📰 บทความทั้งหมด

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เราน่าจะเคยเห็นแบรนด์ที่ “สำเร็จชั่วข้ามคืน” สร้างความน่าอิจฉาและภาวนาให้เกิดกับแบรนด์ตัวเอง แต่ขณะเดียวกัน หลังจากที่ปลุกปั้นมานาน ก็มีบางแบรนด์ที่ “พังในชั่วข้ามคืน” เอาดื้อๆ ได้เหมือนกัน  จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้แบรนด์ที่ทำพัง น่าจะมีประโยชน์และน่าเรียนรู้กว่าศึกษาแบรนด์ที่สำเร็จ เพราะปัจจัยที่ทำให้สำเร็จมักมี “มากกว่า” ปัจจัยที่ทำให้ล้มเหลว หรือก็คือ แบรนด์มีวิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จแตกต่างกัน แต่มักมีวิธีที่ทำให้ล้มเหลวคล้ายกัน ถ้าทำตามแบรนด์ที่สำเร็จ…อาจไม่ได้สำเร็จตามเสมอไป แต่ถ้าทำตามแบรนด์ที่ล้มเหลว…การันตีได้เลยว่าล้มเหลวแน่ Warren Buffett ยังเคยกล่าวว่า “ชื่อเสียงใช้เวลาสร้าง 20 ปี แต่ถูกทำลายลงได้ในง่ายๆ ภายใน 5 นาที” แล้วมีอะไรบ้างที่ทำให้แบรนด์ล้มเหลว…จนถึงขั้นอาจพังทั้งแบรนด์ได้ในชั่วข้ามคืน? อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ไม่ได้เป็น อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ “ไม่ใช่” มักเกิดกับแบรนด์ที่สำเร็จระดับนึงแล้ว ความสำเร็จอยู่ตัวแล้ว มี Best practice หรือแพทเทิร์นที่การันตีความสำเร็จแล้ว ลูกค้ารู้จักและเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่องแล้ว  แล้วมักอยาก “ลองของ” อะไรใหม่ๆ (อาจเกิดจากพนักงานหน้าใหม่-ความคิดใหม่) ซึ่งการลองอะไรใหม่ๆ เป็นเรื่องดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ “ใช่” ของแบรนด์ด้วย ไม่อย่างนั้น อาจเกิด Backlash ลูกค้าไม่ยอมรับ เมินหน้าหนี […]

Mind-Healing เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น

Mind-Healing เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็นั่งสมาธิ  แอปเพลงช่วยกล่อมนอนโตระเบิด และสปาที่เต็มทุกที่หลังเปิดโควิด ชัดขนาดนี้ ไม่ต้องสงสัยแล้วว่าเรากำลังอยู่ในยุคของ “Mind-Healing” เมื่อผู้คนเยียวยาจิตใจตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ไปแล้ว! Mind-Healing: เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น Mind-Healing ไม่ใช่แค่เทรนด์ในเมืองไทยหรือระดับภูมิภาค แต่เป็นเทรนด์ระดับทั่วโลก (Global trend) และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง  ส่วนนึงเพราะ ผู้คนเหนื่อยล้าและเจ็บปวด(ทางกาย-ใจ) มาเยอะแล้วจากยุคโควิด-19 เมื่อได้สัมผัส Mind-Healing ซึ่งเป็นการเยียวยาใจที่ดีเลิศและผ่อนคลายสุดๆ ย่อมรู้สึก “ติดใจ” นอกจากนี้ Mind-Healing ไม่ใช่การบริโภคครั้งเดียวแล้วหมดไปเหมือนการไปกินบุฟเฟ่ต์ แต่เป็นการ “เดินทางระยะยาว” ภายในจิตใจตัวเอง บางคนใช้เวลาหลายเดือน บางคนใช้เวลาหลายปี และบางคนอาจใช้เวลาหลายทศวรรษเลยทีเดียว กิจกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจที่วนรอบ Mind-Healing จึงมี “มูลค่าสูง” และเกิดการ “บริโภคซ้ำ” เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง (เช่น เข้าสปาทุกอาทิตย์) และถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย โดยมูลค่าอุตสหากรรมทั่วโลกที่เกี่ยวกับ Mind Healing ทั้งหมด เช่น สปา / การทำสมาธิ / การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นถึง […]

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

Brand Consistency – เสมอต้นเสมอปลาย ก่อน-หลังเลือกตั้ง Brand Transparency – โชว์ความสุจริตโปร่งใสผ่าน FB LIVE Brand Citizenship – พูดคุยกับคนทุกอาชีพอย่างเป็นกันเอง จากกิจกรรมตลอดการหาเสียงและการทำงานในทุกวันเมื่อเป็นผู้ว่ากทม. มาวันนี้ “อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ได้กลายมาเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในมุมการตลาดและในฐานะผู้นำองค์กรที่เราควรเรียนรู้ไว้ อ.ชัชชาติมาเกี่ยวข้องยังไงกับการบริหารองค์กร? แม้การเป็นผู้ว่ากทม.จะแตกต่างจาก CEO บริษัท เพราะประชาชนไม่ใช่พนักงาน เพราะเงินเดือน CEO ไม่ได้มาจากภาษีพนักงาน และเพราะเราไม่ได้วัดคุณค่าของคนจาก Performance ที่ทำได้เสมอไป แต่ผู้ว่ากทม.ภายใต้การนำของ อ.ชัชชาติ กลับสะท้อนภาพภาวะ “ความเป็นผู้นำ” ที่น่าประทับใจ (จนแม้แต่ในแวดวงนักธุรกิจยังให้การชื่นชม) ถ้าอย่างนั้น เราลองมาวิเคราะห์ อ.ชัชชาติ ในมุมการตลาดและแกะรอยภาวะความเป็นผู้นำของเค้าดูกัน บอกเลยว่าน่าสนใจจนใช้เป็น Role Model ได้เลย!  Brand Consistency อ.ชัชชาติยังคง “เสมอต้นเสมอปลาย” ตื่นมาทำงานแต่เช้าตรู่ เลิกดึกดื่น แถมทำงานโดยที่ไม่มีวันหยุด 7 วัน/สัปดาห์ และบุคลิกความ […]

ทำไมการ “เขียน” มันออกมา ถึงช่วยทุกเรื่องในการทำงาน?

ทำไมการ “เขียน” มันออกมา ถึงช่วยทุกเรื่องในการทำงาน?

ตื่นมาเขียน…ก่อนไปทำอย่างอื่นต่อ เขียนไปเรื่อย…ปล่อยใจไปกับมัน ยิ่งมีความลับ…ยิ่งต้องเขียนมันออกมา ทั้งหมดนี้คือเทคนิคการ “เขียน” ในสไตล์ที่แตกต่างกัน แต่ย้อนกลับมาช่วยอัพเกรดการทำงานอย่างเหลือเชื่อ และไม่แน่นะ พอรู้ตัวอีกที…ชีวิตคุณก็เปลี่ยนก้าวหน้าไปมากบ้าง ทำไมการเขียนถึงช่วยเราได้มากขนาดนี้ แม้การเขียนจะเป็นสิ่งที่เรารู้สึกว่าทำได้ง่ายดายราวกับไม่ต้องใช้สมองคิดเลย แต่กระบวนการทำงานของสมองที่แท้จริงคือ ในแต่ละวินาทีที่เราเขียน สมองต้องโฟกัส อยู่กับปัจจุบัน(ถ้าหลุดเมื่อไร ก็คือเขียนผิด) การเขียนยังเป็นการ “จบครบลูป” ของ Input-Output กล่าวคือ อ่าน-เขียน จะสัมพันธ์กันโดยตรง Input = อ่าน Output = เขียน ยิ่งเราอ่านเยอะ ยิ่งมีแนวโน้มเขียนเก่ง และการเขียนจะเป็นการนำ Input จากการอ่านมาย่อยตกผลึกเป็นงานเขียน ในกระบวนการนี้ สมองเราจึงได้ “ทบทวน” เนื้อหาที่ได้รับรู้ไป(โดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ) ซึ่งจะยิ่งสร้างการจดจำและความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นไปอีก แล้วมีเทคนิคการเขียนอะไรบ้างที่ช่วยการทำงานและชีวิตของเรา? Morning Pages คือการตื่นขึ้นมาแล้วสิ่งแรกที่ทำคือการ “เขียน” ด้วยเวลาสั้นๆ แค่ราว 5-10 นาที โดยจะเป็นบทความสั้นๆ / เป้าหมายของวันนี้ / สิ่งที่อยู่ในใจก็ได้ทั้งนั้น เป็นเทคนิค “เอาชนะแรงต้าน” […]

กรณีศึกษา การยกระดับสินค้าท้องถิ่นของ SMEs ญี่ปุ่น

กรณีศึกษา การยกระดับสินค้าท้องถิ่นของ SMEs ญี่ปุ่น

ช็อกโกแลต Royce’ ใช้นมจาก ฮอกไกโด Kininari Ringo ใช้แอปเปิ้ลจาก อาโอโมริ Melon no Kataomori ใช้เมล่อนจาก อาโอโมริ สินค้าทั้งหมดจากแบรนด์ตัวอย่างนี้ ดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ความจริงแล้วเบื้องหลังมีจุดร่วมเหมือนกัน และทุกแบรนด์เติบโตมาจากการเป็น “แบรนด์ท้องถิ่น” บ้านๆ ธรรมดาๆ ยังไม่มีใครรู้จัก ก่อนเติบโตจนมีชื่อเสียงระดับโลก(หรือนานาชาติ) ในปัจจุบัน แล้วที่มาความเป็น “สินค้าท้องถิ่นญี่ปุ่น” เหล่านี้ มีที่มาอย่างไร? คำตอบมีตัวแปรที่มาจากหลายกลไกด้วยกัน ประการหลักๆ ได้แก่ 1. OVOP ย่อมาจาก “One Village One Product” (OVOP) หรือ “หนึ่งหมู่บ้าน-หนึ่งผลิตภัณฑ์” จากคำย่อนี้เอง หลายคนตอนนี้น่าจะแว่บนึกถึงคำว่า “OTOP” ของไทย ที่มาจาก “หนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์” ใช่แล้ว…แนวคิด OTOP ไทยมีที่มาจาก “OVOP ญี่ปุ่น” นั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านับสิบปี(และพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา) OVOP เป็น […]

รวม 5 เทคนิค “ป้ายยา” โดนแล้วเป็นต้องซื้อ

รวม 5 เทคนิค “ป้ายยา” โดนแล้วเป็นต้องซื้อ

ลูกค้าเห็นตัวเองว่าใช้สินค้าแล้วเป็นยังไง ยิ่งลูกค้ารู้จักแบรนด์ ยิ่งหลงรัก และซื้อๆๆ แบรนด์เล่นตัวเอง ก่อนโดนลูกค้าเล่นกลับด้วยการซื้อ เหล่านี้คือกลยุทธ์ “ป้ายยา” ที่ใครเห็นเป็นต้องมนตร์สะกด และควักเงินซื้อในที่สุด แล้วรายละเอียดเทคนิคป้ายยาเหล่านี้มีอะไรบ้าง ตามไปดูกัน 1. สร้าง Scene การใช้สินค้านั้นขึ้นมา เล่นกับอารมณ์ลูกค้าว่า “ถ้าซื้อมาใช้แล้ว” จะมีภาพลักษณ์ปรากฎเป็นอย่างไร เป็นการผนวกรวมเทคนิค Visualization การมโนจินตนาการในใจอย่างแนบเนียนว่า ถ้าเราได้ใช้-บริโภค-ขับ-สวมใส่สินค้านั้นๆ แล้ว…หน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไร? KIMONO by NADESHIKO แบรนด์เสื้อผ้า “กิโมโน” สไตล์ยุคใหม่ของญี่ปุ่น ก็ใช้กลยุทธ์สร้าง Scene นี้ในการประชาสัมพันธ์ แบรนด์ไม่ได้โฟกัสที่เสื้อกิโมโนมากนัก ไม่ได้บรรยายเชิงวัฒนธรรมหรือประเพณีเท่าไร แต่กลับเน้นหนักไปที่สถานการณ์ชีวิตจริงเวลาลูกค้าสวมใส่ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งถ่ายทอดผ่านรูปภาพอาร์ตเวิร์คที่ใช้สื่อสารในทุกช่องทาง จนไปถึงข้อความบรรยายที่ชวนให้ฉุกคิด เช่น “ตื่นเต้นแล้วสินะที่มีคนมอง” “จะว่าไปใส่กิโมโนเดินแบบนี้ก็ไม่เลวนี่นา” “เริ่มจะเคยชินกับท่าเดินที่แปลกใหม่แล้วหรือยัง” Image Cr. bit.ly/3C0se7r เราสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคนี้ในการแบ่งแยก Category สินค้าประเภทต่างๆ ของเราได้ด้วย สมมติว่าแบรนด์คุณขายของใช้ในบ้าน แทนที่จะแบ่งแยกสินค้าตามปกติ เช่น “อุปกรณ์ทำครัว vs. ภาชนะช้อนส้อม” […]

ปั้นแบรนด์ให้แข็งแกร่งด้วย “ฮวงจุ้ย”

ปั้นแบรนด์ให้แข็งแกร่งด้วย “ฮวงจุ้ย”

ส่วนโค้งส่วนเว้าของโลโก้ 7-Eleven สีทั้ง 5 ของ Google หรือการออกแบบห้างทุกห้างในไทย ดูผิวเผินทั้งหมดนี้คืองานดีไซน์ออกแบบให้สวยงาม แต่เบื้องหลังมีศาตร์ “ฮวงจุ้ย” แทรกอยู่ในทุกรายละเอียดของการสร้างแบรนด์ “ฮวงจุ้ย” คืออะไรกันแน่? “ฮวงจุ้ย” มีรากศัพท์มาจากภาษาจีน เป็นหนึ่งในแนวคิดและปรัชญาของคนจีนแต้่โบราณ ถ้าแปลความหมายตามตัวอักษะจะหมายถึง “ลม-น้ำ” (ลม = ฮวง / น้ำ = จุ้ย) แต่ฮวงจุ้ยมีความหมายที่สามารถตีความภาพใหญ่ที่เหนือกว่าแต่มีความเรียบง่ายมากกว่าได้ว่า “พลังงาน” “พลังงาน” เป็นความหมายที่ครอบคลุมที่สุดแล้วก็ว่าได้ ฮวงจุ้ยจึงไม่ใช่แต่โลเคชั่น ไม่ใช่แค่สี หรือไม่ใช่แค่ทรวดทรง แต่คือทุกสิ่งทุกอย่างหลอมรวมกันจนมอบ “พลังงาน” บางอย่างผ่านทั้งหมดการสัมผัสต่างๆ ของมนุษย์ องค์ประกอบของฮวงจุ้ย? แม้ฮวงจุ้ยจะฟังดูเป็นเรื่องนามธรรมที่จับต้องได้ยาก แต่ฮวงจุ้ยไม่ใช่เรื่องไสยศาสตร์ เพราะกำเนิดมาจาก “ธรรมชาติ” ที่ต่อมาถูกประยุกต์เข้ากับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยคนจีนแต่โบราณ มองเรื่องฮวงจุ้ยในระดับโลกทั้งใบ ว่าก่อเกิดเป็น “ธาตุทั้ง 5 ของฮวงจุ้ย” ได้แก่ ดิน / น้ำ / ลม / […]

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: “ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ!” รู้จักกับ Armchair Quarterback ในที่ทำงาน หัวหน้าที่ดีแต่พูด สั่งงานเก่ง แต่ไม่เคยทำงานจริงๆ หัวหน้าที่เสนอไอเดียบรรเจิด โดยไม่รู้บริบทเลยว่าทำจริงไม่ได้ หัวหน้าที่ด่าลูกน้องเก่งเมื่อทำงานพลาด แต่ไม่เคยลงมือช่วยหาต้นตอปัญหาเลย เชื่อว่าพวกเราก็ต้องเคยเจอเหตุการณ์ชวนหงุดหงิดแบบนี้ในออฟฟิศมาบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Armchair Quarterback” ที่ต้องรีบสังเกตและดับไฟให้ทัน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป Armchair Quarterback – ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เรียกพนักงานที่มีลักษณะ “แค่พูด…แต่ไม่ได้ลงมือ” คนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้มีความรอบรู้ในเรื่องนั้น คนที่ชอบตัดสินใจคนอื่นและมีความคิดเห็นแบบสุดโต่ง คนที่ชอบสั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ (และถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด) เดิมที Armchair Quarterback ศัพท์คำนี้มีที่มาจากวงการ “อเมริกันฟุตบอล” ที่เหล่าแฟนๆ จะเชียร์อย่างออกหน้าออกตา วิพากษ์วิจารณ์ผู้เล่นราวกับตัวเองอยู่ในสนาม ด่าว่ารุนแรงราวกับตัวเองเสียผลประโยชน์ วิเคราะห์ทุกอย่างราวกับตัวเองเป็นมืออาชีพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน…โซฟาภายในบ้านหน้าจอทีวีขณะกำลังนั่งเอนหลังชมการแข่งขัน (+ป๊อปคอร์นในมือ) ต่อมา Armchair Quarterback ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ต้องการจะสื่อถึงหัวหน้าที่วันๆ เอาแต่นั่งอยู่ในโต๊ะอันแสนนุ่มสบายในออฟฟิศ ไม่เคยออกไปพบลูกค้า ไม่เคยลงมาดูว่า “มดงาน” เค้าทำอะไรกันจริงๆ แต่กลับสั่งการต่างๆ […]

Brand Citizenship – เมื่อยุคนี้คนคาดหวังให้แบรนด์คือประชาชนคนหนึ่ง

Brand Citizenship – เมื่อยุคนี้คนคาดหวังให้แบรนด์คือประชาชนคนหนึ่ง

เจ้าของพัดลม Hatari บริจาค 900 ล้าน อ.ชัชชาติ นั่งทานข้าวกับคนกวาดถนน Bar B Q Plaza เปิดบุฟเฟ่ต์ ถ้าคนกทม.ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเกิน 2 ล้านคน ในมุมการตลาด เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนความเป็น “Brand Citizenship” ซึ่งได้ใจผู้บริโภคยุคใหม่ไปเต็มๆ Brand Citizenship – ประชาชนแบรนด์ Brand Citizenship คือแนวคิดที่แบรนด์ปฏิบัติตัวเสมือนเป็น “ประชาชนคนหนึ่งในสังคม” ไม่ได้ดูแตกต่าง ไม่ได้ดูยิ่งใหญ่ ไม่ได้แปลกแยกตัวเองจากเหตุการณ์บ้านเมืองในสังคม โดย Brand Citizenship จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับด้านการตลาด การบริหารชื่อเสียง การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ การมีส่วนร่วมกับผู้คนในสังคม รายงานผลสำรวจจาก Global Strategy Group เผยว่า กว่า 92% ของผู้ถูกสำรวจคิดว่า แบรนด์ยุคนี้ต้องมีบทบาทที่ดีต่อสังคมทางใดทางหนึ่ง เพราะแบรนด์ก็คือประชาชนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจ ชื่อเสียง และพลังการเปลี่ยนแปลง แบรนด์ 1 แบรนด์มีหน้าที่มากกว่าขายสินค้าคุณภาพดีเพื่อเอากำไร แต่…ต้องมีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ด้วย Brand […]

อัพเกรดนิสัยการทำงานที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้!!

อัพเกรดนิสัยการทำงานที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้!!

เคยไหม? นึกย้อนกลับไปสมัยทำงานใหม่ๆ ที่แรก…แล้วก็เสียดาย เพราะทำงานไม่เป็น ไม่รู้วิธีบริหารจัดการ เรียงลำดับความสำคัญของงานไม่ได้ โดนความขี้เกียจครอบงำจนหัวหน้าด่า พลอยทำให้เหนื่อยล้าทางกายและจิตใจ  จนนำไปสู่ความคิด “น่าจะรู้อย่างนี้ตั้งแต่ตอนเริ่มทำงาน(ที่แรก)” เพราะความจริงแล้วมันมี “เทคนิคอัพเกรดการทำงาน” ที่ช่วยเรื่องพวกนี้ได้โดยตรง มาเริ่มเอาตอนนี้อาจจะสายไปหน่อย…แต่ก็ไม่สายเกินไป พื้นฐาน Mindset ที่ควรต้องมี ก่อนไปอัพเกรดผลลัพธ์การทำงานภายนอก เราต้องวางรากฐาน Mindset ภายในให้ดีก่อนด้วย  เคล็ดลับที่จะพูดถึงจากนี้ มักฟังเป็นเรื่องเล็กๆ Minor ซะเหลือเกิน (บางคนมองว่าไร้สาระด้วยซ้ำ) แต่เพราะการ “เปลี่ยนแปลงเล็กๆ แต่ต่อเนื่อง” (Small but consistent) นี่เอง คือกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในปลายทาง  ในอีกมุมหนึ่ง เพราะพวกเราคนส่วนใหญ่ไม่ใช่ Elon Musk หรืออัจฉริยะเพียง 0.0001% ของโลก วิธีที่เราพอจะ “ทำได้” ในทางปฏิบัติทุกวี่ทุกวันก็คือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้นี่เอง เคล็ดลับอัพเกรดการทำงานเห่ล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากองค์ความรู้ด้าน พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science) ซึ่งสอดคล้องกับลักจิตวิทยาและการทำงานของสมองมนุษย์ แถมยังประยุกต์ใช้ได้ทั่วไปด้วย แล้วเทคนิคอัพเกรดการทำงานมีอะไรบ้าง? อ่ย่ารอช้า ตามไปดูกัน! […]

กรณีศึกษา เมื่อกลยุทธ์แก้ปัญหากลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

กรณีศึกษา เมื่อกลยุทธ์แก้ปัญหากลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

คุณรู้หรือไม่? “ถุงพลาสติก” ที่ตอนนี้ทั่วโลกพยายามลดเลิกใช้มันอยู่เพราะไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องใช้เวลานับ 100 ปีกว่ามันจะย่อยสลายไปเอง…ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยความตั้งใจสัตย์จริงที่จะให้ผู้คน “ใช้ซ้ำ” ต่างหาก! ในปี 1959 คุณ Sten Gustaf Thulin วิศวกรชาวสวีเดนเป็นผู้คิดค้นถุงพลาสติกใบแรกของโลกได้สำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจมาจากการบริโภค “ถุงกระดาษ” ในยุคสมัยนั้นที่ต้องตัดไม้ทำลายไม้ เขาจึงตั้งใจสร้างถุงพลาสติกขึ้นมาซึ่ง “ไม่ต้องตัดต้นไม้” ซักต้นและสามารถ “ใช้ซ้ำ” ได้ไปอีกนาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหา “สิ่งแวดล้อม” ในระยะยาว เมื่อถึงปี 1979 ถุงพลาสติกก็ได้ครอบงำการใช้งานภาชนะหิ้วกว่า 80% ทั่วทวีปยุโรปแล้ว เมื่อถึงปี 2018 ถุงพลาสติกกว่า 1 ล้านล้านใบถูกผลิตขึ้นทั่วโลก  แต่ประเด็นคือ ถุงพลาสติกกลับไม่ได้ถูกนำมาใช้ซ้ำ ตรงกันข้าม…มันมักถูกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง!! (อัตราการรีไซเคิลทั่วโลกมีไม่ถึง 1%) ซึ่งกลับสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ  และนี่คือตัวอย่างคลาสสิกในสเกลระดับโลกของ “Backfire Solutions” ทางออกของปัญหาหนึ่งที่ดันสร้างอีกปัญหาหนึ่งขึ้นมา หรือนำไปสู่ผลลัพธ์แง่ลบที่ไม่ได้คาดหวังไว้ กล่าวคือ Solution ในตัวมันเองสามารแก้ Problem ที่มีอยู่ได้จริงๆ (เช่น ถุงพลาสติก) แต่ดันมีปัจจัยรอบด้านอื่นๆ […]

Worry Time – เครียดน้อยลงด้วยการกำหนดเวลาเครียด!

Worry Time – เครียดน้อยลงด้วยการกำหนดเวลาเครียด!

เราทุกคนรู้ดีว่า “ความเครียด” เป็นตัวร้ายชั้นดีที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของเรา มันตามหลอกหลอนเราไปทุกที่และทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องงาน / ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว / คุณภาพการนอน / อรรถรสการกิน / อภิรมย์การเที่ยว…ทุกเรื่องในขีวิตจริงๆ Dr. Sabrina Romanoff นักจิตวิทยาคลินิกจาก Yeshiva University แห่งนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เห็นถึงผลกระทบเรื่องนี้เป็นพิเศษ จึงได้ออกแบบเทคนิค “Worry Time” ขึ้นมาซึ่งมีข้อสนับสนุนด้านจิตวิทยาด้วย แทนที่จะเครียดมาก-เครียดน้อยตลอดทั้งวัน แต่ Worry Time จะเป็นการ อุทิศเวลาช่วงหนึ่งเพื่อ “เครียดให้ถึงที่สุด” เอาให้มันรู้กันไปข้างเลย  ปกติแล้วการกำหนด “ตารางเวลา” (Schedule) แทบทุกประเภมมักเกิดขึ้นกับการเพิ่มประสิทธิภาพการงานหรือเรื่องอื่นๆ ด้านบวก จึงมีการคิด “มุมกลับ” ว่าแล้วทำไมเราไม่ลองใช้กับความเครียดดูบ้างล่ะ? โดยจากการทดลองพบว่า Worry Time การกำหนดเวลาเครียดลักษณะนี้ กลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการ “เครียดตลอดทั้งวัน” ซะอีก! ทำไม Worry Time ถึงเวิร์คกว่าที่คิด? เรื่องนี้ฟังดูย้อนแย้งและขัดกับสัญชาตญาณ ความเครียดไม่ดีต่อร่างกาย […]