5 วิธีบอกเพื่อนร่วมงานว่า “You Hurt Me.”

5 วิธีบอกเพื่อนร่วมงานว่า “You Hurt Me.”

ฉันมีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง เธอเป็นคน “ชอบพูดแทรก” สร้างความรำคาญใจ และทำให้บทสนทนาไม่ไหลลื่น 

แถมมัก “พูดปิดท้าย” ประโยคที่ฉันกำลังจะจบอยู่แล้ว แย่ไปมากกว่านั้น สิ่งที่เธอพูดปิดท้าย…มักไม่ใช่สิ่งที่ฉันต้องการพูดจริงๆ!

มีคนประเภทนี้อยู่รอบตัวเราในที่ทำงาน ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (รวมถึงตัวคุณเองด้วย!) เราจะมีวิธีพูดอย่างไรในประเด็นนี้ให้อีกฝ่ายรับรู้เพื่อกระชับ (ไม่ใช่ทำลาย) ความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นและเข้าใจตรงกันมากขึ้น? 

คนส่วนใหญ่มักบอกให้ “พูดไปตรงๆ” คิดอะไรก็พูดอย่างนั้น การพูดตรงๆ ทำให้เราสบายใจ เหมือนได้ปลดปล่อย แต่น้อยครั้ง (ดังที่เรารู้กันอยู่) ที่วิธีนี้จะได้ “ผลลัพธ์” แบบที่ใจเราต้องการ

เรามักเจอกับการป้องกันตัวจากอีกฝ่าย / การโยงไปเรื่องอื่นที่เราผิด / หรือแม้แต่อีกฝ่ายรับทราบ…แต่ลึกๆ ข้างในเกิดการ “ผิดใจ” กันแล้ว

เราจึงขอแนะนำ 5 วิธีบอกเพื่อนร่วมงานว่า “You Hurt Me.” ในแบบที่ Win-Win ทั้งสองฝ่าย สื่อสารความรู้สึกลึกๆ ข้างในของคุณเพื่อให้อีกฝ่ายได้ยินและเข้าใจ

1. Start with Why? 

ทำไมสิ่งที่คุณกำลังจะพูด(เตือนด้วยความหวังดี)ถึงสำคัญ? การเริ่มแบบนี้ทำให้อีกฝ่ายเปิดรับ(และอยากรู้) มากกว่าเปิดเข้าประเด็นโต้งๆ 

  • เพราะรักและห่วงใยนะถึงต้องบอก ถ้าเป็นคนอื่นนี่ไม่แคร์ไปแล้ว
  • ถ้าพี่กับผมทำงานกันได้ดี จะทำโปรเจ็คท์นี้จะเสร็จก่อนกำหนด

เมื่อเริ่มด้วย Why แล้วก็ให้ปิดท้ายด้วย… “เลยอยากจะขอพูดบางอย่างที่ทำให้การร่วมงานกันระหว่างพวกเราดีขึ้น”

2. อธิบายคร่าวๆ เรื่องที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้คุณปวดร้าวใจ

จุดนี้ต้องอย่ายืดยาว อย่าโยงไปเรื่องอื่น อย่าแก้ตัวแบบสุภาพแทนอีกฝ่าย (เช่น รู้ว่าน้องไม่ได้ตั้งใจหรอก บลาๆๆ) แต่ให้รวบสรุปเหลือแค่ “1 ประโยคสั้นๆ”

  • ตอนผมอธิบายอยู่ พี่ชอบพูดแทรกกลางคัน
  • ตอนผมต่อรองราคาลูกค้าอยู่ น้องชอบ…(อย่างโน้น-อย่างนี้)

จังหวะนี้โดยธรรมชาติอีกฝ่ายจะพูดแทรกขึ้นทันทีเพื่อขออธิบาย(และแก้ตัว) เช่น “ใจเย็นนะ เดี๋ยวก่อนสิ ผมไม่ได้ตั้งใจ…”

เราอย่าพึ่งปฏิเสธหรือ “ปัดทิ้ง” คำขออธิบายนั้นทันที เพราะจะเป็นการไปเพิ่มอารมณ์ร้อนให้แก่อีกฝ่าย ให้พูดทำนองว่าขอคุณพูดให้จบก่อน เช่น “รู้แหล่ะว่าไม่ได้ตั้งใจ…แต่ตอนนี้เอาเป็นว่า ขอผมพูดให้จบก่อนนะ” (พร้อมใช้ภาษามือช่วยได้)

3. บอก Impact ว่าส่งผลถึงจิตใจคุณอย่างไร?

ว่าพฤติกรรมอะไรของอีกฝ่ายที่ทำให้คุณเจ็บปวด นี่เป็น Unarguable Debate ความจริงที่อีกฝ่ายจะปฏิเสธหรือโต้แย้งไม่ได้เลย (ช่วยไม่ได้ ก็ฉันรู้สึกแบบนี้จากสิ่งที่คุณพูด)

ให้พูด Impact นั้นด้วย “น้ำเสียงเป็นกลาง” อย่าดุดัน อย่าอารมณ์ขึ้น หรืออย่าดราม่าเศร้าเกิน บอกไปตรงๆ ว่าสิ่งที่เค้าพูดมันทำให้คุณโกรธ / หงุดหงิด / เจ็บ / กลัว / หวาดระแวง…รู้สึกยอมแพ้หรืออะไรก็ตามแต่

ที่สำคัญ ให้ใช้สรรพนามเป็น “I” (ผม-ดิฉัน-หนู-พี่-น้อง) เสมือนว่าเราเป็นฝ่าย “ถูกกระทำ” แทนที่จะใช้สรรพนาม “You” กล่าวหาว่าเขาทำอะไร จะช่วยลดแรงต้านจากอีกฝ่ายได้

4. อยากให้อีกฝ่ายทำอะไรแทน?

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ อยากให้เค้าพูดว่าอะไรแทน เพื่อให้อะไรๆ ดีกว่าเดิม?  อาจเป็นเรื่องเรียบง่าย เช่น 

  • ต่อไปนี้ขอให้คุณพูดจนจบเสียก่อน ถ้าสงสัยค่อยถามทีหลัง
  • อยากให้รับฟังความเห็นต่างที่อยู่คนละขั้ว อาจได้รับมุมมองใหม่ๆ 
  • ถามอะไรสำคัญไปในกลุ่ม อ่านแล้วได้ความว่าอย่างไรก็ควรตอบกลับด้วย (เช่น ไป/ไม่ไป)

5.ย้ำปิดท้าย ว่าทำไมคุณจำเป็นต้องพูดเรื่องนี้

ให้เอาเหตุผล Why ข้อ1 มาเสริมปิดท้าย เช่น เพราะรักและห่วงใยในฐานะหัวหน้าที่มีต่อน้องๆ หรือ เดี๋ยวเราจะต้องทำงานร่วมกันอีกนาน

ก่อนจะเสริมว่า คุณเองก็คาดหวังให้อีกฝ่ายทำแบบเดียวกัน คือถ้าคุณเผลอพูดอะไรไม่ดีไป วันหน้าอีกฝ่ายก็เรียกคุณมาทำแบบเดียวกันนี้ได้ (แค่สลับบทบาทกัน)

.

.

เราจะเห็นเลยว่าวิธีการพูดนั้นสำคัญ เป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งเลยทีเดียว เมื่อเราพูดแบบนี้จนอีกฝ่ายเข้าใจ ต่อไปการทำงานก็ง่ายขึ้นแล้วเพราะหัวใจของความสำเร็จคือการร่วมมือกันทำงานเป็นทีมนั่นเอง

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

แปล+เรียบเรียงจาก: bit.ly/3wf5QlC