📰 บทความทั้งหมด

Creative Exercise: ลับคมสมองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
นั่งสมาธิ ฝึกให้สมอง “ไม่คิด” คิดแบบ “มุมกลับ” กลับหัว-กลับหาง “จดบันทึก” ความคิดที่แว่บขึ้นมา นี่คือเบื้องหลัง “Creative Exercise” ที่เหล่าคนเก่งระดับโลกยังทำกันอยู่เป็นประจำเพื่อนำเสนอ “ความคิดสร้างสรรค์” จนคนทั้งโลกต้อง WOW!! Creative Exercise: ลับคมสมองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คนทั่วไปมักคิดว่า บรรดาคนเก่งระดับโลกที่เห็นตามสื่อ พวกเค้า “เก่งมาแต่เกิด” เป็น “พรสวรรค์” เพียงหยิบมือในโลกที่ไม่สามารถเลียนแบบได้ แต่ความจริงแล้ว แม้พวกเค้าจะหัวดีเป็นทุนเดิม แต่ก็ยังหมั่นฝึกฝนตัวเองเพื่อรักษาความคิดสร้างสรรค์ให้สูงลิบได้อยู่เสมอผ่าน “Creative Exercise” อันเรียบง่ายกว่าที่คิด เพราะการฝึกฝนต่างหากที่ทำให้คุณเพอเฟกต์ (Practice makes perfect.) นั่งสมาธิเพื่อ “ไม่คิด” Eckhart Tolle ปรมาจารย์ด้านปรัชญาเคยกล่าวว่า หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนเก่งคิดงานไม่ออก ไม่ใช่เพราะพวกเค้าคิดน้อยเกินไป แต่เป็นเพราะพวกเค้าไม่เคย “หยุดคิด” เลยต่างหาก เราจึงควรฝึกตัวเองให้หยุดคิดซะบ้าง ทำง่ายๆ ได้โดยการ “นั่งสมาธิ” ภาวะหยุดคิดนั้น โฟกัสเราให้อยู่กับปัจจุบัน / สมองได้พักผ่อน / ตัดขาดความกดดันที่มีทั้งหมดออกไป […]

Simple Logic Fallacy: ด่วนสรุปจากความคิดตื้นๆ
เครื่องจักร 5 เครื่อง ใช้เวลา 5 นาที ในการผลิตเสื้อเชิ้ต 5 ตัว โจทย์คือ…แล้วต้องใช้เวลากี่นาที? สำหรับเครื่องจักร 100 เครื่อง ในการผลิตเสื้อเชิ้ต 100 ตัว ถ้าคุณรีบให้คำตอบว่า “100 นาที” ยินดีด้วย…คุณติดกับดัก “Simple Logic Fallacy” เข้าให้แล้ว!! Simple Logic Fallacy: รีบด่วนสรุปจากความคิดตื้นๆ Simple Logic Fallacy คือภาวะที่เรามักจะ “เผลอด่วนสรุป” เรื่องราวหนึ่งจากเหตุผล / ความเชื่อมโยง / หรือแพทเทิร์นที่…ดูผิวเผินเหมือนจะสมเหตุสมผลถูกต้อง แต่พอวิเคราะห์เจาะลึกแล้วกลับพบว่าผิด กลวงโบ๋มีข้อโต้แย้งเพียบ “รีบด่วนสรุปแบบผิดๆ จากคำตอบอันตื้นเขิน” นั่นเอง ซึ่งดังที่เราจะได้รู้กันต่อจากนี้ แม้แต่ผู้บริหารระดับสูงมากความสามารถ IQ สูง มีเหตุผล ก็สามารถตกหลุมพราง Simple Logic Fallacy ได้เช่นกัน ทำไม Simple […]

Targeted Memory Reactivation: ยิ่งนอน ยิ่งความจำดี
เราทุกคนต่างรู้ดีว่า การจดจำข้อมูลใหม่ๆ อย่างแม่นยำ หรือ คิดวิธีตีโจทย์ปัญหาให้แตก…ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำได้ แต่ถ้าความจริงแล้ว มี “เทคนิค” อันหนึ่ง ที่ช่วยให้คุณบรรลุสิ่งเหล่านั้นได้ แถมทำได้ง่าย ทำได้เร็ว และทำได้ทุกคน เทคนิคที่น้อยคนจะรู้นั้น เรียกว่า “Targeted Memory Reactivation” Targeted Memory Reactivation: นอนอย่างไรให้ความจำดี? คุณ Matthew Walker นักวิทยาศาสตร์สมองและผู้เขียนหนังสือขายดี Why We Sleep กล่าวว่า Targeted Memory Reactivation (TMR) คือ เทคนิคการนอนที่ช่วย “ฟื้นฟูความจำแบบเฉพาะเจาะจง” ความจำแม่นยำขึ้น (Memory-strengthening) แผ่กิ่งก้านเชื่อมโยงข้อมูลความจำ (Memory consolidation) ซึ่งนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ หลักการ คือ ก่อนนอน…เราต้องกระตุ้นให้สมอง “คิดทบทวน” เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควบคู่กับการใช้ “เสียง” (เช่น เพลงบรรเลงเบาๆ) เปิดควบคู่กันไปขณะคิดทบทวน จากนั้นให้นอนหลับ […]

Domain Dependence: สาเหตุที่ผู้นำมักเก่งแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ทำไมบางคนเก่งแค่ตัวเลข แต่ไม่เคยบริหารคนเป็นเลย? ทำไมบางคนเป็นสิงห์สนามซ้อม แต่ หนูสนามจริง? ทำไมผู้นำมองไม่เห็นคู่แข่งม้ามืดจนถูก Disrupt? นี่คือ “Domain Dependence” กรงขังทางความคิดที่น้อยคนจะรู้จัก Domain Dependence: สาเหตุที่ผู้นำมักเก่งแค่ไม่กี่เรื่อง Domain Dependence คือสภาพความจริงที่ว่า มันเป็นเรื่องยากมากๆ ที่คุณจะ “ถ่ายทอด” (Transfer) เรื่องที่คุณเก่งรู้ดีอยู่แล้วไปยังเรื่องอื่นหรือให้ผู้อื่น คนเรามักเก่งจริงอยู่แค่ไม่กี่เรื่อง ผลงานที่ประสบความสำเร็จมักจะมีให้จดจำแค่ไม่กี่เรื่อง เพราะอันที่จริงแล้ว ความรู้เป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะถ่ายทอดหรือประยุกต์ใช้ได้ง่ายๆ นี่คือแนวคิดที่ผู้นำควรยอมรับเพื่อให้รู้ “จุดยืน” ของตัวเอง ปี 1990 Harry Markowitz ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากทฤษฎีอันชาญฉลาดที่เขาคิดค้น “Portfolio Selection” ที่คำนวณผลตอบแทน-ความเสี่ยง ในการเลือกพอร์ตการลงทุน แต่เมื่อถูกสื่อมวลชนถามว่า แล้วตัวเขาเองล่ะ…เลือกจัดสรรการลงทุนแบบไหน? คำตอบที่ได้ช่างเรียบง่ายมาก นั่นคือ “50-50” 50% ลงทุนใน หุ้น (Shares) 50% ลงทุนใน ตราสารหนี้ (Bonds) ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ / […]

Red Herring: จู่ๆ ก็เปลี่ยนเรื่องอย่างแนบเนียน
พนักงานขอขึ้นเงินเดือน แต่ เจ้าของย้ำนักหนาว่าทุกคนได้สวัสดิการที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว ตำหนิลูกน้องว่ามาสายจนลูกค้าต้องรอ แต่ลูกน้องตอบกลับว่า ระหว่างทางที่มาสาย เกิดไอเดียเจ๋งๆ ที่จะช่วยสร้างยอดขายให้กับทีม ก่อนถึงวันอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล มีสมาชิกปล่อยเรื่องอื้อฉาวขึ้นมากลบเกลื่อน จนได้พิ้นที่สื่อทั้งหมดไป ถ้าคุณถาม A แต่ได้รับคำตอบ B ก่อนจะถูกโยงไปเรื่อง C แบบงงๆ…ระวังให้ดี อีกฝ่ายอาจใช้กลลวง “Red Herring” เข้าให้แล้ว!! Red Herring: จู่ๆ ก็เปลี่ยนเรื่องอย่างแนบเนียน Red Herring (ปลาเฮอร์ริ่งสีแดง) เดิมเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมการบริโภคปลาของชาวยุโรป มีกลิ่นเหม็นแรง ดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้ง่ายดาย ต่อมาจึงถูกใช้เป็น “สำนวน” ที่สื่อถึง การ “หนีความผิด” โดยการเปลี่ยนเรื่องคุยอย่างแนบเนียน เทคนิคที่อีกฝ่ายใช้ “แก้ตัว” จนเผลอคล้อยตาม การ “บ่ายเบี่ยงประเด็น” (Diversionary tactic) ทำให้ตัวเองดูดี แต่ไม่ได้แก้ปัญหาใดๆ เลย Image Cr. bit.ly/3paiSiW คาแรคเตอร์ที่พบเห็นได้คือ เป็นการหยิบยก ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง-ไม่สลักสำคัญใดๆ (Irrelevant […]

The Jevons Paradox: เทคโนโลยียิ่งก้าวหน้า เรายิ่งทำงานมากขึ้น
ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า ทำไมเทคโนโลยียิ่งล้ำหน้า…ผู้คนยิ่งต้องทำงานมากขึ้น บทความนี้มีคำตอบ ซึ่งจะพาไปรู้จักกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “The Jevons Paradox” The Jevons Paradox: ทำไมเทคโนโลยียิ่งก้าวหน้า คนยิ่งทำงานมากขึ้น คุณ William Stanley Jevons (ที่มาของชื่อ) นักเศรษฐศาสตร์รุ่นบุกเบิกของอังกฤษ คือผู้ที่ค้นพบปรากฏการณ์สุดขัดแย้งในตัวเองนี้ ย้อนกลับไปปี 1865 James Watt พึ่งประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิมมากได้สำเร็จ อะไรๆ ดีกว่าเดิมแต่ใช้ถ่านหิน (Coal) น้อยลง เหล่าวิศวกรยุคนั้นดีใจใหญ่ว่า อัตราการใช้ถ่านหินในภาพรวมจะลดลงมหาศาล…แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม เพราะอัตราการใช้ถ่านหินกลับเพิ่มขึ้นแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน!! คุณ Jevons เข้ามาทำการเจาะลึกสำรวจก่อนจะค้นพบว่า ประสิทธิภาพเครื่องจักรไอน้ำรุ่นใหม่ที่ดีขึ้น (Efficiency improvement) นำไปสู่ 🡺 การช่วยลดต้นทุน 🡺 ช่วยประหยัดเงิน แต่เงินส่วนนี้ที่ประหยัดได้ 🡺 ถูกนำไปลงทุนใหม่ (Reinvest) 🡺 เพื่อขยายกำลังการผลิต (เช่น ซื้อเครื่องจักรเพิ่ม) 🡺 ซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ และเมื่อเศรษฐกิจภาพรวมโตขึ้น 🡺 ก็นำไปสู่การใช้ถ่านหินมากขึ้นในที่สุด […]

Social Listening: เสียงของผู้คนบอกอะไรคุณมากกว่าที่คิด
Netflix ตามเทรนด์โลกโซเชียลจนพบ Pain Point ลูกค้า Nike รีบออกมาขอโทษจากสินค้าที่เกี่ยวข้องในข่าว พนักงานร้านกาแฟ รับฟังเสียงลูกค้าพบว่า มาเยือนร้านเพราะตกแต่งสวย แต่…กาแฟไม่ได้เรื่อง การติดตามรับฟังเสียงสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่มีต่อแบรนด์เหล่านี้ คือ “Social Listening” ที่จำเป็นมากในยุคนี้ Social Listening: เสียงของผู้คนบอกอะไรคุณมากกว่าที่คิด Social Listening คือการติดตามสอดส่อง (Monitor) ว่าเสียงของผู้คนในสังคมเค้าพูดถึงแบรนด์คุณ / สินค้า / คู่แข่ง / และอะไรต่อมิอะไรที่สามารถ “เชื่อมโยง” มาถึงแบรนด์คุณได้อย่างใกล้ชิดและเป็นระบบ ทำให้แบรนด์รับรู้เทรนด์ล่าสุดที่เกิดขึ้นระดับ “วินาที” ณ เดี๋ยวนั้น เพื่อนำไปสร้าง Real-Time Marketing หรือ ใช้เป็นวัตถุดิบในการปล่อยสินค้าที่ดีกว่าคู่แข่งในอนาคต แบรนด์ได้อะไรจาก Social Listening? Social Listening เป็นการหา “Hidden Pain Point” ชั้นดีที่อาจประสบกันเฉพาะกลุ่ม Netflix ติดตาม Social Listening […]

False Memory: อย่ามั่นใจความทรงจำของตัวเองมากเกินไป
จำได้ว่า…เหตุการณ์ 911 เกิดขึ้นช่วงบ่าย (ความจริงคือ ช่วงสาย) จำได้ว่า…วิกฤติซับไพรม์เกิดปี 2012 (ความจริงคือ 2008) จำได้ว่า…โทรแจ้งลูกค้าแล้ว (ความจริงคือ ยังไม่ได้โทร) เดี๋ยวนะ…ถ้าความทรงจำของคุณบอกแบบนี้ และคุณปักใจเชื่อจริงๆ…คุณอาจติดกับดัก “False Memory” เข้าให้แล้ว!! False Memory: อย่ามั่นใจความทรงจำของตัวเองให้มันมากนัก False Memory คือภาวะที่เรามั่นใจว่า “จำ” เรื่องราวเหตุการณ์หนึ่งได้แม่นยำชนิดหลับตานึกภาพออก…แต่ความจริงแล้ว เหตุการณ์นั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย หรือ มีข้อมูลบางอย่างบิดเบือนไปจากความจริง เราอาจเรียกได้ว่า มันเป็นความทรงจำแบบ Fake ที่บิดเบือนไปจากความจริง (แต่ยังหลงเหลือเค้าโครงความจริงอยู่บ้าง) False Memory เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่ผู้บริหารระดับสูง และไม่เกี่ยวว่าจะมี IQ/EQ สูงแค่ไหนก็ตาม ปี 1986 Ulric Neisser นักจิตวิทยาและหนึ่งในสมาชิกของ US National Academy of Sciences รีบทำการทดลอง 1 วันทันทีหลังโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศ Challenger ระเบิด […]

Passive-Aggressive Arguers: มีอะไรไม่ยอมพูดตรงๆ
ผมชอบที่คุณไม่ให้หน้าตามาฉุดรั้งความมั่นใจในตัวเอง เทียบกับคน IT แล้ว คุณนี่จัดว่าคุยรู้เรื่องมากที่สุดแล้ว ไม่น่าเชื่อว่า มหาลัยฯ โนเนมจะผลิตคนเก่งแบบคุณได้ขนาดนี้ ขึ้นไปบนสุดของ Ego แล้วกระโดดลงมาที่ IQ ของคุณ…สูงขนาดนั้นมีแต่ตายสถานเดียว ถ้าคุณฟังประโยคเหล่านี้แล้วรู้สึกทะแม่งๆ ไม่ชอบมาพากล คุณคิดถูกแล้ว เพราะอาจกำลังเจอกับ “Passive-Aggressive Arguers” อยู่นั่นเอง!! Passive-Aggressive Arguers: มีอะไรไม่ยอมพูดตรงๆ Passive-Aggressive Arguers คือภาวะที่เรารู้สึกไม่ชอบ-ไม่พอใจอีกฝ่าย แต่เลือกที่จะไม่เผชิญหน้าโดยการ “พูดอ้อมๆ” ใส่ (หรือแม้แต่ “ลับหลัง”) ซึ่งแฝงไปด้วยความคิดแง่ลบที่รุนแรงกว่าเดิมด้วยซ้ำ (Negative hidden message) อาจมาในรูปแบบ “ปากไม่ตรงกับใจ” หรือลักษณะการ “ด่าแบบผู้ดี” เช่น “ถ้าฉันจะฆ่าตัวตาย ฉันจะปีนขึ้นไปบน Ego ของเธอ แล้วกระโดดลงมาที่ IQ ของเธอ” Image Cr. bit.ly/3AJwjsl มันคือรูปแบบ “สงครามจิตวิทยา” อย่างหนึ่งกับเพื่อนร่วมงาน ที่สร้างความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน […]

Neomania: ทำไมคนเราคลั่งไคล้ “ของใหม่” จนเกินไป
ตั้งแคมป์รอ 1 คืนหน้า Apple Store เพื่อรอ iPhone รุ่นใหม่ล่าสุด เปลี่ยนงานใหม่ทุกๆ ปี มีแฟนแล้ว แต่อยากหาคนใหม่ไว้คุยเล่น Café Hopper เปลี่ยนร้านนั่งชิลไปเรื่อยๆ ไม่เคยซ้ำกัน เหล่านี้คือปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “Neomania” ซึ่งถ้าเกินเลยจุดที่พอดี มีแต่จะส่งผลร้ายย้อนกลับมาหาตัวเรา Neomania: ทำไมคนเราคลั่งไคล้ของใหม่ Neomania คือภาวะทางจิตวิทยาที่ว่า คนเรารู้สึกดี ตื่นเต้น มีความหวัง มีความสุขกับอะไรก็ตามที่เป็น “ของใหม่” (Novelty) ในทุกเรื่องจนเกินเลยจุดที่พอดี การชื่นชอบของใหม่ไม่มีอะไรผิด เพียงแต่ภาวะ Neomania มักชอบแบบไม่ลืมหูลืมตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ จนถึงขนาดคลั่งไคล้ ให้ความสำคัญกับความสดใหม่ มากกว่า ฟังก์ชั่นการใช้งานหรือผลประโยชน์ที่ตัวเองได้รับด้วยซ้ำ …ซึ่งนำไปสู่อคติส่วนตัว ความไม่คุ้มค่า ไม่สมเหตุสมผล และการตัดสินใจที่ผิดพลาดในที่สุด กลไกที่กระตุ้น Neomania ก่อนอื่น จริตในการชื่นชอบสิ่งใหม่ถูกโปรแกรมอยู่ในพันธุกรรมมนุษย์ทั่วโลกไม่ว่าจะเชื้อชาติ เพศ อายุ วัฒนธรรมไหนก็ตาม ตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์จะมีสัญชาตญาณในการจับ (Detect) สิ่งใหม่ๆ […]

