📰 บทความทั้งหมด

องค์กรรับมือการมาถึงของ Metaverse อย่างไรได้บ้าง?

องค์กรรับมือการมาถึงของ Metaverse อย่างไรได้บ้าง?

ตำแหน่งใหม่ – Metaverse Marketer สินค้าใหม่ – กระเป๋าหรูที่สัมผัสได้จริงในโลก Metaverse ทักษะใหม่ – การเข้าใจตัวตนลูกค้า ทั้งโลกจริง-โลกเสมือน นี่คือสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงมากในอนาคตอันใกล้กับโลกเสมือน “Metaverse” และองค์กรจำเป็นต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะตกขบวนและรู้ตัวอีกทีก็สายเกินไปแล้ว แล้วมีประเด็นไหนบ้างที่องค์กรต้องเริ่มคิดเตรียมตัว? เรามาวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กัน ตำแหน่งงาน ไม่ต่างจากยุคก่อนหน้านี้ ที่ “Online Marketer” คือตำแหน่งงานใหม่ในองค์กรเพื่อทำการตลาดในโลกออนไลน์ มาวันนี้…กำลังจะเกิดตำแหน่งงานใหม่ๆ ลักษณะเดียวกันขึ้นแล้ว ถ้า Traditional Marketing พัฒนาไปเป็น Online Marketing ได้ แล้วทำไม Online Marketing จะพัฒนาไปเป็น Metaverse Marketing ไม่ได้? แล้วเราควรมี “หลักคิด” อย่างไรในการคาดการณ์ หนึ่งในนั้นคือ ให้คิดต่อยอดจากตำแหน่งงานเดิมที่มีอยู่ แล้ว “เพิ่ม Metaverse” เข้าไป จากนักออกแบบแฟชั่น สู่ แฟชั่นในโลกเสมือน จากไกด์ทัวร์พาเที่ยว สู่ […]

Salience Bias: จุดเด่นเพียงเรื่องเดียว พาให้ตัดสินใจพลาด

Salience Bias: จุดเด่นเพียงเรื่องเดียว พาให้ตัดสินใจพลาด

ผู้หญิงถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO ในบริษัทวิศวกรรม นักลงทุนตกใจกับข่าว CEO ถูกพักงาน รถสวยมาก จนมองข้ามฟังก์ชั่นการใช้งานอื่น ซื้อผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่นเพราะแพกเกจจิ้งสวยๆ ล้วนๆ เรื่องราวต่างกัน แต่มีจุดร่วมหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ Salience Bias การถูกหลอกล่อเพราะจุดเด่นเพียงเรื่องเดียว Salience Bias คืออะไร?  เป็นภาวะที่ “จุดเด่นเพียง 1 เรื่อง” มีอิทธิพลอย่างมากในการ “ชี้นำ” ให้เราคิดหรือตัดสินใจบางอย่าง (ซึ่งมักเป็นการตัดสินใจที่ผิด)  คือสิ่งที่โดดเด่นในการรับรู้ เห็นง่าย เข้าใจง่าย ดู ‘เผินๆ’ เหมือนเป็นเหตุและผลของกันและกัน (แต่ความจริงแล้วไม่ใช่!) หลอกล่อให้เราคิด / เชื่อ / ตัดสินใจบางอย่าง…เนื่องจากคนเรามักมองข้ามสิ่งที่ไม่เด่นชัด-ที่เห็นได้ยาก หรือต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ Salience Bias เป็นกลไกลการทำงานของสมอง(และสายตา) ที่อยู่คู่กับมนุษย์เรามาช้านาน เพราะช่วยให้เรา “โฟกัส” สิ่งที่สำคัญที่สุด โดดเด่นที่สุด ต่างจากพวกที่สุด เช่น ลายสิงโตท่ามกลางทุ่งหญ้า / หลังจระเข้ในบ่อน้ำ / งูพิษบนต้นไม้…เป็นกลไกที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิตนั่นเอง คุณอาจปะทะกับจุดเด่นอย่าง […]

