Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ
  • หลงตัวเอง คิดว่าตนพิเศษและเหนือกว่า พร้อมๆ กับดูถูกคนอื่น
  • ประกาศความสำเร็จของตัวเองอย่างโจ่งแจ้งเกินเบอร์
  • โหยหาอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ชนิดไม่อายใคร

นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Entitled Narcissism” ที่บางคนอาจเผลอพลั้งทำไปโดยไม่รู้ตัวเพราะสภาพแวดล้อมเป็นใจ

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

Entitled Narcissism คือพฤติกรรมที่ผู้นำเริ่มเกิดอาการหลงระเริงตัวเอง-หยิ่งยะโส ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางให้โลกทั้งใบต้องหมุนตาม

มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับความสำเร็จแรกแล้ว (Initial success) และใช้ผลงานนั้นปูทางสู่การเกทับผู้อื่นพร้อมๆ กับไต่ระดับขึ้นไป ซึ่งผู้นำบางคนอาจทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ย่อมสร้างความรู้สึกแง่ลบแก่ทีมและองค์กรในระยะยาวแน่นอน

A picture containing person

Description automatically generated

แล้ว Entitled Narcissism มีคาแรคเตอร์เป็นอย่างไร?

  • หยิ่งผยองในความเก่งของตัวเอง 
  • ให้ความสำคัญกับตัวเองมาเป็นอันดับ 1 
  • โหยหาอำนาจและเกียรติยศแบบออกนอกหน้า
  • มั่นใจในตัวเองเกินหน้าเกินตา 
  • ต้องคอยรักษาภาพลักษณ์ตัวเองให้ดีอยู่เสมอ 
  • ถ้าเอาเปรียบผู้อื่นแต่ตัวเองได้ผลประโยชน์…ก็จะทำ
  • ไร้ซึ่งความ Empathy

เรื่องนี้รายแรงเป็นพิเศษโดยเฉพาะวัฒนธรรมการทำงานบางประเทศที่เป็นแบบ Collectivism ให้ความสำคัญกับทีมมากกว่าตัวบุคคล ผู้นำคนที่โอ้อวดตัวเองจนเกินพอดี(แม้จะมีผลงานก็จริง) ลึกๆ พนักงานมักไม่ค่อยชอบ สุดท้ายจะนำไปสู่การขัดแย้งภายใน

ทำไมผู้นำบางคนถึงมีอาการ Entitled Narcissism?

คำอธิบายด้านวิวัฒนาการคืออันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจ มันเป็นสัญชาตญาณที่ฝังลึกอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน (โดยเฉพาะเพศผู้) ในการโอ้อวดศักยภาพตัวเองว่าเก่งกว่า มีความสามารถพิเศษบางอย่าง เพื่อไต่ระดับขึ้นเป็น “จ่าฝูง” (Alpha) ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงแหล่งอาหารและโอกาสผสมพันธุ์กับเพศตรงข้าม

นักจิตวิทยาด้านพฤติกรรม ยังให้เหตุผลเสริมว่า ต้องไม่มองข้ามว่าคนๆ นั้นมีประสบการณ์ชีวิต “เติบโตมาแบบไหน?” 

ถ้าโตมาในครอบครัวที่โหยหาความสำเร็จและสถานะทางสังคมราวกับเป็น DNA ไปแล้ว ก็มีแนวโน้มจะเป็นมากกว่า หรือถ้ามีแบคกราวน์การศึกษาในสถาบันชั้นนำ อาศัยอยู่ในย่านไฮโซของเมือง รายล้อมด้วยคนรวยด้วยกันเอง…ล้วนหล่อหลอมให้คนนั้นคิดว่าพิเศษกว่าคนอื่น

นอกจากนี้ ระบบทุนนิยมของโลกการทำงานมักให้ค่ากับคนที่มีคาแรคเตอร์ทำนองนี้มากกว่า

  • คนที่แสดงออกว่าแน่วแน่มั่นใจ (ไม่ลังเล)
  • คนที่ประกาศกร้าวถึงความสำเร็จตัวเอง (ไม่ถ่อมตน)
  • คนที่พูดเสียงดังฟังชัด (ไม่สุภาพเบาๆ)
  • คนที่มีบุคลิกภาพดุดัน เอาจริงเอาจัง (ไม่นอบน้อม)
  • คนที่ทะเยอทะยาน คิดการใหญ่ (ไม่ค่อยเป็นค่อยไป)
A person in a suit

