📰 บทความทั้งหมด

Personal Brand Archetype – ตัวตนของคุณขัดแย้งกับภาพลักษณ์ที่สื่อออกไปอยู่รึเปล่า?

Personal Brand Archetype – ตัวตนของคุณขัดแย้งกับภาพลักษณ์ที่สื่อออกไปอยู่รึเปล่า?

จากบทความก่อน เราพูดถึงเรื่อง “Brand Archetype” ตัวตนในฐานะของแบรนด์ตัวองค์กร แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้ ยังมีอีกมุมมองหนึ่ง ที่เรียกว่า “Personal Brand Archetype” ตัวตนในฐานะบุคคล(ผู้นำองค์กร) ว่าเป็นประเภทไหนจากทั้งหมด 12 ประเภท เวลาผู้คน “นึกถึงผู้นำคนนี้…จะนึกถึงอะไร?” อารมณ์ความรู้สึกแว่บแรกที่เกิดขึ้นคืออะไร ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้าง “แบรนด์บุคคล” ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้ เราตามไปดู Personal Brand Archetype ทั้ง 12 ประเภทกัน 1. The Outlaw – นักเปลี่ยนแปลง  กล้าหาญที่จะปฏิวัติวงการ ทิ้งสิ่งเดิมที่ไม่เวิร์ค รับสิ่งใหม่ที่เวิร์คกว่า เชื่อมั่นว่ากฎมีไว้แหก ฉีกทุกกฎเกณฑ์ที่คร่ำครึ พร้อมเสี่ยงเพื่อไปสู่จุดหมาย กล้าแตกต่าง มีจุดยืนอุดมการณ์ที่แข็งแกร่ง เช่น Elon Musk / Mark Zuckerberg / ชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ 2. The Ruler – นักปกครอง  […]

Bully Marketing – ปั้นแบรนด์ให้ดังระเบิดด้วยการ “แซว” ตัวเอง

Bully Marketing – ปั้นแบรนด์ให้ดังระเบิดด้วยการ “แซว” ตัวเอง

“ดีต่อใจ บรรลัยต่อฟัน” จาก น้ำพริกแคบหมูยายน้อย “ถึงคุณ…คนธรรมดา” จาก เสื้อยืดตราห่านคู่ “เราไม่อยากให้คุณกลับมาหาเราอีก” จาก เงินติดล้อ “FCK” จาก KFC “Don’t Buy This Jacket” จาก Patagonia การกระทำของแบรนด์เหล่านี้ที่ดูเหมือนสร้างภาพลักษณ์แง่ลบให้ตัวเอง กลับกลายเป็นสร้างกระแสโดด่งดังให้แบรนด์ด้านบวก และไม่ใช่ความผิดพลาดของทีมการตลาด แต่เป็นเบื้องหลังของกลยุทธ์สุดครีเอทีฟที่เรียกว่า “Bully Marketing” Bully Marketing – อยากดังต้อง “แซว” ตัวเอง Bully Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดสุดครีเอทีฟที่แบรนด์ใช้ “ล้อเลียนตัวเอง” สร้างประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่เสียดสีให้ร้ายตัวเองในลักษณะ “ตลกขบขัน” โดยเป็นการนำ Pain Point หรือจุดอ่อนบางข้อของแบรนด์ มาพูดบุลลี่ในเชิงสร้างสรรค์ อย่างเช่น ปกติแล้วแบรนด์มักบรรยายสรรพคุณสินค้า / วัตถุดิบชั้นเลิศในการผลิต / ประโยชน์ที่ลูกค้าจำได้รับ / ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ยังไง…แต่ Bully Marketing จะทำตรงกันข้ามเชิงขบขัน  สินค้าธรรมดาๆ ไม่มีอะไรโดดเด่นหรอก […]

Hidden Marketing – การตลาดเนียนๆ เพิ่มยอดขายโดยลูกค้าไม่รู้ตัว

Hidden Marketing – การตลาดเนียนๆ เพิ่มยอดขายโดยลูกค้าไม่รู้ตัว

เสียงเพลงไม่คุ้นหูภายในร้าน Starbucks พระเอกซีรี่ส์เกาหลีเดินเข้าร้าน Subway’s กล่องน้ำผลไม้ที่พับแล้วเห็นคำขอบคุณของ MUJI ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของ “Hidden Marketing” การตลาดสุดแนบเนียน ที่ถ้าไม่สังเกตก็แทบไม่มีทางรู้ Hidden Marketing – เคล็ดลับการตลาดที่อยู่รอบตัวเรา  Hidden Marketing เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ต้องการสร้างยอดขายเพิ่มหรือต้องการบรรลุจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง  เพียงแต่ดำเนินการในรูปแบบ “เนียนๆ” ไม่ได้ถึงกับเป็นความลับก็จริง แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจให้ลูกค้ารับรู้ ถ้าลูกค้าไม่สังเกตหรือคิดวิเคราะห์ดีๆ ก็อาจไม่รู้ Hidden Marketing เป็นเทคนิคที่เรียกได้ว่า “ราคาถูก” มักไม่มีต้นทุนโปรดักชั่นอลังการแต่อย่างใด เพราะอาศัย “ความคิดสร้างสรรค์” เข้าช่วย ทำไม Hidden Marketing ถึงสำคัญ(เป็นพิเศษ) ในยุคนี้? หลายทศวรรษที่ผ่านมาคือยุคของการ “ขายของ ขายของ ขายของ” นักการตลาดขายของกันตรงๆ ยิงโฆษณาแบบจัดเต็ม ในแต่ละวันผู้บริโภคปะทะกับโฆษณาและความเย้ายวนใจในระดับที่มากเกินพอดี ความไร้สมดุลอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิด กลายเป็นว่ายิ่งลูกค้าเห็นโฆษณาขายของมากเท่าไร ยิ่งรู้สึกเบื่อ เอียน และพยายาม “ปิดกั้น” การเข้าถึงของแบรนด์ ฝั่งแบรนด์จึงต้องพยายาม “สอดแทรก” เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแนบเนียนด้วยวิธี Hidden […]

Richsplaining คิดว่ารวยกว่าแล้วจะพูดอะไรก็ได้หรือ?!!

Richsplaining คิดว่ารวยกว่าแล้วจะพูดอะไรก็ได้หรือ?!!

ข้าวของแพง แต่ยังเจียดเงินซื้อเครื่องสำอางอีกเหรอ?!! เงินเดือนน้อย แต่ถอยรถแล้ว ชอบเป็นหนี้เหรอ?!! เอาเงินค่ากาแฟเป็น 100 ไปลงทุนในหุ้นดีกว่าไหม?!! ถ้าคุณเจอคนพูดแบบนี้ใส่หน้า ระวังให้ดี…คุณอาจเจอกับ “Richsplaining” เข้าให้แล้ว!! Richsplaining – รวยกว่าแต่ใช่ว่าจะพูดอะไรก็ได้!! Richsplaining คือคำศัพท์ไม่เป็นทางการที่พลิกแพลงมาจาก “Rich” กับ “Explain” ใช้สื่อถึง คนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและมีความมั่นคงทางการเงินสูงกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป(หลายเท่าตัว) แต่กลับมีจริตชอบเที่ยวไปแนะนำเชิงเลคเชอร์ “สั่งสอน” ผู้อื่น ทั้งในแง่การทำงานและการใช้ชีวิต น้ำมันแพง เงินเฟ้อพุ่ง แล้วยังจะซื้อเครื่องสำอางอีกเหรอ?!! เงินเดือนไม่ได้สูง แต่ออกรถแล้ว ชอบเป็นหนี้เหรอ?!! คือเป็นคำชี้แนะประเภทที่เมื่อฟังจบแล้ว “ไม่นำไปสู่อะไร” ไม่ได้กำลังใจเพิ่มขึ้น ไม่เห็นหนทางแก้ปัญหา หนำซ้ำ ยังรู้สึก “ถูกทอดทิ้ง” ราวกับไม่มีใครเข้าใจคุณบ้างเลย รู้ได้ยังไงว่าเจอ Richsplaining เข้าให้แล้ว?  ข้อสังเกตคือ คนที่มีพฤติกรรม Richsplaining จะมาพร้อมอีโก้ที่สูงลิบ มุมมองคับแคบ และทัศนคติเชิงเหยียดในตัวเอง เพราะการที่คุณเที่ยวไปสั่งสอนชีวิตคนอื่นโดยไม่รู้บริบทหรือข้อจำกัดที่แสนแตกต่างกันเหลือเกิน คุณต้องมีอีโก้มั่นใจในตัวเองสูง ยึดความคิดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เกิดคำตัดสินพิพากษาขึ้นในใจคุณล่วงหน้าไปแล้วว่าอีกฝ่ายต้องเป็นคนอย่างไร  คนกลุ่มนี้ขาดความ “เข้าอกเข้าใจ” […]

การตลาดสุดครีเอทีฟที่สร้างยอดขายจากฐานลูกค้าเดิม

การตลาดสุดครีเอทีฟที่สร้างยอดขายจากฐานลูกค้าเดิม

แก้วไวน์ต่างกันรองรับไวน์ต่างชนิดกัน ระบบสะสมแต้มพร้อมสิทธิพิเศษ ทั้งหมดนี้คือการตลาดที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทจากฐานลูกค้าเดิม ทำไมต้อง “ฐานลูกค้าเดิม”? เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า การเฟ้นหา “ลูกค้าใหม่” มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการรักษาลูกค้าเก่าถึงกว่า 5 เท่า และยังมี “ต้นทุนแฝง” อีกเพียบ เช่น เวลาในการค้นหา ความเสี่ยงและค่าเสียโอกาสต่างๆ ผลวิจัยยังเสริมว่า การเพิ่มงบประมาณในการรักษาลูกค้าเก่าเพียง 5% สามารถสร้างกำไรได้มากถึง 25-95% แต่สิ่งที่เหนือกว่านั้นคือไม่ใช่แค่รักษา แต่ถ้าเราสามารถ “สร้างยอดขายเพิ่ม” จากลูกค้าเก่าได้ ก็เป็นเป้าหมายในอุดมคติของทุกแบรนด์ ที่น่าสนใจคือ มีตัวอย่างแบรนด์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจากการสร้างยอดขายเพิ่มด้วยฐานลูกค้าเดิม Riedel – กับการแยกประเภทแก้วไวน์ในการดื่ม รู้หรือไม่ว่า การใช้ “แก้วไวน์” ที่แตกต่างกันเพื่อดื่มไวน์ต่างชนิดกัน เป็นวัฒนธรรมที่พึ่ง “ประดิษฐ์” ขึ้นในรอบไม่ถึงศตวรรษที่ผ่านมานี้เอง เรื่องนี้เกิดขึ้นจากคุณ Claus Riedel ผู้สืบทอดกิจการผลิตภัณฑ์เครื่องแก้วจากครอบครัว  ในทศวรรษ 1950s เขาตั้งคำถามในใจว่า บริษัทจะสร้างยอดขายเพิ่มจากกลุ่มลูกค้าเดิมได้อย่างไร? โดยเฉพาะตอนนั้นลูกค้าซื้อแก้วไวน์ 1 ใบไปแล้วมักใช้ไปอีกนานแสนนานเพราะไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ (สมัยก่อน ผู้คนใช้แก้วไวน์ 1 ใบในการดื่มไวน์ทุกชนิด) เขาใช้กลยุทธ์ในการสร้าง […]

Cultural Pairing – เคล็ดลับสร้างมูลค่าจากวัฒนธรรมที่มีอยู่

Cultural Pairing – เคล็ดลับสร้างมูลค่าจากวัฒนธรรมที่มีอยู่

เคยสงสัยไหม…ทำไมเวลาไปดูหนังที่โรงหนังเราต้อง “กินป๊อปคอร์น” ด้วย? พวกเรารู้ดีว่าป๊อปคอร์น…ไม่ใช่ขนมขบเคี้ยวที่อร่อยที่สุด แต่น้อยคนจะกล้าปฏิเสธว่าป๊อปคอร์น…คือขนมขบเคี้ยวที่ “เข้า” กับการดูหนังมากที่สุด “ไปดูหนังถึงโรงภาพยนตร์แต่ไม่กินป๊อปคอร์น ก็เหมือนมาไม่ถึง หรือได้อรรถรสไม่เต็มที่” ซึ่งเรื่องนี้หลายคนซื้อป๊อปคอร์นกินเพราะมันแค่อร่อยจริงๆ แต่ขณะเดียวกัน หลายคนก็ซื้อกินเพราะมันเป็น “วัฒนธรรม” เป็นวิถีปฏิบัติที่ทำๆ กันมา โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจุดเริ่มต้นมาจากไหน นี่คือตัวอย่างสุดคลาสสิคของ “Cultural Pairing” เอาสินค้าไปผูกติดกับวัฒนธรรมหรือไลฟ์สไตล์หนึ่ง จนกลายเป็น “ของมันต้องมี” และปล่อยให้มันสร้างยอดขายอย่างต่อเนื่องเองในระยะยาว Cultural Pairing – เชื่อมโยงไลฟ์สไตล์ ยอดขายโตระเบิด Cultural Pairing เป็นการพยายาม “ผูกโยง” สินค้าแบรนด์เข้าไปกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคหรือวัฒนธรรมในขณะนั้น เป็นการอาศัยใช้ “แรงงัด” (Leverage) จากสิ่งที่มีอยู่เดิมก่อนแล้ว เพื่อส่งต่อสินค้าให้เติบโตแบบก้าวกระโดด (หรืออย่างน้อยก็กลมกลืนอยู่ใน “กระแสหลัก” ได้สำเร็จ) จากตัวอย่าง “ป๊อปคอร์น” เมื่อซักครู่ เริ่มเกิดขึ้นหลังวิกฤติเศรษฐกิจ The Great Depression ต้นยุค 1930s ผู้ประกอบการโรงหนังในสหรัฐอเมริกาต้องทำทุกวิถีทางเพื่อเอาตัวรอด หนึ่งในนั้นคือการสร้างยอดขายเพิ่มด้วยการนำเสนอป๊อปคอร์น (ยุคนั้นในอเมริกาเริ่มเป็นที่แพร่หลายตามสวนสนุกแล้ว) เพราะมันสะดวกในการขนย้ายเครื่องคั่ว […]

Post-Covid Rebranding รีแบรนด์ใหม่เพื่อวิสัยทัศน์ใหม่

Post-Covid Rebranding รีแบรนด์ใหม่เพื่อวิสัยทัศน์ใหม่

AirAsia เปลี่ยนชื่อเป็น Capital A Burger King เปลี่ยนอัตลักษณ์แบรนด์ใหม่ Nike เปลี่ยนไปมุ่งยอดขายออนไลน์จนโตระเบิด สถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้หลายแบรนด์ต้อง “ปรับตัว” ขนานใหญ่ จนนำไปสู่การค้นพบธุรกิจใหม่ๆ หรือ มีวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ไปโดยปริยาย นำไปสู่การ Rebranding ในหลายมิติด้วยกัน การ Rebranding ในยุคหลังโควิด-19 จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่ผู้นำองค์กรควรพิจารณา เพราะก็มีหลายแบรนด์ทำสำเร็จมาแล้ว Mindset ที่ต้องมีสำหรับ Post-Covid Rebranding ผู้บริโภค “Go Online” โอบกอดโลกออนไลน์เข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้น รู้วิธีใช้งานและคุ้นเคยที่จะใช้มันมากขึ้น นี่ไม่ใช่ “เทรนด์” มาสั้นๆ แล้วจบลง แต่เป็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปทั่วโลก (ไม่ใช่แค่เมืองไทย)การรีแบรนด์ยุคใหม่จึงต้องทุ่มทรัพยากรไปที่ออนไลน์มากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Nike ปล่อยให้ดาวโหลดฟรี “Nike Training Club” แอปที่มีวิดีโอสาธิตการออกกำลังกายในหลากหลายท่า ซึ่งได้รับความนิยมล้นหลามในช่วงกักตัวอยู่บ้าน Nike ได้ยอดสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 25 ล้านรายทั่วโลก […]

Customer Profitability Analysis การแบ่งลูกค้าเป็น 4 ประเภทตามต้นทุนยอดขาย

Customer Profitability Analysis การแบ่งลูกค้าเป็น 4 ประเภทตามต้นทุนยอดขาย

หลายปีที่ผ่านมา มุมมองด้านธุรกิจเริ่มเปลี่ยนจากโฟกัสตัวสินค้ามาเป็นโฟกัสที่ “ตัวลูกค้า“ (Customer-Centric) มากขึ้นเรื่อยๆ นักการตลาดจึงเกิดวิธีการคิดวิเคราะห์ที่ข่วยให้แบรนด์เข้าใจและแยกแยะลูกค้าตัวเองได้แบบเห็นภาพมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “Customer Profitability Analysis” ที่จะมาแบ่งประเภทของลูกค้าออกเป็น 4 ประเภทตาม “ยอดขาย & ต้นทุน” เพื่อวิเคราะห์กำไรสูงสุดจากแต่ละกลุ่ม และเพื่อจะได้คิดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกันไป วิธีนี้ยังเป็นการต่อยอดที่ลึกซึ้งขึ้นจากแนวคิด 80-20 ที่ว่า ลูกค้าเพียง 20% แต่สร้างยอดขายถึง 80% ให้กับบริษัท  แล้วลูกค้าทั้ง 4 ประเภทมีอะไรบ้าง? ไปพบกับ Customer Profitability Analysis ทั้ง 4 ประเภท 1. Champion – ลูกค้าในอุดมคติ นี่คือกลุ่มลูกค้าขั้นนิพพานที่แบรนด์ต้องสวดอ้อนวอนและพร้อมทำทุกอย่างเพื่อเอาใจ เพราะนี่คือกลุ่มลูกค้าที่ซื้อในปริมาณมาก (หรือซื้อน้อยแต่มูลค่าสูง) สร้างยอดขายส่วนใหญ่ให้กับบริษัท ขณะเดียวกัน แม้ซื้อเยอะ แต่กลับเป็นกลุ่มที่ไม่เรียกร้องโหยหาสิทธิพิเศษตอบแทนนัก ไม่ได้ต้องการบริการพิเศษ VVIP แต่อย่างใด พวกเค้าแค่ประทับใจและพึงพอใจในสินค้าบริการที่แบรนด์มอบให้เท่านั้น ในมุมฝั่งแบรนด์จึง “ไม่เหนื่อย” มาก เพราะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายดูแลลูกค้ากลุ่มนี้น้อยมาก […]

วิเคราะห์ Brand Archetype บุคลิกที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์

วิเคราะห์ Brand Archetype บุคลิกที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์

Apple มีบุคลิกแบบ “The Creator” Uniqlo มีบุคลิกแบบ “The Everyman” Godiva มีบุคลิกแบบ “The Lover” นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “Brand Archetype” ที่ผู้นำองค์กร นักวางแผนกลยุทธ์ หรือนักการตลาดจำเป็นต้องรู้แต่เนิ่นๆ ก่อนพาองค์กรออกเดินทาง Brand Archetype คืออะไร? เดิมที สิ่งที่เรียกว่า Archetype เป็นองค์ความรู้ที่ริเริ่มมาจากศาสตร์ทางด้าน “จิตวิทยา” โดย Carl Jung จิตแพทย์ชาวสวิส เขารวบรวมความหลากหลายด้าน “บุคลิกภาพ” ของมนุษย์ที่ถูกสะท้อนผ่านการกระทำ ทัศนคติ มุมมองความเชื่อ วิสัยทัศน์ ก่อนแยกแยะแบ่งประเภทออกไป ในเวลาต่อมา มีการนำมาประยุกต์ใช้กับ “แบรนด์” องค์กรเพื่อทำการตลาดและงานโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสื่อว่า เวลาผู้บริโภค “นึกถึงแบรนด์นี้…จะนึกถึงอะไร?” อารมณ์ลักษณะแบบไหนที่จะเกิดขึ้น จนกลายเป็นพื้นฐานของการ “สร้างแบรนด์” สำหรับองค์กรที่นักวางแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องรู้ ไปรู้จักกับ Brand Archetype ทั้ง 12 ประเภทกัน […]

5 Balls of Life บทเรียนชีวิตจากอดีตซีอีโอ Coca-Cola

5 Balls of Life บทเรียนชีวิตจากอดีตซีอีโอ Coca-Cola

Brian Dyson คืออดีตซีอีโอของ Coca-Cola ผู้ฝากผลงานไว้มากมายและเป็นคนที่แวดวงธุรกิจให้ความเคารพนับถือ กว่าจะมาเป็น CEO Brian Dyson เข้าทำงานในบริษัท Coca-Cola เมื่อปี 1959 ขณะมีอายุเพียง 20 ปีเท่านั้น และเขาใช้เวลาทั้งชีวิตในการไต่ระดับเส้นทางอาชีพในบริษัท เริ่มจากรับผิดชอบดูแลในภูมิภาคอเมริกาใต้-เม็กซิโก-มหาสมุมรแคริบเบียน ก่อนดำรงตำแหน่งประธาน Coca-Cola USA ระหว่างปี 1978-1983 และขึ้นดำรงตำแหน่งที่ใหญ่ที่สุดอย่างประธาน Coca-Cola ทั่วโลกระหว่างปี 1986-1991 ความสำเร็จในการงานอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาตลอดชีวิต คงทำให้เขาได้เรียนรู้ข้อคิดบางอย่างในชีวิต จนกลั่นกรองออกมาเป็น “5 Balls of Life” หรือ ความสมดุลของชีวิตทั้ง 5 ลูก เขาใช้คำว่า “ลูก” เพราะมันหมายถึงการ Juggling โยนลูกบอลขึ้นฟ้าทั้ง 5 ลูกพร้อมกัน และห้ามมีลูกใดลูกหนึ่งตกพื้น(แบบที่เราเห็นกันตามสวนสนุก) 5 Balls of Life ถูกเปิดเผยขึ้นครั้งแรกในงานกล่าวสุนทรพจน์ของเขาที่ Georgia Institute of Technology […]

ประเทศ TikTok ที่ฉีกทุกกฎเกณฑ์ตำราการตลาด  โอกาสธุรกิจที่คุณอาจมองข้ามไป

ประเทศ TikTok ที่ฉีกทุกกฎเกณฑ์ตำราการตลาด โอกาสธุรกิจที่คุณอาจมองข้ามไป

TikTok แซงหน้า IG ขึ้นเป็นอันดับ 4 แอปคนใช้งานมากที่สุด 35.8 ล้านคน คือจำนวนผู้ใช้งาน TikTok ในเมืองไทย ไม่กี่ปีมานี้ ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าการเติบโตของ “TikTok” เป็นอีกช่องทางใหม่ที่สร้างโอกาสทางธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อมันเป็นโซเชียลมีเดียที่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีคาแรคเตอร์ของแพลตฟอร์มที่โดดเด่นแตกต่าง และมีแนวทางการสร้างคอนเทนต์ที่ดูเหมือนจะตบหน้าทุกตำราการตลาดที่ผ่านมา จนเราอาจเปรียบเปรยขำๆ ได้ว่ามันคือ “ประเทศ TikTok” ที่มีเอกราช มีกฎหมายเป็นของตัวเองเลยก็ยังได้ ทำไมการตลาดเดิมๆ ใช้กับ TikTok ไม่ได้อีกต่อไป? คาแรคเตอร์ที่โดดเด่นที่สุดของ TikTok คือ เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นๆ ที่ไม่ชอบความซีเรียส ทุกคอนเทนต์ต้องสนุก-ผ่อนคลาย-หัวเราะได้ยิ้มได้  แบรนด์จึงต้องสื่อสารแบบ Authentic สั้น กระชับ เน้นความเป็นมนุษย์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงงานโปรดักชั่นต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องสวยหรูเพอเฟกต์ ขอแค่มันสื่อสารตรงประเด็นได้เป็นพอ ประเด็นที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือ แพลตฟอร์มนี้ขับเคลื่อนด้วยพลังของ “คนรุ่นใหม่” เป็นส่วนใหญ่ นักการตลาดที่อาจมีอายุเยอะแล้ว ต้องฟังลูกค้ากลุ่มนี้ให้มากๆ อย่าปักใจคิดหรือเชื่อในสิ่งเดิมๆ ที่เคยเรียนรู้มา ระวัง generation gap ให้ดี สิ่งที่คุณคิดว่าถูกต้องดีงาม […]

รวม 4 ศาสตร์เพิ่มความมั่นใจการพรีเซนท์ (และการทำงานทั่วไป)

รวม 4 ศาสตร์เพิ่มความมั่นใจการพรีเซนท์ (และการทำงานทั่วไป)

เราทราบกันดีว่า คนที่พรีเซนท์งานเก่ง มีความมั่นใจ พูดจาฉะฉาน ย่อมมีเสน่ห์และชนะใจผู้ฟังจนได้สิ่งที่ต้องการในที่สุด จะดีกว่าไหม? ถ้าเราเรียนรู้ “ศาสตร์เพิ่มความมั่นใจ” ในการพรีเซนท์งาน ที่ไม่ใช่แค่มาจากประสบการณ์คำแนะนำจากคนโน้นคนนี้ แต่เป็นผลลัพธ์มาจากการทดลองและมีข้อสนับสนุนถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ทุกเรื่อง Embodied Cognition – การเคลื่อนไหวตัวที่แสดงภาวะผู้นำ Caroline Williams ผู้เขียนหนังสือ Move! The New Science of Body Over Mind เผยว่า ผู้คนมักคิดว่า มนุษย์ถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์จิตใจ ข้างนอกเป็นผลลัพธ์จากสิ่งที่คิดมาจากข้างใน…โดยลืมไปว่า แท้จริงแล้ว การเคลื่อนไหว (Move) ของร่างกายก็มีอิทธิพลต่อสมองมนุษย์โดยตรงแบบแยกออกจากกันไม่ได้เลย ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าคุณรู้สึกซึมเศร้าอยู่ แล้วคุณลองกระโดดตบมือ ทำหน้ายิ้ม พร้อมหัวเราะ(แบบหลอกๆ) ออกไป แน่นอนว่า เลือดคุณย่อมสูบฉีด เหงื่อเริ่มออก และแล้วอารมณ์ด้านบวกก็จะเริ่มเกิดขึ้น พร้อมๆ กับอารมณ์เศร้าหมองที่เริ่มจางหายไป การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ส่งผลไปถึงสมองโดยตรงแบบนี้มีชื่อเรียกทางการว่า “Embodied Cognition” โดย Embodied Cognition ถูกนำมาประยุกต์ได้กับการทำงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจได้โดยตรง เช่น […]