📰 บทความทั้งหมด

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productive ใน 30 วัน
OK แหล่ะ มีวิธีการทำงานบางอย่างของ Elon Musk ที่เป็นข้อถกเถียงกันถึงความพอดี เช่น ทำงานหนักสัปดาห์ละ 90 ชั่วโมง นอนหลับคาออฟฟิศอยู่บ่อยๆ แต่มีอยู่ “5 คำแนะนำ” ของ Elon Musk ที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปในวงการธุรกิจ เพื่อบรรลุ Ultra (+smart) Productivity ในเวลาอันรวดเร็ว และเพื่อชีวิตการทำงานที่ตอบโจทย์ตัวตนของคุณมากที่สุด…เราไปดูพร้อมกัน 1) การประชุม Elon Musk ไม่ถูกจริตกับการประชุม เขาจะหลีกเลี่ยงการประชุมเท่าที่เป็นไปได้ ลดความถี่การประชุมให้เหลือ “น้อยที่สุด” เท่าที่จะน้อยได้ การประชุม…โดยเฉพาะแบบทางการที่ต้องเรียกรวมสมาชิกทีมทุกคน ไม่เคยอยู่ใน Top Priority ของบริษัทเค้า นอกจากลดความถี่ประชุมแล้ว ยังลด “ขนาด” เช่นกัน โดยจะเรียกเฉพาะคนที่ “เกี่ยวข้องโดยตรง” เท่านั้นมาร่วม คนไม่เกี่ยวไม่ต้องเข้า Elon Musk สร้างกฎขึ้นมาเลยว่า แม้คุณที่เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกำลังประชุมอยู่ แต่หากพบว่าคุณได้ตอบเนื้อหาการประชุมครบถ้วนแล้ว คุณสามารถ “ออก” จากการประชุมนั้นได้เลย เพื่อที่เนื้อหาจะได้พูดถึงประเด็นอื่นต่อ […]

Ferrari ปั้นองค์กรอย่างไร? ถึงเป็นมากกว่ารถซูเปอร์คาร์
Ferrari มีมูลบริษัทกว่า 1.55 ล้านล้านบาท ปีที่แล้ว รายได้ 133,000 ล้านบาท กำไร 20,600 ล้านบาท และเป็นรถ Supercar ในฝันของใครหลายคน น่าสนใจไม่น้อยว่า Ferrari มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร? ถึงเป็นรถซูเปอร์คาร์ที่มาพร้อมวิศวกรรมชั้นเลิศดั่งผลงานศิลปะชิ้นเอก สะกดทุกสายตาของผู้พบเห็น และเป็นรถในฝันของใครหลายคนทั่วโลก Enzo Ferrari Ferrari ก่อตั้งขึ้นในปี 1939 โดยคุณ Enzo Ferrari ที่เมือง Modena, Italy โดยเขามีต้นทุนทักษะด้านวิศวกรรมยานยนต์อยู่แล้วเพราะเคยเป็นนักทดสอบรถ นักแข่งรถ และช่างวิศวกรให้กับ Alfa Romeo …เรียกว่า Ferrari ถูกก่อตั้งโดยเจ้าของที่มีจิตวิญญาณเรื่องความเร็วมาตั้งแต่ต้น!! ซึ่งจะสะท้อนสู่แนวทางการปั้นแบรนด์ในเวลาต่อมา Scarcity Ferrari สอบผ่านตั้งแต่ด่านแรก ซึ่งเป็นกฎพื้นฐานของสินค้าหรูนั่นคือความ “หายาก” น้อยคนบนโลกที่จะครอบครอง เรื่องนี้สะท้อนมาจาก “ราคา” รถที่สูงลิบ โดยภาพรวมทั่วโลก Ferrari มีราคาเฉลี่ยสูงถึง $200,000-$400,000 ต่อคัน ราคานี้จะพุ่งทะยานขึ้นไปอีกในบางประเทศที่มีภาษีนำเข้ารถยนต์สูง […]

Excessively Optimistic Leaders: ผู้นำในทุ่งลาเวนเดอร์
”ใครที่คิดลบอยู่ ขอให้เปลี่ยนเป็นบวก…บวกเข้าไว้!!” ในโลกธุรกิจกระแสหลัก ใครๆ ก็บอกให้คุณจงเป็นผู้นำที่คิดบวก มองวิกฤติเป็นโอกาส มองเรื่องร้ายให้เป็นบทเรียน ผลสำรวจจาก Duke University ในหมู่ CEO 1,000 คนพบว่า กว่า 80% มีมุมมองความคิดอยู่ในเกณฑ์ “คิดบวกมากๆ” (very optimistic) เพราะมีพื้นฐานทัศนคติแบบ “Can-Do Attitude” (เราทำได้!) การคิดบวกไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด คนเราคิดอย่างไรก็ได้อย่างนั้น เพราะมองโลกในแง่ดี…จึงได้โลกที่ดีสมใจ แต่ในโลกธุรกิจ การหมกมุ่นคิดบวกที่มากเกินไป กลับกลายเป็นการกระทำที่ Toxic ที่นำไปสู่ปัญหาได้ เพราะมันได้ “ละเลยปัญหาจริง” ตรงหน้าที่เกิดขึ้น บางครั้งปัญหาก็คือปัญหา ไม่มีโอกาสที่ซ่อนอยู่ มีแต่ต้องแก้ให้มันจบไป การเป็นผู้นำในทุ่งลาเวนเดอร์ ยังเป็นการมองข้าม “บริบท” (Context) ซึ่งแต่ละบริษัทตกอยู่ภายใต้บริบทที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะประเภทธุรกิจ / คู่แข่ง / ทรัพยากรบุคคล / สภาพตลาด / กฎหมายในอุตสาหกรรมนั้นๆ ฯลฯ มีผลวิจัยมากมายระบุว่า ผู้นำโลกสวยที่เอาแต่กระตุ้นสร้างแรงบันดาลใจแง่บวก(มากเกินไป) […]

วิธีง่ายๆ สู่การเป็นหัวหน้าที่ดีที่ใครๆ ก็รัก
ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา ฟัง มากกว่า พูด ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น? เบื้องหลังความชื่นชอบเคารพนับถือ ต้องยอมรับความจริงว่า ลึกๆ ภายในแล้ว คนเรา “ไม่สามารถบอกใครให้มารักเราได้” ความรัก-ความชื่นชอบ-ความเคารพนับถือล้วนเกิดจากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเราที่ไปสร้างความ “พึงพอใจ” แก่อีกฝ่าย คุณลักษณะหนึ่งที่ทำให้คนชื่นชอบคือ การ “มองเห็นคุณค่า” ในตัวพวกเค้า หมั่นถามสารทุกข์สุขดิบ ยื่นโอกาสใหม่ๆ ให้ เอาใจเค้ามาใส่เรา “มันยากที่จะไม่ชอบ…คนที่ชื่นชอบคุณ” คำนี้ใช้ได้จริงเสมอ แต่ขณะเดียวกัน ความเคารพนับถือไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป แต่ต้องคอยหมั่น “เติม” เชื้อเพลิงอยู่เสมอ และมันมีความ “เปราะบาง” เราอาจใช้เวลา 10 ปีในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่คนหนึ่ง แต่อาจใช้เวลาแค่ 10 วัน (หรือแม้แต่ 10 นาที) ในการทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นให้หายไปได้เช่นกัน เราไปสำรวจพร้อมๆ กันกับ “วิธีง่ายๆ สู่การเป็นหัวหน้าอันเป็นที่รัก” เป็นนักฟังที่ดี หัวหน้าที่ลูกน้องชื่นชอบมักมีคาแรคเตอร์เป็น “ผู้ฟัง” […]

ไอดอล มีใครเป็น ไอดอล?
ไม่ว่าเก่งมาจากไหน แต่เราทุกคนย่อมมี “ไอดอล” เป็นของตัวเอง นำมาสู่คำถามว่า แล้ว CEO นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ที่ขึ้นไปอยู่บนยอดสูงสุดของพีระมิดล่ะ…พวกเขามีใครเป็นไอดอลอีกที? เราตามไปดูทีละคนพร้อมกันเลย Elon Musk เขาเป็นอัจฉริยะด้านวิศวกรรมและฟิสิกส์มาตั้งแต่เด็ก โดยมีไอดอลเป็น Richard Feynman นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ให้กำเนิดวิชากลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเป็นคนที่ทำให้เค้าชื่นชอบศาสตร์นี้ มัสก์จะติดตามผลงานของเขาตลอดผ่านงานเขียนและการสอนต่างๆ นอกจากนี้ ไอดอลของเขายังเป็นบุคคลครั้งในอดีตกาลอย่าง Nikola Tesla ที่เป็นทั้งนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกลและไฟฟ้า…มัสก์ชื่นชอบเขาถึงขนาดนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์รถไฟฟ้า Tesla ถึงทุกวันนี้ Image Cr. bit.ly/3dq8ZHC อย่างไรก็ตาม มัสก์ยังได้หนึ่ง “บทเรียน” เป็นเครื่องเตือนสติ เพราะแม้ Nikola Tesla เป็นอัจฉริยะด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจเลย (ทำสินค้าเก่ง แต่ขายไม่เก่ง) Elon Musk จึงบอกกับตัวเองว่า ทุกนวัตกรรมที่ดีเลิศต้องไปพร้อมกันได้ดีกับธุรกิจ ต้องมีตลาดใหญ่พอ ต้องโปรโมทสินค้า ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค…ลำพังสินค้าดีอย่างเดียวไม่เคยพอ Bill & Warren Bill Gates […]

Masterful Presentation: วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด
Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน ศิลปะสะกดใจคน มีคำกล่าวว่า มันไม่สำคัญว่าคุณพูดอะไร แต่…พูดอย่างไร? วิธีการนำเสนอ อาจสำคัญกว่า เนื้อหาที่พูดในหลายบริบท หนึ่งในกฎพื้นฐานที่ใช้กันทั่วโลกคือ Rule of Three เวลาเสนออะไรให้ทำไม่เกิน 3 หัวข้อ / 3 ประเด็น / 3 เหตุผล / 3 ทางแก้ไข / 3 ตัวเลข ฯลฯ เพราะสมองมนุษย์จะจดจำได้ดีที่สุดไม่เกิน 3 เรื่องในคราวเดียวกัน ถ้ามากกว่านั้นประสิทธิภาพจะลดลงฮวบฮาบ กรณีถ้าข้อมูลมีมากกว่านั้น ให้จัดกลุ่มไม่เกิน 3 เรื่อง แล้วค่อยแบ่งทยอยนำเสนอทีละสไลด์ ในหลายกรณี ”อารมณ์” (Emotion) สะกดใจผู้คนได้มากกว่า […]

Grab ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ระบบนิเวศน์ที่ปฏิวัติพฤติกรรมผู้บริโภค
Grab มีมูลค่าตลาดกว่า 1.2 ล้านล้านบาท รายได้ 72,000 ล้านบาท ผู้ใช้งานกว่า 187 ล้านคน ใน 8 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริการแสนครบครันชนิด “เปลี่ยนพฤติกรรม” ของคนเรา จากจุดเริ่มต้นของบริการเรียกรถ Taxi…สู่ระบบนิเวศน์ที่ครอบคลุมแทบทุกไลฟ์สไตล์ของชีวิตคนเมือง …Grab มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร? เพราะ Pain Point แท้ๆ Grab Holding Inc. เป็นบริษัท Startup สัญชาติมาเลเซีย (แต่มี HQ ที่สิงคโปร์) เกิดใหม่เมื่อปี 2012 นี้เอง ก่อตั้งโดยคุณ Anthony Tan และ Tan Hooi Ling ทั้งสองมาพบกันเมื่อไปเรียนต่อ MBA ที่ Harvard Business School โดยไอเดียการทำธุรกิจ Grab นั้น มีรากเหง้ามาจากการชนะการประกวด (Pitch contest) […]

7 ความสะเพร่าที่ผู้นำมือใหม่มักพลาดท่า
หลบหลีกกับดักเหล่านี้ทุกวิถีทางซะ (โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้นำมือใหม่!) ไม่ว่าคุณจะไต่เต้าในองค์กรจนขึ้นมาถึงจุดสูงสุด หรือลาออกมาเป็นผู้ประกอบการไฟแรงบริหารงานด้วยตัวเอง ปฏิเสธไม่ได้ว่าต่อไป “ภาวะผู้นำ” คือทักษะที่คุณต้องเชี่ยวชาญให้ได้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดแม้เพียงครั้งเดียวในฐานะผู้นำ…อาจนำพาให้ทั้งองค์กรล่มจมได้ โดยเฉพาะ “7 ความสะเพร่า” เหล่านี้ที่ผู้นำมือใหม่มักพลาดท่ามานักต่อนักแล้ว อันที่จริง บทความนี้ไม่ได้เหมาะสมเฉพาะกับผู้นำมือใหม่เท่านั้น แต่ผู้นำรุ่นเก๋าก็ควรอ่าน(และแชร์!) เพื่อเตือนสติตัวเองอยู่เสมอ การใส่ใจรายละเอียดเหล่านี้นี่แหละที่จะทำให้คุณโดดเด่นแตกต่างจากผู้นำธรรมดาทั่วไป สะเพร่า #1: รู้ดีไปทุกเรื่อง! ผู้นำมือใหม่พึ่งเข้ารับตำแหน่งย่อมถูกคาดหวังและกดดันเป็นธรรมดาให้ต้องรอบรู้มีวิสัยทัศน์ ใครถามอะไรมาต้องตอบได้ จนไปถึงการมีอีโก้บอกลูกน้องว่า “ไม่ต้องถาม…แค่ทำตามที่พูดพอ!” ซึ่งนำไปสู่การอยู่ในกรอบ “กะลา” ของตัวเอง ท้ายที่สุด คุณจะไม่ได้ฟีดแบคที่จริงใจจากลูกน้อง เพราะลูกน้องคิดว่าพูดอะไร(ไม่ตรงใจ)ไปก็ถูกคุณปัดตกอยู่ดี เลิกทำเป็นรู้ดีไปเสียทุกเรื่องซะ แม้คุณจะเป็นผู้นำแต่ก็สามารถพูดได้อย่างเปิดอกว่า “เรื่องนี้ ผม/ดิฉัน ไม่รู้…คิดว่าต้องทำยังไงบ้าง?” ความสะเพร่า #2: ไม่ทำตามกฎ หนึ่งใน “อภิสิทธิ์” ของเหล่าผู้นำอาจมาในรูปแบบ ห้องทำงานใหญ่โตและที่จอดรถประจำส่วนตัว หรือแม้แต่การออกแบบตารางเวลาทำงานเองได้ อยากมาและกลับเมื่อไรก็ได้ตามใจฉัน เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิด แต่จะเริ่มผิดก็ต่อเมื่อคุณใช้อภิสิทธิ์ในทางที่ผิด เช่น พอไม่ต้องเข้าออฟฟิศเป็นเวลา เลยเอาเวลาไปเที่ยวกับครอบครัวแทนที่จะทำงาน โดยเฉพาะเมื่อผลงานยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้กับบริษัท ถ้าเป็นเช่นนั้นล่ะก็ พนักงานจะเริ่มสัมผัสถึงความไม่ยุติธรรม รู้สึกได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เคารพ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด […]

Humble Brag: โอ้อวดเนียนๆ แต่จะโดนคนหมั่นไส้ตรงๆ!!
เฮ้อ ถ้ารู้ว่ารถ Benz จะกินน้ำมันขนาดนี้นะ… งานเยอะจนต้องยกไปทำเวลาเที่ยว Switzerland ไม่เห็นว่า Starbucks จะแพงเลย ผมก็กินทุกวัน ไปพารากอนไม่เคยวนหาที่จอดเลย จอดชั้น 1 ตลอด ยอมรับมาซะดีๆ ที่ออฟฟิศของพวกเราต้องมีใครคนใดคนหนึ่งมีนิสัยพูดจาแบบนี้ ซึ่งทางจิตวิทยาเรียกว่า Humble Brag หรือการ “โอ้อวดแบบเนียนๆ” (แต่จะถูกคนหมั่นไส้ตรงๆ!) Humble Brag คืออะไร? คือการโอ้อวดแบบถ่อมตน (เนียนๆ) โดยจะไม่ใช่การพูดตรงๆ ออกมา แต่ในเนื้อความประโยคจะพูดประเด็นอื่นเป็นหลัก โดยสอดแทรกคีย์เวิร์ดความโอ้อวดนั้นๆ เช่นจากประโยค “เฮ้อ ถ้ารู้ว่ารถ Benz จะกินน้ำมันขนาดนี้นะ…” มองเผินๆ เหมือนเป็นการแสดงท่าทางบ่นออกมาถึงการกินน้ำมันของรถตัวเอง โดยมีคีย์เวิร์ดคือ “รถ Benz” ซึ่งเป็นของหรูหราที่ต้องการโอ้อวดนั่นเอง หรือประโยค “งานเยอะจนต้องยกไปทำเวลาเที่ยวสวิส” มองเผินๆ ดูเป็นคนเอาการเอางาน แต่ก็แฝงความโอ้อวดผ่านคีย์เวิร์ด “เที่ยวสวิส” ซึ่งรู้กันดีว่าจะไปเที่ยวสวิสได้นั้นต้องมีทั้งเงินและเวลานั่นเอง Humble Brag เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการแสดงศักยภาพว่าตนมี ทรัพย์สินเงินทอง / อำนาจ […]

Cunningham’s Law: เพราะตอบผิด จึงได้คำตอบที่ถูกต้อง
รู้หรือไม่? สมองคนมีอยู่ 84,000 เซลล์ โควิด-19 เริ่มระบาดมาจากไต้หวัน GDP/หัว ของคนไทยสูงกว่ามาเลเซีย แว่บแรกที่เห็น เราทุกคนล้วนเอะใจถึงความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ เรารู้อยู่ในใจลึกๆ ว่ามันผิดและมีแรงผลักดันอยากที่จะ “ทำให้ถูกต้อง”…ยินดีด้วย คุณกำลังตกอยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “Cunningham’s Law” Cunningham’s Law คืออะไร? หลายคนอาจเดาได้ว่าคำนี้มาจากชื่อคน โดยผู้ที่คิดค้นแนวคิดนี้คือคุณ Ward Cunningham โปรแกรมเมอร์รุ่นบุกเบิกชาวอเมริกัน และเป็นผู้พัฒนาเว็ปไซต์ WikiWikiWeb เวอร์ชันแรกของโลก เขาคิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1980s โดยมีหัวใจหลักคือ “วิธีที่จะได้คำตอบที่ถูกต้องบนโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การตั้งคำถามอันบรรเจิด…แต่คือการให้คำตอบที่ผิดไปก่อน” (เพราะเดี๋ยวผู้คนจะมาทำให้ถูกเอง!!) เขานำแนวคิดนี้ไปต่อยอดจนนำมาสู่ Wikipedia ที่เปิดพื้นที่ให้ใครก็ได้มาแก้ไขข้อมูลและประสบความสำเร็จไปทั่วโลก จิตวิทยาเบื้องหลัง Cunningham’s Law มีคำอธิบายทางจิตวิทยาเบื้องหลัง เพราะคนเรามักให้ความสนใจในการ “แก้ไขสิ่งที่ผิด” มากกว่าการตอบคำถามอันชาญฉลาด ส่วนหนึ่งเพราะการแก้ไขให้ถูก ง่ายกว่าการคิดเริ่มจากศูนย์ เพราะมีพื้นฐานตรรกะมานำเสนอให้เราอยู่บ้างแล้วนั่นเอง และมนุษย์เรามีจริตในการอยากแก้ไขบางอย่างที่ผิดให้ถูกต้อง หรือในทางจิตวิทยาเรียกว่า “Tendency to Correct” แต่โดยทั่วไป Cunningham’s Law จะทำงานได้มีประสิทธิภาพและได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นพิเศษ […]

Coca-Cola ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่น้ำดื่มที่มีอยู่ทุกที่ในโลก
Coke วางขายอยู่แทบทุกประเทศทั่วโลก มูลค่าแบรนด์ 1.9 ล้านล้านบาท ยอดขาย 756,000 ล้านบาท และเป็นเครื่องดื่มที่อย่างน้อยต้องเคยดื่มกันทุกคน จากประวัติศาสตร์ 135 ปี ผ่านวิกฤติการณ์โลกมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ทุกวันนี้ Coca-Cola ยังคงแข็งแกร่งเป็นแบรนด์อันดับต้นๆ ของโลกมาโดยตลอด น่าสนใจไม่น้อยว่า…Coca-Cola ปั้นองค์กรอย่างไร? กำเนิดน้ำดำ Coca-Cola ก่อตั้งโดยคุณ John S. Pemberton เมื่อปี 1886 ที่เมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา คำว่า Coca-Cola ย่อมาจาก 2 คำ: Cocaine & Caffeine ซึ่งสกัดมาจากใบ Coca leaf & ถั่ว Kola nut โดยวิธีการขยายครอบคลุมไปทั่วโลกนั้น บริษัทแม่ Coca-Cola จะผลิต “หัวเชื้อ” (Concentrate) น้ำโคล่าซึ่งเป็นสูตรลับของบริษัท ว่ากันว่ามีคน “รู้” สูตรนี้เพียงไม่กี่คนบนโลก […]

Conservatism Bias: ยึดติด “ความสำเร็จในอดีต” จนปัจจุบันพัง
“หุ้นขึ้นมาตลอด ข่าวร้ายออกมาคงไม่เป็นไรหรอกมั้ง” “เคยทำแบบนี้แล้วเวิร์ค ทำไมจะทำซ้ำไม่ได้” “มี Best Practice ในอดีตมาแล้ว ก็ทำตามๆ ไปเถอะ” เรื่องนี้ไม่มีถูกผิด แต่บางครั้งการยึดติดกับอดีตจนเกินไป ก่อให้เกิด “Conservatism Bias” จนพลาดโอกาส ณ ปัจจุบันและอนาคต Conservatism Bias ยึดติดความสำเร็จในอดีตจนไร้อนาคต Conservatism Bias คือภาวะที่เรา “ยึดติดความสำเร็จในอดีต” หรือข้อมูลเก่าๆ ข่าวดีเก่าๆ ทัศนคติเก่าๆ มาเป็นบรรทัดฐานในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่มันอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันแล้ว เป็นการพยายามกินบุญเก่าในอดีต แทนที่จะสร้างบุญใหม่ในปัจจุบันและอนาคต Conservatism Bias จึงมีแนวโน้ม “ปิดกั้น” ไอเดียใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ บุคลากรใหม่ๆ เพียงเพราะมันขัดแย้งกับของเดิม เรื่องนี้ยิ่งมีอิทธิพลเป็นพิเศษกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ (Grand past achievement) ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนกลายเป็น “Best Practice” ที่ผู้คนยึดถือปฏิบัติกัน ในกรณีนี้ Best Practice ถือเป็นดาบสองคมก็ว่าได้ นัยหนึ่ง…มันปูทางสูตรสำเร็จมาให้เราเดินตามได้อย่างง่ายดายแล้ว แต่นัยหนึ่ง…มันตีกรอบให้เราอยู่ในทางเดินเดิมๆ […]