📰 บทความทั้งหมด

Mars ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่อาณาจักรขนมหวานที่ใหญ่ที่สุดในโลก
M&M’s / Snickers / Mars / Twix / Milky Way…แบรนด์ขนมหวานระดับโลกเหล่านี้ และอีกหลาย 10 แบรนด์ที่ครอบครองเชลฟ์สินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลก อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน นั่นคือ ”Mars” ซึ่งเป็นบริษัทขนมหวานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปี 2020 บริษัทมีรายได้รวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านบาท ดำเนินธุรกิจใน 80 ประเทศ และมีพนักงานกว่า 130,000 คนทั่วโลก น่าสนใจไม่น้อยว่า Mars ปั้นองค์กรอย่างไรจนกลายมาเป็นอาณาจักรขนมหวานเฉกเช่นทุกวันนี้ได้? Passion ที่เกิดจากข้อจำกัดด้านร่างกาย Mars ถูกก่อตั้งโดยคุณ Franklin C. Mars ที่รัฐ Minnesota สหรัฐอเมริกาในปี 1911 ต่างจากผู้ก่อตั้งคนอื่นๆ คุณ Mars เป็นโรคโปลิโอตั้งแต่กำเนิดเมื่อปี 1883 ทำให้ร่างกายเค้าผิดปกติและไม่สามารถไปโรงเรียนได้เหมือนเด็กทั่วไป บ้านจึงกลายเป็นโรงเรียนและห้องครัวเป็นโรงอาหาร แต่นั่นเปิดโอกาสให้เค้าได้สัมผัส “ศาสตร์การทำช็อกโกแลต” และขนมหวานต่างๆ โดยมีคุณแม่เค้าคอยสอนอย่างใกล้ชิด ช็อกโกแลตจึงเป็นเพื่อนแท้ที่อยู่คู่กับเค้ามาตลอดวัยเด็ก เค้าไม่ได้มีแค่ […]

Action Bias: มโนไปเองว่า “ต้องลงมือทำไว้ก่อน”
คู่แข่งออกสินค้าใหม่ ทีมรีบเรียกประชุมด่วน หาวิธีโต้กลับทันที เมื่อตลาดหุ้นร่วง ก็รีบเทขายหุ้นทิ้งทันที เวลารับจุดโทษ ผู้รักษาประตูมักกระโดดซ้ายขวา แทนอยู่เฉยๆ ตรงกลาง เมื่อเจอสถานการณ์ใหม่ๆ แล้วคุณรู้สึกว่าจะต้องขอให้ได้ลงมือทำอะไรซักอย่างไว้ก่อน…คุณอาจกำลังติดกับดัก “Action Bias” อีกหนึ่งปัญหาคลาสสิคของคนทำงาน!! Action Bias: มายาคติของ “ขอให้ได้ทำไว้ก่อน” Action Bias คือภาวะที่คนมีแรงผลักดันอันแรงกล้าที่จะ “ขอให้ได้ลงมือทำ” อะไรไว้ก่อนเมื่อเจอกับเรื่องอะไรก็ตาม ทั้งที่เมื่อพิจารณาสถานการณ์อย่างมีเหตุผลแล้ว วิธีที่ดีที่สุดอาจเป็นการ…อยู่เฉยๆ (รอดูสถานการณ์) “รีบลงมือทำไว้ก่อน…แต่สุดท้ายก็เปล่าประโยชน์” (หรือได้ไม่คุ้มเสีย) Action Bias จะทรงพลังเป็นพิเศษเมื่อเจอกับความไม่แน่นอน (Uncertainty) ยิ่งไม่แน่นอนและคาดการณ์ไม่ได้เท่าไร เรายิ่งต้องขอให้ได้ลงมือทำอะไรซักอย่างไว้ก่อนมากเท่านั้น เราอาจเรียกอาการนี้ขำๆ ได้ว่า “Do Something Syndrome” ทำไมเรามัก “ห้ามใจตัวเอง” ไม่ให้ลงมือทำไม่ได้? Action Bias ฝังลึกอยู่ในพันธุกรรมของมนุษย์ ในอดีตกาล การตัดสินใจและลงมือทำทันทีทันใดให้ “โอกาสรอดชีวิต” มากกว่าการนั่งขบคิด เช่น เดินอยู่ในป่าแล้วเจอเสืออยู่ลิบๆ จะวิ่งหนีทันที ไม่มัวมานั่งวิเคราะห์ว่า…เสือมันกินอิ่มแล้วหรือยัง / มากันกี่ตัว […]

“แรงจูงใจ” บางอย่าง กลับให้ผลลัพธ์ตรงข้ามกับที่คิด
ทำไมแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน…อาจไม่เวิร์คเสมอไป? ยิ่งเซนเซอร์…เนื้อหายิ่งแพร่หลาย? ยิ่งประจานเงินเดือน CEO ที่สูงลิบ…กลับยิ่งสูงขึ้นไปอีก ทำไม “แรงจูงใจ” (Incentives) บางอย่าง กลับให้ผลลัพธ์ตรงข้ามกับที่คิด? แรงจูงใจที่น่าจะให้ผลลัพธ์ A แต่กลับออกมา B นี่เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะการออกนโยบาย-ปล่อยแรงจูงใจบางอย่างออกไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่มีวันหวนคืนกลับมา…เรามาสำรวจไปพร้อมกัน ค่าคอมมิชชั่น นี่คือแรงจูงใจด้านตัวเงินที่เราคุ้นเคยกันดี และเป็นค่าคอมมิชชั่นเองที่มีอิทธิพลทำให้เรื่องที่ไม่ควรเกิด…กลับเกิดขึ้น Joe Wilson อดีตผู้บริหารเก่าที่ Xerox กำลังเซอไพรส์กับรายงานยอดขายตรงหน้าว่า ทำไมเครื่องถ่ายเอกสารรุ่นเก่าถึงขายดีกว่ารุ่นใหม่? ทั้งๆ ที่รุ่นใหม่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ดีกว่ารุ่นเก่าในทุกมิติ เขาตัดสินใจวางกระดาษรายงานลง แล้วเดินเข้าไปคุยกับทีมเซลล์แมนจนพบข้อเท็จจริงว่า จากการวางกลไกค่าคอมมิชชั่นดั้งเดิม ทำให้เครื่องรุ่นเก่ายังมี “ค่าคอมมิชชั่นที่สูงกว่า” รุ่นใหม่ เซลล์แมนจึงโฟกัสที่การขายรุ่นเก่าเพราะมีรายได้ดีกว่า เรื่องนี้แสดงถึง “อำนาจ” ของแรงจูงใจ ผู้คนมักจะเดินตามรอยแรงจูงใจเมื่อพวกเค้า “ได้ประโยชน์” ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแรงจูงใจ…แม้ว่านั่นจะหมายถึงการขายสินค้าที่ตกรุ่นให้ลูกค้า การที่เครื่องรุ่นเก่าอาจไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ (และอาจเสียลูกค้าในอนาคตไป) ประจานเงินเดือน CEO ที่ไม่ยุติธรรม (สูงเกินไป) ประเด็นความเหลื่อมล้ำภายในองค์กรที่พบเจอได้ตามองค์กรชั้นนำ โดยเฉพาะบริษัทสัญชาติอเมริกันก็คือ “เงินเดือน CEO” (รวมถึงค่าตอบแทนรูปแบบอื่นๆ ทั้งหมด) สูงกว่าพนักงานทั่วไป…มากเกินไปจนดูไม่ยุติธรรม มีความพยายามสร้างแรงจูงใจด้วยการ […]

Humor Effect: เพราะคนจำเรื่องตลกได้ง่ายกว่า
แคมเปญ FCK จาก KFC โฆษณาเก้าอี้วางขานั่งส้วมของ Squatty Potty Meme ท่านั่งกอดอกหนาวสั่นของ Bernie Sanders และเสน่ห์เจ้าพ่ออารมณ์ขันอย่าง Barack Obama …เหล่านี้คือไอเดียอารมณ์ขันชวนหัวเราะ และคือตัวอย่างพลานุภาพของ “Humor Effect” Humor Effect เพราะคนจำเรื่องตลกได้ง่ายกว่า Humor Effect คือการชนะใจคนด้วยอารมณ์ขัน เป็นการเล่นกับ “อารมณ์” ของมนุษย์ ผู้คนรู้สึกดีทุกครั้งเมื่อได้หัวเราะ “เสียงหัวเราะคือยาวิเศษ” การเข้าหาผู้บริโภคด้วยอารมณ์ขันสุดครีเอทีฟ(และกวนโอ้ย) มักได้ผลเป็นวงกว้างและจดจำง่าย (Impactful & Memorable) อยู่เสมอ โดยแบรนด์สามารถเข้าหาผู้บริโภคด้วย Humor Effect ได้หลากหลายช่องทางมากๆ เช่น โฆษณาเคลื่อนไหว / ภาพนิ่ง / ป้ายหน้าร้าน / อีเมล / Call Center / หรือแม้แต่คำพูดของ CEO Mark Zuckerberg […]

Primary & Recency Effect: เทคนิคการ “จำ” โดยใช้จิตวิทยา
ถ้าเลือกได้ คุณอยากทำงานกับหัวหน้าแบบไหน? 1. ฉลาด / ขยัน / ขี้สงสัย / ดื้อรื้น / ขี้อิจฉา 2. ขี้อิจฉา / ดื้อรั้น / ขี้สงสัย / ขยัน / ฉลาด ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่จะเลือก “หัวหน้าคนแรก” ทั้งๆ ที่ทั้ง 2 คน มีอุปนิสัยเหมือนกันเป๊ะ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “Primary Effect” กล่าวคือ ข้อมูลชุดแรกๆ (Primary) ที่ได้รับ จะฝังใจและถูกจดจำมากกว่า เราจะรู้สึกว่า หัวหน้าคนแรกเป็นคน “ฉลาด และ ขยัน” ขณะที่ หัวหน้าคนที่สองเป็นคน “ขี้อิจฉา และ ดื้อรั้น” นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมจะต้องมี “โฆษณา” เปิดตัวสินค้าใหม่ ทั้งๆ ที่สินค้านั้นยังไม่วางจำหน่ายในท้องตลาด คือเหตุผลมุมกลับที่ว่าทำไมแคนดิเดตที่มาสัมภาษณ์สาย จะถูกตีตราแง่ลบเป็นพิเศษ (จนถึงกับถูกตัดสินไม่ให้ผ่าน) […]

JR ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ขนส่งมวลชนที่ทำกำไรมหาศาล
JR มีรายได้เฉพาะค่าโดยสารรถไฟกว่า 4.31 ล้านล้านเยน สถานีรถไฟเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เป็นส่วนหนึ่งในการท่องเที่ยวของพวกเราที่ขาดไม่ได้ JR มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? Privatization ทศวรรษ 1970s การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese National Railways – JNR) เป็นหนี้สะสมมากถึง 250,000 ล้านเยน ทางรอดคือการ “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ” โอนกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (Privatization) ใช้เวลาเตรียมการราว 10 ปีจนแล้วเสร็จในปี 1987 ผลลัพธ์คือ Japan Railways (JR) แตกออกเป็น 6 กลุ่มบริษัทใหญ่แบ่งตามภูมิภาค ได้แก่ JR Hokkaido / JR East / JR Central / JR West / JR Shikoku / JR Kyushu เมื่อเอกชนเข้ามาบริหาร เชี่ยวชาญในแต่ละภูมิภาค […]

Forer Effect: ทำนายแบบนี้…ใครๆ ก็ว่าแม่น
“คุณโอบกอดการเปลี่ยนแปลง และพร้อมรับสิ่งใหม่ๆ” “ลึกๆ แล้วคุณอยากเป็นที่ยอมรับในสังคม” “คุณภูมิใจที่มีความคิดอิสระเป็นของตัวเอง” “ช่วงนี้ตลาดผันผวน เราแนะนำให้คุณระวังการลงทุน” ช่างเป็นคำพูดที่คมคาย แต่เมื่อพิจารณาดีๆ…มันก็เข้าข่ายทุกคนไม่ใช่เหรอ? ถูกต้องแล้ว นี่คือกับดักสุดแนบเนียนที่เรียกว่า “Forer Effect” Forer Effect: พูดแบบนี้ใครๆ ก็พูดได้ คิดค้นโดยคุณ Bertram Forer (1914-2000) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เขาค้นพบว่าจะมีบางชุดความคิด-ประโยค-คำพูด ที่ “เป็นกลาง…ใครๆ ก็เข้าข่าย” เหมือนกันหมด (Universal description) พูดไปแล้วถูกจริตกับทุกคน…ใช้ได้กับทุกคน!! เขานิยามมันว่า “Forer Effect” ตามชื่อตัวเอง เรื่องนี้เขาไม่ได้คิดทึกทักขึ้นเอง แต่พิสูจน์แล้วจากการทดลอง ปี 1948 Bertram Forer ทำการทดลองโดยเขียนคำบรรยายที่ “สะท้อนตัวตน” เหล่านักศึกษาของเขา และให้แต่ละคนมอบคะแนนลงไประหว่าง 1-5 (5 = ใกล้เคียงที่สุด) เช่น มีแรงขับภายในอันแรงกล้าที่อยากเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับจากผู้อื่น รู้ตัวว่ามีข้อเสียบางอย่าง และยังใช้ศักยภาพที่มีอยู่ไม่เต็มที่ แม้ภายนอกจะดูแข็งแกร่ง แต่บางครั้งภายในช่างบอบบาง บ่อยครั้ง […]

จิตวิทยาของการ “ไม่กล้าตัดสินใจ” จนปัญหาบานปลาย
รู้แหล่ะ ว่าต้องทำแบบนี้…แต่ไม่กล้าออกคำสั่งซะที มีข้อมูลตรงหน้าอยู่ครบ แต่ไม่กล้าตัดสินใจซะที ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ จนโอกาสผ่านพ้นไปและไม่กลับมาอีกเลย ทำไมการ “ตัดสินใจ” ช่างเป็นเรื่องยากเหลือเกิน พูดง่ายแต่ทำยาก และบ่อยครั้ง การไม่ตัดสินใจนำไปสู่ปัญหาบานปลายโดยไม่จำเป็น จิตวิทยาของการ “ไม่กล้าตัดสินใจ” เพราะเราไม่มีทางรู้ “ข้อเสีย” ที่ตามมาอย่างแน่ชัดในทุกๆ เรื่อง ไม่รู้ว่ามันจะส่งผลร้ายในแบบที่คาดไม่ถึงรึเปล่า และผู้บริหารที่แคร์ผู้อื่นจะทราบดีว่า ทุกการตัดสินใจทำอะไร ย่อมมี “ราคาที่ต้องจ่าย” (ผลกระทบที่ตามมา) แต่เราไม่มีทางรู้ตัวเลขราคาที่แน่ชัดได้ และราคาเองก็อาจเปลี่ยนไป (แพงขึ้น-ถูกลง) ตามสถานการณ์ สุดท้าย เราเลยมักอยู่กับที่-อยู่กับ Comfort Zone ขณะนี้ที่เป็นอยู่ ซึ่งในบางธุรกิจ มันนำไปสู่การถูก Disrupt ได้ง่ายๆ นอกจากนี้ เราอยู่ในยุคของข้อมูลข่าวสาร อยากรู้อะไรต้องได้รู้ เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและเร็ว กลายเป็นความเคยชินและมาตรฐานในการทำงานไปแล้วว่า ถ้าจะตัดสินใจอะไร ต้องเปรียบเทียบ “ข้อมูลทั้งหมด” ดูก่อน ถ้าคู่แข่งโดยตรงในตลาดมี 10 ราย ก็ต้องเอาข้อมูลทุกรายละเอียด 10 รายมาวางเรียงกัน อันดับแรก มีโอกาสสูงมากในการเกิด “Decision […]

False Causality: สิ่งที่เกิดก่อนไม่ใช่ “สาเหตุ” เสมอไป
ยิ่งจ้างพนักงานดับเพลิงมากเท่าไร…ไฟไหม้ยิ่งเกิดบ่อยเท่านั้น ยิ่งทาครีมกันแดดบ่อยๆ ยิ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ท้องเสียหลังกินกาแฟเสร็จ กาแฟต้องเป็นสาเหตุแน่ๆ ถ้าดูเผินๆ ก็ฟังดูมีเหตุผล แต่เดี๋ยวนะ…มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เหรอ? หรือว่าคุณกำลังตกหลุมพราง “False Causality” อยู่กันแน่?!! False Causality สิ่งที่เกิดก่อน ไม่ใช่สาเหตุเสมอไป False Causality คือกับดักทางความคิดที่เราด่วนสรุปไปเองว่า “A ทำให้เกิด B” (A เป็นสาเหตุของ B) ทั้งที่ความจริงแล้ว… อาจเป็น B ต่างหากที่ทำให้เกิด A หรือ C ต่างหากที่ทำให้เกิด B หรือแม้แต่…ทั้งคู่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่แรกอยู่แล้ว!! เช่น ลม VS. กังหันลม…เมื่อเห็นกังหันลม (Windmill) หมุนๆๆ เราอาจเผลอคิดไปว่า “กังหันลมทำให้เกิด 🡺 ลม” แต่คำตอบทางวิทยาศาสตร์คือ ลมเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศสองแห่งที่มี อุณหภูมิต่างกัน…การเกิดลมจึงไม่จำเป็นต้องมีกังหันลม แต่กังหันลมจะหมุนได้จำเป็นต้องมีลมมาผลิตพลังงานให้หมุน เราจะเริ่มเห็นแล้วว่า False Causality เป็นเรื่องอันตรายมาก เมื่อคิดผิด […]

Sleeper Effect: เทคนิคโน้มน้าวใจสุดแนบเนียน
สงสัยไหม…ทำไมโฆษณาชวนเชื่อ หรือ Propaganda มักได้ผลในหลายๆ ประเทศ? เบื้องหลังความสำเร็จคือกับดักจิตวิทยาที่เรียกว่า “Sleeper Effect” Sleeper Effect: เทคนิคโน้มน้าวใจสุดแนบเนียน Sleeper Effect เป็นเทคนิคโน้มน้าวใจที่แนบเนียนที่สุดก็ว่าได้…มัน “แนบเนียน” เพราะข้อความชวนเชื่อจะยังไม่ออกฤทธิ์แต่แรก จนผู้รับสารเผลอตายใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป (และเราได้ยินข้อความนั้นซ้ำๆ) อาจมารู้ตัวอีกทีว่าตัวเอง “หลงกล” เข้าให้แล้ว ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 U.S. War Department ได้จัดทำ National Propaganda ขนานใหญ่ระดับประเทศ เพื่อให้ประชาชนและทหารสนับสนุนการเข้าร่วมสงคราม ด้วยความที่ใช้งบประมาณมหาศาล นักวิจัยของภาครัฐได้ติดตามผลลัพธ์จนพบกับเรื่องน่าสนใจ กล่าวคือ เมื่อทำแบบสอบถามครั้งที่ 1 กับเหล่าทหารว่าคิดเห็นอย่างไรกับ Propaganda เหล่านี้ คำตอบคือ ทหารส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะ “ดูออก” รู้แหล่ะว่าเป็น Propaganda จากภาครัฐ ยังไงก็ต้องทำให้ตัวเองดูดีอยู่แล้ว แต่พอ 9 สัปดาห์ให้หลัง เมื่อทำแบบสอบถามครั้งที่ 2 กับกลุ่มเดิม กลับพบว่า…ทหารส่วนใหญ่ […]

Xiaomi ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่นวัตกรรมสุดล้ำในราคาเป็นมิตร
Xiaomi ผงาดเป็นผู้นำตลาดในเวลาแค่ 10 ปี รายได้ 1.3 ล้านล้านบาท กำไร 192,000 ล้านบาท ในชีวิตประจำวันของเรา เริ่มมีสินค้า Xiaomi เข้ามาแล้ว Xiaomi มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร? สู่นวัตกรรมไฮเทคในราคาแสนเป็นมิตร กรุงปักกิ่ง 2010 Xiaomi ก่อตั้งขึ้นในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี 2010 นี้เอง โดยคุณ Lei Jun และเพื่อนระดับหัวกะทิอีก 6 คน โดยผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Lei Jun มีความฝันที่เปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เค้ามี Steve Jobs เป็นไอดอล ประทับใจความเก่งที่สร้าง “สมาร์ตโฟน” จนพลิกวงการเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เขาจึงมีความฝันมาตั้งแต่นั้นว่า อยากสร้างสมาร์ตโฟนที่ดีติดท็อปโลก…เพียงแต่มาในราคาที่ผู้คนส่วนใหญ่ “เข้าถึงได้” (Financially accessible) Lei Jun จึงทาบทามเพื่อน 6 คนที่ทำงานอยู่บริษัทเทคโนโลนีชั้นนำของอเมริกา เช่น Google […]

Sustainability as Survival: ถ้ารักตัวเอง ต้องรักษ์โลกด้วย
แต่ละปี กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ได้ปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศกว่า 43,000 ล้านตัน (อัตราเพิ่มขึ้นทุกปีๆ) นำไปสู่ปัญหาแห่งศตวรรษที่ 21 นั่นคือ “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งส่งกระทบตามมาที่แทบบรรยายไม่จบไม่สิ้น เมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น นำไปสู่การละลายของธารน้ำแข็งที่ขั้วโลก ปี 1980 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 7.7 ล้าน ตร.กม. ปี 2018 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 4.7 ล้าน ตร.กม. ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เมืองใหญทั่วโลกอย่าง New York / London / Shanghai / Tokyo / และ Bangkok จะถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดในท้องทะเล ทำให้ปริมาณปลาที่จับได้น้อยลง หมายถึงอาหารที่น้อยลงตามมา เหตุการณ์เหล่านี้จะรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เช่น คลื่นความร้อน / ความแห้งแล้ง / ไฟป่า และยังเกิด “จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้” (Irreversible […]