Don’t Do List: การเลือกไม่ทำบางอย่าง สำคัญไม่แพ้การลงมือทำ
เพราะการจะไปถึงเป้าหมาย ไม่ได้ประกอบด้วยการลงมือทำอะไรบ้างเท่านั้น…แต่ย่อมรวมถึงการ “ไม่ทำ” ด้วยเช่นกัน ท่ามกลางเส้นทางอันซับซ้อน บางทีการเลือกจะไม่ทำอะไรบางอย่าง อาจเป็นทางลัดนำพาเราให้ถึงฝั่งฝันได้เร็วกว่าเดิมด้วยซ้ำ เหรียญอีกด้านของ To-Do List แม้แต่ Adam Grant ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการในองค์กร ยังเตือนเลยว่า ความนิยมของ “To-Do List” ที่อยู่ในกระแสหลัก ว่าคุณควรต้องทำอะไรบ้าง 1-2-3-4 ในแต่ละวัน…บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำได้สม่ำเสมอ เพราะ To-Do List ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพการณ์ทุกวัน ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าบางทีเรา “ควบคุมไม่ได้” เพราะมีสิ่งใหม่ๆ เกิดงานแทรกอะไรต่อมิอะไรขึ้นตลอด นอกจากนี้ การจดจ่อกับ To-Do List มักหมายถึงการ “กอง” งานที่สามารถทำให้เสร็จได้ โดยไม่ได้แยกแยะ (Categorize) ว่ามันสำคัญ/เร่งด่วน จริงๆ หรือไม่? ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่ควร เรื่องนี้ยังสอดคล้องกับองค์ความรู้ กล่าวคือ Negative knowledge (สิ่งที่ไม่ควรทำ) สำคัญไม่แพ้ Positive knowledge (สิ่งที่ควรทำ) ตัวอย่างแสนเรียบง่าย เช่น […]

ผู้มาก่อนกาล: แนวคิดที่เคยถูกปฏิเสธ แต่กาลเวลาพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง
มนุษย์วิวัฒนาการมาร่วมล้านปี กระแสไฟฟ้าแบบสลับ คือคำตอบของทุกครัวเรือน นวนิยายสยองขวัญชวนลึกลับจะอยู่คู่กับคนไปอีกนาน GDP มีข้อบกพร่อง มันไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตคน เชื่อหรือไม่ว่า แนวคิดเหล่านี้ถูกคิดค้นโดยผู้มีวิสัยทัศน์เมื่อนานมาแล้ว แต่กลับ “ถูกปฏิเสธ” อย่างสิ้นเชิงจากสังคม ณ เวลานั้น แต่ปัจจุบัน กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าพวกเค้า “คิดถูก” ผู้คนจำนวนมากยอมรับในแนวคิดนี้แล้ว ผู้มีวิสัยทัศน์เหล่านั้นเปรียบเสมือน “ผู้มาก่อนกาล” แล้วพวกเค้ามีใครบ้าง? ตามไปดูกัน Nicola Tesla (1856-1943) Image Cr. bit.ly/2XdtdyR ยุคนั้น สหรัฐอเมริกา(และโลก) ยังอยู่ในช่วงเริ่มวางโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านไฟฟ้า ซึ่งมี 2 ตัวเลือกหลักได้แก่ ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ได้รับการสนับสนุนโดย Thomas Edison ซึ่งมีชื่อเสียง มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับนักธุรกิจใหญ่ และมีฐานผู้ศรัทธาในตัวมหาศาล ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ได้รับการสนับสนุนโดย Nicola Tesla ที่ตอนนั้นแทบไม่มีใครรู้จักเขาเลย เป็นคนโนเนม โลว์โปรไฟล์ แน่นอน ทุกคนต่างเทใจไปที่ชายมากเสน่ห์อย่าง Thomas Edison แต่สุดท้าย […]