📰 บทความทั้งหมด

The Pratfall Effect: เสน่ห์ของความไม่เพอร์เฟกต์

The Pratfall Effect: เสน่ห์ของความไม่เพอร์เฟกต์

ดาราตัวท็อปทำตัวเปิ่นๆ แฟนคลับยิ่งกรี๊ด ผิดพลาดบ้างเล็กๆ น้อยๆ กลับดูเข้าถึงง่าย VW Beetle บอกทุกคนเลยว่าชั้นไม่เพอร์เฟกต์นะ เพราะไม่สมบูรณ์แบบ…จึงงดงาม ขอต้อนรับให้รู้จักกับ “The Pratfall Effect” The Pratfall Effect เรื่องที่ควรจะแย่…กลับกลายเป็นดี Elliot Aronson นักจิตวิทยาชาวอเมริกันจาก Harvard University เป็นผู้นิยาม The Pratfall Effect ว่า คนที่เก่ง-ฉลาด-แข็งแรง-หน้าตาดี…คนที่ “เพอร์เฟกต์” ไปเสียทุกอย่าง จะยิ่งน่าดึงดูดและน่าสนใจกว่าเดิม เมื่อพวกเค้าทำ “ผิดพลาด” เขาให้เหตุผลว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะ มนุษย์เราเปรียบเทียบกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา(ในระดับจิตใต้สำนึก) ถ้าเราดันเจอคนหรือแบรนด์ที่เก่งชนิด “คนละชั้น” เราจะรู้สึกเข้าถึงยาก / เป็นเรื่องไกลตัว / จนไปถึงกระตุ้นด้านมืดในตัวเอง เช่น ความอิจฉา แต่ถ้าคนๆ นั้นทำผิดพลาดบางอย่าง คนทั่วไปจะรู้สึกว่าเค้ามีความเป็นมนุษย์จับต้องได้ เข้าถึงได้ และดูเป็น “พวกเดียวกับเรา” (คนธรรมดาที่ไม่ได้เพอร์เฟกต์ไปทุกอย่าง) คนเหล่านี้จะมีแนวโน้มเปิดใจยอมรับ จนไปถึงเคารพศรัทธาได้เลยทีเดียว Elliot Aronson […]

McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก

McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก

McKinsey คือบริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลก รายได้กว่า 300,000 ล้านบาท พนักงานกว่า 30,000 คน ให้คำปรึกษาบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 90 จาก 100 บริษัท ในแทบทุกการตัดสินใจเชิงโครงสร้างของบริษัทชั้นนำของโลก…จะต้องมีชื่อ McKinsey เป็นที่ปรึกษาอยู่เบื้องหลัง  น่าสนใจไม่น้อยว่า McKinsey ปั้นองค์กรอย่างไร? ถึงมีอิทธิพลและได้รับความไว้วางใจมากขนาดนี้ จุดเริ่มต้นจากความไร้ประสิทธิภาพ McKinsey & Company ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1926 โดยศาสตราจารย์ James O. McKinsey จากอดีตที่เคยปรึกษากลยุทธ์ทางธุรกิจให้แก่องค์กร รัฐบาล และสถาบันชั้นนำต่างๆ ได้ผันตัวมาเปิดบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง เขาได้แรงบันดาลใจจากก่อตั้งบริษัทมาจากการเห็น ความไร้ซึ่งประสิทธิภาพ (Inefficiencies) ในการบริหารงานองค์กรมากมาย…แม้แต่องค์กรใหญ่ก็ตาม ด้วยสเกลที่ใหญ่ ความไร้ประสิทธิภาพจึงมีผลกระทบแง่ลบมากตามไปด้วย เขาจึงตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือตรงนี้ แรกเริ่มให้คำปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจโดยอิงจาก “หลักการทางบัญชี” (ผู้ก่อตั้งมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยตรง) มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาวิธีพัฒนาประสิทธิภาพองค์กร ก่อนจะขยายครอบคลุมไปอุตสาหกรรมอื่นๆ พร้อมกับการพัฒนาองค์ความรู้เชิงลึกเฉพาะทาง  จนก้าวขึ้นสู่บริษัทที่ปรึกษาเบอร์ 1 ของโลกในไม่กี่ทศวรรษต่อมา Only Top Talents […]

Abilene Paradox: ที่มาของการเออออ “ตามน้ำ”

Abilene Paradox: ที่มาของการเออออ “ตามน้ำ”

“ลึกๆ ไม่ OK หรอก แต่คนอื่นเห็นด้วยหมด ก็เลยตามน้ำไป” ตอบ YES! กลางที่ประชุม ทั้งๆ ที่ในใจตอบ NO! หัวชนฝา อาการที่ย้อนแย้งในการทำงานนี้เรียกว่า “Abilene Paradox” Abilene Paradox ที่มาของการ “ตามน้ำ”  Abilene Paradox คือสถานการณ์ที่พอเวลาตัดสินใจแบบ “กลุ่ม” เห็นด้วยไปในทางเดียวกันทุกคน…แต่เมื่อถามแยก “ทีละคน” อาจพบว่าแต่ละคนไม่เห็นด้วย!! ตัวบุคคล “ไม่เห็นด้วย” แต่เมื่อให้เสนอความเห็นแบบกลุ่ม กลับบอกว่า “เห็นด้วย” ทุกการตัดสินใจสำคัญมักต้องทำกันเป็นกลุ่ม เราจะเห็นว่า Abilene Paradox สามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่ได้ เร่งขยายสาขา…ทั้งๆ ที่หลายคน (ลึกๆ) ไม่เห็นด้วย จัดโปรลดแลกแจกแถม…ทั้งๆ ที่หลายคน (ลึกๆ) ไม่เห็นด้วย เซ็นสัญญากับซัพพลายเออร์รายใหม่…ทั้งๆ ที่หลายคน (ลึกๆ) ไม่เห็นด้วย ความย้อนแย้งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? มนุษย์เป็นสัตว์สังคมมาช้าเนิ่นตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ จึงมักคล้อยตามไปกับความเห็นส่วนใหญ่ของคนในสังคม (Social conformity) คนที่ […]

Brain-Based Learning: เรียนรู้ในแบบที่เป็นตัวเองที่สุด

Brain-Based Learning: เรียนรู้ในแบบที่เป็นตัวเองที่สุด

Brain-Based Learning เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ประยุกต์มาจากการสอนเด็กเล็กให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัย / เพศ / ครอบครัว / สภาพแวดล้อม  หรือกล่าวคือ เป็นการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ “สมองและพันธุกรรม” ของแต่ละคน เป็นการเรียนรู้ที่คุณจะรู้สึกได้เป็นตัวของตัวเองมากที่สุด บอกลา “กฎเกณฑ์ตายตัว” ที่ว่าคุณต้องทำแบบนั้น-แบบนี้ ซึ่งกักขังคุณให้อยู่ในกรอบที่ใครบางคนสร้างไว้ (คนสร้างไม่ได้ใช้…คนใช้ไม่ได้สร้าง) แล้ว Brain-Based Learning มีวิธีการอย่างไรบ้าง? เราลองไปดูตัวอย่างกัน คนสมาธิสั้น จากสายตาสังคมรอบข้าง มักมองว่าคนกลุ่มนี้เป็นพวกไม่เอาไหน “สมาธิสั้น” ไม่ให้ความร่วมมือ…แต่เปล่าเลย ร่างกายและสมองเขาถูกสร้างมาแบบนี้โดยกำเนิดต่างหาก สมองคนกลุ่มนี้ ไม่สามารถ “ฝืนทน” (Tolerance) กับการจดจ้องโฟกัสอะไรนานๆ (ที่นานเกินไป) แม้เค้าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี / อารมณ์ดี / หรือมีเครื่องมือตัวช่วยต่างๆ ก็ตาม (จริงอยู่ สมองมนุษย์โดยปกติจะเปิด-ปิดรับข้อมูลใหม่เป็นช่วงๆ อยู่แล้ว แต่คนกลุ่มนี้จะสั้นเป็นพิเศษกว่าคนปกติ) เทคนิคคือให้ทำสิ่งที่เรียกว่า “Brain Break” หยุดพักสมอง ครั้งละ 5 นาทีก็เพียงพอแล้ว (ถ้านานไป การเรียนรู้อาจ […]

Backfire Effect: เมื่อความจริง…ไม่ชนะเสมอไป

Backfire Effect: เมื่อความจริง…ไม่ชนะเสมอไป

“Global warming เป็นเรื่องโกหก” “คนจนเพราะขี้เกียจ ไม่ขยัน เอาแต่กินเหล้า” “ยอดขายตก เพราะวิกฤติเศรษฐกิจล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับสินค้า” แม้คุณได้รู้ข้อมูลความจริงอีกด้านแล้ว แต่ก็ยังดื้อรั้นเชื่อในชุดความคิดเหล่านี้ที่เข้าข้างตัวเองอยู่…คุณอาจติดกับดัก Backfire Effect เข้าให้แล้ว!! Backfire Effect เมื่อความจริงไม่ช่วยอะไรเลย เมื่อความคิด-ความเชื่อที่ฝังรากลึกของคุณ (Pre-existing belief) ถูกท้าทาย-วิพากษ์วิจารณ์ (หรือแม้แต่หักล้าง) ด้วยข้อมูลหลักฐาน “ความจริงใหม่”  แล้วคุณเกิดรับไม่ได้-เกิดต่อต้าน จนแทนที่จะเปลี่ยนความเชื่อ…แต่กลับหันหลังให้ และยิ่ง “จมปลักเชื่อ” ในสิ่งเดิม(ที่ผิด) นั้นเข้าไปอีก!!  …นี่คือคาแรคเตอร์ของ Backfire Effect ภาวะที่ความจริงไม่ช่วยอะไรเลย Backfire Effect อาจทำให้อีกฝ่ายที่พยายามโน้มน้าวคุณด้วยชุดข้อมูลใหม่ที่ถูกต้อง เกิดปฏิกิริยา “มองบน” เอิ่มมมม และทำให้ตัวคุณเองในฐานะผู้นำองค์กร ตัดสินใจผิดๆ จนอาจบานปลายทุกอย่างสายเกินไปแล้ว สาเหตุของ Backfire Effect? Backfire Effect เป็นอคติทางความคิดอย่างหนึ่ง (Cognitive bias) และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เป็นกลไกป้องกันตัวตามธรรมชาติของมนุษย์ และทำงานในระดับนอกจิตสำนึก (Subconscious […]

Forgive Yourself: เพราะมนุษย์ล้มเหลวกันได้

Forgive Yourself: เพราะมนุษย์ล้มเหลวกันได้

“ถ้าคุณยังไม่เคยล้มเหลว…คุณอาจยังพยายามไม่มากพอ” ต่อให้คุณพยายามแค่ไหน ย่อมต้องล้มเหลวกันบ้างซักครั้ง…ไม่ว่าจะล้มเหลวเพราะความผิดพลาดของตัวเอง หรือ ล้มเหลวเพราะแค่เป็นผู้แพ้ในเกมสนาม ในการวิ่งมาราธอนแห่งชีวิตและการทำงาน ไม่ช้าก็เร็วคุณต้องล้มลงไปกองกับพื้น ก่อนจะลุกวิ่งขึ้นใหม่ และหนึ่งในทักษะที่มาพร้อมกับการลุกขึ้นสู้ใหม่ คือการ “ให้อภัยตัวเอง” (Self-Forgiveness) อย่าเข้าใจผิด การให้อภัยตัวเองไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอ / การไร้ซึ่งความเป็นผู้นำ / หรือด้อยค่าตัวเอง  กลับกัน…มันคือทักษะที่ผู้นำยุคนี้ต้องมีติดตัวไว้ เพราะการยอมรับจุดตกต่ำของตัวเอง ก่อนจะพร้อมลุกกลับขึ้นมาใหม่ในที่สุด การจะให้อภัยคนอื่นได้…ต้องเริ่มจากให้อภัยตัวเองก่อน แต่อย่างที่เรารู้กัน การให้อภัยตัวเองเป็นเรื่องที่พูดง่าย-ทำยาก แล้วเราพอจะมีเคล็ดลับให้อภัยตัวเองยังไงได้บ้าง? สำนึกผิด Joe Moran นักประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรมจาก Liverpool John Moores University เผยว่า เวลาที่คนเราล้มเหลวและรู้สึกดำดิ่ง แนวทางกระแสหลักมักบอกให้คุณ ต้องคิดบวกเข้าไว้  สตรองเข้าไว้  นำความล้มเหลวมาเป็นบทเรียนสิ แต่หลายครั้ง พฤติกรรมนี้มัน “ไม่เป็นธรรมชาติ” ขัดต่อความรู้สึกลึกๆ ในใจ มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์…เราเศร้าได้ ร้องไห้ได้ ท้อแท้ใจได้ ด่านแรกสู่การให้อภัยตัวเอง กลับเป็นการซึมซับรสชาติความล้มเหลวนั้น บอกกับตัวเองว่าเราล้มเหลว เพื่อนำไปสู่การ “สำนึกผิด” (Guilt) เมื่อสำนึกผิด เราจะรู้ด้วยตัวเองว่า […]

Kodak ปั้นองค์กรอย่างไร? จากผู้นำตลาดสู่การล้มละลาย

Kodak ปั้นองค์กรอย่างไร? จากผู้นำตลาดสู่การล้มละลาย

ในอดีต Kodak เคยเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และแทบจะผูกขาดส่วนแบ่งทั้งตลาด แต่แล้วกลับถูกคู่แข่งแซงหน้า และถูก Disrupt ในที่สุดจนต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลายในปี 2012 ถ้ามองในมุมกลับ ก็น่าสนใจไม่น้อยว่า Kodak มีวิธีคิดและการปั้นองค์กรอย่างไร? ถึงพาบริษัทมาสู่ผลลัพธ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดเช่นนี้? จุดเริ่มต้นของ Kodak Kodak ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1888 คิดค้นนวัตกรรม กล้องถ่ายรูปแบบที่ใช้ฟิล์ม (Photographic film) มาตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำตลาดเรื่อยมา เมื่อถึงทศวรรษปี 1970s บริษัทก็มีส่วนแบ่งตลาดกล้องถ่ายรูปกว่า 80% จากทั่วโลก พร้อมพนักงานนับ 100,000 คน ยุคนั้นทุกคนคิดเหมือนกันว่า Kodak คงจะอยู่ไปอีกนานไม่มีวันล้ม Razor & Blades Business Plan ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ Kodak ใช้โมเดลธุรกิจที่น่าสนใจมากอย่าง “ใบมีดโกน” ชิ้นส่วนหลัก = กล้องถ่ายรูป / ราคาต่ำ / กำไรน้อย / ซื้อครั้งแรกจบ ชิ้นส่วนเสริม = ม้วนฟิล์ม […]

Challenging Assumptions: หรือว่าคุณคิดผิดมาตลอด?

Challenging Assumptions: หรือว่าคุณคิดผิดมาตลอด?

โลกแบน  ฝรั่งเป็นชาติพันธุ์ที่ฉลาดที่สุด คนจนเพราะเค้าขี้เกียจ Startups ที่ประสบความสำเร็จมักเป็นเด็กรุ่นใหม่ ตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ มีผู้นำและนักคิดหลายคนเลือกที่จะปฏิเสธความคิด-ความเชื่อเหล่านี้ จนนำไปสู่การค้นพบอันยิ่งใหญ่มาแล้ว นี่คือตัวอย่างความกล้าหาญในการ “Challenging Assumptions” ท้าทายชุดความคิดดั้งเดิมที่ถูกปลูกฝังมาเนิ่นนาน Challenging Assumptions ทักษะที่ผู้นำยุคใหม่ต้องมี  Challenging Assumptions เป็นความสามารถในการ “ท้าทาย” ชุดความคิดดั้งเดิมที่ผู้คนมักยึดถือปฏิบัติกันว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งแน่นอน…นั่นรวมถึงชุดความคิดในตัวคุณเองด้วย เป็นการกล้าเผชิญหน้ากับตัวตนอีกด้านนึงของคุณนั่นเอง Challenging Assumptions อยู่คู่กับมนุษย์มานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า “โลกแบน” ก่อนจะมีกลุ่มคนหยิบมือเดียวลุกขึ้นเสนอไอเดียต้านกระแสหลักว่า “โลกกลม” ซึ่งเปิดประตูไปสู่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์อีกมหาศาล สำหรับยุคปัจจุบัน Challenging Assumptions ถือเป็นทักษะที่ผู้นำยุคนี้ต้องรีบมีติดตัว เพราะโลกธุรกิจเกิดการ Disrupt ขึ้นในหลายอุตสาหกรรมในระดับรายปี(หรือรายเดือน!) การท้าทายชุดความคิดดั้งเดิมที่คุณมีอยู่จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสิ่งที่คุณคิดมันอาจล้าสมัยไป(นาน)แล้ว มันอาจเวิร์คเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แต่ตอนนี้ไม่เวิร์คอีกต่อไป จาก Fortune 500 บริษัทในปี 1955-2017 มีเพียง 60 บริษัทที่ยังคงอยู่ นั่นหมายถึง บริษัทระดับโลกในนี้กว่า 88% ต้องตัดสินใจผิดพลาดอะไรบางอย่างถึงหลุดตำแหน่งไป […]

Deep-Rooted Memory: เทคนิคการ “จำ” ให้ฝังแน่นในหัว

Deep-Rooted Memory: เทคนิคการ “จำ” ให้ฝังแน่นในหัว

ตัวเลข GDP ต่อหัว / ค่าแรงขั้นต่ำ / หนี้สินครัวเรือน Tax haven คืออะไร? มีกฎเกณฑ์เงื่อนไขอย่างไร? คำศัพท์ mischievous / ostentatious / surreptitious ประวัติศาสตร์ / ข้อกฎหมาย / กฎเกณฑ์ใหม่ๆ มีข้อมูลเกิดใหม่ในโลกธุรกิจแทบจะรายชั่วโมง(หรือนาที) ของเก่ายังไม่ทันรวบรวมได้หมด ของใหม่ก็เข้ามารอแล้ว นอกจากต้องทำความเข้าใจแล้ว ความสามารถด้านการ “จำ” ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นอีกทักษะที่ต้องมีไปแล้วในยุคนี้ จำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำได้ยืนยาว…และจำได้เร็ว! ขอแนะนำให้รู้จักเคล็ดลับการจำแบบ “Deep-Rooted Memory” ฝังแน่นในสมองที่น่าสนใจไม่น้อยและปฏิบัติกันในโลกธุรกิจ 1. ปล่อย มากกว่า รับ (Output > Input) มายาคติที่หลายคนเข้าใจผิดคือ อยากจำได้ฝังหัวต้องตั้งหน้าตั้งตาจำแต่สิ่งที่รับ (Input) เข้ามา แต่วิธีที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าเวิร์คกว่าคือ รับมาเท่าไรต้องปล่อย (Output) ออกไปมากขึ้นเท่านั้น 50% ของข้อมูลใหม่ที่รับเข้ามาจะถูกลืมใน 1 ชม. […]

False Analogy: ตรรกะวิบัติแต่แรก ก็จงบอกลาความสำเร็จ

False Analogy: ตรรกะวิบัติแต่แรก ก็จงบอกลาความสำเร็จ

เล่นหุ้น…ก็ไม่ต่างจากการพนัน บริหารบริษัท…ก็เหมือนกับการบริหารประเทศ นิ้วยังไม่เท่ากันเลย…แล้วจะให้คนเท่ากันได้อย่างไร หากคุณเห็นดีเห็นงามกับตัวอย่างเหล่านี้…ช้าก่อน เพราะคุณอาจตกหลุมพรางทางความคิดที่เรียกว่า False Analogy เข้าให้แล้ว!! กับดัก False Analogy False Analogy คือความหลงกลผิดๆ ที่ว่าหาก 2 สิ่งมีลักษณะบางอย่างคล้ายกันในเรื่องหนึ่ง…ก็น่าจะคล้ายกันในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดด้วย  ซึ่งสาเหตุหลักก็อาจมาจากการ “เหมารวม” (Stereotype) ที่ผสมผสานกับอคติส่วนตัวหรือชุดความรู้ที่มีอยู่นั่นเอง จนนำไปสู่ปรากฎการณ์ “ตรรกะวิบัติ” ฟังไม่ขึ้น หมดความน่าเชื่อถือ และในโลกธุรกิจ อาจหมายถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง เพราะมนุษย์มองอะไรเป็น “แพทเทิร์น” (Pattern) โดยหาจุดร่วมที่มีความคล้ายคลึง (Analogy) กัน ก่อนจะเชื่อมโยงมาสู่องค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งตั้งแต่ยุคโบราณมันช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้ง่าย ตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น ช่วยให้มีชีวิตรอดในธรรมชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โลกปัจจุบัน “ซับซ้อน” กว่าโลกยุคก่อนมาก มีตัวแปรที่เราต้องวิเคราะห์มากกว่าแบบเทียบกันไม่ติด การมองแพทเทิร์นแบบผิวเผินที่เคยเวิร์คในอดีต อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดในปัจจุบัน False Analogy ในเรื่องต่างๆ “การเล่นหุ้นก็ไม่ต่างจากการพนัน” จริงอยู่ ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ทั้งคู่ต่างกัน เพราะการพนันคือการเสี่ยงดวงล้วนๆ ขณะที่การเล่นหุ้นยังมีปัจจัยพื้นฐานบริษัทให้วิเคราะห์  การมี […]

Business Rivalry: บทเรียนจากเหล่าแบรนด์คู่ปรับตลอดกาล

Business Rivalry: บทเรียนจากเหล่าแบรนด์คู่ปรับตลอดกาล

Coca Cola VS. Pepsi Mercedes-Benz VS. BMW McDonald’s VS. Burger King บางครั้งแล้ว คนที่เราเรียนรู้ได้ดีที่สุด…ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่คือ “คู่แข่ง” ของเรานั่นเอง Business Rivalry บทเรียนจากแบรนด์คู่ปรับตลอดกาล ในมุมผู้ประกอบการ แบรนด์คู่ปรับเหล่านี้มอบ “บทเรียนทางธุรกิจ” ได้อย่างน่าทึ่ง ไหนจะกลยุทธ์การตลาด / การเสียดสีจิกกัด / หรือแม้แต่การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในมุมผู้บริโภค เรียกได้ว่ามีแต่ได้กับได้ เพราะการ “แข่งขัน” ทำให้เกิดนวัตกรรมหลายอย่างที่มีมรดกต่อทอดที่ผู้บริโภคใช้กันอยู่ถึงทุกวันนี้  เราลองไปสำรวจบทเรียนจากแบรนด์คู่ปรับตลอดกาลเหล่านี้กัน Coca Cola VS. Pepsi Coca Cola ก่อตั้งเมื่อปี 1892 Pepsi ก่อตั้งเมื่อปี 1893 นี่คือแบรนด์คู่ปรับตลอดกาลที่เผชิญศึกมานับครั้งไม่ถ้วนกว่า 100 ปี ทั้งคู่มีจุดกำเนิดมาจากผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์เหมือนกัน  แม้ทั้งสองแบรนด์จะเลือกเส้นทางเดินต่างกันในบางเรื่อง  Coca Cola เน้นสินค้า “เครื่องดื่ม” เป็นหลัก เช่น […]

Pfizer ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่วัคซีน Covid-19 ความหวังของคนทั้งโลก

Pfizer ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่วัคซีน Covid-19 ความหวังของคนทั้งโลก

Pfizer เป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ปี 2020 รายได้ 1.26 ล้านล้านบาท มูลค่าบริษัท 6 ล้านล้านบาท และล่าสุดผลิตวัคซีน Covid-19 ที่เป็นความหวังของคนทั้งโลก Pfizer มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? จุดเริ่มต้นอันเก่าแก่ Pfizer เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1849 โดยเภสัชกรชาวเยอรมัน นามว่า Charles Pfizer และญาติของเขา Charles F. Erhart ที่เป็นนักธุรกิจ  เดิมที เป็นเพียง “ร้านขายยาเล็กๆ” แห่งหนึ่งใน New York ด้วยความที่ผู้ก่อตั้ง เป็นเภสัชกรและมีความรอบรู้ด้านเคมีศาสตร์ ภายหลังได้คิดค้น “ยาถ่ายพยาธิ” (Antiparasitics) ได้สำเร็จเป็นยาแรกของบริษัท ซึ่งเป็นจังหวะที่ลงตัวมากๆ เพราะตอนนั้น โรคพยาธิลำไส้ (Intestinal Parasites) กำลังระบาดหนักตามเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ผู้คนเข้ามายังเมืองมากขึ้น (แต่น้ำประปายังไม่สะอาด / อาหารการกินไม่มีอนามัย / และระบบสาธารณสุขยังไม่มีประสิทธิภาพ) […]