Healthier Work: ปลดล็อคการทำงานด้วยเคล็ดลับสุขภาพ

Healthier Work: ปลดล็อคการทำงานด้วยเคล็ดลับสุขภาพ

หายใจทางจมูกเท่านั้น ยืนทำงานแทนการนั่ง นอนกลางคืน-งีบกลางวัน กะพริบตาบ่อยๆ หลับตาเป็นช่วงๆ พบกับ Healthier Work ปลดล็อคศักยภาพการทำงานของคุณด้วยเคล็ดลับสุขภาพดีๆ เรารีบไปทำความรู้จัก “ข้อมูลเชิงลึก” เหล่านี้กันเถอะ  “ยืน” ทำงาน  มีแนวคิดการทำงานใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้พนักงาน “ยืนทำงาน” มากขึ้นแล้ว  Dr. Lopez Jimmenez นักวิจัยด้านโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเผยว่า การยืนทำงานช่วย “เผาผลาญแคลอรี่” ได้มากกว่าการนั่งทำงานถึง 0.15 แคลอรี่/นาที การยืนทำงานควรมาพร้อมโต๊ะยืนแบบปรับได้ (Flexible Standing Desk) และ “ตำแหน่ง” ก็สำคัญไม่น้อย ให้รักษาระยะห่างจากจอคอมราว 0.5 เมตร รวมถึงความสูงของจอคอม ต้องต่ำกว่าระดับสายตาราว 4-5 นิ้ว จะเป็นตำแหน่งที่ถนอมสายตาและไม่ทำให้ปวดเมื่อยหลัง-ไหล่ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ การรักษา “ความสมดุล” (Balance) ไม่ยืนทำงานนานเกินไป ไม่นั่งทำงานนานเกินไป แต่เปลี่ยนอิริยาบถการทำงานทุก ๆ 20-30 นาที ซึ่งจะรักษาสุขภาพได้ดีที่สุด (แถมไม่จำเป็นต้องลงทุนกับ […]

Fear of Regret: กลัวเสียใจภายหลังจากสิ่งที่ได้ทำลงไป

Fear of Regret: กลัวเสียใจภายหลังจากสิ่งที่ได้ทำลงไป

ถือหุ้นต่อไม่ยอมขาย…แม้จะขาดทุนเพิ่มขึ้นๆ ดื้อรั้นทำธุรกิจต่อ…แม้สถานการณ์ดูไม่มีอนาคตแล้ว ไม่ยอมบอกเลิก…ทั้งๆ ที่หมดรักเขาแล้ว นี่คือตัวอย่างของการกลัวความเสียใจ (Fear of Regret) ที่แทบทุกคนในแทบทุกวงการต้องเคยสัมผัสมาไม่มากก็น้อย  Fear of Regret คืออะไร? การกลัวเสียใจภายหลัง (Fear of Regret) เป็นความรู้สึกด้านลบที่นำไปสู่การรักษาสถานะปัจจุบันที่เป็นอยู่ (Status quo) ซึ่งหากวิเคราะห์ในเชิงตรรกะแล้ว อาจพบว่าไม่มีเหตุผลเท่าที่ควรเลย เป็นความรู้สึกที่ชวนให้เราจินตนาการถึง “ค่าเสียโอกาส” (Opportunity cost) เช่น ถ้าเลือกหุ้นตัวอื่นป่านนี้รวยไปแล้ว หรือ ถ้าเลือกคุยกับคนอื่นที่จริงจังกว่านี้ ป่านนี้อาจแต่งงานลูกสองไปแล้วก็ได้ จากตัวอย่างการถือหุ้นในมือที่เกริ่นไป เพราะการขายขาดทุน คือการยอมรับว่าตัวเอง “คิดผิดแต่แรก” ความกลัวนี้เองทำให้นักลงทุนดื้อรั้นถือต่อไป และหวังลมๆแล้งๆ ให้หุ้นขึ้น…ซึ่งเรื่องอื่นๆ ก็ล้วนมีแพทเทิร์นนี้เหมือนกันหมด Fear of Regret รอบตัวเรา ไม่มีอะไรจะทรงประสิทธิภาพมากไปกว่า “Last chance” โอกาสสุดท้ายอีกแล้ว เช่น “วันสุดท้ายแล้วที่สินค้านี้ลดราคา 80% พลาดแล้วพลาดเลย” ซึ่งกระตุ้นความไม่ make sense ของพฤติกรรมคนเราบางอย่าง […]

Sophisticated Consumers: เมื่อผู้บริโภค…คิดลึกกว่าที่คุณคิด!!

Sophisticated Consumers: เมื่อผู้บริโภค…คิดลึกกว่าที่คุณคิด!!

7-8 ปีที่แล้ว นทท.ไทยไปเที่ยว Tokyo พักที่อุเอโนะ ช็อปตึกม่วง ก่อนแวะกินราเมงข้อสอบ 7-8 ปีต่อมา นทท.ไทยไปเที่ยว Kiikatsuura พักโฮมสเตย์กับชาวญี่ปุ่น ช็อปผักสดในตลาด ก่อนแวะกินราเมงท้องถิ่นที่ไม่มีอยู่ในไกด์บุ๊ค นี่คือตัวอย่างที่เริ่มเห็นในหลายวงการแล้วของ “Sophisticated Consumers” เมื่อผู้บริโภคมองหาตัวเลือกอันหลากหลาย และ…คิดลึกซึ้งกว่าที่คุณคิด Sophisticated Consumers คืออะไร? ถ้าเราเปรียบเปรย “ผู้บริโภค 101” ว่าคือเด็กใหม่พึ่งเข้าวงการ รู้จักแต่ข้อมูลสินค้าพื้นฐาน อาจพึ่งทดลองใช้สินค้าบริการประเภทนั้นๆ…ก็ขอให้มองว่า Sophisticated Consumers คือ “ผู้บริโภครุ่นเก๋า” ที่อยู่ขั้วตรงข้าม Sophisticated Consumers คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีความ “รอบรู้” (Knowledgeable) ชำนาญการใช้เทคโนโลยีทุกรูปแบบอย่างเป็นธรรมชาติ (Digital native)  ลูกค้าประเภทนี้จะ พิจารณาซื้อสินค้าหลากหลายมิติ…ไม่ใช่แค่คุณภาพ-ราคา  ก้าวข้ามความแมส สู่ความแอดวานซ์-เอ็กซ์คลูซีฟ เป็นตัวของตัวเอง ไม่เอนเอียงไปตามกระแสหลัก ใช้ “สติ มากกว่า สตางค์” ต่อให้บางคนมีกำลังซื้อสูง ก็ใช่ว่าจะยอมจ่ายง่ายๆ แต่มักคิดแล้วคิดอีก […]

