📰 บทความทั้งหมด

Anchoring Effect: ปักใจกับข้อมูลแรก จนตัดสินใจพลาด
Starbucks นิยามไซส์ถ้วยกาแฟว่า Tall – Grande – Venti เพื่อที่จะไม่ถูกเปรียบเทียบกับ Small-Medium-Large ของ Café ที่เป็นที่รู้จักมาก่อน Louis Vuitton ข้ามสายไปจับมือกับ Supreme เพื่อให้มีภาพลักษณ์วัยรุ่นขึ้น เจาะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่ต้องการ ไข่มุกดำที่ไม่มีใครเห็นค่า กลับกลายเป็นของหรูหราเมื่อวางขายที่ Fifth Avenue ทุกสถานการณ์ที่กล่าวมานี้ มีกลไกจิตวิทยาหนึ่งที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง นั่นคือ “Anchoring Effect” Anchoring Effect คืออะไร? คือ พฤติกรรมที่คนเรามักปักใจเชื่อยึดติดกับ “ข้อมูลชุดแรก” ความรู้สึกแรก ความคิดแรกที่ได้รับ “มากเกินไป” จนมันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ(ผิดๆ)ของเราในที่สุด ปล. Anchoring แปลว่า “สมอเรือ” (ที่ใช้ยึดติดกับแผ่นดิน) 2 นักวิจัยอย่าง Amos Tversky และ Daniel Kahneman ทำการทดลองอันแสนเรียบง่ายแต่สะท้อน Anchoring Effect ได้ชัดเจนมากๆ พวกเค้าแบ่งผู้เข้าร่วมการทดสอบเป็น 2 […]

Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาท ปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาท มอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลก ทุกวันนี้เวลาเรานึกถึง Disney เรามักนึกถึง “ความสุข” ผ่านความทรงจำที่ได้รับจากสวนสนุกและจักรวาลสื่อบันเทิงของค่าย แต่เบื้องหลังเส้นทางการเติบโตกลับเต็มไปด้วยอุปสรรคตรงข้ามกับฉากหน้าที่เราเห็น กว่าจะมีวันนี้ Disney ผ่านอะไรมาไม่น้อย… Walt Disney The Walt Disney Company ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1923 โดยสองพี่น้อง Walt และ Roy Disney แต่ย้อนกลับไปในวัยเด็ก เส้นทางไม่เคยเรียบง่ายเลย แม้จะมีพรสวรรค์และความหลงใหลในการวาดรูปการ์ตูนมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่พวกเขาเกิดในครอบครัวที่ค่อนข้างขัดสน ต้องย้ายถิ่นฐานอยู่หลายครั้ง แถมต้องช่วยพ่อแม่ทำมาหากินหลังเลิกเรียนอยู่เสมอ เมื่อเป็นวัยรุ่นก็ต้องไปเข้าร่วมช่วยเหลือในสภากาชาดให้กับทหารอเมริกันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พอเข้าสู่วัยทำงานกลับพบเจอแต่อุปสรรคชวนท้อ ร่วมหุ้นกับพาร์ทเนอร์เปิดบริษัท Iwerks-Disney Commercial Artists แต่ด้วยความที่ยังหนุ่มและขาดประสบการณ์ด้านธุรกิจโดยสิ้นเชิง หาลูกค้าไม่ได้ รายได้ไม่เข้า ทำได้ไม่นานก็ต้องปิดตัวลง เข้าทำงานที่ Kansas City Film Ad […]

Loss Aversion: ยิ่งกลัว ยิ่งหนี ยิ่งเสียมากกว่าเดิม
หุ้นในพอร์ตติดลบ ตลาดมีแต่ขาลง…แต่ไม่กล้าตัดใจขายหุ้นทิ้งซักที อยากลาออกจากบริษัทไปเริ่มทำธุรกิจส่วนตัว…แต่ก็กลัวเจ๊ง แม้มีเหตุผลที่ควรทำแต่ก็ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวความสูญเสีย นี่คือหลุมพรางของมนุษชาติที่เรียกว่า “Loss Aversion” Loss Aversion คืออะไร? Loss Aversion คือ พฤติกรรมมนุษย์ที่มัก “หลีกเลี่ยงการสูญเสีย” มากกว่า พยายามเสี่ยงที่จะได้อะไรมา ผลวิจัยเผยว่า การสูญเสียทรงพลังกว่าการได้รับถึง 2 เท่า จึงทำให้คนเรามองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน และทำให้เราอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์มากกว่าคำชม (เพราะไม่อยากเสีย) Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และเป็นผู้ที่ร่วมนิยามทฤษฎีนี้ให้เหตุผลที่เรียบง่ายมากว่า “คนเราเกลียดการสูญเสียมากกว่าดีใจกับการได้มา” ที่เป็นเช่นนี้เพราะ คนเรา “ยึดติด” กับสิ่งของที่เรามี โดยเฉพาะถ้าสิ่งของนั้นเราเป็นคนทุ่มแรงสร้างมันมากับมือ เสียแรง-เสียเงิน-เสียเวลา (เข้าข่ายหลุมพราง The IKEA Effect) เราจะยิ่งเสียมันไปได้ยากยิ่งขึ้น เรื่องนี้มีที่มาที่ไป มนุษย์วิวัฒนาการมาในทุ่งหญ้าสะวันนา ความเป็นอยู่ของมนุษย์ยุคโบราณนั้นเปราะบางมาก ความผิดพลาดแบบซื่อบื้อเพียงครั้งเดียว อาจนำความตายมาสู่ชีวิตเราได้ทันที (สะดุดล้มระหว่างวิ่งหนีเสือ) คนที่รอดชีวิตคือคนที่ระมัดระวังภัย คนกลุ่มนี้จะรอบคอบสุดๆ มักไม่เอาตัวเองไปเสี่ยงอันตราย จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียทุกรูปแบบ…อุปนิสัยนี้จึงถูก “คัดเลือก” มา เพราะเมื่อคนกลุ่มนี้รอดชีวิต ก็มีโอกาสสืบพันธุ์และส่งต่อพันธุกรรมไปยังลูกหลานได้ในที่สุด วิวัฒนาการหล่อหลอมให้มนุษย์ […]

ชีวิตดีขึ้น 10 เท่า ด้วยการเลือกใช้ “คำ” ดีๆ
Sorry for the inconvenience VS. Please pardon our appearance เรียกพนักงานว่า Employees VS. Cast Members ขอเวลาซักครู่ VS. ขอเวลาแค่ 2 นาทีครึ่ง การเลือกใช้คำต่างๆ…อาจทรงพลังกว่าที่เราคิด Dan Ariely นักจิตวิทยาชาวอเมริกันบอกว่า แค่ชื่อคำที่เราเห็น อ่าน หรือได้ยินเพียงเสี้ยววินาที ก็มีอิทธิพลมากพอที่จะเกิดการ “ตีกรอบ” (Framing) เราไปในทางใดทางหนึ่งที่ชื่อคำนั้นต้องการแล้ว ไม่ว่าจะหรูหรา / ตลก / จิกกัด / ใจอ่อน / มีเกียรติ ฯลฯ ซึ่งสะท้อนไปสู่ความคาดหวังในสินค้าบริการของแบรนด้เลยทีเดียว เราลองไปดูตัวอย่างในแต่ละเรื่องกัน ว่าแค่การใช้ “คำ” ดีๆ ชีวิตก็ดีขึ้นได้มากแล้ว คำเรียกพนักงานองค์กร Disney เรียกพนักงานในสวนสนุกว่า “Cast Members” และเรียกลูกค้าผู้มาใช้บริการว่า “Guest” การเรียกแบบนี้ช่วยให้พนักงานระลึกอยู่เสมอว่าตนเปรียบเสมือนนักแสดงไปในตัว และ […]

Paradox of Choices: ลูกค้าไม่ซื้อเพราะตัวเลือกมากเกิน
มีกางเกงยีนส์ 10 แบบให้เลือก น่าจะดีกว่า 5 แบบ มีไอศครีม 20 รสให้เลือก ลูกค้าน่าจะชอบกว่า 4 รส เอาตัวอย่างสินค้าให้ลอง 10 ชนิด น่าจะดีกว่า 3 ชนิด ขอนำเสนอเยอะๆ ไว้ก่อน ลูกค้าจะได้มีตัวเลือก…หากคุณกำลังคิดแบบนี้ ระวังให้ดี มันอาจนำไปสู่ “Paradox of Choice” Paradox of Choice คืออะไร? Paradox of Choice เกิดขึ้นเมื่อ “ตัวเลือก” เยอะเกินจุดหนึ่ง มันจะย้อนกลับมาทำร้ายธุรกิจเรา ทำให้ลูกค้าเลือกไม่ถูก สับสน จนสุดท้ายไม่ซื้ออะไรเลยซักอย่าง Image Cr. bit.ly/3vJJwzY ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? Barry Schwartz นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง โดยการเปิดบูธให้ทดลองชิมเยลลี่ฟรี บูธวันแรกมีให้เลือกถึง 24 รส ลูกค้าสามารถลองชิมกี่ครั้งก็ได้ แถมได้ซื้อในราคาลดพิเศษ ปรากฎว่าคนเข้ามาดูบูธถึง […]

วันนี้คุณถามลูกค้า(จริงๆ!) แล้วหรือยัง?
หลายครั้งที่กลยุทธ์การตลาดอันหวือหวาที่ปล่อยสู่กลุ่มเป้าหมายกลายเป็นผลลัพธ์ที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะมาจากการระดมหัว “คิดวิเคราะห์กันเอง” ของเหล่าผู้เชี่ยวชาญในวงการ น่าเสียดาย แม้คนเหล่านี้จะเป็นคนเก่ง…แต่ไม่ใช่ “ลูกค้า” ที่เป็นผู้ใช้งานสินค้าบริการนั้นจริงๆ หวังว่า 5 เรื่องราวดังกล่าวนี้จะช่วยให้ทุกคนฉุกคิดได้ไม่มากก็น้อย ว่าสุดท้ายแล้ว การเจาะลึกหา “ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า” คือสิ่งที่คุณต้องทำและรับฟังมากที่สุด! 1. ลงทุนระยะยาว ด้วยการแต่งหน้าไปโรงเรียน คุณรวิศ CEO ศรีจันทร์เคยสารภาพว่า สมัยก่อนตอนจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ตัวหนึ่งที่เจาะกลุ่มเครื่องสำอางวัยรุ่น เค้าไม่เคยเข้าใจมาก่อนจริงๆ ว่า “ทำไมเด็กมัธยมผู้หญิงต้องแต่งหน้าไปโรงเรียน” Image Cr. bit.ly/3dDJm52 ตอนแรกเขาและทีม Marketing วิเคราะห์คร่าวๆ ว่า ก็น่าจะเป็นประสาวัยรุ่น เข้าวัยสาวก็อยากแต่งหน้า / เซลฟีในห้องเรียนลงโซเชียลทุกวัน / หรือบางทีเลิกเรียนแล้วอาจไปเดินเที่ยวกับเพื่อนๆ ต่อ แต่เมื่อไปสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายตัวจริงเสียงจริง คำตอบที่ได้ทำเขาและทีมงานอึ้งไปตามๆ กัน น้องๆ บอกว่า “มันเป็นการลงทุนระยะยาวค่ะพี่” พวกเธอเซลฟีในห้องเรียนลง Facebook เป็นประจำ ในอนาคตเมื่อโตขึ้นเข้ามหาวิทยาลัยและมีผู้ชายมาจีบ หนุ่มคนนั้นก็ต้องหาทาง “สืบ” ไล่ดูวิวัฒนาการหน้าตาน้องผู้หญิงคนนี้ แต่ถ้าหนุ่มคนนั้นเจอ “ภาพเก่า” สมัยก่อนในสภาพหน้าสดดูไม่ได้ […]

Survivorship Bias: ผู้ประสบความสำเร็จที่เห็นอาจเป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง
Mark Zuckerberg เป็น Billionaire ตั้งแต่อายุ 23 ปีจากการก่อตั้ง Facebook J.K. Rowling เป็นนักเขียนที่รวยที่สุดในโลกจากการให้กำเนิด Harry Potter เทรนด์ครัวซองต์บูม ยอดขายมาไม่หยุด กำไรโตระเบิด ใช้เงินแทบไม่ทัน ถ้าคุณกำลังรู้สึกหวือหวา ตื่นเต้น และเริ่มอยากลงมือทำในธุรกิจที่ได้ยิน…ช้าก่อน คุณอาจกำลังติดกับดักที่เรียกว่า “Survivorship Bias” Survivorship Bias คืออะไร? Survivorship Bias คือการที่เราได้ยินเรื่องราวธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจนอยากที่จะกระโดดเข้าไปทำ โดยหารู้ไม่ว่า สิ่งที่เห็นตรงหน้าอาจเป็นแค่ “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” เล็กๆ เสี้ยวเดียว (คนที่สำเร็จ) ที่ใต้มหาสมุทรเต็มไปด้วยซากปรักหักพังทับถมกันเป็นฐานภูเขา (คนที่ล้มเหลว) ในทุกสมรภูมิ “ผู้เสียชีวิต” มีจำนวนมากกว่า “ผู้รอดชีวิต” แบบเทียบกันไม่ติด แต่ผู้รอดชีวิตที่กลับมาเฉลิมฉลองในเมือง “เห็นได้ชัดเจน” (Visible) กว่าผู้เสียชีวิตที่ถูกทิ้งไว้ในสนามรบ ในโลกธุรกิจก็เช่นกัน บริษัทที่สำเร็จจะถูกโปรโมทพูดถึงไปทั่วโลก ข่าวตีพิมพ์ สื่อสัมภาษณ์ ถูกใช้เป็นโมเดลเพื่อการเรียนรู้ CEO ถูกเชิญไปพูดเสวนาสร้างแรงบันดาลใจ…เหล่านี้ทำให้เราเกิดภาพลวงตา จนประเมินความสำเร็จสูงเกินจริง ว่าถ้าเรา […]

ไอเดียปรับนิด-ปรับหน่อย จนยอดขายโตระเบิด
บางครั้ง การพลิกฟื้นธุรกิจจนกลับมาประสบความสำเร็จ ไม่ได้มาจากไอเดียสุดบรรเจิด นวัตกรรมล้ำหน้าแห่งอนาคต หรือเงินลงทุนมหาศาลแต่อย่างใด แต่เกิดจากการ “ปรับนิด-ปรับหน่อย” ของสินค้าบริการที่มี “อยู่เดิม” ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป / สร้างความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ / หรือขอแค่แก้ Pain Point ลูกค้าได้…ก็พอให้บริษัทกลับมาตั้งตัวยืนได้ใหม่แล้ว เรามาดูเรื่องราวทั้ง 5 ที่น่าสนใจนี้กัน 1. เบนโตะ ป้องกันโควิด ในยุคที่โควิดระบาดหนัก การทานข้าวกลางวันตามที่สาธารณะเป็นอะไรที่สุ่มเสี่ยงและผู้คนซีเรียสมากว่าละอองน้ำลายของเราอาจไปโดนคนอื่น…โดยเฉพาะคนญี่ปุ่นที่ขี้เกรงใจ ไม่ชอบสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น พลอยทำให้ร้านเบนโตะ (ข้าวกล่อง) ภายในสถานีรถไฟแห่งหนึ่งที่ญี่ปุ่นประสบปัญหายอดขายลดลงถึง 90% อย่างไรก็ตาม ร้านนี้ไม่ยอมแพ้ แต่ปรับสินค้าตัวเองให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป(ฉับพลัน) ด้วยการออกแบบแพกเกจจิ้งใหม่ โดยดีไซน์ให้เวลาแกะกล่องออกมาจะเป็น “ฉากกั้น 3 ด้าน” หุ้มใบหน้าของเราไม่ให้ละอองน้ำลายเล็ดลอดไปโดนคนอื่นข้างๆ Image Cr. bit.ly/31HQbgj วิธีเปิดนั้นก็ง่ายมาก ออกแบบมาให้เมื่อกางออกมาก็เป็นฉากกั้นทั้ง 3 ด้านทันที แถมยังมีการ “เจาะรู” ด้านข้างกล่องให้คน “สอดนิ้ว” เข้าไปได้ เพื่อให้ “ยกขึ้น” มากินประชิดหน้า […]

Confirmation Bias: มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!
เคยเป็นไหม? มองหาแต่หลักฐานที่มาสนับสนุนความคิด-ความเชื่อที่ฝังรากลึกของตัวเอง อะไรที่ไม่เข้าพวกก็ปัดทิ้ง ฟังผ่านๆ หรือทำเป็นไม่รับรู้ซุกไว้ใต้พรม ถ้าใช่ คุณอาจกำลังติดกับดักทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Confirmation Bias” อยู่ Confirmation Bias คืออะไร? ลองนึกภาพตาม มันคือการที่เรา “ปักธง” คิดหรือเชื่ออะไรไปก่อนล่วงหน้าแล้ว ก่อนจะรับข้อมูลเข้ามาและปรับแต่งให้ “ถูกจริต” กับความคิด-ความเชื่อของเรา เป็นการ “ย้ำคอนเฟิร์ม” นั่นเอง (พร้อมๆ กับปิดกั้นข้อมูลที่ขัดแย้งอยู่ขั้วตรงข้าม) ในกรณีที่เลวร้าย จะไม่ใช่แค่การรับข้อมูลเฉยๆ แต่เรามีแนวโน้มจะ “ค้นหา-เลือก” เฉพาะข้อมูลที่ถูกจริตกับเราเท่านั้น! เช่น “ข่าว” ที่เรามักเปิดเฉพาะช่องที่ให้ข้อมูลตรงกับเรา หรือ “อยู่ฝ่ายเรา” เท่านั้น Confirmation Bias เป็นได้ทั้งด้านบวก และ ลบ เหมือนกับการ “มองหาอะไร ก็ได้อย่างนั้น” คุณชอบนาย A เป็นทุนเดิม ก็มักเห็นแต่ด้านดีๆ ของเขา (ทั้งๆ ที่ด้านแย่ก็มีไม่น้อย) คุณไม่ชอบนาย B เป็นทุนเดิม ก็มักเห็นแต่ด้านแย่ๆ […]

5 Japanese Work Philosophies: โอบกอดปรัชญาการทำงานแบบญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก แบรนด์ญี่ปุ่นตีตลาดไปทั่วโลก สินค้าญี่ปุ่นก็มีภาพลักษณ์เป็นสินค้าคุณภาพดี น่าสนใจไม่น้อยว่า ผลลัพธ์อันน่าประทับใจเหล่านี้…อะไรคือเบื้องหลังปรัชญาการทำงานของคนญี่ปุ่น? 1. เก็นจิ เก็นบุตซึ【現地現物】 ออกไปพบปัญหาให้เห็นถึงหน้างาน! ลุกออกจากออฟฟิศอันโอ่อ่าแล้วเดินทางไปพบปัญหาถึงหน้างาน ไม่ว่าจะโรงงานการผลิต สถานที่วางจำหน่าย หรือสถานที่ใดก็ตาม การเจอปัญหาแบบเห็นกับตา นอกจากเราจะ “รู้” อะไรบางอย่างเพิ่มขึ้นแล้ว ยัง “รู้สึก” ถึงความทุกข์ยากลำบากของผู้ที่ประสบปัญหานั้น นำไปสู่ Empathy ความเข้าอกเข้าใจกันในองค์กรมากขึ้น คุณรวิศ แม่ทัพใหญ่แบรนด์ศรีจันทร์เผยว่า หน้าที่หลักทีม Marketing ของเค้าคือการ “เดิน”…เดินออกไปคุยกับลูกค้าเพื่อหาข้อมูลเชิงลึก ห้ามนึกทึกทักขึ้นเองในออฟฟิศ เพราะสิ่งที่ได้อาจบิดเบือนไปจากความจริง เดิมที เก็นจิ เก็นบุตซึ เป็นวิธีปฏิบัติที่เริ่มมาจาก Toyota ในยุคสมัยก่อนจนถูกนำไปใช้แพร่หลายในญี่ปุ่น เป็นเรื่องปกติที่ผู้บริหารญี่ปุ่น (โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม) จะเดินตรวจโรงงาน ใส่ชุดยูนิฟอร์มเหมือนพนักงานทั่วไป และทานอาหารในโรงอาหารร่วมกับพนักงานคนอื่นๆ ระหว่างการทำเก็นจิ เก็นบุตซึเพื่อหาต้นตอของปัญหา 2. ไคเซ็น【改善】 พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ไคเซ็นเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำให้ “ดีกว่าเดิม” ได้แม้จะทีละเล็กทีละน้อยก็ตาม เพราะเราอาจคิดว่าทุกอย่างดีพอแล้ว…แต่อันที่จริง มันอาจยังดีกว่านี้ได้อยู่ ไคเซ็นจึงนำเราไปสู่การใส่ใจรายละเอียด […]

Sunk Cost Fallacy: ธุรกิจล่มเพราะแพ้ใจตัวเอง
บริษัทเสียเงินไปหลายร้อยล้าน ทุ่มเวลาไปหลายปี…จะให้มายกเลิกแบบนี้หรือ? หนังไม่สนุก แต่ก็ทนดูต่อ เพราะเสียเงินซื้อตั๋วหนังไปแล้ว นี่คือตัวอย่างคลาสสิกของหลุมพรางทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Sunk Cost Fallacy” คือ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไงก็ตาม แต่ “ต้นทุน” นั้นจมไปแล้ว-จ่ายไปแล้ว-เสียไปแล้ว-ไม่มีวันได้คืน (Non-Recoverable Investment) แต่เราดันเอามันมาพิจารณาต่อในอนาคต (อนึ่ง ต้นทุนเป็นได้ทั้ง: เวลา / เงิน / ความรัก / แรงกายแรงใจ) ผู้บริหารที่ยึดติดกับแผนการดั้งเดิม มีแนวโน้มจะติดกับ Sunk Cost Fallacy CEO ที่ปั้นธุรกิจมากับมือมักมีแนวโน้มขยายธุรกิจต่อไปทั้งๆ ที่ไม่มีแววรุ่งก็เพราะ Sunk Cost Fallacy ทัศนคติแบบนี้ไม่เวิร์คเพราะมันไม่สอดคล้องกับโลกธุรกิจสมัยใหม่ที่อะไรๆ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ผู้บริหารต้องมีทักษะปล่อยวาง อะไรที่เจ๊งต้องรีบตัดทิ้งแล้วเริ่มใหม่ อย่าดันทุรังไม่ยอมเลิกเพราะแค่ลงเงินไปแล้ว Sunk Cost Fallacy ในชีวิตประจำวัน Sunk Cost Fallacy อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ตัวอย่างง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน คือเวลาไป “ดูหนัง” ถ้าเผอิญหนังเรื่องนั้นไม่สนุก […]

4 การเรียนรู้ สู่การพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืน
คงจะดีไม่น้อยถ้าเรามีนิสัยรักการพัฒนาตัวเองบางอย่างที่ทำแล้วองค์ความรู้จะอยู่กับเราตลอดไป แถมเป็นไลฟ์สไตล์ที่ประยุกต์ใช้ได้ไม่ว่าจะอายุแค่ไหน ทำงานสายอาชีพอะไร วันนี้จึงขอแนะนำให้รู้จักกับ “4 การเรียนรู้สู่การพัฒนาตัวเองอย่างยั่งยืน” 1. อ่านหนังสือ “ไม่มีนักคิดชั้นนำคนไหนบนโลกที่ไม่ใช่นักอ่านตัวยงในเวลาเดียวกัน” เพราะตัวอักษรเปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้อย่างเหลือเชื่อ ประโยคสั้นๆ บางจุดในหนังสืออาจเปลี่ยนมุมมองคุณที่มีต่อชีวิตไปตลอดกาล หนังสือที่เราอ่านจบแค่ 1 สัปดาห์ อาจใช้เวลาเขียน 1 ปี 10 ปี หรือแม้แต่ประสบการณ์ทั้งชีวิตของนักเขียนกลั่นกรองออกมาอยู่ในเล่มเดียว นี่จึงเป็นทางลัดที่สะดวกในการเรียนรู้เรื่องราวของคนอื่น Elon Musk อ่านหนังสือแบบยึดหลัก “คุณภาพ > ปริมาณ” โดยเรียงลำดับความสำคัญให้กับเรื่องที่ประยุกต์ใช้ได้จริง และมักรู้แบบปูพื้นฐานก่อนค่อยๆ ต่อยอดสู่ระดับแอดวานซ์ นอกจากนี้ เขาสามารถอ่านหนังสือสารานุกรม Encyclopedia Britannica ได้แล้วตั้งแต่ 8 ขวบ ด้านคุณปู่ Warren Buffet ยึดเลข “5” โดยอ่านหนังสือพิมพ์ชั้นนำวันละ 5 ฉบับ / อ่านรายงานบริษัทวันละ 500 หน้า / อ่านหนังสือให้ได้วันละ 5 ชั่วโมง สังเกตหรือไม่? […]