📰 บทความทั้งหมด

Motivation Crowding: “เงิน” ไม่ได้ซื้อได้ทุกอย่าง
เหล่าอาสาสมัครช่วยหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด-19 ทำงานเพราะอุดมการณ์ พอมีคนจ่ายเงินให้ รู้สึกโกรธ ผู้ปกครองจ่ายค่าปรับการมารับลูกที่โรงเรียนสาย ปรากฎว่ายิ่งมาสายเข้าไปใหญ่ ชาวบ้านที่สวิตเซอร์แลนด์ปฏิเสธข้อเสนอของภาครัฐที่ยื่นเงินให้ แลกกับการตั้งพื้นที่ทิ้งกากกัมมันตรังสี ผู้คนจำนวนมากคิดว่าเงินคือแรงจูงใจสูงสุด (Ultimate Motivation) ยิ่งมาก…ยิ่งดี แต่เรื่องบางเรื่อง “เงิน” เป็นแรงจูงใจชั้นดี…แต่เป็นได้ถึงแค่จุดหนึ่ง เมื่อเกินจุดนั้นไปแล้ว เงินจะให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม และแรงจูงใจจะมลายหายไปในที่สุด นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “Motivation Crowding” Motivation Crowding เงินไม่ได้ซื้อได้ทุกอย่าง Motivation Crowding เป็นภาวะที่แรงจูงใจที่เป็นตัวเงินเข้ามาทำลายแรงจูงใจอื่นๆ ที่ดีไปจนหมด กล่าวคือ ในบางเรื่อง…คนเราแค่ต้องการทำสิ่งที่ดีงามออกมาจากหัวใจอย่างบริสุทธิ์โดยไม่หวังผลตอบแทน แต่พอมีการ “ให้เงิน” เกิดขึ้น แรงจูงใจที่อยากทำดีนั้นก็ลดฮวบทันที กล่าวได้ว่า…”เงินตบหน้าความตั้งใจดีๆ ที่เรามี” ซึ่ง Motivation Crowding จะไปกระทบความสัมพันธ์-ด้อยค่าทางจิตใจ จนมิตรภาพทางธุรกิจและชีวิตส่วนตัวอาจสั่นคลอนได้ “ทันที” เช่น คุณไปงานปาร์ตี้ขึ้นบ้านใหม่ของเพื่อนสนิท เพื่อนคุณทำอาหารใหญ่โตเลี้ยงแขกทุกคน แต่ก่อนจากลา…คุณกลับมอบเงินใส่ซองเป็นค่าอาหารให้ ต้องไม่ลืมว่า…มนุษย์มีสิ่งที่เหนือกว่าเงินเป็นแรงจูงใจเสมอ ทำไมเราถึงรู้สึกแบบนี้? ในอดีตกาล มนุษย์อยู่อาศัยกันเป็นเผ่า (และยังไม่ได้ประดิษฐ์เงิน) ทุกคนต่างต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอด กระบวนการวิวัฒนาการจึงหล่อหลอมให้มนุษย์ทุกคนมี “แรงจูงใจภายใน” (Intrinsic […]

Toxic Masculinity ในที่ทำงาน: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ที่พาบริษัทล่ม
เรื่องสำคัญถูกตัดสินโดยกลุ่มผู้บริหารชายล้วนเท่านั้น การทำงาน ชายต้องเป็นพระเอก หญิงคือพระรอง ชายต้องมาคนแรก ทำงานหนัก และไปดื่มต่อหลังเลิก จากบอร์ดห้องประชุมกลายเป็นคลับสนทนาเรือนร่างหน้าตาของหญิงสาวจบใหม่ในออฟฟิศ นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Toxic Masculinity” ที่ถ้าปล่อยปละละเลยจนบานปลาย ก็อาจพาทั้งองค์กรล่มจมได้ Toxic Masculinity: วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ในที่ทำงานจนพาบริษัทล่ม Toxic Masculinity ในที่ทำงาน คือองค์กรที่เชิดชูสรรเสริญให้ “ชายเป็นใหญ่” (Patriarchy) และมีคาแรคเตอร์ที่สะท้อน “อุปนิสัย” ความเป็นเพศชาย เช่น ชายต้องแข็งแกร่งเข้าไว้ ห้ามขอโทษ ถ้าผิดจริงก็ให้พูดอ้อมๆ กระหายอำนาจ ชอบแข่งขัน ขึ้นเป็นผู้นำ ชายแท้ต้องพึ่งพาตัวเอง ไม่ขอความช่วยเหลือใคร ต้องการออกคำสั่งให้อีกฝ่ายยอมทำตามแต่โดยดี (Comply) พร้อมท้าชนปะทะทุกเมื่อ ปฏิเสธการประนีประนอม ใช้ความก้าวร้าวเป็นอาวุธในการข่มเหงผู้อื่น และแสดงตนว่าเป็นผู้เหนือกว่า ต้องมาออฟฟิศคนแรก ทำงานหนักสุด ดื่มหนักยิ่งกว่าหลังเลิกงาน(และห้ามปฏิเสธเมื่อได้รับการชักชวน) Toxic Masculinity มักมีทัศนคติความเชื่อ (Normative belief) ที่ไปตัดสินเหมารวมคนบางกลุ่ม เช่น ให้ผู้ชายเป็นคนนำ-ผู้หญิงเป็นคนตาม โดยไม่พิจารณาถึงทักษะความสามารถที่เหมาะสม เช่น ผู้ชายคนนั้นอาจเก่งเบื้องหลัง ขณะที่ผู้หญิงคนนั้นเก่งเบื้องหน้าก็ได้ […]

SpaceX ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่เป้าหมายอาณานิคมบนดาวอังคาร
SpaceX มีมูลค่าบริษัทกว่า 3 ล้านล้านบาท ปฏิวัติวงการจรวดและการเดินทางในอวกาศ นี่คือบริษัทที่จะพามนุษย์ไปเหยียบดาวอังคารในปี 2024 SpaceX ถือเป็นบริษัทเกิดใหม่ไม่กี่ทศวรรษมานี้เอง แต่ได้สร้างนวัตกรรมที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์การเดินทางอวกาศมาแล้ว ก่อนที่บริษัทนี้จะพาเราไปสำรวจและลงเหยียบดาวอังคารได้สำเร็จในอนาคตอันใกล้ เรามาสำรวจกันหน่อยว่า SpaceX มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร? จุดเริ่มต้นที่มาพร้อมความฝันอันยิ่งใหญ่ SpaceX ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 โดย Elon Musk วิศวกรขั้นอัจฉริยะและนักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ ตั้งแต่วันแรก เขามีความฝันว่าจะส่งมนุษย์ไปอาศัยอยู่บน “ดาวอังคาร” ในช่วงเริ่มต้นนั้น SpaceX ยังเป็นเพียงดั่งซัพพลายเออร์รายหนึ่งที่ส่งป้อนอุปกรณ์ (Commercial cargo) ให้แก่ NASA ที่ครอบครองอุตสาหกรรมอวกาศเกือบทั้งโลกอยู่ โดย SpaceX สร้างจรวดที่ชื่อ “Falcon” ขนส่งอุปกรณ์ไปยังสถานีอวกาศที่ประจำการอยู่นอกโลก สาเหตุที่ NASA จับมือบริษัทเอกชนอย่าง SpaceX เป็นเพราะ NASA เกิดข้อผิดพลาดก่อนหน้าหลายครั้ง (เช่น ยานระเบิด) สร้างมูลค่าความเสียหายมหาศาล จึงกระจายความเสี่ยงมายังภาคเอกชนเพื่อร่วมมือกัน First Principle แต่จรวดแบบดั้งเดิมมี “ต้นทุน” ที่สูงมาก ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ชิ้นส่วนมหาศาล […]

Defective Marketing: เพราะไม่เป๊ะ จึงปังระเบิด
เชลฟ์สินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตไม่เป็นระเบียบ โฆษณาที่ทำให้อยากดูต่อแล้วจากไป คุกกี้ที่รูปทรงไม่กลมเป๊ะ เก้าอี้ที่มีที่วางแขนเพียงข้างเดียว บางครั้ง ความไม่สมบูรณ์แบบเหล่านี้ กลับทำให้แบรนด์ดูมีเสน่ห์ ดึงดูดความสนใจจากลูกค้า จนนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นได้ ขอต้อนรับให้รู้จักกับ “Defective Marketing” Defective Marketing เพราะไม่เป๊ะ…จึงปังระเบิด Defective Marketing คือเทคนิคการตลาดนอกกระแสหลัก โดยโอบกอดแนวคิดที่ว่าความ “ไม่ครบองค์ประกอบ” กลับทำให้แบรนด์หรือสินค้าเป็นที่รู้จัก น่าค้นหา อยากลองใช้มากขึ้น นำไปสู่โอกาสทำยอดขายที่มากขึ้น บางครั้ง..ความป้ำๆ เป๋อๆ ก็ทำให้แบรนด์ดูมีเสน่ห์ มีความเป็นมนุษย์ (Humane) เราลองไปดูตัวอย่างกัน วางสินค้าในเชลฟ์ “ไม่เป็นระเบียบ” การออกแบบเชลฟ์วางสินค้าในร้านให้ “ไม่เนี้ยบ 100%” เป็นตัวอย่างที่สะท้อน Defective Marketing ได้ชัดเจนมาก แถมลองเอาไปทำได้ง่ายๆ เลย มันควรจะวางแบบนี้…แต่กลับถูกวางอีกแบบนึง แล้วทำไมมันถึงถูกวางอีกแบบนึง? งั้นเดินไปหยิบดูหน่อยดีกว่า เมื่อได้รับความสนใจจากลูกค้าซึ่งเป็นด่านแรก ก็เปิดประตูสู่โอกาสการทำยอดขายได้ถัดไป โดยตัวอย่างของการวางสินค้าอันแสนจะเป็นระเบียบสุดเนี้ยบคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากบรรดา “แบรนด์ญี่ปุ่น” ที่กลายเป็นมาตรฐานทั่วประเทศไปแล้ว อย่างไรก็ตาม มีบางแบรนด์ที่เริ่ม “เอียน” กับความระเบียบเรียบร้อยนี้ และอยากทดลองอะไรใหม่ๆ ดู […]

Ideas Are Everywhere ไอเดียดีๆ อาจใกล้ตัวคุณกว่าที่คิด
ปุ่มปลดล็อค iPhone มาจาก…ห้องน้ำบนเครื่องบิน รูปร่างรถไฟชินคันเซ็น มาจาก…นกกระเต็น ดีไซน์ตึกที่ระบายความร้อนได้ดี มาจาก…ปลวก การเขียนชื่อลูกค้าบนถ้วยกาแฟ มาจาก…ชื่อบนเสื้อกีฬา เรามักคิดว่า “ไอเดียแสนบรรเจิด” เกิดจากการนั่งถกเถียงวิเคราะห์อันทรงปัญญาในห้องประชุมที่คับคั่งไปด้วยผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ แต่ดังที่เราจะได้รู้กันจากนี้ว่า ความจริงแล้ว “Ideas Are Everywhere.” ไอเดียดีๆ เกิดขึ้นได้รอบตัวเรานี่เอง ตรงนี้เลย เดี๋ยวนี้เลย…ถ้าเรา “สังเกต” มันมากพอ ปุ่มปลดล็อค iPhone ก่อนที่ iPhone 1 รุ่นแรกจะเปิดตัวเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว หนึ่งในฟีเจอร์ที่ยังคิดไม่ออกคือวิธีการ “ปลดล็อค” มือถืออย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว Freddy Anzures พนักงานของบริษัท Apple ที่อยู่ในทีมพัฒนา กำลังรอคิวเข้าห้องน้ำบนเครื่องบิน เขาเห็น “แถบล็อค” สีแดงตรงหน้าห้องน้ำที่มีผู้ใช้งานอยู่ และเมื่อแถบล็อคเปลี่ยนเป็นสีเขียว คนที่เข้าห้องน้ำเสร็จก็เดินออกมา Image Cr. bit.ly/3zaVdAd ทันใดนั้น เขาเกิด “ยูเรก้า” ทันที และนำไอเดียแถบล็อคห้องน้ำในเครื่องบินมาเป็นปุ่ม “Slide to Unlock” จากซ้ายไปขวาบน […]

Conspiracy Theory: ปะติดปะต่อมั่วซั่วจนเป็นเรื่อง
มนุษย์ไม่เคยไปเหยียบดวงจันทร์ บางคนยังเชื่อว่าโลกแบน โควิด-19 เป็นเชื้อที่หลุดมาจากห้องทดลองในจีน ผู้นำประเทศบางคนยังเชื่อว่าวัคซีนบางยี่ห้อดีที่สุด เชื่อหรือไม่? คำครหาเหล่านี้(ที่ชวนกุมขมับ) ยังมีคนบางกลุ่มอีกหลายคนที่เชื่อสุดใจ…พวกเขาติดหลุมพราง “Conspiracy Theory” เข้าให้แล้ว Conspiracy Theory ปะติดปะต่อมั่วซั่วจนเป็นเรื่อง Conspiracy Theory หรือที่รู้จักกันว่า “ทฤษฎีสมคบคิด” มีรากฐานมาจากการปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆ (ที่ไร้มูลความจริง) จนหลงเชื่อสนิทใจว่ามันคือ “ความจริง” กลุ่มคนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด มักเชื่ออย่างสนิทใจว่า เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นมาจาก ผลประโยชน์แอบแฝงทางการเมืองหรือกลุ่มธุรกิจ มีสมาคมลับที่ชักใยผู้มีอำนาจอีกทีหนึ่ง หรือมีการปิดบังความลับบางอย่างต่อประชาชน เช่น เชื่อว่า “ภาวะโลกร้อน” ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจนทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย / อุณหภูมิโลกสูงขึ้น / สัตว์ป่าสูญพันธุ์ …แต่มาจากการสร้างเรื่องราวของ “กลุ่มบริษัทด้านสิ่งแวดล้อม” ที่จะได้ประโยชน์เมื่อผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น Conspiracy Theory เกิดขึ้นได้อย่างไร? อุปนิสัยหนึ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่อดีตกาลคือการ “หาสาเหตุให้กับทุกเรื่อง” อุปนิสัยนี้เป็นจุดแข็งที่ทำให้มนุษย์ฉลาดกว่าสัตว์อื่นๆ และสามารถสร้างอารยธรรมขึ้นมาได้ แต่อีกด้านหนึ่ง… บางเรื่องยังไม่รู้สาเหตุ เพราะ…ข้อมูลยังไม่พอ (ไม่รู้ว่าจุลินทรีย์ดีต่อร่างกายยังไง) บางเรื่องยังไม่รู้สาเหตุ เพราะ…ไม่มีเทคโนโลยี (คนโบราณไม่รู้ว่าฟ้าผ่าเกิดจากอะไร) บางเรื่องยังไม่รู้สาเหตุ เพราะ…ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ […]

ไขความลับการเปลี่ยน “พฤติกรรม” สู่ชีวิตที่ดีกว่า
เรามักหลงเชื่อว่า เมื่ออายุมากขึ้นจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่ “สายเกินแก้” ที่จะเปลี่ยนแล้ว (Established behavior) หรือที่เราเรียกกันว่า “สันดาน” แต่ความจริงแล้ว ไม่ว่าจะแก่แค่ไหนหรือมีเงื่อนไขอื่นใด พฤติกรรมคนเรา ”เปลี่ยนแปลงได้ตลอด” เมื่อเหตุปัจจัยลงตัว Dr. BJ Fogg นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมจาก Stanford University และผู้ก่อตั้ง Behavior Design Lab ได้พิสูจน์มาแล้วจากการใช้เทคนิคที่จะพูดถึงนี้เปลี่ยนผู้คนกว่า 60,000 คน เขายังเป็นผู้เขียนหนังสือขายดี Tiny Habits: The Small Changes That Change Everything ที่คอนเฟิร์มว่าการ “เปลี่ยนน้อย…แต่ได้มาก” เกิดขึ้นได้จริง Fogg Behavior Model เขาออกแบบกราฟที่ตั้งชื่อว่า “Fogg Behavior Model” เป็นกราฟที่สำคัญมากในการเปลี่ยนพฤติกรรมถึงขนาดที่เจ้าตัวบอกเองว่า ถ้าเขาตายไป…ให้เอากราฟนี้ฝังลงหลุมไปพร้อมกับเค้าด้วย!! Image Cr. bit.ly/3h9gtAd กราฟนี้มีสูตรที่เข้าใจง่ายมาก นั่นคือ B = MAP […]

Shopee ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่การปฏิวัติช็อปปิ้งออนไลน์ของผู้คน
จากการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2015 มาวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “Shopee” ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการช็อปปิ้งในชีวิตประจำวันของใครหลายคนไปแล้ว และนี่ยังเป็น E-commerce ที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนด้วย!! Shopee ปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? สู่การปฏิวัติช็อปปิ้งออนไลน์ของผู้คน น้องเล็กของตระกูล Shopee เป็นบริษัทย่อยหนึ่งในเครือบริษัท SEA Group (บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์) ถูกก่อตั้งขึ้นที่สิงคโปร์เมื่อปี 2015 โดยคุณ Forrest Li Shopee เป็นบริษัทระดับภูมิภาคมาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ที่เปิดตัวพร้อมกันใน 7 ประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ / ไทย / มาเลเซีย / เวียดนาม / อินโดยนีเซีย / ฟิลิปปินส์ / ไต้หวัน (ปัจจุบัน กำลังขยายไปสู่ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา) Image Cr. bit.ly/3B6I9wN เริ่มแรกวางตัวเองเป็น E-commerce แบบ C2C (Consumer to Consumer) ก่อนขยายรวมไปถึง […]

Appearance Illusion: เครื่องสำอางอาจไม่ได้ทำให้นางแบบดูดี
นางแบบใช้เครื่องสำอางจนสวย นักบาสเหาะไปดั๊งค์ได้เพราะฝึกซ้อมหนัก เก่ง ฉลาด มากความสามารถ เพราะจบจาก Harvard เหตุผลเหล่านี้เป็นที่ยอมรับกันในโลกกระแสหลัก แต่ก็ระวังให้ดี เพราะมันไม่จริงเสมอไป บางครั้งมันนำไปสู่ความเข้าใจผิดที่เรียกว่า “Appearance Illusion” Appearance Illusion นางแบบอาจไม่ได้สวยเพราะเครื่องสำอาง Appearance Illusion คือ ความเข้าใจผิดที่มองว่า “คุณสมบัติ คือ ผลลัพธ์” เป็นความสับสนว่า…อะไรคือสาเหตุของผลลัพธ์ที่เห็นกันแน่? (สับสนว่า “ตัวแปร A” ทำให้เกิด “ผลลัพธ์ B”…ทั้งที่อาจไม่จริง) เช่น นางแบบใช้เครื่องสำอางจนสวยเจิดจรัส นี่คืออีกหนึ่ง “อคติปราบเซียน” ที่อยู่รอบตัวเรา เพราะมันมักจะดู “สมเหตุสมผล” จากเปลือกนอก แต่พอวิเคราะห์ดูดีๆ อาจไม่ใช่อย่างนั้น Appearance Illusion ในวงการถ่ายแบบ ในวงการนางแบบมืออาชีพ สิ่งที่เป็นภาพจำมาคู่กันเลยคือ การใช้เครื่องสำอางและแบรนด์แฟชั่นต่างๆ เพื่อให้ตัวเองดูสวย นางแบบคนนั้นใช้เครื่องสำอางยี่ห้อนี้…จึงดูดี นางแบบคนโน้นใส่เสื้อผ้าแบรนด์โน้น…จึงดูดี ใช่…ทั้งเครื่องสำอาง / เสื้อผ้า / การดูแลตัวเอง ล้วนทำให้คนๆ […]

The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ
ถ้าคุณได้โปรโมทเป็นหัวหน้าในแผนก เงินเดือนขึ้น 50,000 บาท…คุณมีความสุข แต่ถ้าคุณมารู้ทีหลังว่า เพื่อนร่วมงานของคุณอีกแผนก ก็ได้โปรโมทขึ้นเป็นหัวหน้าด้วย แต่เงินเดือนขึ้น 100,000 บาท เป็นไปได้สูงมากว่า ภายในใจคุณจะรู้สึกไม่มีความสุขขึ้นมาทันที นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “The Easterlin Paradox” The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ Richard Easterlin นักเศรษฐศาสตร์จาก University of Southern California และเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลความสุข (Happiness data) อย่างเป็นระบบ เขาระบุว่า การเติบโตของ GDP เป็นนโยบายหลักของแทบทุกประเทศทั่วโลก แต่ก็ตั้งข้อสงสัยว่า “ยิ่งเศรษฐกิจโต…ความสุขจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามหรือไม่?” เขาได้ทำการศึกษา รายได้ (Income) และ ความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction) ในหลากหลายประเทศทั่วโลก และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจไม่ว่าจะ… ความรวยทำให้เรามีความสุขขึ้นจริง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เงินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นตามเป็นเส้นตรงอีกต่อไป จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ตัวเลข Happiness data ในสหรัฐอเมริกาพีคจุดสูงสุดราวทศวรรษที่ […]

Chauffeur Knowledge: ความรู้ผิวเผินที่ถูกส่งต่อกันมา
ไลฟ์โค้ชหยิบคำคมเท่ๆ จากหนังสือมาบอกต่อ คนที่ไม่เคยทำธุรกิจ แต่ขายคอร์สสอนทำธุรกิจ เซลส์ที่อธิบายสินค้าราวกับเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นใครพยายามทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วยวาทศิลป์และลีลาการพูดอย่างมีเสน่ห์…ระวังไว้ให้ดี คุณอาจเจอกับ “Chauffeur Knowledge” เข้าให้แล้ว!! Chauffeur Knowledge: ความรู้ผิวเผินที่ถูกส่งต่อกันมา Chauffeur Knowledge สื่อถึงกลุ่มคนที่รู้อะไรแบบ “ผิวเผิน” แล้วส่งต่อความรู้นั้นไปให้คนอื่น (บางคนถึงขั้น “สั่งสอน”) ราวกับโชเฟอร์คนขับรถที่แอบฟังเนื้อหาต่างๆ จากบุคคลสำคัญที่นั่งเบาะหลัง จนสามารถ “จำ” ประเด็นสำคัญๆ / หัวข้อใหญ่ๆ / คำพูดเท่ๆ ได้ทั้งหมด (แต่จะอธิบายรายละเอียดไม่ได้) “จำเก่ง” แต่ไม่ได้ “เก่งจริง” ความรู้มี 2 ประเภท Charlie Munger ผู้เปรียบดั่ง “มือขวา” ของ Warren Buffett เผยว่า ความรู้แบ่งได้หลักๆ 2 ประเภท Real knowledge: ความรู้เชิงลึกที่จะได้จาก “ประสบการณ์จริง” Chauffeur knowledge: ความรู้แบบ […]

Versatilist: จุดหมายในอุดมคติของคนทำงานยุคถัดไป
Specialist คือคนที่เก่งเฉพาะด้าน รู้ลึกในกรอบสาขาไม่กี่อย่างที่ตนเชี่ยวชาญ อาจถนัดทำงานเดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กไม่กี่คน มีแนวโน้มได้ค่าตอบแทนสูงเพราะหาคนในตลาดแรงงานที่รู้ลึกรู้จริงได้ยาก Generalist คือคนที่เก่งรอบด้าน รู้พื้นฐานกลางๆ แต่ครอบคลุมหลายสาขา อาจถนัดทำงานกับคนหมู่มากได้ มีแนวโน้มได้ค่าตอบแทนต่ำกว่า เพราะคนในตลาดแรงสามารถพัฒนาตัวเองให้เก่งเทียบเท่าได้ ทั้ง 2 ประเภท ไม่มีใครดีกว่ากัน แค่มีจุดแข็ง-จุดอ่อนแตกต่างกัน แต่ก็เกิดคำถามว่า…แล้วองค์กรควรต้องการคนแบบไหนมากกว่ากันในยุคนี้? ในมุมคนทำงาน ก็มีความเห็นว่า ทำไมเราต้องเลือกระหว่าง การรู้ลึกชนิดมีแค่ไม่กี่คนในวงการที่ทำได้ VS. การรอบรู้ไปเสียทุกเรื่องขนาดนั้น ทำไมเราไม่ผสานรวม 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน? ความสมดุลใหม่ตรงนี้ นำไปสู่ “อุดมคติ” ที่ว่าถ้ามีส่วนผสมทั้ง Generalist & Specialist ก็น่าจะเป็นที่ต้องการของทุกองค์กร และไม่ว่าเจอวิกฤติไหนก็น่าจะฝ่าฝันไปได้ จึงเกิดกลุ่มคนประเภทใหม่ที่เรียกว่า “Versatilist” ที่ทั้ง “รู้ลึก & รู้กว้าง” Versatilist จุดหมายในอุดมคติของคนทำงานยุคนี้ Versatilist เป็นคำที่ถูกเรียกครั้งแรกจาก Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาด้าน IT ชั้นนำของโลก จนเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมา Versatilist เป็นคนทำงานประเภทที่ “รู้ลึก […]