Creative Exercise: ลับคมสมองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

Creative Exercise: ลับคมสมองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • นั่งสมาธิ ฝึกให้สมอง “ไม่คิด”
  • คิดแบบ “มุมกลับ” กลับหัว-กลับหาง
  • “จดบันทึก” ความคิดที่แว่บขึ้นมา

นี่คือเบื้องหลัง “Creative Exercise” ที่เหล่าคนเก่งระดับโลกยังทำกันอยู่เป็นประจำเพื่อนำเสนอ “ความคิดสร้างสรรค์” จนคนทั้งโลกต้อง WOW!!

Creative Exercise: ลับคมสมองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

คนทั่วไปมักคิดว่า บรรดาคนเก่งระดับโลกที่เห็นตามสื่อ พวกเค้า “เก่งมาแต่เกิด” เป็น “พรสวรรค์” เพียงหยิบมือในโลกที่ไม่สามารถเลียนแบบได้

แต่ความจริงแล้ว แม้พวกเค้าจะหัวดีเป็นทุนเดิม แต่ก็ยังหมั่นฝึกฝนตัวเองเพื่อรักษาความคิดสร้างสรรค์ให้สูงลิบได้อยู่เสมอผ่าน “Creative Exercise” อันเรียบง่ายกว่าที่คิด

เพราะการฝึกฝนต่างหากที่ทำให้คุณเพอเฟกต์ (Practice makes perfect.)

นั่งสมาธิเพื่อ “ไม่คิด”

Eckhart Tolle ปรมาจารย์ด้านปรัชญาเคยกล่าวว่า หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนเก่งคิดงานไม่ออก ไม่ใช่เพราะพวกเค้าคิดน้อยเกินไป แต่เป็นเพราะพวกเค้าไม่เคย “หยุดคิด” เลยต่างหาก

เราจึงควรฝึกตัวเองให้หยุดคิดซะบ้าง ทำง่ายๆ ได้โดยการ “นั่งสมาธิ” ภาวะหยุดคิดนั้น โฟกัสเราให้อยู่กับปัจจุบัน / สมองได้พักผ่อน / ตัดขาดความกดดันที่มีทั้งหมดออกไป และเมื่อพร้อมกลับมาคิดใหม่ อาจพบว่า ความคิดสร้างสรรค์พุ่งกระฉูด

A picture containing person, outdoor, person, standing

Description automatically generated

เปรียบได้กับการขับรถ…เมื่อขับรถเร่งเครื่อง เราต้อง “ผ่อน” ยกขาออกเป็นรอบๆ เพื่อให้รถทำความเร็วไปต่อได้ การเหยียบคันเร่งค้างไว้ มีแต่ทำให้ไปได้ช้าลงและเครื่องยนต์เสื่อมเร็ว

สำหรับมือใหม่ ภาวะ “หยุดคิด” อาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ “วินาที” เท่านั้น ก่อนที่ความฟุ้งซ่านจะเข้าครอบงำต่อ เป้าหมายจึงควรค่อยๆ ไต่ระดับ จากไม่กี่วินาที 🡺 หลายวินาที 🡺 หลักนาที

นี่ยังเป็นวิธีที่ “มันสมองแห่งศตวรรษที่ 20” อย่าง Albert Einstein ทำเป็นประจำ เขาเคยบอกกับสื่อว่า บางทีไอเดียดีๆ สุดครีเอทีฟ ก็โผล่ขึ้นมาตอนที่หัวโล่งไม่ได้คิดอะไรอยู่ซะงั้น

จดความคิด

คนเก่งมักมีปากกา-สมุดพกติดตัว ไว้จดเวลาคิดไอเดียออก (ยุคนี้จะจดลงมือถือก็ได้) วิธีการง่ายๆ คือ ขอแค่เป็นความคิดที่ “แว่บ” ออกมา ณ เดี๋ยวนั้น ให้จดลงไปเลยโดยไม่ต้องเรียบเรียงให้สวยงาม

  • “เราจะส่งต่อบ้านเมืองแบบไหนให้ลูกหลาน?”
  • “ที่มาของสเต๊กเนื้อตรงหน้าเป็นอย่างไร?”
  • “ตู้กดน้ำ คอนโด โควิด-19 ทำงานที่บ้าน”

สิ่งที่จด ณ ตอนนั้น มักล่องลอยและไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่เราสามารถนำมันมา “เชื่อมโยง” ได้ภายหลัง อย่าลืมว่า…ความคิดสร้างสรรค์เป็นการ “เก็บเล็กผสมน้อย”  ปะติดปะต่อสิ่งเดิมๆ เข้าหากันจนกลายเป็นสิ่งใหม่ๆ

Thomas Edison นักประดิษฐ์แห่งยุค ยังใช้วิธีจดความคิดนี้ควบคู่กับการ “งีบกลางวัน” (Afternoon nap) โดยเขามักงีบพักผ่อนสั้นๆ ช่วงบ่าย โดยอยู่ในท่านั่งบนโต๊ะที่มีปากกาวางอยู่ 

ยุคนี้เป็นที่ทราบกันแล้วว่า งีบกลางวันช่วยฟื้นฟูสมองและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เมื่อ Edison ตื่นขึ้น เขาจะรีบบันทึกสิ่งที่ความฝันตะโกนบอกเขา (ก่อนจะลืม) สิ่งที่บันทึกหลายอย่างนั้น ต่อมาก็กลายเป็นสิ่งประดิษฐ์มากมายออกสู่ชาวโลก

ใส่ข้อจำกัดลงไป

“ครีเอทีฟเกิด…เมื่อปัญหามาเยือน”

เพราะยามสถานการณ์ปกติ เรามักไม่มีแรงจูงใจในการคิดครีเอทีฟ

วิธีฝึกคือลองใส่ “ข้อจำกัด” (Constraint) ลงไปในสถานการณ์ อาจเป็นการทำงานในชีวิตประจำวันก็ได้ ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง เพียงแค่ช่วยกระตุ้นทางออกใหม่ๆ เช่น

  • ปัญหา – คุณกำลังลาพักร้อนอยู่กับครอบครัว จู่ๆ หัวหน้าโทรมาเรียกตัวคุณเข้าออฟฟิศภายใน 3 วันข้างหน้า…คุณจะทำอย่างไร?
  • ข้อจำกัด – คุณยกเลิกลาพักร้อนไม่ได้ และ คุณปฏิเสธหัวหน้าไม่ได้
A family walking on the beach

Description automatically generated with low confidence

แม้ธุรกิจทุกวันนี้ของคุณอาจกำลังไปได้สวย ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงในระยะสั้น-กลาง แต่คุณก็สามารถนำมาฝึกเป็นส่วนหนึ่งของ Contingency Plan แผนฉุกเฉินยามวิกฤติได้เช่นกัน

คิดกลับหัว-กลับหาง

นี่เป็นหนึ่งในคอนเซปต์ที่แพร่หลาย เพราะสะดวกและมีประสิทธิภาพ

  • ท้าทายชุดความคิดเดิมๆ
  • เป็นโจทย์ที่ใครๆ ก็ฝึกกันได้
  • ไอเดียที่ได้อาจมีสเกลระดับปฏิวัติวงการ

คำถามหนึ่งที่กระตุ้นได้ยอดเยี่ยมคือ “ถ้ามันไม่ได้เป็นแบบนั้นล่ะ?”

  • ถ้ารถยนต์ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันล่ะ? (ใช้ไฟฟ้าแทนได้ไหม?)
  • ถ้าจรวดอวกาศไม่ต้องใช้งานเสร็จแล้วทิ้งล่ะ? (นำกลับมาใช้ใหม่ได้ไหม?)
  • ถ้าธุรกิจของคุณไม่ได้อยู่ในโลกความจริงล่ะ? (อยู่ใน Metaverse ได้ไหม?)
A car parked next to a parking meter

Description automatically generated with medium confidence

Steve Jobs เป็นบุคคลที่บุกเบิกพิสูจน์เรื่องนี้มาแล้วเมื่อครั้งเปิดตัว iPhone1 จนปฏิวัติวงการโทรศัพท์มือถือ

  • ถ้าโทรศัพท์มือถือไม่ต้องมีปุ่มล่ะ? (แต่ใช้มือสัมผัสหน้าจอแทน)

ข้อดี ของ ข้อดี ของ ข้อดี

  • ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์คืออะไร? ช่วยลดการใช้พลังงานฟอสซิล
  • ข้อดีของการลดใช้พลังงานฟอสซิลคืออะไร? ช่วยลดการปล่อย CO2 ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
  • ข้อดีของการลดการปล่อย CO2 คืออะไร? ช่วยลดภาวะโลกร้อน
Solar panels on a field

Description automatically generated with low confidence

กระบวนการคิดแบบนี้ยังช่วยให้คุณมองเห็น ช่องว่างในตลาด / จุดที่ผู้บริโภคมองข้าม / ข้อบกพร่องของบางขั้นตอน

นี่คือสิ่งที่คุณ Sakichi Toyoda ผู้บุกเบิกบริษัท Toyota ใช้เป็นประจำ จนต่อมาเข้าประยุกต์ออกมาเป็น “5 Whys” อันโด่งดัง

อย่าประเมินตัวเองต่ำไป เพราะความครีเอทีฟก็เหมือนกล้ามเนื้อ ยิ่ง “ฝึก” มากเท่าไร ยิ่งแข็งแรงและใหญ่ขึ้นเท่านั้น!

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง