📰 บทความทั้งหมด

Co-operation ต่างหากคือกุญแจสู่ความสำเร็จ (ไม่ใช่ Competition)
แข่งกันเรียน…เพื่อให้ได้เกรดดี เป็นที่ 1 ของห้อง แข่งกันสอบ…เพื่อแย่งกันเข้ามหาลัยฯ ชั้นนำ แข่งกันทำงาน…เพื่อความก้าวหน้าในโลกธุรกิจ พวกเราคุ้นเคยกับการ “แข่งขัน” (Competition) ในทุกเรื่องมาตลอดทั้งชีวิต เรามองว่ามันเป็นเรื่องปกติและเป็นบันไดที่จำเป็นต้องก้าวผ่านไปสู่ความสำเร็จ แต่ถ้าความจริงคือ…มันไม่ใช่อย่างที่เราคิดล่ะ? ถ้าเป็น “ความร่วมมือกัน” (Cooperation) ต่างหากที่นำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งมีตัวอย่างเบื้องล่างให้ได้เห็นกันมากมาย แต่ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจใหม่ เราย้อนกลับไปสำรวจกันก่อนว่า การแข่งขัน…เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? แนวคิด Competition มีที่มาอย่างไร? รากฐานของการแข่งขัน เริ่มต้นขึ้นพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของ “ระบบทุนนิยม” (Capitalism) ในยุโรปเมื่อราว 500 ปีที่แล้ว (ประวัติโดยย่อ) ชนชั้นนำยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ได้จับมือร่วมกันทำสิ่งที่เรียกว่า ”Enclosure” ใช้กำลังทหารในการล้อมรั้วผืนที่ดินของประชาชนซึ่งเดิมใช้ทำไร่ทำนาเลี้ยงชีพ และร่างกฎหมายใหม่เกิดสิ่งที่เรียกว่า “กรรมสิทธิ์” (Ownership) เริ่มจากผืนที่ดิน ก่อนจะเป็นโรงงาน สินค้า แรงงาน และอื่นๆ ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 18 แทบไม่มีที่ดินว่างเปล่าในยุโรปอีกแล้ว ล้วนถูกจับจองมีกรรมสิทธิ์ของชนชั้นสูงคนใดคนหนึ่ง ถึงตอนนี้ ประชาชนไม่มีที่ดินในการทำนาเพื่อผลิตอาหารมายังชีพ เมื่อไม่มีทางเลือกจึงต้อง “ขายแรงงานตัวเอง” กลับไปทำไร่ทำนาให้เจ้าขุนมูลนาย […]

Contrast Effect: เพราะทุกสิ่งเกิดจากการ “เปรียบเทียบ”
รถ Benz ของคุณดูธรรมดาไปเลย เมื่อจอดข้าง Ferrari ปลาหิมะ 490.- ดูถูกไปเลยเมื่อวางข้างเนื้อวากิว 5,900.- คนสูง 180 ดูเตี้ยไปเลยเมื่อยืนข้างนักบาสสูง 198 กำไร 100 ล้านของบริษัทคุณดูน้อยไปเลย เมื่อเทียบกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่กำไร 5,000 ล้าน เห็นไหม? ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากการเปรียบเทียบ และนั่นคือที่ของ “Contrast Effect” Contrast Effect เราตัดสินเรื่องหนึ่งเพราะมาจากการเปรียบเทียบ Contrast Effect คือกับดักอคติทางความคิดอย่างหนึ่ง ที่การ “เปรียบเทียบ 2 สิ่ง” ที่แตกต่างชัดเจน (Contrast) นำไปสู่การเข้าใจความจริงที่บิดเบือน โดยเราอาจเผลอเปรียบเทียบแค่ 2 สิ่งนี้แทนที่จะเปรียบเทียบกับ “มาตรฐาน” ตัวชี้วัดต่างๆ เรื่องนี้อันตรายมาก เพราะการตัดสินใจของเราจะไม่มีประสิทธิภาพเลยเมื่อตั้งอยู่บนความเข้าใจผิดๆ และการไร้ซึ่งมาตรฐาน Contrast Effect จะยิ่งทรงพลังเมื่อ 2 สิ่งที่เปรียบเทียบนั้น เป็นของประเภทเดียวกันแต่มีความ “แตกต่างสุดขั้ว” เช่น บริษัท Startup […]

Feature-Positive Effect: เรามักมองข้ามสิ่งที่หายไป
เวลาเราสบายดี…มักไม่นึกถึงตอนป่วยนอนติดเตียง เวลาเลือกซื้อสินค้า…มักโฟกัสแต่ข้อดีที่ถูกโฆษณาชวนเชื่อ นี่คือภาวะบกพร่องหนึ่งของมนุษย์ที่เรียกว่า “Feature-Positive Effect” Feature-Positive Effect: เรามักมองข้ามสิ่งที่มองไม่เห็น Feature-Positive Effect คือ ภาวะที่คนเรามักละเลย-ไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่หายไป หรือ ขั้วตรงข้ามของสิ่งที่มีอยู่ตอนนี้ (Positive ในที่นี่คือ การปรากฎมีตัวตนอยู่) มองอีกมุมได้ว่า “มนุษย์มักให้ค่ากับสิ่งที่มีอยู่ มากกว่า สิ่งที่ไม่มี” การมอบรางวัลโนเบลสะท้อนเรื่องนี้ได้ชัดเจนมาก ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบลจะต้องเป็นทฤษฎีที่ถูก “พิสูจน์ว่าถูกต้อง” แล้วเท่านั้น ทั้งๆ ที่ทฤษฎีก่อนหน้าที่ถูก “พิสูจน์ว่าผิด” ก็สำคัญไม่แพ้กันมิใช่เหรอ? เพราะมัน “ปูทาง” มาสู่ทฤษฎีที่ถูกต้องในที่สุด? Sainsbury และ Jenkins 2 นักจิตวิทยาผู้คิดค้นเรื่องนี้ได้พิสูจน์โดยการให้ผู้เข้ารับการทดลองดูตัวเลข 2 ชุด ชุดแรก: 147 / 724 / 947 / 421 / 843 / 394 แล้วถามว่าตัวเลขเหล่านี้มีอะไรเหมือนกัน? คนส่วนใหญ่จะตอบถูกต้องว่า “มีเลข 4” […]

Canva ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่สตาร์ทอัพตัวท็อปของโลก
Canva ก้าวขึ้นเป็น Startup ที่อันดับ 5 ของโลก ด้วยการประเมินมูลค่าบริษัทกว่า 1.2 ล้านล้านบาท และเป็นเครื่องมือขวัญใจของกราฟฟิกดีไซเนอร์ทั่วโลก จุดเริ่มต้นเล็กๆ จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักด้านงานกราฟฟิกดีไซน์ จนวันนี้ Canva ให้บริการกว่า 190 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ใช้งานสูงถึง 55 ล้านคน/เดือน Canva มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร? ฝันใหญ่แต่เริ่มก้าวเล็กๆ Canva เป็นบริษัท Design Software สัญชาติออสเตรเลีย ก่อตั้งในปี 2013 โดย 3 ผู้ก่อตั้งคือคุณ Melanie Perkins / Cliff Obrecht / และ Cameron Adams เหล่า Founders เดินทางไป Pitch ไอเดียที่ Silicon Valley อยู่หลายต่อหลายครั้งจนสุดท้ายได้เงินลงทุนตั้งต้นมา $1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือราว 45 ล้านบาท) […]

Failure-Tolerant Leader: ผู้นำที่ไม่ยอมแพ้ต่อความล้มเหลว
Tim Cook ที่บริหาร Apple ให้ล้มเหลวภายใน Jeff Bezos ยินดีกับความล้มเหลวของพนักงาน Amazon Howard Schultz เอาชนะความกลัวเพื่อกู้ชีพให้ Starbucks นี่คือ Failure-Tolerant Leaders เหล่าผู้นำที่ไม่ยอมแพ้ต่อความล้มเหลว ทั้งความผิดพลาดของตัวเอง / ของพนักงาน / หรือคนที่เอาชนะความกลัวการล้มเหลวและกลับมาเริ่มใหม่ ท่ามกลางโลกธุรกิจที่หมุนอย่างรวดเร็วและการแข่งขันชนิดแพ้คัดออก ความล้มเหลวแทบจะเป็นเงื่อนไขที่ต้องมี (Prerequisite) ก่อนสร้างนวัตกรรมสำเร็จไปแล้ว ยากมากที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่การได้มาซึ่งนวัตกรรมอันก้าวหน้ามักต้องแลกมาพร้อมความล้มเหลว เนื่องมาจากการลองผิดลองถูก การท้าทายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครทำ “ความสำเร็จ x ความล้มเหลว” เป็นเหมือน “หยิน x หยาง” ที่ยากจะแยกขาดจากกันได้ การมี Mindset ที่โอบกอดความล้มเหลวจึงเป็นอีกทัศนคติที่ผู้นำทุกคนต้องมี Thomas Watson อดีตซีอีโอ IBM ยังเผยว่า วิธีที่จะสำเร็จได้เร็วที่สุด คือ “รีบล้มเหลวให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า” เราลองมาดูตัวอย่างผู้นำองค์กรระดับโลกเหล่านี้กันว่าเขามีวิธีคิดต่อความล้มเหลวอย่างไรบ้าง? Tim Cook […]

ทำไม New Year’s Resolution ถึงไปไม่ถึงฝั่งฝัน?
เอาล่ะ…ปีหน้าต้องลดน้ำหนักให้ได้!! เอาล่ะ…ปีหน้าต้องมีแฟนให้ได้!! เอาล่ะ…ปีหน้าจะเริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัว!! เอาล่ะ…ปีหน้าเงินเดือนต้องขึ้น ตำแหน่งต้องเลื่อนขั้น!! เมื่อเวลาวนมาถึงช่วงส่งท้ายปีเก่าของทุกปี ความหวังและไฟในตัวของผู้คนจะลุกโชนขึ้นอีกครั้งด้วยการทำ “New Year’s Resolution” หรือ “ปณิธานปีใหม่” พวกเรามีความหวังว่าปีหน้า “อะไรๆ จะดีขึ้น” และตั้งเป้าเขียนมันลงไป แต่น่าเสียดาย…เพราะสิ่งที่เขียนลงไปของใครหลายคนมักไปไม่ถึงฝั่งฝัน ผลวิจัยที่กินเวลา 2 ปีเต็มจาก Scranton University ที่สำรวจในหมู่คนที่ทำ New Year’s Resolution กว่า 200 คน พบว่า มีเพียง 19% เท่านั้นที่ไปถึงฝั่งฝัน นั่นหมายถึงอีก 81% ล้มเหลว และส่วนใหญ่ล้มเลิกกลางคัน (กลางเดือนมกราคมก็ยอมแพ้แล้ว) ทำไม New Years’ Resolution ของหลายคนไปไม่ถึงฝัน? ไม่ครอบคลุมทุกมิติของชีวิต เพราะชีวิตคนเรามีความ “หลากหลาย” ไม่ได้มีแค่เรื่องการงานและธุรกิจ คนที่ตั้งเป้าแต่เรื่องธุรกิจ…อาจละเลยเรื่องสุขภาพ คนที่ตั้งเป้าแต่เรื่องสุขภาพ…อาจละเลยความสัมพันธ์รอบตัว คนที่ตั้งเป้าแต่เรื่องความสัมพันธ์…อาจละเลยความก้าวหน้าในการงาน ถ้าเราเพิกเฉยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มันจะ “ย้อนกลับมา” ทำร้ายตัวคุณเอง เช่น […]

Bystander Effect: สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วย สาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่ พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น? เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า “Bystander Effect” Bystander Effect สาเหตุที่พนักงานไม่บอกปัญหาให้บริษัทรู้ Bystander Effect คือภาวะที่ถ้าคุณอยู่ตัวคนเดียวและเจอเหตุการณ์ไม่ดีตรงหน้า…คุณมีแนวโน้มจะยื่นมือช่วยเหลือเต็มที่ แต่ ถ้าคุณอยู่กับคนอื่นอีกหลายคนและเจอเหตุการณ์ไม่ดีตรงหน้า…กลับมีแนวโน้มที่จะ “ไม่มีใคร” ช่วยเลย!! เรื่องนี้ขัดแย้งกับตรรกะ Common Sense คนส่วนใหญ่ที่คิดว่า “ยิ่งคนเยอะ-ยิ่งช่วยได้ง่ายขึ้น” กลับกลายเป็น… ยิ่งคนเยอะ = ยิ่งมีโอกาสช่วยน้อย ยิ่งคนน้อย = ยิ่งมีโอกาสช่วยเยอะ เรื่องนี้มีคำอธิบายทางจิตวิทยา Dacher Keltner ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก University of California เผยว่าสาเหตุเป็นเพราะ ยิ่งผู้พบเห็นเหตุการณ์ (Bystander) เยอะมากเท่าไร “ความไม่ชัดเจนในความรับผิดชอบ” (Unclear responsibility) ยิ่งทวีคูณมากขึ้นเท่านั้น!! เพราะ Bystander แต่ละคนก็จะคิดว่า “ถ้าเราไม่ช่วย…เดี๋ยวคนอื่นแถวนี้ก็ช่วยเองแหล่ะ” “คนเห็นตั้งเยอะแยะ สุดท้ายต้องมีซักคนในนี้นี่แหละที่ช่วย” “อ้าว แล้วทำไมผมต้องช่วย […]

Self-Talk: เรื่องปกติที่คนเก่งเค้าทำกัน(ลับๆ)
“เราทำได้ เราทำได้ มาถึงขนาดนี้…เราต้องทำได้สิ!!!” “กลัวอะไร? ทำไมไม่ลงมือทำซักที? ติดขัดตรงไหน หึ?” “เฮ้ย ใจเย็นๆ ก่อนนะ อย่าพึ่งวู่วาม อย่าพึ่งเซ็นสัญญา คิดให้รอบคอบอีกครั้งก่อน!!!” เรามักคุ้นเคยคำพูดเหล่านี้ที่ คนอื่นพูดกับเรา หรือ เราพูดกับคนอื่น แต่คำพูดเหล่านี้ยังสามารถใช้ “พูดกับตัวเอง” หรือที่เรียกว่า “Self-Talk” ได้อย่างปกติวิสัยกว่าที่คุณคิด!! Self-Talk: เรื่องปกติที่คนเก่งทำกัน(ลับๆ) อย่างแรก ขอให้วาง Myth มายาคติเดิมๆ ที่มีอยู่ลงก่อน ที่มักคิดว่าคนที่ทำ Self-Talk คือคนที่มี “อาการทางจิต” เริ่มป่วยรึเปล่า? มีเพื่อนคุยบ้างไหม? ใจเย็นๆ อย่าพึ่งคิดสั้นนะ!! ทั้งๆ ที่ Self-Talk ก็คือการที่เราสื่อสารกับสมองตัวเอง ทำให้สมองทำงานอย่างมีตรรกะเหตุผลมากขึ้น นำไปสู่การตัดสินใจในการทำงานและชีวิตที่ดีขึ้น การคุยกับตัวเองทำให้เรารู้ “จุดยืน” สถานการณ์ของตัวเอง ณ ตอนนั้น และยังเป็น “ยา” คลายเครียดชั้นดี (โดยไม่ต้องหาหมอ) ปัญหาโรคระบาด / ถูกล็อคดาวน์เมือง […]

Fiji Water ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์น้ำแร่หรูหรามีรสนิยม
Fiji Water คือแบรนด์น้ำแร่หรูแถวหน้าของโลก เป็นที่นิยมในหมู่ดาราไฮโซคนมีชื่อเสียง วางขายใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก จากจุดเริ่มต้นในเวลาไม่กี่ทศวรรษ Fiji Water ได้ขึ้นสู่แถวหน้าของแบรนด์น้ำแร่หรู เป็นภาพลักษณ์ที่ใครหลายคนอยากดื่ม…หรือแค่ถือเท่ๆ ไว้ข้างกาย Fiji Water มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? จุดเริ่มต้นจากประเทศฟิจิ Fiji Water ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 โดยนักธุรกิจชาวแคนาดาคุณ David Gilmour เป็นแบรนด์น้ำแร่หรูที่มีแหล่งกำเนิดมาจากใต้บาดาล (Artesian aquifer) แหล่งน้ำในหมู่เกาะวิติเลวู (Viti Levu) ประเทศฟิจิ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุจากธรรมชาติ วัตถุดิบชั้นดีนี้จะถูก “ถ่ายทอด” ออกไปสื่อเพื่อครองใจผู้คนด้วยวิธีการต่างๆ จนวางขายอยู่กว่า 90 ประเทศทั่วโลก และเป็นตัวเลือกน้ำแร่หรูอันดับต้นๆ แทบทุกสถานที่ Storytelling ฟิจิเป็นประเทศที่มีเกาะเล็กเกาะน้อยกว่า 300 เกาะ สภาพแวดล้อมยังมีความอุดมสมบูรณ์ ยังไม่ถูกแตะต้องจากอารยธรรมมนุษย์มากนัก และอยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ประเทศออสเตรเลียที่อยู่ใกล้ยังห่างออกไปเกือบ 3,000 กม. ด้วยแหล่งที่มาเริ่มต้นเช่นนี้ (Country of origin) […]

Scout Mindset: เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบๆ ห่างๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ ทรัพยากร หรือประสบการณ์คว่ำหวอดมากไปกว่าใคร แต่ชุดความคิดหนึ่งที่มีติดตัวกันทุกคน คือ “Scout Mindset” Scout Mindset เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่ห่างๆ (และเงียบๆ) Scout Mindset หรือการมีมุมมองความคิดแบบแมวมอง จะมีคาแรคเตอร์แบบ “นักสังเกตการณ์” ที่วิเคราะห์สถานการณ์แบบมุมมองบุคคลที่ 3 อย่างเงียบๆ ห่างๆ มองโลกตามแบบที่มันเป็น (See the world as it is.) เช่น ข้อมูลและบทเรียนประวัติศาสตร์บอกเราว่า ถ้าประเทศไทยอยากก้าวข้าม “กับดักรายได้ปานกลาง” ต้องมีเทคโนโลยีชั้นนำเป็นของตัวเองและพัฒนาอุตสาหกรรมที่สร้างผลผลิตเพิ่มมูลค่าสูง (ไม่ใช่ “รับจ้างผลิต” แบบทุกวันนี้) Julia Galef นักจิตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ The Scout Mindset เผยว่า ความน่าสนใจของ Scout Mindset คือ ความ “เป็นกลาง” วิเคราะห์สถานการณ์โดยปราศจากอคติ ไม่เอาตัวเองลงไปพัวพัน […]

Music Therapy: ปรนนิบัติกายใจด้วยเสียงดนตรี
จู่ๆ ก็ปิ๊งไอเดียหลังอาบน้ำไป-ฟังเพลงไป ร้านกาแฟที่มีเสียงดนตรีเบาๆ เป็นฉากหลัง เปียโนบรรเลงในล็อบบี้และสปาโรงแรม ความผ่อนคลายเหล่านี้มีเบื้องหลังคือ “Music Therapy” Music Therapy ปรนนิบัติกายใจด้วยเสียงดนตรี Music Therapy คือศาสตร์ที่ใช้เสียงดนตรีมาปลอบประโลม ฟื้นฟูเยียวยา และเพิ่มประสิทธิภาพทั้งกาย / ใจ / สมอง เดิมที เป็นขั้นตอนปฏิบัติที่จิตแพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยทางจิตผ่านเสียงเพลงดนตรี แต่ปัจจุบันถูกประยุกต์ใช้ในการทำงาน เป็นวิธีการ “ชาร์จพลัง” ตัวเองที่มีประสิทธิภาพมากๆ เพราะสมองคนเราจะจดจำได้ดียิ่งขึ้นเมื่อผ่อนคลาย และเพิ่มระดับความคิดสร้างสรรค์อย่างชัดเจน สถาบัน American Music Therapy Association (AMTA) เปิดเผยว่า สมองส่วน Medial Prefrontal Cortex ที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้าน อารมณ์ / ความทรงจำ / การโฟกัส จะทำงานมีประสิทธิภาพอย่างชัดเจนขณะ “กำลังฟังเสียงดนตรีคลอ” อย่างผ่อนคลาย และเป็นเบื้องหลังที่ทำให้เหล่านักร้อง-นักดนตรี สามารถ “แต่งเพลง” อันไพเราะตราตรึงใจได้อย่างไม่มีสิ้นสุด อันที่จริง ไม่ใช่แค่ไอเดียสุดบรรเจิด แต่…กระบวนการคิดวิเคราะห์ […]

Think Aloud: เทคนิคปิ๊งไอเดียแบบเรียบง่าย
เคยไหม? จะเสนอไอเดียซักอย่างกลางที่ประชุมต้อง “คิดแล้ว-คิดอีก” กลั่นกรองออกมาให้เป็นคำพูดที่เป๊ะฟังดูชาญฉลาด (กลัวโดนคนอื่นหาว่าโง่) แต่ในทางปฏิบัติ ไอเดียบรรเจิดไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ จะมีเทคนิคอะไรไหมที่ “เรียบง่าย” แต่เวิร์ค ประหยัด ไม่เป็นทางการ และใช้ได้กับทุกคน? Think Aloud เทคนิคเฟ้นหาไอเดียแสนเรียบง่าย ขอต้อนรับให้รู้จักเทคนิค Think Aloud หรือการ “คิดแบบออกเสียง(ดังๆ)” เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ที่บริษัท IBM เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1982 โดยคุณ Clayton Lewis Think Aloud เป็นเทคนิค “เฟ้นหาไอเดีย” แบบเรียบง่ายที่ใช้ประโยชน์จาก “สัญชาตญาณ” ความรู้สึกของคนเราในตอนนั้น เป็นเหมือนหน้าต่างสู่จิตวิญญาณ (Window to the soul) ไม่ใช่แค่สิ่งที่สมองคิด และลึกลงไปถึง “จิตใจ” ความรู้สึกข้างใน ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Think Aloud ถือเป็น “กิจกรรม” อย่างหนึ่งของทีม เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน ได้โต้แย้งไอเดียนั้นทันที เกิดการตกผลึก สานความสัมพันธ์ด้วยกัน (เพราะมักไม่เป็นทางการ) […]