📰 บทความทั้งหมด

Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO

Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO

ใส่เสื้อทรงเดิมสีเดิมซ้ำๆ กันทุกวัน กินมื้อเช้าเมนูเดิมๆ ทุกวัน นอนเป็นเวลาทุกคืน ตื่นเช้ามาสดใสทุกวัน ตัดสินใจแค่งานหลัก ส่วนงานรองส่งต่อให้ลูกทีม นี่คือตัวอย่าง “Fatigue Relief” ที่ช่วยตีกรอบให้ผู้บริหารโฟกัสแต่เรื่องสำคัญจริงๆ เท่านั้น Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO CEO ทั่วไปในแต่ละวันมีเรื่องต้องคิดเพียบ หนึ่งในปัญหาที่มักเจอคือ “Decision Fatigue” เหนื่อยล้าจากการใช้หัวคิดการงานจนเกินไป  นอกจากนั้นไม่พอ ยังต้องเผชิญกับโจทย์ประจำวันอย่าง วันนี้แต่งตัวยังไงดี? พักเที่ยงกินข้าวร้านไหนดี?  ช่วงบ่ายกินน้ำอะไรดี? ผลวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์สมองเผยว่า เฉลี่ยแล้วมนุษย์คิดมากถึง 6,200 เรื่อง/วัน หรือเฉลี่ยนาทีละ 4 เรื่องเลยทีเดียว ซึ่งเป็นความคิดที่นึกคิดวิเคราะห์เองและทั้งเกิดนอกจิตสำนึก(แว่บเข้ามาเอง) แต่ CEO ระดับโลก หลีกเลี่ยงเรื่องนี้ด้วย “Fatigue Relief” ตัด-ลด การตัดสินใจให้เหลือเฉพาะที่ “สำคัญ” แล้วพวกเค้าทำอย่างไรบ้าง? ตามไปดูกัน Mark Zuckerberg  ตัดศิลปะการ “แต่งตัว” ในชีวิตทำงานประจำวันออกไป โดยใส่เสื้อคอกลม ทรงเดิม สีเดิม […]

Illusion of Attention: สิ่งที่เห็นเป็นแค่เสี้ยวนึงของภาพใหญ่

Illusion of Attention: สิ่งที่เห็นเป็นแค่เสี้ยวนึงของภาพใหญ่

วิกฤติซับไพรม์ที่ส่อแววมาเป็นปีแต่ไม่มีใครเห็น ขับรถไป เปิด Speaker คุยไปเพราะคิดว่าปลอดภัย และกอริลล่ากลางเวทีที่ไม่มีใครเห็น นี่คือหลุมพราง “Illusion of Attention” ที่เหมือนเป็นด้านมืดของการโฟกัส(ที่มากเกินไป) Illusion of Attention สิ่งที่เห็นอาจเป็นแค่จุดเดียวของภาพใหญ่ Illusion of Attention คือการที่เรามั่นใจว่ารับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตรงหน้า แต่ความจริงแล้ว เรามัก “เห็นแค่สิ่งที่เราโฟกัส” เท่านั้น เมื่อโฟกัสเรื่อง A เราจะเห็น A เมื่อโฟกัสเรื่อง A เราไม่เห็น B คุณไม่รู้หรอกว่าคุณ “มองข้าม” อะไรไป เพราะสิ่งที่คุณตระหนักรับรู้อาจเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของภาพใหญ่ อาจเป็นแค่จุดดำเล็กๆ จุดนึงในขอบกระดาษสีขาว ในทศวรรษ 1990s Daniel Simons และ Christopher Chabris 2 นักจิตวิทยาจาก Harvard University ได้ทำการทดลองแสนเรียบง่ายอันหนึ่งแต่ให้ผลลัพธ์น่าทึ่งที่เข้าใจง่าย จนกลายเป็นคลาสสิคในวงการจิตวิทยา การทดลองนั้นชื่อว่า “The Invisible Gorilla” ผู้ร่วมการทดลองจะได้ชมวิดีโอหนึ่งที่มี […]

25-5 Rule: เทคนิคลำดับความสำคัญสไตล์ Warren Buffett

25-5 Rule: เทคนิคลำดับความสำคัญสไตล์ Warren Buffett

“25-5 Rule” เป็นเทคนิคการจัดเรียงลำดับความสำคัญที่ขึ้นชื่อลือชาว่ามีต้นกำเนิดมาจาก “Warren Buffett” นักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และเป็นปรมาจารย์ด้านการคิด-การลงทุน-การทำงาน ที่มีผู้คนนับถือทั่วโลก ในแต่ละวัน Warren Buffett ต้องปะทะกับงานมหาศาลและสเกลเม็ดเงินที่ใหญ่โต การคิดผิด ตัดสินใจผิด ลำดับความสำคัญผิด ย่อมเกิดหายนะที่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้เลย  25-5 Rule จึงเป็นเทคนิคที่ไว้ขัดเกลาตัวเองให้ “โฟกัส” กับเรื่องที่สำคัญที่สุดเสมอ คำถามคือ…แล้ว 25-5 Rule มีวิธีการอย่างไรบ้าง? 3 ขั้นตอนการทำ 25-5 Rule 1. เขียนลิสท์ 25 เป้าหมายในอาชีพ (Top 25 career goals) ของคุณออกมา ไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องทำทีเดียวจบ แต่ค่อยๆ ให้เวลาตัวเองในการขบคิด 2. วงกลม 5 เป้าหมายที่สำคัญที่สุด มีความหมายกับคุณที่สุด เร่งด่วนที่สุด ที่สะท้อนคุณค่าตัวตนของคุณจริงๆ (Urgent goals & Highest priorities) เช่นเคย…ไม่ต้องรีบ […]

Murphy’s Law: อะไรที่ผิดพลาดได้…มันจะผิดพลาด

Murphy’s Law: อะไรที่ผิดพลาดได้…มันจะผิดพลาด

คิดว่างานมั่นคง แต่พอโควิด-19 มา กลับตกงานทันที วันไหนพกร่ม-ฝนไม่ตก…วันไหนไม่ได้พกร่ม-ฝนกลับตก นัดลูกค้าไว้ จึงนั่งรถไฟฟ้าไปหาเพื่อเลี่ยงรถติดและคำนวณเวลาได้ แต่สุดท้าย…รถไฟฟ้าดันขัดข้อง เรามักคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้คือความ “ซวย” ที่ตัวเองดันต้องมาเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความจริงแล้วอาจไม่ใช่ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า “Murphy’s Law” Murphy’s Law อะไรที่สามารถผิดพลาดได้…มันจะผิด วลีเด็ดของกฎนี้คือ “Anything that can go wrong will go wrong.” อะไรที่ผิดพลาดได้ มันจะผิดพลาด ต่อไปนี้ เมื่อเรารู้สึกว่าสิ่งที่พบเจอเป็นเรื่อง “โชคร้าย” อาจจะไม่ได้โชคร้ายอย่างที่คิด แต่เพราะมันมี “โอกาสเกิดขึ้นได้จริงๆ” ต่างหาก อาจเป็นปัญหาหรือความผิดพลาดที่คุณประเมินต่ำไปจนประมาทเลินเล่อให้มันเกิดขึ้นในที่สุด วิกฤติโควิด-19 คือตัวอย่างปัจจุบันที่สะท้อน Murphy’s Law ได้ชัดเจนที่สุด เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่อันตราย แพร่ระบาดมาสู่มนุษย์และกระจายเป็นวงกว้างไปทั่วโลกในเวลาไม่กี่เดือน ซึ่งเมื่อมองด้วยเลนส์ของวงการระบาดวิทยา การระบาดของเชื้อไวรัสนี้เกิดขึ้นได้เสมอ (และมนุษย์ควรใช้หน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์เป็นปกติด้วยซ้ำ)  ประเด็นนี้ยังถูกพูดถึงโดย Bill Gates ที่งาน TED Talks ในปี 2015 […]

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

งานยังไม่เสร็จ เก็บเอาไปคิดตอนเที่ยวต่างประเทศ พรุ่งนี้พรีเซนท์ใหญ่ วันนี้เลยไม่มีกะจิตกะใจทำอย่างอื่น โฆษณาที่โชว์โลโก้แบรนด์ขาดๆ เกินๆ ให้คนไปคิดต่อ นี่คือจิตวิทยาที่เรียกว่า “Zeigarnik Effect” Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ Zeigarnik Effect มาจากชื่อของคุณ Bluma Zeigarnik นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ค่ำคืนหนึ่ง เธอไปรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ร้านอาหาร รายการอาหารที่สั่งค่อนข้างเยอะแถมมีการขอรีเควสพิเศษ  ที่น่าสนใจคือ พนักงานรับออเดอร์ไม่มีการ “จดออเดอร์” ลงกระดาษใดๆ ทั้งสิ้น Zeigarnik คาดการณ์ว่าต้องมีผิดพลาดบ้างแน่นอน แต่สิ่งที่เหลือเชื่อคือ เมนูที่เสิร์ฟกลับถูกต้องทุกจาน!!  หลังทานเสร็จและออกร้าน เธอนึกขึ้นได้ว่าลืมผ้าเช็ดหน้าไว้ที่โต๊ะจึงกลับเข้าร้านไปเอา และพบกับพนักงานรับออเดอร์คนเดิม ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่าคือ…พนักงานคนนี้จำเธอไม่ได้เลยแม้แต่น้อย!! เธอถามกลับไปว่า: “เป็นไปได้อย่างไร เมื่อกี้คุณยังจำเมนูทุกอย่างได้อย่างแม่นยำเป๊ะๆ อยู่เลย?” พนักงานตอบกลับว่า: “ผมจำเมนูที่ลูกค้าสั่งได้เป๊ะก็จริง แต่เมื่อพวกเค้าชำระเงินเสร็จ ผมก็ลืมหมดแล้ว” จากการศึกษาในเวลาต่อมา เธอค้นพบว่าสมองของมนุษย์พวกเราก็ทำงานไม่ต่างจากพนักงานคนนั้น จนกลายมาเป็น Zeigarnik Effect ในที่สุด Zeigarnik Effect คืออะไรกันแน่? […]

5R Marketing: การตลาดแบบถูกจริตผู้บริโภคยุคใหม่

5R Marketing: การตลาดแบบถูกจริตผู้บริโภคยุคใหม่

“4P-4C-4E Marketing” ล้วนคือการตลาดที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เป็นที่รับรู้และปฏิบัติกันในวงการจนเป็นปกติ  อย่างไรก็ตาม การตลาดไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว แต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย-ตามผู้บริโภค  และยุคนี้เกิดการตลาดรูปแบบหนึ่ง ที่แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ซะทีเดียว แต่มาช่วย “จัดระเบียบ” ความคิดเราให้ถูกจริตคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี  นั่นคือ “5R” ได้แก่ Real – Relevant – Repute – Review – Replace Real  การตลาดตรงไปตรงมา จริงใจ สมจริง ข้อมูลถูกต้อง แบรนด์ไม่จำเป็นต้องฉายภาพตัวเองว่าสมบูรณ์แบบเสมอไป ถ้าทำพลาดก็ต้องยอมรับอย่างเปิดเผย อย่าแถ อย่าเนียน และไม่จำเป็นต้องอธิบายยืดยาว แต่ควรสั้นๆ เข้าประเด็น จบ และผู้บริโภคยุคนี้มีแนวโน้มที่จะ “ตาสว่าง” รู้ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรอบด้าน การปิดบังอะไรบางอย่าง หรือบอก…แต่บอกไม่หมด ควรหลีกเลี่ยงทุกประการ วลีเก่าแก่ในวงการอย่าง “Fake it until you make it.” ใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าคุณ Fake ตั้งแต่แรก ลูกค้าจะดูออก […]

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง ในการทำงาน ไม่มีใครเห็นด้วยกับเราไปซะทุกเรื่องหรอก ไม่ช้าก็เร็ว ความเห็นขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการ “โต้เถียง” (Argument) ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นสัจจะธรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน-หัวหน้า-ลูกน้อง-ลูกค้า ถ้าคุณมั่นใจว่ามีเหตุผลมากพอ ประเด็นจึงเป็นการโต้เถียงอย่างมี “ชั้นเชิง” ที่ไม่ก่อให้เกิดความบาดหมาง แต่ก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน (Mutual understanding) และร่วมทำงานกันต่ออย่างสันติ แล้วเราพอมีวิธีโต้เถียงอย่างมีชั้นเชิงอย่างไรบ้าง? 1. เถียงกันที่ “ไอเดีย” การเถียงที่ใช้อารมณ์ เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมีจุดจบกลายเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างบุคคล (Personal issue)  เรื่องนี้อาศัย “วาทศิลป์” ชั้นเชิงในการพูดเช่นกัน เทคนิคคือ อย่าโจมตีที่ตัวบุคคล แต่ให้โจมตีที่ “ไอเดีย” ความคิดนั้นๆ หลีกเลี่ยงการเรียก “สรรพนาม” ที่สื่อถึงอีกฝ่าย “จากข้อมูลยืนยัน ผมคิดว่าไอเดียนี้ยังไม่ค่อยเวิร์ค” “งานภาพรวมจะออกมาดี ถ้าทุกฝ่ายส่งงานตรงเวลา” “แผนนี้ที่พวกเราคุยกัน อาจต้องหาข้อมูลซัพพอร์ตมากกว่านี้” เมื่อใครก็ตามที่เผลอข้ามเขตแดนจากไอเดียไปสู่ตัวบุคคล เรื่องมักไม่จบง่ายๆ แน่นอน เพราะไม่รู้แหล่ะว่าตัวเองผิดหรือถูก แต่มนุษย์มีกลไกตอบโต้อัตโนมัติอยู่ในตัว (Automatic defense mechanism) ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและอาจยับยั้งใจไม่ได้ (หรือไม่ทัน) […]

Planning Fallacy: อะไรๆ มักไม่เป็นไปตาม “แผน”

Planning Fallacy: อะไรๆ มักไม่เป็นไปตาม “แผน”

เป้าหมายตอนปีใหม่…สำเร็จไปแล้วกี่อย่าง? ตั้งเป้าลดน้ำหนักจริงจัง…ลงไปกี่กิโลกรัมแล้ว? “บริษัทมีแผนขยายโรงงาน / เปิดตัวสินค้าใหม่ / เจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่” ถ้าคุณเป็นเหมือนคนส่วนใหญ่ เป้าหมายเหล่านี้จะยังคงอยู่ที่เดิมบนแผ่นกระดาษ รสชาติความสำเร็จเกิดขึ้นแค่ในหัวตอนคุณฝันกลางวัน ทำไมกัน…ทำไมเราวางแผนซะดิบดี แต่สุดท้ายอะไรๆ กลับไม่เป็นไปตามที่แพลน?  นี่คือหลุมพรางที่เรียกว่า “Planning Fallacy” Planning Fallacy: อะไรๆ มักไม่เป็นไปตามแผน Planning Fallacy คือการที่มนุษย์มักประเมินระยะเวลาที่จะทำงานเสร็จ “ต่ำกว่าความเป็นจริง” จนทำให้สิ่งที่ “วางแผนไว้แต่แรก” ไม่บรรลุตามเป้าหมาย Daniel Kahneman และ Amos Tversky สองนักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันคือผู้นิยามคำนี้ ทั้งคู่ยังเตือนว่า Planning Fallacy เกิดขึ้นได้กับองค์กรยักษ์ใหญ่ที่มีคนเก่งเพียบ / มีประสบการณ์ / มีทรัพยากร Sydney Opera House สะท้อนเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี แผนโปรเจคท์ที่จะสร้าง Sydney Opera House เริ่มขึ้นในปี 1957 คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จปี 1963 ด้วยค่าก่อสร้าง $7 […]

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่ 100 ปี เพิ่ม Productivity

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่ 100 ปี เพิ่ม Productivity

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่อายุ 100 ปี เพิ่ม Productivity ย้อนกลับไปเมื่อปี 1918 คุณ Ivy Lee ที่ปรึกษาเฉพาะทางด้านการเพิ่ม Productivity ถูกว่าจ้างจากบริษัท Bethlehem Steel Corporation บริษัทต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น ให้ไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร Image Cr. bit.ly/3EDehLH เขาไม่ได้ทำอะไรซับซ้อน เพียงแค่ใช้เทคนิคที่สร้างขึ้นมาอย่าง “Ivy Lee Method” ใช้เวลาคุยกับผู้บริหารอื่นๆ เพียงคนละไม่เกิน 15 นาที แต่กลับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรอย่างสิ้นเชิงเพียงเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้น  เจ้าของบริษัทถึงกับเต็มใจให้ค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินถึง $25,000 หรือเทียบเท่ากับ 12 ล้านบาทในค่าเงินปัจจุบัน (และทำให้เขาไม่จำเป็นต้องทำงานอีกเลยตลอดชีวิตก็ยังได้) แต่คุณ Ivy Lee ก็ยังเดินสายเผยแพร่เทคนิคอันเรียบง่ายแต่ทรงประสิทธิภาพสุดๆ ต่อไป คำถามคือ แล้ว Ivy Lee Method ที่ว่า มีขั้นตอนอะไรบ้าง? ขั้นตอนการทำ […]

Harrods ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ห้างหรูคลาสสิกขวัญใจมหาเศรษฐี

Harrods ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ห้างหรูคลาสสิกขวัญใจมหาเศรษฐี

Harrods คือห้างหรูที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลก รายได้กว่า 35,000 ล้านบาท พนักงานกว่า 4,000 คน กว่า 330 ร้านค้า ดึงดูดนักช็อปกว่า 15 ล้านคน/ปี แม้อายุจะล่วงเลยมา 170 กว่าปีแล้ว แต่ Harrods ก็ยังตั้งตระหง่านอย่างสง่าผ่าเผยใจกลางกรุงลอนดอน เป็นหนึ่งในห้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและเป็นสถานที่โปรดของเหล่าช็อปปิ้งกระเป๋าหนัก น่าสนใจไม่น้อยว่า Harrods มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? A Humble Beginning Harrods ก่อตั้งขึ้นในปี 1849 โดยคุณ Charles Henry Harrod เริ่มมาจากการเป็นร้านขายของชำที่เชี่ยวชาญในเรื่อง “ชา” วัฒนธรรมใหม่ที่กำลังเริ่มเบ่งบานขณะนั้น  ก่อนจะได้รับอานิสงส์จาก The Great Exhibition ปี 1851 ที่โชว์งานนิทรรศการความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิอังกฤษ โดย Harrods ได้เข้าร่วมนำเสนอผลิตภัณฑ์และเป็นจุดเริ่มต้นสร้างชื่อเสียง จากร้านค้าเล็กๆ ที่มีพนักงานเพียง 3-4 คน ก็เริ่มขยับขยายสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น เมื่อถึงปี 1881 […]

Gruen Effect: ออกแบบห้างยังไงให้คนซื้อเยอะ

Gruen Effect: ออกแบบห้างยังไงให้คนซื้อเยอะ

ไปห้างตั้งใจซื้อน้ำหอม แต่ได้เสื้อยืดติดมือกลับมาด้วย ไปห้างตั้งใจอยู่แค่ 1 ชม. แต่สุดท้ายล่อไป 5 ชม. เหตุการณ์สุดคลาสสิกนี้ เรามักคิดว่าตกเป็นเหยื่อกิเลสของตัวเอง แต่ความจริงแล้ว คุณเองก็ตกเป็นเหยื่อของทางห้างด้วย ที่ใช้จิตวิทยาหนึ่งคอยล่อลวงใจ นั่นคือ “Gruen Effect” Gruen Effect: ออกแบบห้างยังไงให้คนซื้อเยอะ ชื่อนี้มาจากสถาปนิกชาวออสเตรียคุณ Victor Gruen ผู้ยึดมั่นในแนวคิด “ดีไซน์ที่ดี คือ กำไรที่ดี” เขาเป็นผู้บุกเบิกออกแบบศูนย์การค้า (Shopping mall) ในสหรัฐอเมริกาช่วง 1950s ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญให้กับศูนย์การค้ายุคใหม่ที่เราเดินกันในปัจจุบัน  โดยเขาใช้สิ่งที่เรียกว่า “Gruen Effect” เป็นจิตวิทยาที่ต้องการทำให้ลูกค้าลืมตัวเผลอ “ซื้อแบบไม่ได้คิดหน้าคิดหลัง” (Impulse purchase) โดยอาศัยการออกแบบห้างที่เวลาลูกค้าเดินเข้ามาถึงแล้ว จะปะทะกับ “สิ่งจูงใจรอบตัว” จนเผลอลืมจุดประสงค์หลักที่ตั้งใจมาซื้อ…สุดท้าย ลูกค้าใช้เวลาอยู่ในห้างนานขึ้น และ ซื้อสินค้ามากขึ้นในที่สุด  ดังที่เราจะได้เห็นต่อจากนี้ พัฒนาการของ Gruen Effect ถูกปรับให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละตลาด และ แพร่หลายไปยังร้านค้าปลีกหลายรูปแบบจนถึงปัจจุบัน…แต่ทั้งหมดยังคงคอนเซปท์เดิมอยู่ IKEA “IKEA […]

Multi-Motivations: ทำไมบางคนแรงจูงใจในการทำงานไม่เคยตกเลย

Multi-Motivations: ทำไมบางคนแรงจูงใจในการทำงานไม่เคยตกเลย

วิธีการหาเงินที่ดี? ให้มีหลายช่องทางทำเงิน วิธีทำการตลาดที่ดี? ลงโฆษณาหลายแพลตฟอร์ม วิธีแก้ปัญหาที่รัดกุม? คิดเผื่อทางออกหลายแผน ในเมื่อวิธีการทำงานยังมี > 1 ได้เลย แล้วทำไม “Motivation ในการทำงาน” จะมี > 1 ไม่ได้? Multi-Motivation ทำไมบางคนแรงจูงใจในการทำงานไม่เคยตก Multi-Motivation คือ การทำงานเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางด้วยการมี “แรงจูงใจ > 1” เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนเราให้แรงไม่ตกและไปถึงหมุดหมายได้ในที่สุด เป็นเคล็ดลับที่เรียบง่าย(แต่หลายคนมองข้าม) ในการหลงใหลไปกับการ “ทำงานอย่างมีความสุข” พร้อมที่จะคิดหาไอเดียใหม่ๆ และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคง่ายๆ  BJ Fogg นักสังคมศาสตร์และผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง Tiny Habits กล่าวว่า Motivation “ไว้ใจไม่ได้” มันเป็นเหมือนเพื่อนกินคนแรกที่เราโทรชวนไปปาร์ตี้ แต่ไม่ใช่เพื่อนคนแรกที่เราโทรหาเวลาทุกข์ยากลำบาก  โดยทั่วไปแล้ว ไม่ช้าก็เร็ว Motivation อย่างใดอย่างหนึ่งของคุณมักจะเปลี่ยนแปลง…จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงควรมี Multi-Motivation ในการทำงานนั่นเอง ซึ่ง Multi-Motivation เปิดอิสระมาก เช่น ต้องการขึ้นเป็นผู้บริหารโดยมีแรงจูงใจหลักด้าน “ตำแหน่ง” ที่สามารถสั่งการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ในเชิงโครงสร้าง (Power […]