมาณ / มูลค่าตลาด / จำนวนผู้อ่านทั่วโลก

Text, letter

Description automatically generated

ตัวอย่าง Narrative Bias รอบตัวเรา

“กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว” (“Once upon a time.”) คือคำพูดเปิดเรื่องสุดคลาสสิกในหลายวัฒนธรรมเวลาเรื่องเล่าถูกหยิบนำมาใช้

ผักออแกนิกชนิดหนึ่งในซูเปอร์มาร์เก็ต ถูกแปะป้ายบรรยายท่อนหนึ่งว่ามาจากชาวสวนชื่อว่าคุณ xxx ซึ่งปลูกในจังหวัด xxx “…เขาคนนี้ฝันอยากเป็นชาวสวนมาตั้งแต่เด็กและทุกวันนี้ก็ทำสำเร็จ เขาชอบตื่นแต่เช้าตรู่มาดูแลพืชผัก มีความสุขที่ได้ทะนุถนอมมันทีละใบๆ โดยปราศจากการใช้สารเคมี และสุขยิ่งกว่าเมื่อรู้ว่าผู้บริโภคปลายทางจะมีสุขภาพที่แข็งแรงปลอดโรคภัยจากพืชตรงหน้าที่เขาปลูก”

การพรรณาบรรยายผักออแกนิกลักษณะนี้ ทรงพลังกว่าการปาข้อเท็จจริงสรรพคุณใส่อย่างเดียว

ในวงการสื่อสารมวลชน เวลาเกิดอุบัติเหตุ เช่น คนขับอยู่บนสะพานแขวนแล้วจู่ๆ สะพานเกิดถล่มลงมาทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก หลังเหตุการณ์ สื่อมักจะขุดคุ้ย “ประวัติบุคคล” ของผู้เคราะห์ร้ายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้: ชื่ออะไร / เติบโตมาจากไหน / กำลังมุ่งหน้าไปไหน / ทำงานอาชีพอะไร / มีความฝันอะไร

เรื่องราวแบคกราวน์ของแต่ละคน เรียกว่าแทบจะได้ “พื้นที่สื่อ” ไม่น้อยไปกว่าการสืบเสาะหาต้นตอสาเหตุของสะพานแขวนถล่มเลย

ในการพิจารณาซื้อรถยนต์ เพื่อนของคุณพึ่งมา “เล่า” ให้ฟังถึงความพิเศษของรถหรูยี่ห้อหนึ่ง ที่ขับไปไหนใครก็มอง / ขับไปจอดห้าง รปภ.ก็รีบวิ่งมาบริการ / ขับไปโรงแรมก็ได้จอดข้างหน้าทางเข้าพร้อมเดินลงรถอย่างสง่างาม 

เรื่องเล่าทำนองนี้กระตุ้นอารมณ์และ “จินตนาการ” ของคุณจนแทบจะมองข้ามปัจจัยอื่นๆ ไปเสียหมด และทรงพลังมากกว่าแค่การพูดว่า ดึงดูดสายตา เป็นที่สนใจ มีอภิสิทธิ์

A hand holding a small plant

Description automatically generated with medium confidence

ในวงการโฆษณา Google เคยผลิตหนึ่งในโฆษณาที่ถูกชื่นชมว่าดีที่สุดของแบรนด์ในงาน Super Bowl ด้วยคอนเซปท์ “Google Parisian Love” โดยโฆษณาเริ่มต้นด้วยการพิมพ์ค้นหาใน Google แบบต่อเนื่องราวกับให้เห็น “Timeline ชีวิต” ของชายคนหนึ่ง

  • เริ่มด้วยการเรียนต่อต่างประเทศสั้นๆ ที่ปารีส
  • คาเฟ่เก๋ๆ ในแต่ละย่าน
  • แปลภาษาชมคนอื่นว่าน่ารัก
  • วิธีจีบสาวฝรั่งเศส
  • วิธีบริหารความสัมพันธ์ทางไกลเมื่ออยู่ห่างกัน
  • การหางานในปารีส 
  • ตารางเที่ยวบิน
  • โลเคชั่นโบสถ์ที่ใช้แต่งงาน
  • และ…วิธีดูแลเตียงนอนเด็ก (พร้อมเสียงทารก)

เป็นการเปลี่ยนจากเรื่องฟังก์ชั่นการ “ค้นหาข้อมูล” อันแสนทื่อ ให้เป็นเรื่องราวเส้นทางชีวิตของคนๆ หนึ่ง

อ่านให้ออก รู้เท่าทัน Narrative Bias

แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกเรื่องเล่า-ทุกเรื่องราวที่จะใส่สีตีไข่บิดเบือนความจริงเสมอไป แต่เราก็ควรตระหนักไว้บ้างเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ 

ลองถามหา “ตัวเลข” หรือ “ข้อมูลความจริง” (Objective truth) ประกอบพิจารณาไปด้วย อย่าให้สุนทรี / ลีลาท่าทาง / ความสนุกตื่นเต้นของเรื่องเล่ามาครอบงำจิตใจเราอย่างเดียว

Graphical user interface, chart

Description automatically generated

หากเป็นไปได้ ควรปะทะเรื่องนั้นในด้านฟังก์ชั่นใช้งาน-ตรรกะเหตุผล ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะพลานุภาพของ Narrative Bias คือการเล่นที่ “อารมณ์” และเมื่ออารมณ์ถูก “จุดติด” ไปแล้ว ก็ยากที่จะดับลง

เราต้องพิจารณาทั้งตัวคนพูดและเรื่องราวนั้นให้ลึกกว่านี้

  • “ใคร” เป็นพูด?
  • มี “จุดประสงค์” เบื้องหลังอะไรแอบแฝงหรือไม่? 
  • “บริบท” เรื่องราวนั้นนำมาประยุกต์ได้มากแค่ไหน?

การตอบคำถามเหล่านี้ได้ จะช่วยให้เข้าใจภาพใหญ่ได้มากขึ้น และไม่ตกเป็นเหยื่ออันพราวเสน่ห์ของ Narrative Bias ได้ง่ายๆ อีกต่อไป 

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3GOoDJM

อ้างอิง