Targeted Memory Reactivation: ยิ่งนอน ยิ่งความจำดี

Targeted Memory Reactivation: ยิ่งนอน ยิ่งความจำดี

เราทุกคนต่างรู้ดีว่า การจดจำข้อมูลใหม่ๆ อย่างแม่นยำ หรือ คิดวิธีตีโจทย์ปัญหาให้แตก…ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำได้

แต่ถ้าความจริงแล้ว มี “เทคนิค” อันหนึ่ง ที่ช่วยให้คุณบรรลุสิ่งเหล่านั้นได้ แถมทำได้ง่าย ทำได้เร็ว และทำได้ทุกคน

เทคนิคที่น้อยคนจะรู้นั้น เรียกว่า “Targeted Memory Reactivation”

Targeted Memory Reactivation: นอนอย่างไรให้ความจำดี?

คุณ Matthew Walker นักวิทยาศาสตร์สมองและผู้เขียนหนังสือขายดี Why We Sleep กล่าวว่า Targeted Memory Reactivation (TMR) คือ เทคนิคการนอนที่ช่วย “ฟื้นฟูความจำแบบเฉพาะเจาะจง”

  • ความจำแม่นยำขึ้น (Memory-strengthening)
  • แผ่กิ่งก้านเชื่อมโยงข้อมูลความจำ (Memory consolidation) ซึ่งนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์
A picture containing outdoor object, star

Description automatically generated

หลักการ คือ ก่อนนอน…เราต้องกระตุ้นให้สมอง “คิดทบทวน” เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควบคู่กับการใช้ “เสียง” (เช่น เพลงบรรเลงเบาๆ) เปิดควบคู่กันไปขณะคิดทบทวน

จากนั้นให้นอนหลับ และเมื่อนอนเข้าสู่ช่วง “หลับลึก” (Non-Rapid Eye Movement – NREM) ให้เปิดเสียงเพลงเดิม (ที่ฟังตอนก่อนนอน) กล่อมตัวเองไป เสียงนี้เราจะไม่ได้ยินเพราะนอนหลับอยู่ แต่ “สมองยังได้ยิน” ผลปรากฎว่าเมื่อตื่นนอนมา สิ่งที่คิดทบทวนจะจำได้แม่นขึ้น

Matthew Walker ได้ทำการทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองจดจำ “รูปภาพ & ตำแหน่ง” ในหน้าจอแสดงผล โดยเปิด “เพลง” บรรเลงไปด้วย ก่อนจะเข้านอนปกติ

จากนั้น เค้าใช้เครื่องสแกนสมองขณะหลับลึก (NREM Sleep) พบว่า เมื่อฟังเพลงแล้วนอนหลับ คลื่นสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ ทำงานได้ดีกว่า คลื่นสมองคนที่ไม่ได้ฟังเพลง

เมื่อผู้เข้าร่วมทดลองตื่นเช้ามา พบว่า ความทรงจำต่างๆ ชัดเจนแม่นยำขึ้น และจดจำอยู่ในหัวนานขึ้น เพราะสมองโอนถ่ายจากความทรงจำระยะสั้นสู่ระยะยาวแล้ว

การทดลองถูกต่อยอดจากเสียงไปใช้ “กลิ่น” ซึ่งก็ให้ผลลัพธ์ในทำนองเดียวกัน 

และแม้แต่ต่อยอดนอกเหนือจากเรื่องพื้นฐาน เช่น รูปภาพ / ตำแหน่ง / คำศัพท์…ไปเป็นเรื่อง “แอดวานซ์” ขึ้น เช่น การขบคิดวิธีแก้ปัญหา (Problem solving) ซึ่งก็ล้วนให้ผลลัพธ์ในทำนองเดียวกัน!!

ยังมีงานวิจัยล่าสุดอื่นๆ พบว่า ช่วงโควิด-19 ที่นักเรียนทั่วโลกมีโอกาสได้เรียนออนไลน์ที่บ้าน นักเรียนกลุ่มที่ท่องหนังสือตอนกลางคืนขณะเปิดเพลงไปด้วย เมื่อตื่นเช้ามา จะทำข้อสอบได้ดีกว่า / มีสมาธิการเรียนดีกว่า / เข้าใจสิ่งที่เรียนเร็วกว่าเพื่อนร่วมห้องที่ไม่ได้ฟังเพลงตอนกลางคืน แม้นักเรียนจะไม่รู้ตัว…แต่ล้วนเป็นอานิสงส์ของ Targeted Memory Reactivation ทั้งสิ้น

ประยุกต์ใช้กับการทำงาน

“นอนให้เป็น…ยิ่งคิดออก” Targeted Memory Reactivation ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องทดลองหรือห้องเรียน แต่นำมาประยุกต์กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้โดยตรง  

โดยเราแค่นำหลักการมาประยุกต์ใช้ ตัวอย่างเช่น ก่อนนอน…ให้คิดโจทย์ปัญหาเรื่องงาน โดย “ตีกรอบ” เข้ามาเล็กน้อยเพื่อความเฉพาะเจาะจง

  • คิด Copy งานโฆษณาตัวนี้อย่างไรดี?
  • เทศกาลที่จะถึงนี้ คิดแคมเปญการตลาดแบบไหนดี?
  • พรีเซนต์ใหญ่สัปดาห์หน้า จะใช้ Keyword ไหนขึ้นนำดี?

ระหว่างนั้น ก็ใช้ “เสียง หรือ กลิ่น” เข้ามาเสริม ก่อนเข้านอนปกติ…โดยตั้งเวลาเปิดเพลงขณะคิดงานนั้นในตอนนอนหลับ หรือ ลงทุนหน่อยใช้กลิ่นอโรม่าหอมๆ อบอวลทั้งคืนได้ยิ่งดี

A picture containing dome

Description automatically generated

อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นแค่การคิดทบทวนเท่านั้น ไม่ใส่อารมณ์ตัวเองลงไป เพราะจะทำให้ “เครียด” จนนอนไม่หลับ และมีผลต่อคุณภาพการนอน (Sleep quality) ซึ่งจะไปขัดขวาง Targeted Memory Reactivation

ทั้งนี้ ผลลัพธ์อาจไม่ได้มหัศจรรย์เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนเสมอไป แต่ขอเพียงถ้าเราทำอย่าง “สม่ำเสมอ” (ทุกคืนได้ยิ่งดี) Productivity & Creativity ย่อมดีขึ้นแน่นอน

A person lying on a bed

Description automatically generated with low confidence

อย่างไรก็ตาม คุณ Matthew Walker เผยว่า ถ้าคุณไม่สะดวกหรือไม่สามารถทำตามดังกล่าวได้เลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด…ขอแค่โฟกัสทบทวน หรือ ขบคิดโจทย์ปัญหาบางเรื่องก่อนนอน เข้านอนให้เร็ว นอนให้เพียงพอ เท่านี้กระบวนการสมองก็ทำงานของมันแล้ว ตื่นมาคุณอาจพบคำตอบเอง

เขาเปรียบเปรยว่า ถ้าชีวิตทั้งวันของคุณที่ผ่านมาคือ “ใบเมนูอาหาร” ก่อนนอน…ให้คุณหยิบเลือกเมนูที่อยากกิน(ต้องการจดจำเป็นพิเศษ) คุณสั่งพนักงานเสิร์ฟที่อยู่ในใจคุณ แล้วเข้านอนซะ เมื่อตื่นเช้ามา คุณจะพบเมนูที่สั่งนั้น…วางเสิร์ฟอยู่ตรงหน้า

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง