เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

คนเราเวลาทำงานอะไรไปก็มัก “เคยชิน” กับเรื่องเดิมๆ นานวันเข้า กลายเป็นการจมปลักอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาตัวเอง ไม่ได้เฟ้น “ศักยภาพ” ที่มีออกมาใช้

จะดีกว่าไหม? ถ้ามีเทคนิคช่วยกระตุ้นให้เราทำงานด้วยวิธีใหม่ๆ-แนวคิดใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองไปดูกัน…

1. ตั้ง (Almost) Impossible Deadline 

ความขี้เกียจเป็นธรรมชาติของคนเราอยู่แล้ว ยิ่งมีเวลามากในการทำอะไร เรามักปล่อยปละละเลยแล้วมาทำตอนใกล้หมดเวลา

เมื่อเป็นแบบนี้ ทางออกคือ ลดเวลาให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการตั้ง “(Almost) Impossible Deadline”

A picture containing ground, wooden, close

Description automatically generated

ซึ่งเราจะมี “เวลา” น้อยลง จึงเป็นการบีบบังคับให้ต้อง “เรียงลำดับความสำคัญ” (Setting priority) ไปโดยปริยาย เราจะโฟกัสเฉพาะงานที่สำคัญที่สุด และตัดที่ไม่สำคัญทิ้งไป กระบวนนี้ยังทำให้เราตระหนักด้วยว่า อะไรสำคัญ-ไม่สำคัญ

นักวิจัยยังเผยว่า ความเครียด(ในแบบพอดี) เป็นตัวกระตุ้น “ความคิดสร้างสรรค์” ให้เกิดได้อย่างน่าอัศจรรย์

A person sitting at a table with a computer

Description automatically generated with low confidence

นี่ยังเป็นวิธีที่ Steve Jobs ใช้ประจำสมัยยังบริหารอยู่ที่ Apple โดยเขาจะตั้ง “Impossible Deadline” เดตไลน์การทำงานที่(ดูเหมือน)ไม่น่าเป็นไปได้แก่ทีม

เรื่องเซอไพรส์คือ บ่อยครั้งที่ลูกทีมค้นพบ “วิธีการใหม่ๆ” จาก Impossible Deadline เพราะถ้าทำตามกระบวนการขั้นตอนเดิมๆ คงเสร็จไม่ทันแน่ จึงต้องเฟ้นหาวิธีใหม่ๆ นั่นเอง

สุดท้าย มันอาจนำไปสู่การยกระดับ “มาตรฐานการทำงาน” ให้สูงขึ้นไปในตัว

2. หา Tools เครื่องมือใหม่ๆ 

สมมติว่า แต่เดิมคุณจัดตารางงานของทีมใน Google Drive แต่พบว่าค่อนข้างสะเปะสะปะ ต้องใช้เวลาทำความรู้จัก หรือถ่ายโอนความเข้าใจให้เด็กใหม่ที่พึ่งรับเข้ามายาก 

สุดท้ายแล้วไม่ได้ส่งผลแค่ Productivity แต่รวมถึง Well-Being ในการทำงาน 

ซึ่งเรื่องนี้ความผิดอาจไม่ใช่คุณหรือทีมคุณซะทีเดียว…แต่เป็นที่ “ระบบ” ก็ได้

A picture containing text, electronics

Description automatically generated

บางทีอาจถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องทุ่มเงินลงทุน เริ่มมองหา “เครื่องมือใหม่ๆ” 

เช่น โยกย้ายตารางงานทีมทั้งหมดไปไว้ในแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมระดับโลกอย่าง “Monday.com” การันตีการใช้งานจากบริษัทระดับโลก เช่น Uber / eBay / BBC Studios

3. ตั้ง Gigantic Goal 

ความฝันที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมโอกาสความเป็นไปได้ที่ใหญ่และหลากหลายตามอย่างเลี่ยงไม่ได้

A picture containing text, red, device

Description automatically generated

ตัวอย่างเปรียบเปรยที่เรียบง่ายสุดๆ เช่น

ตั้งเป้าหมายไปแค่ “หน้าปากซอย” ห่างออกไป 500 เมตร ทางเลือกในการเดินทางของคุณ คงหนีไม่พ้น: เดินไป / ปั่นจักรยานไป / นั่งวินมอเตอร์ไซต์ไป

ตั้งเป้าหมาย “กรุงเทพ-เชียงใหม่” ทางเลือกในการเดินทางของคุณจะทวีคูณ คราวนี้คุณอาจ: ขับรถไป / นั่งรถตู้ไป / นั่งรถบัสไป / นั่งรถไฟไป / นั่งเครื่องบินไป

ความเป็นไปได้ และ สเกลความใหญ่ เพิ่มขึ้นชนิดเทียบกันไม่ได้เลย คุณย่อมเรียนรู้และได้ประสบการณ์จากการเดินทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ มากกว่า การออกไปแค่หน้าปากซอย

A picture containing spaghetti junction

Description automatically generated

นอกจากนี้ ความฝันที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมการวางแผนในระยะยาว และการ “เปลี่ยนพฤติกรรม” ตัวเองแบบถาวร เช่น เดิมทีคุณทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว แต่เมื่อมีความฝันที่ใหญ่ มีเรื่องให้ต้องเรียนรู้อีกมาก คุณจึงเปิดใจเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา

แม้จะไปไม่ถึงฝัน…แต่ก็ไปได้ไกลกว่าตอนที่ตั้งความฝันเล็กๆ เสมอ

  • ตั้งความฝันเล็กๆ ไว้ที่ 5…คุณอาจไปจบลงที่ 4
  • ตั้งความฝันยิ่งใหญ่ ไว้ที่ 10…คุณอาจไปจบลงที่ 7

4. Meaningful KPI

KPI เป็นมาตรฐานประเมิน Performance ของพนักงานรายบุคคล แต่ชีวิตจริงการทำงาน เราทำงานกันเป็นทีม มีสมาชิกหลายคน การกระทำของใครคนหนึ่งส่งผลต่อทั้งทีมได้ 

หลายองค์กรจึงเริ่มหันไปใช้ “OKRs” แทน ที่มองภาพรวมการทำงานของทีมมากกว่า (เป็นวิธีที่ Google ใช้มานานแล้ว)

OKRs ย่อมาจาก “Objective Key Results” เป็นการคำระหว่าง

  • Objective = ผลลัพธ์ปลายทางที่อยากให้เกิด (ตั้งไว้แค่ 1 ตัว)
  • Key Results = ขั้นตอนต้องมีอะไรบ้างเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ปลายทางที่ตั้งไว้ (ตั้งไว้ 3-5 ตัว)

เช่น Objective = ลด Bounce Rate ในหน้าบทความของเว็บไซต์ลงให้ได้ 20%

  • Key Result #1 = ใส่ Long-Tailed Keyword อีก 5 คำในบทความ
  • Key Result #2 = ใส่ภาพ Infographic สวยงามเพิ่มอีก 3 รูปในบทความ
  • Key Result #3 = ปรับปรุงเนื้อหา โดยเปิดประเด็นด้วย Pain Point 3 เรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านสนใจติดตามอ่านต่อ
A computer on a table

Description automatically generated with low confidence

เราจะเห็นว่า OKRs มีความเป็น “รูปธรรม” จับต้องได้ วัดผลได้มากขึ้นนั่นเอง

เพราะ “ศักยภาพ” ในการทำงาน บางทีไม่ได้จู่ๆ ก็ออกมาเอง แต่อาจต้องอาศัยกลไกเทคนิคบางอย่างเข้ามาช่วยกระตุ้นให้ไฟติด 

เพราะเมื่อไฟติดแล้ว…ก็พร้อมลุกลามไปทั่ว

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง