Stakeholder Capitalism ยุคนี้ “P” Planet สำคัญสุด!

Stakeholder Capitalism ยุคนี้ “P” Planet สำคัญสุด!

พวกเราหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี “Shareholder Capitalism” แนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นในยุค 1980 บรรดา CEO บริษัทใหญ่ต่างมุ่งเน้น “กำไรสูงสุด” แก่องค์กรและผู้ถือหุ้น (พร้อมๆ กับผลตอบแทนของเหล่า CEO โดยเฉพาะอเมริกันที่โตแบบก้าวกระโดด)

แนวคิดนี้เป็นเชื้อเพลิงที่นำไปสู่การเกิด Globalization โลกาภิวัฒน์ขึ้นทั่วโลก บริษัทข้ามชาติบินไปลงทุนในอีกซีกโลกหนึ่ง(รวมถึงไทย) หาตลาดแรงงานราคาถูก หาแหล่งตั้งโรงงานผลิตสินค้า

เดากันได้ เหตุการณ์จากนี้เกิดการกอบโกยทำทุกวิถีทางเพื่อทำกำไรสูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น กดขี่แรงงาน กดค่าแรง ใช้แรงงานผิดกฎหมาย เช่นที่ อินเดีย บังคลาเทศ 

ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษ น้ำเน่าเสีย ตัดไม้ทำลายป่า…โลกและคนเริ่มถูกทำร้ายอย่างกว้างขวาง

แต่ยุคนั้นหลายประเทศทั่วโลกเอาเศรษฐกิจมาก่อน สิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องรอง Shareholder Capitalism จึงเป็นแนวคิดกระแสหลักที่ดำเนินไปอีกหลายทศวรรษ

ถึงวันนี้เรารู้แล้วว่าสังคมและโลกของเราบอบช้ำมากแค่ไหน จึงเริ่มเกิดแนวคิดที่ต้านกระแสหลักนี้ซึ่งมีชื่อว่า “Stakeholder Capitalism” 

Stakeholder แปลว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” แนวคิดทุนนิยมนี้ก้าวไกลไปกว่าการมองแค่ตัวบริษัทและผู้ถือหุ้น แต่มองครอบคลุมไปถึง “สังคมผู้คนและโลก” ใบนี้ของเรา

เป้าหมายคือสร้าง “คุณค่า” ที่มีความหมายสูงสุดแก่ทุกฝ่ายโดยรวม ไม่ใช่สร้างตัวเลขกำไรให้เร็วและเยอะที่สุดแก่ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนเหมือนแต่ก่อน

Stakeholder Capitalism เชื่อว่ามี “2 P” ที่ต้องรีบดูแลโดยด่วน

Planet

P แรกคือ Planet หรือ “สุขภาพของโลก” เพราะมันคือบ้านของเรา ต่อให้เรามีทรัพย์สินในบ้านมากแค่ไหน แต่ถ้าบ้านไฟไหม้หรือน้ำท่วม…ก็ไม่มีความหมาย

ทุกประเทศและบริษัทต้องร่วมมือกัน ไม่ว่าเชื้อชาติประเทศใด อยู่ที่ไหน ขนาดเล็กใหญ่ เพราะเราอยู่ใช้หลังคาร่วมกัน

Planet ไม่ใช่ประเด็นเรื่องเก๋ๆ นะครับแต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมืออย่างจริงจังก่อนจะสายเกินไป ดังที่ Sir David Attenborough นักธรรมชาติวิทยาแถวหน้าของโลกวัย 95 ปี กล่าวว่า “ถึงสุดท้ายแล้วธรรมชาติจะยังคงอยู่ต่อไป…แม้ว่าจะมีหรือไม่มีมนุษย์ก็ตาม ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเรียนรู้อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ”

People

P ที่สองคือ People หรือ “ผู้คน” ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ยุคนี้เราไม่ได้แยกขาดจากกันเหมือนเมื่อก่อน แต่ถูกเชื่อมต่อเข้าหากันแบบ Global Citizen ประชากรโลก เราเข้าใจวัฒนธรรมอันหลากหลาย เราเสพอะไรหลายอย่างเหมือนๆ กัน สามารถไปที่ไหนก็ได้ คุยกับคนอีกซีกโลกแบบ Real-Time ได้

เราเริ่มเห็นทิศทางที่ดีของ Stakeholder Capitalism จากองค์กรธุรกิจชั้นนำ

การประชุม World Economic Forum เมื่อปี 2020 ถึงกับกำหนดประเด็นหลักในการประชุมเป็นเรื่อง “Stakeholders for a cohesive and sustainable world”

การจัดอันดับ CEO ที่ดีที่สุดในโลกของ Harvard Business Review ในปี 2019 ก็พบว่านอกเหนือไปจากความสามารถด้านการเงิน ยังมีการนำเกณฑ์วัดใหม่ที่เรียกว่า ESG Metrics (Environment, Society, Governance) มาเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนมากถึง 30% 

แม้แต่ Business Roundtable องค์กรธุรกิจทรงอิทธิพลที่ประกอบด้วย CEO กว่า 200 บริษัทชั้นนำในสหรัฐอเมริกา เช่น Apple, Amazon, Boring, Coca-Cola ได้ลงนามใน Statement on the Purpose of a Corporation ว่าการดำเนินธุรกิจจากนี้ต้องสอดคล้องกับ Stakeholder Capitalism

คือแนวคิดศตวรรษนี้ได้เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ยิ่งการมาของโควิด-19 ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของ People & Planet

การขยับตัวขององค์กร

ข่าวดีคือ เราเริ่มเห็น “สัญญาณบวก” ของเรื่องนี้บ้างแล้ว!

Starbucks ทั่วโลกเปลี่ยนหลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง มาเป็นหลอดกระดาษ พร้อมออกแบบถ้วย(แบบเย็น)ใหม่ให้ดื่มได้โดยไม่ต้องใช้หลอด ในแต่ละปีทั่วโลกมีการใช้ถ้วยพลาสติกกว่า 600,000 ล้านถ้วย แม้ Starbucks จะคิดเป็นเพียง 1% แต่ก็ขอมีส่วนร่วมในการลดใช้ เป็นผู้นำในการส่งสัญญาณสู่เปลี่ยนแปลงที่รักษ์โลกขึ้น

Image Cr. bit.ly/3drXoIw

แบรนด์นมพรีเมียม Dairy Home ของไทย ใช้แนวคิด Zero Waste ลดของเสียในโรงงานที่เกิดจากกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุดจนแทบไม่มี หรือถ้วยโยเกิร์ตของแบรนด์ที่เป็นวัสดุไบโอพลาสติก ย่อยสลายได้ 100% ใน 6 เดือนเมื่อฝังกลบ หรือการรับซื้อขวดคืนจากลูกค้าโดยให้ราคาขวดละ 5 บาท

Plant-based meat หรือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช ซึ่งเป็นกระแสเทรนด์ที่เริ่มมา อย่างน้อยก็นิยมกันในหมู่คนรักสุขภาพ ดารา คนมีกำลังซื้อสูง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 250,000 ล้านบาทภายในปี 2025

Image Cr. bit.ly/3qEag24

บริษัทวิจัย Technavio ในกรุงลอนดอน เผยว่า อุตสาหกรรมเบอร์เกอร์ที่ทำจากพืชจะเติบโตถึง 41% ระหว่างปี 2020-2024 กว่าครึ่งหนึ่งของการเติบโตมาจากตลาดที่ภูมิภาค North America

  • โลกมีหมูอยู่ราว 700 ล้านตัว
  • มีวัวอยู่ราว 1,000 ล้านตัว
  • มีมนุษย์อยู่ราว 7,000 ล้านคน
  • และมีไก่อยู่ราว 26,000 ล้านตัว

Plant-based meat จะมาช่วยลดการฆ่าสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารที่มนุษย์ทารุณพวกเขามาช้านาน

ไม่ใช่แค่ Planet…แต่ People ก็ได้รับการใส่ใจมากขึ้นแล้ว

Microsoft เป็นบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับดีเสมอในเรื่อง ค่าจ้างที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ (Gender Equal Pay) และสวัสดิการต่างๆ ที่มีให้พนักงานแบบดีเยี่ยม

บริษัท CareerVisa จัดทำ “แบบประเมินอาชีพ” ช่วยผู้คนที่มีค่านิยมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หาอาชีพที่ใช่ที่เติมเต็มหัวใจทุกวันที่ไปทำงานอีกด้วย!

ใครเป็นคุณแม่มือใหม่ที่ Facebook ก็ลาหยุดได้เต็มๆ 4 เดือนโดยยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม 100% รวมถึงมีการจัดคอร์สสอนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แก่พนักงาน หรือคนอื่นๆ ที่เค้าทำหน้าที่ปกป้องเราอย่างทหารผ่านศึก

ผลวิจัยจาก Nielsen เผยว่า กว่า 30% ของผู้บริโภคยินดีจ่ายแพงขึ้น ถ้ารู้ว่าแบรนด์นั้นช่วยเหลือทำเพื่อสังคมทางใดทางหนึ่ง แนวคิดนี้ได้เป็นความต้องการพื้นฐานไปแล้วโดยเฉพาะกลุ่มคน Gen-Z และ Millennials ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มคนมีกำลังซื้อสูงในอนาคตตามวัย

เห็นได้ชัดว่าโลกศตวรรษที่ 21 ได้โอบกอด Stakeholder Capitalism แล้ว ให้เวลาได้ทำหน้าที่ของมัน อนาคตเราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมแน่ๆ

.

.

ทดลองทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบกันเถอะ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/2ZswacL

อ้างอิง