LEGO ปั้นองค์กรอย่างไร? ของเล่นเด็กที่อยู่รอดท่ามกลางโลกไฮเทค

LEGO ปั้นองค์กรอย่างไร? ของเล่นเด็กที่อยู่รอดท่ามกลางโลกไฮเทค

LEGO เป็นผู้ผลิตของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปี 2020 รายได้ 225,000 ล้านบาท กำไร 50,660 ล้านบาท ส่งมอบจินตนาการในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก เป็นของเล่นที่ประทับใจอยู่ในความทรงจำวัยเด็กของพวกเรา และยังอยู่รอดท่ามกลางเกมออนไลน์ของโลกยุคใหม่ได้อย่างสง่างาม LEGO มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? จุดเริ่มต้นแสนเรียบง่าย ปี 1932 ณ ประเทศเดนมาร์ก คุณ Ole Kirk Christiansen เป็นช่างไม้ที่ใช้เวลาว่างนำเศษไม้เหลือมาประดิษฐ์ประดอยเป็นสิ่งของต่างๆ นี่คือทักษะพื้นฐานสำคัญที่ในปีเดียวกันนั้น เขาได้ก่อตั้งโรงงานผลิตของเล่นตัวต่อที่ชื่อว่า “LEGO” ขึ้นมา โดยโฟกัสที่ตึกอาคารและเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน ต่อมา โรงงานผลิตตัวต่อที่ทำด้วยไม้เกิด “ไฟไหม้ใหญ่” จนวอดวาย นี่คือจุดพลิกผันที่ต่อมาเขาเปลี่ยนจากเลโก้ที่ทำด้วยไม้ ค่อยๆ ทยอยเปลี่ยนเป็นพลาสติกทั้งหมด ซึ่งมีข้อดีในระยะยาวกว่าแบบไม้ เช่น เหมาะกับการผลิตปริมาณมากๆ เชิงอุตสาหกรรม ออกแบบให้มีสีสันได้หลากหลายกว่า อายุคงทน ยืนยาวกว่า ปลอดภัยกว่า น้ำหนักเบากว่า บรรจุและขนส่งง่ายกว่า เมื่อตัวต่อมีความยืดหยุ่นในการออกแบบขึ้น เขาได้สร้างเลโก้รูปคนที่ต่อมาเรียกว่า “Minifigure” ในรูปลักษณ์หน้าตา ยูนิฟอร์ม และอาชีพอันหลากหลาย […]

Failure-turned Success: เพราะเคยผิดพลาดจึงสำเร็จในวันนี้

Failure-turned Success: เพราะเคยผิดพลาดจึงสำเร็จในวันนี้

รู้หรือไม่? คนสำเร็จระดับโลกหลายคนไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด แต่กว่า 84% สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาเอง (Self-made billionaire)  และถ้าเรามองให้ลึกขึ้น ระหว่างเส้นทางการสร้างอาณาจักรยักษ์ใหญ่ของพวกเขา ทุกคนล้วนเคยประสบกับ “ความล้มเหลว” มาแล้วทั้งสิ้น ยิ่งสำเร็จเยอะ ยิ่งเคยล้มเหลวเยอะ ความล้มเหลวเป็นเหมือนอีกด้านของความสำเร็จของพวกเขา เป็น “หยิน และ หยาง” ที่อยู่คู่กัน  น่าสนใจไม่น้อยว่า แล้วทำไมหลายคนถึงก้าวข้ามความล้มเหลวนั้นได้ในที่สุด สามารถฟื้นตัวลุกขึ้นมายืนใหม่…แถมสำเร็จมากกว่าเดิม!! บุคคลระดับโลกล้วนเคยล้มเหลว Bill Gates กลายเป็น billionaire ตอนเขาอายุ 31 หรือตรงกับปี 1986 แต่สิ่งที่หลายคนโดยเฉพาะ Gen Y เป็นต้นไปไม่รู้ (เกิดไม่ทัน) คือ Bill Gates เองก็เคยล้มเหลวมาแล้วเหมือนกัน  ช่วงทศวรรษ 1970s (ก่อนที่จะเริ่มต้น Microsoft) เขาได้เริ่มต้นสร้าง Traf-O-Data ขึ้นมาก่อนกับหุ้นส่วนธุรกิจอีก 2 คนในวัยไม่ถึง 20 ปี!!  Traf-O-Data เป็นแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลจราจรบนท้องถนนเพื่อส่งให้กับวิศวกรจราจรอีกที แต่เนื่องจากไม่มีความชัดเจนในโมเดลธุรกิจว่าจะเติบโตระยะยาวได้อย่างไร […]

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

ท่ามกลางกระแสแง่ลบที่เริ่มมีต่อการ Work From Home แต่การทำงานที่บ้าน (หรือที่ไหนๆ ก็ตาม) ยังคงมีแง่ดีที่ยากจะปฏิเสธ เราลองมาสำรวจมายาคติ (Myth) ทั้ง 7 ของการ Work From Home กัน…บางที มันอาจไม่ได้แย่อย่างที่หลายคนคิด 1. WFH ไม่ Productive เท่ามาทำที่ออฟฟิศ  Myth สุดคลาสสิกที่หลายคนยังเชื่อฝังใจ มักเกิดจากความคิดที่ว่า ถ้าหัวหน้าไม่คอยสอดส่อง ลูกน้องก็มักขี้เกียจอู้งาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงในที่สุด Mercer บริษัทที่ปรึกษาด้าน HR ทำการสำรวจบริษัทมากถึง 800 แห่งที่ให้พนักงาน WFH พบว่า “กว่า 94% การ WFH ไม่มีผลต่อความ Productive ในการทำงานอย่างมีนัยยะสำคัญเลย” อันที่จริง อาจเกิดขึ้นแค่ช่วงแรกๆ ที่พนักงานยังต้องปรับตัว แต่เมื่อทุกอย่างลงตัว พนักงานน้อมรับรูปแบบการทำงานใหม่ได้แล้ว (ซึ่งใช้เวลาไม่นาน) ประสิทธิภาพก็กลับมาเหมือนเดิม และมากกว่าเดิมด้วยซ้ำในบางช่วง การ WFH ไม่ได้แค่ประหยัด […]

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Warren Buffett หมดเวลาแต่ละวันไปกับการนั่งเฉยๆ และขบคิด Twitter จำกัดตัวอักษรเพียงน้อยนิดในแต่ละโพส นี่คือตัวอย่างของ “Less Is More” ทำในปริมาณที่น้อยลง แต่ กลับได้คุณภาพมากขึ้น ข่าวดีคือหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? จะเข้าใจปัจจุบันได้ เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ภาพใหญ่กันก่อน เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วที่โลกเราใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของการเติบโต (Growth) อย่างไม่สิ้นสุด แก่นของการเติบโตนี้ แทบไม่สนใจเลยว่าคุณทำได้ ‘มาก’ เท่าไร แต่สำคัญที่ว่าคุณทำได้ “มากกว่าเดิม” เท่าไร (โตขึ้นจากปีที่แล้วเท่าไร) ในศตวรรษที่ 19 GDP ของทั้งโลก ยังมีมูลค่าน้อยกว่า $1 trillion ปี 1985 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $12 trillion ปี 2015 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $75 trillion ปี 2025 GDP ของทั้งโลกคาดว่าจะอยู่ที่ […]

Firsthand Experience: ความคิดเปลี่ยนเมื่อได้สัมผัสด้วยตัวเอง

Firsthand Experience: ความคิดเปลี่ยนเมื่อได้สัมผัสด้วยตัวเอง

หลายครั้ง…การทำความเข้าใจ / อธิบาย / โน้มน้าวอีกฝ่าย วิธีที่ดีที่สุดไม่ใช่การพูด แต่เป็นการ…แสดงให้เห็นและ “สัมผัส” ด้วยตาตัวเอง  ไม่ใช่แค่ “รู้” แต่ต้อง “รู้สึก” เพราะการรู้สึกถึงอะไรจริงๆ เป็นระดับที่ “ลึกซึ้ง” กว่าแค่รู้-เข้าใจเฉยๆ ในด้านนามธรรม ยังนำไปสู่สัญชาตญาณ (Gut instinct) ที่รู้สึกอยู่ลึกๆ ว่าอันไหน “ใช่ หรือ ไม่ใช่” ซึ่งเป็นความรู้สึกที่สำคัญไม่แพ้ตรรกะเหตุผลในการตัดสินใจทางธุรกิจเลยทีเดียว ดังตัวอย่างต่อไปของ ”Firsthand Experience” ความคิดเปลี่ยน…เมื่อได้เจอของจริง Welcome Abroad ปี 1976 Allen Brady and March (ABM) คือเอเจนซี่โฆษณาเล็กๆ เจ้าหนึ่งที่พยายาม Pitch เพื่อให้ได้งานกับลูกค้าใหญ่อย่างการรถไฟอังกฤษ British Rail (BR) ในหัวข้อการปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กร แต่คู่แข่งมีหลายเจ้า รายอื่นๆ ล้วนมีแต่เจ้าใหญ่ในวงการ เช่น Saatchi & Saatchi…แล้วเอเจนซี่เล็กๆ […]

ZARA ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์แฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ZARA ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์แฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ZARA คือแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ปี 2019 มีมูลค่าแบรนด์กว่า 552,000 ล้านบาท กว่า 2,300 สาขา ใน 96 ประเทศ พนักงาน 152,000 คน จากร้านเสื้อผ้าเล็กๆ เริ่มต้นมาจากธุรกิจครอบครัว สู่ผู้บุกเบิก Fast Fashion ที่ประสบความสำเร็จระดับโลกเป็นเจ้าแรก ZARA มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร? คาแรคเตอร์เดิมที่อยู่มาถึงปัจจุบัน ZARA ก่อตั้งขึ้นในปี 1975 โดยคุณ Amancio Ortega เปิดสาขาแรกที่เมือง A Coruña ประเทศสเปน เริ่มแรก ZARA เป็นร้านเสื้อผ้าที่พยายามเลียนแบบเสื้อผ้า Hi-end จากแบรนด์แฟชั่นหรูชั้นนำที่กำลังได้รับความนิยมในท้องตลาด…แต่มาในวัสดุที่เรียบง่ายกว่า คุณภาพพอใช้ได้ และที่สำคัญ…ราคาถูกกว่ามาก!! จนคนทั่วไปสามารถหาซื้อเข้าถึงง่าย และทำให้ ZARA เริ่มมีชื่อเสียง Image Cr. bloom.bg/2UOCBIp เราจะเห็นว่า ZARA มีกลิ่นอาย “พรีเมียม & ทันกระแส” […]

Unintentional Brand Success: บางครั้งโชคก็อยู่ข้างเรา

Unintentional Brand Success: บางครั้งโชคก็อยู่ข้างเรา

Starbucks เขียนชื่อลูกค้าผิด Cornflake เกิดจากลืมทิ้งข้าวสาลีไว้บนเตา Salt Bae ดังทั่วโลกในข้ามคืนจากคลิปโรยเกลือ นี่คือตัวอย่างของ Unintentional Success ความสำเร็จที่ดูเหมือนมากับ “โชค” บ้างมาจากความผิดพลาด บ้างมาจากการละเล่นขำๆ…แต่กลับโดนใจผู้คนจนประสบความสำเร็จล้นหลาม  เรื่องนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับ Cunningham’s Law อยู่ไม่น้อย เพราะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะ “จับผิด” มากกว่า “จับถูก” อะไรที่ถูกสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว คนเรามักเฉยๆ แต่อะไรที่ผิดพลาด ฟังดูไม่สมเหตุสมผล เราจะ take action ทำอะไรซักอย่างกับมัน…ซึ่งสุดท้ายกลายเป็น “ได้รับความสนใจ” มากกว่าสิ่งที่ถูกต้องเสียอีก!! เราลองมาดูตัวอย่างของแบรนด์ / สิ่งประดิษฐ์ / ผู้คน ที่ประสบความสำเร็จชนิดที่เจ้าตัวเองก็ไม่คาดคิดกัน ตัวอย่างความสำเร็จที่มากับ “โชค”   Starbucks เขียนชื่อลูกค้าผิด นี่คือตัวอย่างที่คลาสสิกมาก บ่อยครั้งที่เวลาลูกค้าสั่งเครื่องดื่ม Starbucks แล้วบาริสต้าสอบถามชื่อเพื่อเขียนลงบนถ้วยและเรามักได้รับชื่อที่เขียน…เกือบถูก เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้น “ทั่วโลก” เกิดเป็น Viral ของ Starbucks อยู่บ่อยครั้ง เพราะชื่อที่ได้รับมักสร้างความขบขันให้แก่ลูกค้าผู้รับ และเป็นลูกค้าเองที่มัก […]