Description automatically generated with low confidence

คนกลุ่มนี้มีโอกาสถูก Recognized และได้รับการพูดถึงมากกว่าในเวทีกระแสหลัก ท้ายที่สุด อาจพัฒนาไปเป็น Entitled Narcissism ได้ง่ายกว่า

กรณีหลังนี้ กลุ่มคนที่เข้าข่าย Entitled Narcissism อาจไม่ได้ทำเพราะเป็นตัวตนที่แท้จริงของเค้า แต่จำใจทำไปเพราะรู้ว่ามัน “เวิร์ค” จำเป็นต้องแสดงออกแบบนี้ เพราะผู้คนให้ Value แบบนี้

ตัวอย่างพฤติกรรม Entitled Narcissism

ผู้นำที่เวลาทำอะไรต้องรู้สึกว่า “เหนือกว่า” (Superiority) ผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งนั่นรวมถึงสมาชิกทีมที่ร่วมทำงานมาด้วยกัน ต้องได้รับเครดิตพูดถึงก่อน ต้องมีอำนาจตัดสินใจ

A person sitting at a desk with a computer and a microphone

Description automatically generated with medium confidence

ในบางบริบท ยังเป็นการเปรียบเทียบต่อสู้ระหว่างผู้บริหารด้วยกันเอง ซึ่งลงลึกได้ถึงการทำงานในชีวิตประจำวัน เช่น 

  • ผู้บริหาร A เลี้ยงกาแฟ Amazon พนักงานทุกคน
  • ผู้บริหาร B เห็นแบบนั้นแล้ว “ยอมไม่ได้” ต้องโชว์ให้เหนือกว่า จึงสั่งเลี้ยงกาแฟ Starbucks (ซึ่งมีราคาสูงกว่าเป็นเท่าตัว) แก่พนักงานทุกคนเกทับซะเลย

หรือการทำงานที่หัวหน้าโหยหาการเชิดชู “สรรเสริญ” จากบรรดาลูกน้อง

  • อ้างอิงถึงความสำเร็จของหัวหน้า
  • คุณงามความดีจากผลงานที่หัวหน้าได้ทำไว้ให้
A group of people looking at a computer

Description automatically generated with medium confidence

และกรณีคลาสสิกคือ การที่พนักงานมี Bad Employee Experience จากการทำงานบางอย่าง แม้จะไปชี้แจงปัญหานี้แล้ว แต่ผู้นำหลงตัวเองกลุ่มนี้มักจะไม่มีอารมณ์ร่วม เพิกเฉยความรู้สึกของพนักงาน (Emotionally neglectful) มักเป็นแค่การ “รับเรื่อง” แต่ไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนหนึ่งเพราะ ไม่มีทักษะ Empathy ที่จะพยายามเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายนั่นเอง

วิธีป้องกัน Entitled Narcissism

เปลี่ยนได้ที่วัฒนธรรมองค์กร ให้ความสำคัญกับ “ผลงานของทีม” โดยปกติแล้ว Project หนึ่งมักมีสมาชิกทีมช่วยกันทำหลายคน องค์กรอาจต้องกลไกเพื่อเช็คว่า พนักงานแต่ละคนทำรายได้ให้องค์กรคนละเท่าไร (Effective Revenue Generation) เพื่อลดบทบาทการยกความดีความชอบให้กับหัวหน้าทีมคนเดียวเวลางานสำเร็จ

A group of people sitting around a table with laptops

Description automatically generated with medium confidence

กรณีที่อาการนี้พึ่งเริ่มต้น สามารถ “ตัดลมแต่ต้นไฟ” โดยการเรียกประชุมรวมและพูดเปิดอกแบบตรงไปตรงมา วิธีนี้ค่อนข้างอึดอัดใจและมีความเสี่ยงผิดใจกัน แต่ย่อมดีกว่าปล่อยทิ้งไว้รอวันบานปลาย

ถ้าอาการนี้เลยเถิดจนกลายเป็น Toxic ในองค์กร อาจต้องให้ผู้บริหาร-ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เรียกมาพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติ ก่อนจะกระทบบรรยากาศการทำงานของคนอื่นๆ จนนำไปสู่การไม่ให้ความร่วมมือและลาออกในที่สุด

เพราะโลกการทำงานแข่งขันกันสูง มีลักษณะชิงดีชิงเด่น มือใครยาวสาวได้สาวเอา Entitled Narcissism จึงอาจเป็นผลผลิตหนึ่งที่มาจากระบบนี้โดยไม่ตั้งใจ แต่ถ้าเรารู้ตัวแล้ว ก็ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อการทำงานที่ราบรื่นและปฏิสัมพันธ์เชิงบวกแก่ทุกฝ่าย

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง