Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ
  • งานยังไม่เสร็จ เก็บเอาไปคิดตอนเที่ยวต่างประเทศ
  • พรุ่งนี้พรีเซนท์ใหญ่ วันนี้เลยไม่มีกะจิตกะใจทำอย่างอื่น
  • โฆษณาที่โชว์โลโก้แบรนด์ขาดๆ เกินๆ ให้คนไปคิดต่อ

นี่คือจิตวิทยาที่เรียกว่า “Zeigarnik Effect”

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

Zeigarnik Effect มาจากชื่อของคุณ Bluma Zeigarnik นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ค่ำคืนหนึ่ง เธอไปรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ร้านอาหาร รายการอาหารที่สั่งค่อนข้างเยอะแถมมีการขอรีเควสพิเศษ 

ที่น่าสนใจคือ พนักงานรับออเดอร์ไม่มีการ “จดออเดอร์” ลงกระดาษใดๆ ทั้งสิ้น Zeigarnik คาดการณ์ว่าต้องมีผิดพลาดบ้างแน่นอน แต่สิ่งที่เหลือเชื่อคือ เมนูที่เสิร์ฟกลับถูกต้องทุกจาน!! 

A person holding a plate of food

Description automatically generated

หลังทานเสร็จและออกร้าน เธอนึกขึ้นได้ว่าลืมผ้าเช็ดหน้าไว้ที่โต๊ะจึงกลับเข้าร้านไปเอา และพบกับพนักงานรับออเดอร์คนเดิม ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่าคือ…พนักงานคนนี้จำเธอไม่ได้เลยแม้แต่น้อย!!

เธอถามกลับไปว่า: “เป็นไปได้อย่างไร เมื่อกี้คุณยังจำเมนูทุกอย่างได้อย่างแม่นยำเป๊ะๆ อยู่เลย?”

พนักงานตอบกลับว่า: “ผมจำเมนูที่ลูกค้าสั่งได้เป๊ะก็จริง แต่เมื่อพวกเค้าชำระเงินเสร็จ ผมก็ลืมหมดแล้ว”

จากการศึกษาในเวลาต่อมา เธอค้นพบว่าสมองของมนุษย์พวกเราก็ทำงานไม่ต่างจากพนักงานคนนั้น จนกลายมาเป็น Zeigarnik Effect ในที่สุด

Zeigarnik Effect คืออะไรกันแน่?

Zeigarnik Effect คือปรากฏการณ์ที่คนเราจะรู้สึก “ค้างคาใจ” เป็นพิเศษกับ “งานที่ยังทำไม่เสร็จ” (Uncompleted tasks) งานนั้นจะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก เราจะไม่มีวันลืมมัน งานนั้นจะตามหลอกหลอนเราไปอีกนาน รู้สึกพะวงลึกๆ เก็บเอาไปเครียด บางคนถึงขั้นเก็บเอาไปฝัน

A picture containing text

Description automatically generated

ทางเดียวที่คุณจะขจัดมันออกไปได้ก็คือ “ทำมันให้เสร็จ”

ว่าแต่…รู้แล้วช่วยอะไร? คำตอบคือ ในอีกมุมหนึ่ง Zeigarnik Effect นำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้มากกว่าที่คิด

Zeigarnik Effect รอบตัวเรา

เมื่อต้อง Pitch งานกับนักลงทุน เรานำ Zeigarnik Effect มาเป็นแรงกระตุ้นในการทำให้สำเร็จได้ เรื่องนี้ยังรวมถึงการจำข้อมูลเชิงลึกได้มหาศาลโดยไม่ต้องดูโดย ภาพลักษณ์ที่ออกมาคุณจึงสามารถ “พูดสด” ต่อหน้านักลงทุนได้ ซึ่งดูมีความมั่นใจและสร้างความประทับใจให้อีกฝ่าย

A group of people in a meeting

Description automatically generated with low confidence

ตอนจบของละคร-ซีรีส์ มักทิ้ง “ปม” ให้ผู้ชมอย่างเราต้องสงสัย / ลุ้น และไปตามต่อในตอนหน้า To be continued…

รวมถึงการปล่อย Trailer ของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ ที่ปล่อยมาหลายตอนหลายช่องทาง ซึ่งล้วนมีฉากที่กระตุ้นให้ไปหาคำตอบในโรงภาพยนตร์ (การทำงานเสร็จในที่นี้ คือ ไปดูหนังให้จบ)

ในงานโฆษณา แบรนด์ใหญ่สามารถนำ Zeigarnik Effect มาใช้ได้ เช่น McDonald’s โชว์โลโก้แบรนด์ตัว “M” แบบไม่เต็ม ขาดๆ เกินๆ เพื่อให้ผู้ชมไป “คิดต่อ” นอกจากจะโดดเด่นแหวกแนวแล้ว ยัง “ค้างคาใจ” คนที่พบเห็นด้วย

A picture containing text, floor, building, indoor

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3hZ0Bky

ตอนเวปไซต์หรือแอปที่ให้ผู้ใช้งานกรอกรายละเอียด มักจะดีไซน์ให้โชว์ “แถบ Progress 80%” หรือ “ทำขั้นตอนมาแล้ว 8/10” เพื่อให้ผู้ใช้งานระลึกอยู่เสมอ จนต้องกลับมาทำให้เสร็จสมบูรณ์

ในแง่การทำงานโดยรวม Zeigarnik Effect เป็นเครื่องมือที่ถ้าใช้อย่างพอเหมาะและถูกวิธี ย่อมเป็น “แรงจูงใจ” ชั้นดี ลดการผัดวันประกันพรุ่ง ให้เราอยากทำงานให้เสร็จสมบูรณ์และมุ่งไปสู่ความสำเร็จต่อไป

A person working on a computer

Description automatically generated with medium confidence

จิตวิทยาบางอย่างที่มีภาพลักษณ์แง่ร้าย แต่ถ้าเราพลิกมุมกลับ ก็สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การงานได้ไม่ยาก

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง